การกําหนดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยไว้ในรัฐธรรมนูญมีความสําคัญอย่างไร

การกําหนดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยไว้ในรัฐธรรมนูญมีความสําคัญอย่างไร

เมื่อวันที่  23 กันยายน 2021 | ผู้เข้าชม 2215 คน

สิทธิเสรีภาพของประชาชนในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5823 [รายงานสืบเนื่องการประชุม)]

                  • สากล พรหมสถิตย์
                  • อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

การกําหนดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยไว้ในรัฐธรรมนูญมีความสําคัญอย่างไร

สิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตย และของมนุษยชาติ ในฐานะที่เป็นสัตว์โลกที่มีจิตใจสูง ต่างกับระบอบเผด็จการที่ถือว่าคนเป็นทาสของรัฐและผู้มีอำนาจ ดังนั้น สิทธิและเสรีภาพ rights-and-liberties สำคัญต่อประชาชนในฐานเจ้าของอำนาจอธิปไตยในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อย่างไร ในระบอบประชาธิปไตย มีหลักการและแนวคิดเกี่ยวสิทธิและเสรีภาพอย่างไร ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในฐานะองค์กรทางการเมืองกับบุคคลที่อยู่ภายในรัฐ สถานภาพของบุคคลภายในรัฐมีความแตกต่างกัน แสดงออกในรูปแบบที่แตกต่างกันไปด้วย เช่น ในฐานะเป็นพลเมือง หรือในฐานะต่างด้าว เป็นต้น ในระบอบเสรีภประชาธิปไตยให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิและเสรีภาพของพลเมืองเป็นอย่างมาก สิทธิของพลเมืองหรือสิทธิในฐานะเป็นพลเมืองย่อมมี ซึ่งเป็นการจำกัดอำนาจของรัฐ แต่สิทธิย่อมไม่สมบูรณ์ที่สุด ทั้งนี้เพราะหากผู้ใดมีสิทธิหรือเสรีภาพเต็มที่ จะส่งผลกระทบกระเทือนต่อบุคคลอื่นด้วย คือจะไปริดรอนสิทธิเสรีภาพของคนอื่น รัฐจึงมีหน้าที่ในการกำหนดขอบเขต โดยดูแลให้สิทธิของพลเมืองหรือสิทธิในฐานะเป็นพลเมือง มีรายละเอียดดังนี้

คำสำคัญ

สิทธิและเสรีภาพ อำนาจอธิปไตยของปวงชน เจ้าของอำนาจอธิปไตย

หลักการและแนวคิด

  • สิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตย และของมนุษยชาติ ในฐานะที่เป็นสัตว์โลกที่มีจิตใจสูง ต่างกับระบอบเผด็จการที่ถือว่าคนเป็นทาสของรัฐและผู้มีอำนาจ ซึ่งพร้อมจะใช้มาตรการที่ทารุณโหดร้ายเกินมนุษย์ธรรมดาเพื่อบังคับประชาชนให้อยู่ในอำนาจ
  • บทบัญญัติรัฐธรรมนูญในปัจจุบันมีพัฒนาการมาเป็นลำดับจากแรกเริ่มที่มุ่งจำกัดอำนาจของผู้ปกครอง ค่อยๆ ขยายผลมาสู่การมีส่วนร่วมในการปกครองของประชาชน โดยเฉพาะในรัฐธรรมนูญของประเทศที่เป็นประชาธิปไตยนั้น บทบัญญัติเรื่องสิทธิและเสรีภาพเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ส่วนการที่จะมิสิทธิและเสรีภาพในทางปฏิบัติมากน้อยเพียงใด คงต้องศึกษาติดตามในบริบททางการเมืองของประเทศนั้นๆ เพราะในบางครั้งรัฐธรรมนูญอาจมีบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพมากมาย แต่อาจมีข้อความต่อท้ายต่างๆ เช่น ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือตามเงื่อนไขหรือวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ เป็นต้น

การกําหนดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยไว้ในรัฐธรรมนูญมีความสําคัญอย่างไร

ความหมาย

  • สิทธิและเสรีภาพ เป็นคำที่นิยมกล่าวควบคู่ด้วยกันเสมอ ในทางกฎหมายแม้คำสองคำนี้จะมีความหมายที่คล้ายคลึงกัน แต่ก็มิใช่จะมีความหมายเหมือนกันหมด พึงสังเกตจากบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ที่เรียกชื่อประเภทของสิทธิและเสรีภาพแยกต่างหากจากกันอย่างชัดเจน เช่น รัฐธรรมนูญบัญญัติว่าเสรีภาพในการชุมนุม โดยมิได้เรียกว่าสิทธิในการชุมนุม หรือรัฐธรรมนูญบัญญัติว่าสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ แต่มิได้เรียกว่าเสรีภาพพิทักษ์รัฐธรรมนูญ บทบัญญัติต่างๆ ในหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ในรัฐธรรมนูญจึงแสดงให้เห็นว่า ผู้ร่างรัฐธรรมนูญมีเจตนาที่แยกใช้คำว่าสิทธิและเสรีภาพให้แตกต่างกัน เพราะความหมายของคำทั้งสองมีความแตกต่างกัน

การกําหนดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยไว้ในรัฐธรรมนูญมีความสําคัญอย่างไร

สิทธิของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย

การกําหนดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยไว้ในรัฐธรรมนูญมีความสําคัญอย่างไร

ประเภท

  • เมื่อพิจารณารายละเอียดของสิทธิและเสรีภาพ จะพบว่าสิทธิและเสรีภาพมีหลายประการ เพื่อให้มีการจัดหมวดหมู่ของสิทธิและเสรีภาพให้ชัดเจน จึงได้มีการแยกประเภทของสิทธิและเสรีภาพ ในที่นี้จะศึกษาถึงประเภทของสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ ซึ่งสามารถจำแนกประเภทของสิทธิและเสรีภาพโดยอาศัยเกณฑ์ต่างๆ มาเป็นตัวจำแนก

หลักประกัน

  • รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่มีหลักการรับรองคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล มีการกำหนดหลักประกันในการตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล กล่าวคือ ฝ่ายนิติบัญญัติ จะตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลได้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้เท่านั้น

การกําหนดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยไว้ในรัฐธรรมนูญมีความสําคัญอย่างไร

องค์กรที่ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ

  • การบัญญัติรับรองและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพไม่ได้ทำให้ประชาชนมิสิทธิและเสรีภาพอย่างสมบูรณ์ เพราะเมื่อมีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพขึ้น ก็จำเป็นที่จะต้องมีองค์กรมาทำหน้าที่คุ้มครอง ซึ่งองค์กรที่ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญที่สำคัญ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลยุติธรรม ผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

  • แนวคิดว่าด้วยศักดิ์ความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) ได้รับการพัฒนามากพร้อมกับแนวคิดว่าด้วยสิทธิตามธรรมชาติของสำนักกฎหมายธรรมชาติ โดยเห็นว่ามนุษย์ที่ถือกำเนิดมาย่อมมีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ทุกคน รัฐหรือบุคคลอื่นใดก็มิอาจละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้

สิทธิเสรีภาพในรัฐธรรมนูญไทย

  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้มีบทบัญญัติในเรื่องสิทธิเสรีภาพมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับแรก และได้ขยายขอบเขตการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพมากขึ้นเป็นลำดับ กล่าวได้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, 2550 และ 2560 มีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพมากที่สุด อย่างไรก็ตามเป็นสิ่งที่ควรทราบเป็นเบื้องต้นว่าบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในรัฐธรรมนูญ ได้ปรากฏอยู่ในหลายหมวดไม่เฉพาะว่าจะปรากฏในหมวดสิทธิและเสรีภาพเท่านั้น แต่กระจายอยู่ในหมวดอื่นๆ ด้วย เช่น หมวดรัฐสภา หมวดศาล หมวดการปกครองท้องถิ่น หมวดการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เป็นต้น

การกําหนดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยไว้ในรัฐธรรมนูญมีความสําคัญอย่างไร

หมวด 3 แห่งรัฐธรรมนูญ 2560 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย

  • มาตรา 25 : การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
  • มาตรา 26 : การตรากฎหมายจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล
  • มาตรา 27 : บุคคลมีสิทธิเสรีภาพเท่ากัน
  • มาตรา 28 : สิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
  • มาตรา 29 : สิทธิของบุคคลในคดีอาญา
  • มาตรา 30 : ห้ามเกณฑ์แรงงาน
  • มาตรา 31 : สิทธิในการนับถือศาสนา
  • มาตรา 32 : สิทธิส่วนตัว
  • มาตรา 33 : เสรีภาพในเคหสถาน
  • มาตรา 34 : เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
  • มาตรา 35 : สิทธิของสื่อมวลชน
  • มาตรา 36 : เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร
  • มาตรา 37 : สิทธิในทรัพย์สินและสืบมรดก
  • มาตรา 38 : สิทธิการเดินทางและเลือกที่อยู่
  • มาตรา 39 : การเนรเทศ การห้ามเข้าประเทศไทย การถอนสัญชาติไทย
  • มาตรา 40 : เสรีภาพการประกอบอาชีพ
  • มาตรา 41 : สิทธิทราบข้อมูล ร้องทุกข์และฟ้องร้องหน่วยงานรัฐ
  • มาตรา 42 : สิทธิรวมกันเป็นสมาคม องค์กร หรือหมู่คณะ
  • มาตรา 43 : สิทธิเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิทธิมนุษยชน
  • มาตรา 44 : เสรีภาพในการชุมนุม
  • มาตรา 45 : เสรีภาพการจัดตั้งพรรคการเมือง
  • มาตรา 46 : สิทธิของผู้บริโภค
  • มาตรา 47 : สิทธิได้รับบริการสาธารณสุข
  • มาตรา 48 : สิทธิของมารดา คนชราและผู้ยากไร้
  • มาตรา 49 : ห้ามใช้สิทธิล้มล้างการปกครองประชาธิปไตย

การกําหนดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยไว้ในรัฐธรรมนูญมีความสําคัญอย่างไร

บทสรุป

       สิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นสิ่งที่มีการให้ความสำคัญอย่างมาก ในรัฐธรรมนูญของประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะได้มีการนำหลักรัฐธรรมนูญนิยมมาใช้ในการจัดทำรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีสาระสำคัญในการจำกัดการใช้อำนาจของรัฐและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ กล่าวคือ เมื่อเรามีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการจำกัดอำนาจรัฐที่เหมาะสม ไม่ให้รัฐมีอำนาจเกินขอบเขต ก็จะทำให้ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้ารัฐมีอำนาจมากสามารถครอบงำประชาชนในทางต่างๆ ได้ เท่ากับว่าสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมีน้อยลง

โดยทั่วไปสิทธิและเสรีภาพมีความหมายที่แตกต่างกัน แต่มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ซึ่งสิทธิอาจก่อให้เกิดเสรีภาพได้ และเสรีภาพก็อาจก่อให้เกิดสิทธิได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม สิทธิและเสรีภาพเป็นสิ่งที่รัฐและประชาชนจะต้องมีอยู่อย่างเหมาะสมกับสภาพความเป็นไปภายในรัฐ เช่น วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม เป็นต้น ดังนั้น การบัญญัติถึงสิทธิและเสรีภาพจึงต้องมีการกระทำอย่างละเอียดรอบคอบ

นอกจากนี้สิทธิและเสรีภาพเมื่อมีการนำมาใช้อาจมีปัญหาในเชิงปฏิบัติ คือ การใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนอาจมีการกระทบสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่นได้ ดังนั้นการใช้สิทธิและเสรีภาพจะต้องมีการกำหนดขอบเขตการใช้ให้ชัดเจน ซึ่งหลักทั่วไปในการกำหนดขอบเขตของสิทธิและเสรีภาพในรัฐธรรมนูญ มักจะวางหลักว่า จะต้องไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน รวมทั้งต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นไปอย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยทั่วไปรัฐธรรมนูญจะมีบทบัญญัติในเรื่องการให้หลักประกันในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งในเชิงรูปธรรมจะต้องมีการกำหนดองค์กรที่จะทำหน้าที่ในการดูแลคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน องค์กรเหล่านี้ประกอบด้วย ศาลและองค์กรอิสระ ที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้การใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนถูกต้องเหมาะสมตามเจตนารมณ์ร่วมกันของสังคม

  • http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5811 [เอกสาร (สื่อ) ประกอบการสอน]
  • http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5811 [เอกสารการสอน]

คำสำคัญ : สิทธิเสรีภาพ

เอกสารอ้างอิง

  1. กลุ่มพลังวิชาการเพื่ออนาคาต. (2553). เจาะหลัก-ฎีกา กฎหมายปกครอง กฎหมายรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด พิมพ์อักษร.
  2. เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2546). ที่มาของกฎหมายมหาชน โครงการตำราคณะนิติศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  3. โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (2559). แนวคิดว่าด้วยสถาบันและกระบวนการทางการเมืองไทย ใน เอกสารการสอนชุดวิชา สถาบันและกระบวนการทางการเมืองไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  4. ณัฐกร วิทิตานนท์. (2557). หลักรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  5. บรรเจิด สิงคะเนติ. (2548). หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมฝ่ายปกครอง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ วิญญูชน.
  6.           . (2552). หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
  7. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2538). คำอธิบายกฎหมายมหาชน เล่ม 3 ที่มาและนิติวิธี. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
  8. บุญฤทธิ์ เพ็ชรวิเศษฐ์. (2554). เอกสารประกอบการสอนกระบวนวิชารัฐศาสตร์. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
  9. ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น จำกัด.
  10. ราชกิจจานุเบกษา. (2560 6 เมษายน 2560 เล่มที่ 134 ตอนที่ 40ก.). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.
  11. มานิตย์ จุมปา. (2541). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
  12. วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2543). สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
  13. วีระ โลจายะ. (2545). สิทธิเสรีภาพ ใน เอกสารประกอบการสอนชุดวิชากฎหมายมหาชน. นนทบุรี: สำนักพิพม์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  14. สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2548). กฎหมายรัฐธรรมนูญ หลักการใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  15. สมยศ เชื้อไทย. (2535). คำอธิบายหลักรัฐธรรมนูญทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เรือนแก้ว       การพิมพ์.
  16. หยุด แสงอุทัย. (2553). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  17. อภิชาติ แสงอัมพร. (2559). เอกสารประกอบการสอนรายวิชารัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง. สุรินทร์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
  18. อมร รักษาสัตย์. (2541). รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนพร้อมบทวิจารณ์. กรุงเทพฯ: บริษัท              ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
  19. อมร รักษาสัตย์ และคณะ. (2543). ประชาธิปไตย : อุดมการณ์ หลักการ และแบบอย่างการปกครองหลายประเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  20. อานนท์ อาภาภิรม. (2545). รัฐศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
บทความย้อนหลัง
  • https://pa.bru.ac.th/2021/08/04/constitution/ รัฐธรรมนูญ2475-2560
  • https://pa.bru.ac.th/2021/08/15/constitution2560/ รัฐธรรมนูญ 2560

กลับหน้าหลัก