อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) คืออะไร มีลักษณะสำคัญอย่างไร

หมายถึงเครือข่ายของวัตถุ อุปกรณ์ พาหนะ สิ่งปลูกสร้าง และสิ่งของอื่นๆ ที่มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ เซ็นเซอร์ และการเชื่อมต่อกับเครือข่าย ฝังตัวอยู่ และทำให้วัตถุเหล่านั้นสามารถเก็บบันทึกและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้

อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) คืออะไร มีลักษณะสำคัญอย่างไร

ความสำคัญของอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

IoT จะช่วยให้ภาคธุรกิจหรือบุคคลทั่วไปได้รับทราบข้อมูลเชิงลึกและสามารถควบคุมข้อมูลของวัตถุและสิ่งแวดล้อมได้ถึงร้อยละ 99 ซึ่งอยู่นอกเหนือจากการเข้าถึงผ่านอินเตอร์เน็ต และนอกจากนั้น IoT ยังช่วยให้ภาคธุรกิจและผู้คนได้เชื่อมต่อเข้ากับโลกและสภาพแวดล้อมรอบตัว อีกทั้งยังสามารถทำงานหรือดำเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพและคล่องแคล่วมากขึ้น

สถาปัตยกรรมอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

โดยทั่วไป ระบบการสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการโดยใช้เทคโนโลยี IoT จำเป็นต้องมีองค์ประกอบของเทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่เช้ามาสนับสนุนการติดต่อสื่อสารและการทำงานที่สัมพันธ์กัน ดังนี้

อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) คืออะไร มีลักษณะสำคัญอย่างไร

  1. สมองฝังตัวและเซนเซอร์

สมองกลฝังตัวที่ประกอบด้วยเซนเซอร์ เป็นอุปกรณ์ใช้ในากรเชิ่อมต่อระหว่างโลกทางกายภาพ และโลกดิจิทัล โดยเซนเซอร์สามารถตรวจจับสิงที่สนใจ รวมทั้งประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแบบทันทีทันใด และมีหลายหลายชนิดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น เซนเซอร์วัดอุณหภูมิคุณภาพอากาศ ความชื้น การเคลื่อนไหวและความเร็ว เซนเซอร์สามารถวัดสมบัติทางกายภาพและเปลี่ยนค่าที่วัดได้ให้เป็นสัญญาณที่อุปกรณ์นั้นๆ สามารถเข้าใจได้

2. เกตเวย์และเครือข่าย

เซนเซอร์ส่วนใหญ่ต้องการเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายและเกตเวย์เพื่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตจึงทำให้เกิดการเชื่อมต่อแบบแลน (Local Area Network ) เครือข่ายไร้สาย เครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายส่วนบุคคล

3. ส่วนสนับสนุนการบริการ

ส่วนสนับสนุนการบริการ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการสนับสนุน เช่น การประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การควบคุมความปลอดภัย การบริหารจัดการการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ การควบคุมการรับ-ส่งข้อมูล และทำหน้าที่เป็นตัวกลางสนับสนุนการเชื่อมโยงระหว่างแอปพลิเคชันกับอุปกรณN IoT การใช้งานแบบคลาวด์ ช่วยในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่

4.แอปพลิเคชัน

แอปพลิเคชันเป็นส่วนติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์กับอุปกรณ์ และทำให้เราสามารถควบคุมอุปกรณ์ IoT ได้จากระยะไกลผ่านางอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ยังอาจเป็นรบบที่ควบคุมอุปกรณ์ให้ทำงานสอดคล้องกันตามวัตถุประสงค์ของการทำงานแบบอัตโนมัติ

ทำความรู้จักกับ Internet of Things

อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) คืออะไร มีลักษณะสำคัญอย่างไร


Internet of Things หรือ IoT คืออะไร

Internet of Things (IoT) คือ การที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องป้อนข้อมูล การเชื่อมโยงนี้ง่ายจนทำให้เราสามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ไปจนถึงการเชื่อมโยงการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ากับการใช้งานอื่นๆ จนเกิดเป็นบรรดา Smart ต่างๆ ได้แก่ Smart Device, Smart Grid, Smart Home, Smart Network, Smart Intelligent Transportation ทั้งหลายที่เราเคยได้ยินนั่นเอง ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเพียงสื่อกลางในการส่งและแสดงข้อมูลเท่านั้น

กล่าวได้ว่า Internet of Things นี้ได้แก่การเชื่อมโยงของอุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหลายผ่านอินเทอร์เน็ตที่เรานึกออก เช่น แอปพลิเคชัน แว่นตากูเกิลกลาส รองเท้าวิ่งที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลการวิ่ง ทั้งความเร็ว ระยะทาง สถานที่ และสถิติได้

นอกจากนั้น Cloud Storage หรือ บริการรับฝากไฟล์และประมวลผลข้อมูลของคุณผ่านทางออนไลน์ หรือเราเรียกอีกอย่างว่า แหล่งเก็บข้อมูลบนก้อนเมฆ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราใช้งานบ่อยๆแต่ไม่รู้ว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบของ Internet of Things สมัยนี้ผู้ใช้นิยมเก็บข้อมูลไว้ในก้อนเมฆมากขึ้น เนื่องจากมีข้อดีหลายประการ คือ ไม่ต้องกลัวข้อมูลสูญหายหรือถูกโจรกรรม ทั้งยังสามารถกำหนดให้เป็นแบบส่วนตัวหรือสาธารณะก็ได้ เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต แถมยังมีพื้นที่ใช้สอยมาก มีให้เลือกหลากหลาย ช่วยเราประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย เนื่องจากเราไม่ต้องเสียเงินซื้ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดไดร์ฟ หรือ Flash drive ต่างๆ

IoT มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า M2M ย่อมาจาก Machine to Machine คือเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่ออุปกรณ์กับเครื่องมือต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน เทคโนโลยี IoT มีความจำเป็นต้องทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประเภท RFID และ Sensors ซึ่งเปรียบเสมือนการเติมสมองให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ขาดไม่คือการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เพื่อให้อุปกรณ์สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ เทคโนโลยี IoT มีประโยชน์ในหลายด้าน แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยง เพราะหากระบบรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่ดีพอ ก็อาจทำให้มีผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาขโมยข้อมูลหรือละเมิดความเป็นส่วนตัวของเราได้ ดังนั้นการพัฒนา IoT จึงจำเป็นต้องพัฒนามาตรการ และระบบรักษาความปลอดภัยไอทีควบคู่กันไปด้วย

อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) คืออะไร มีลักษณะสำคัญอย่างไร
 
ภาพอธิบายรายละเอียดแต่ละ Network Layers ของ Internet of Things โดย IBM

แนวคิด Internet of Things
 

เดิมมาจาก Kevin Ashton บิดาแห่ง Internet of Things ในปี 1999 ในขณะที่ทำงานวิจัยอยู่ที่มหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT เขาได้ถูกเชิญให้ไปบรรยายเรื่องนี้ให้กับบริษัท Procter & Gamble (P&G)  เขาได้นำเสนอโครงการที่ชื่อว่า  Auto-ID Center ต่อยอดมาจากเทคโนโลยี RFID ที่ในขณะนั้นถือเป็นมาตรฐานโลกสำหรับการจับสัญญาณเซ็นเซอร์ต่างๆ( RFID Sensors) ว่าตัวเซ็นเซอร์เหล่านั้นสามารถทำให้มันพูดคุยเชื่อมต่อกันได้ผ่านระบบ Auto-ID ของเขา โดยการบรรยายให้กับ P&G ในครั้งนั้น Kevin ก็ได้ใช้คำว่า Internet of Things ในสไลด์การบรรยายของเขาเป็นครั้งแรก โดย Kevin นิยามเอาไว้ตอนนั้นว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆก็ตามที่สามารถสื่อสารกันได้ก็ถือเป็น “internet-like” หรือพูดง่ายๆก็คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สื่อสารแบบเดียวกันกับระบบอินเตอร์เน็ตนั่นเอง โดยคำว่า “Things” ก็คือคำใช้แทนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆเหล่านั้น

ต่อมาในยุคหลังปี 2000 มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ถูกผลิตออกจัดจำหน่ายเป็นจำนวนมากทั่วโลก จึงเริ่มมีการใช้คำว่า Smart ซึ่งในที่นี้คือ Smart Device, Smart Grid, Smart Home, Smart Network, Smart Intelligent Transportation ต่างๆเหล่านี้ ล้วนถูกฝัง RFID Sensors เสมือนกับการเติม ID และสมอง ทำให้มันสามารถเชื่อมต่อกับโลกอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งการเชื่อมต่อเหล่านั้นเองก็เลยมาเป็นแนวคิดที่ว่าอุปกรณ์เหล่านั้นก็ย่อมสามารถสื่อสารกันได้ด้วยเช่นกัน โดยอาศัยตัว Sensor ในการสื่อสารถึงกัน นั่นแปลว่านอกจาก Smart Device ต่างๆจะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แล้ว ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ตัวอื่นได้ด้วย

แบ่งกลุ่ม Internet of Things

ปัจจุบันมีการแบ่งกลุ่ม Internet of Things ออกตามตลาดการใช้งานเป็น 2 กลุ่มได้แก่

1. Industrial IoT

คือ แบ่งจาก local network ที่มีหลายเทคโนโลยีที่แตกต่างกันในโครงข่าย Sensor nodes โดยตัวอุปกรณ์ IoT Device ในกลุ่มนี้จะเชื่อมต่อแบบ IP network เพื่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต

2. Commercial IoT

คือ แบ่งจาก local communication ที่เป็น Bluetooth หรือ Ethernet (wired or wireless) โดยตัวอุปกรณ์ IoT Device ในกลุ่มนี้จะสื่อสารภายในกลุ่ม Sensor nodes เดียวกันเท่านั้นหรือเป็นแบบ local devices เพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้เชื่อมสู่อินเตอร์เน็ต

ประโยชน์และความเสี่ยง
 

เทคโนโลยี Internet of Things มีประโยชน์ในหลายด้านทั้งเรื่องการเก็บข้อมูลที่แม่นยำและเป็นปัจจุบัน ช่วยลดต้นทุน แถมยังช่วยเพิ่มผลผลิตของพนักงานหรือผู้ใช้งานได้ แม้ว่าแนวโน้มของ IoT มีแต่จะเพิ่มขึ้นด้วยคุณาประโยชน์ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่ประโยชน์ใดๆนั้นก็มาพร้อมกับความเสี่ยง เพราะความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายใหม่ที่เกิดขึ้นนั้น จะผลักดันให้ผู้เชี่ยวชาญมีการรับมือทางด้านความปลอดภัยมากขึ้น ในทางตรงกันข้ามแฮกเกอร์หรือผู้ไม่หวังดีก็ทำงานหนักเพื่อที่จะเข้าควบคุม โจมตีเครือข่าย หรือเรียกค่าไถ่ในช่องโหว่ที่ IoT มีอยู่ ฉะนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทาง IoT จึงจำเป็นต้องพัฒนามาตรการ และระบบรักษาความปลอดภัยไอทีควบคู่กันไป เพื่อให้ธุรกิจและการใช้งาน IoT สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้

ดังนั้น ข้อมูลที่ขับเคลื่อนด้วย IoT ช่วยให้ธุรกิจสามารถทำการตลาดให้ผลิตภัณฑ์ของตนกับลูกค้าที่คาดหวังได้ดียิ่งขึ้น เพราะการเชื่อมต่อของ Internet of Things ถือเป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจในอนาคตได้ ในที่สุด Internet of Things ส่งผลต่อการค้าและการดำเนินชีวิตทั่วโลก และจะกลายเป็นสิ่งที่ทำให้เทคโนโลยีพัฒนาไปในปี 2021


 

ที่มา : https://www.aware.co.th
https://blog.sogoodweb.com