หลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันมีอะไรบ้าง

โครงสร้างของรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 วางโครงสร้างการปกครองประเทศไทยไว้ดังนี้

1) รูปแบบของรัฐและระบอบการปกครอง

รัฐ หมายถึง ชุมชนทางการเมืองที่ประกอบด้วย ประชากร ซึ่งอาศัยอยู่ในดินแดนอันมีอาณาเขตที่แน่นอนและอยู่ภายใต้รัฐเดียวกัน มีอำนาจอธิปไตยเหนือประชากรของรัฐนั้น ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับจนถึงปัจจุบัน บัญญัติไว้ว่า "ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกัน จะแบ่งแยกมิได้" หมายความว่า ประเทศไทยจะแบ่งแยกออกเป็นรัฐหลายรัฐหรือเป็นไทยตอนเหนือตอนใต้ไม่ได้

ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีอำนาจอธิปไตยอันเป็นอำนาจสูงสุดที่มาจากปวงชนชาวไทยโดยมีพระมหากษัตริย์ ทางเป็นประมุข พระองค์จะทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล 

2) สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่

สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของปวงชนชาวไทยตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น สิทธิในการเลือกนับถือศาสนา สิทธิในชีวิตร่างกาย และทรัพย์สิน สิทธิส่วนบุคคลในครอบครัว เป็นต้น เสรีภาพและหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรมใด ๆอันไม่ขัดต่อกฎหมาย เช่น การจัดตั้งพรรคการเมือง เสียภาษีอากร และการใช้สิทธิเลือกตั้ง เป็นต้น

3) แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

แนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ เช่น รัฐจะต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช และบูรณภาพแห่งราชอาณาจักร รัฐต้องจักให้มีกองกำลังทหารไว้เพื่อพิทักษ์รักษาระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

4) รัฐสภา

รัฐสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวน 48 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง 2 แบบคือ การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และการเลือกตั้งแบบสัดส่วน จำนวน 80 คน ส่วนสมาชิกวุฒิสภามีจำนวน 150 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละ 1 คน รวม 76 คน และมาจากการสรรหาจำนวน 74 คน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ไม่ว่าจะได้มาในลักษณะใดก็มีศักดิ์และสิทธิแห่งการเป็นสมาชิกรัฐสภาประเภท นั้น ๆโดยเสมอกันและเท่าเทียมกันทุกประการ

5) พระมหากษัตริย์

หลักการสำคัญของคณะราษฎรที่ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มิได้มีจุดมุ่งหมายที่จะโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ เพียงแต่ต้องการให้พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ยังอยู่ในฐานะที่ปวงชนชาวไทยให้การเคารพสักการะเทอญไว้เหนือสิ่งอื่นใด ด้วยเหตุนี้รัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับจนถึงปัจจุบันจึงมีบทบัญญัติเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ตลอดมา ดังนี้

     1. พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิใด ผู้ใดจะฟ้องร้องหรือกล่าวหาพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้

     2. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก คือพระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนา และทรงอุปถัมภ์ทุกศาสนาที่ชาวไทยนับถือ โดยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 9 ระบุว่า เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงครองราชย์แล้ว จะทรงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่นมิได้

     3. พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย

     4. พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

     5. พระมหากษัตริย์ทรงสามารถมีพระราชวินิจฉัยแต่งตั้งคณะองคมนตรี เพื่อเป็นที่ปรึกษาพระราชกรณียกิจและหน้าที่อื่น ๆตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ

หลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันมีอะไรบ้าง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 เกิดขึ้นบนสถานการณ์ที่จะต้องนำพาประเทศไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ สมบูรณ์ โดยมุ่งที่จะขยายสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ลดการผูกขาดอำนาจรัฐ ทำให้การเมืองมีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญได้มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละภาคส่วนที่มีส่วน ร่วมทางการเมืองไว้ ดังนี้

1) ศาล ศาลเป็นองค์กรของผู้ใช้อำนาจตุลาการ ภายใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้มีศาล 4 ประเภท คือ

     1. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจพิจารณา วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายใดหรือการกระทำใด ๆจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้

     2. ศาลยุติธรรม มีอำนาจพิพากษาคดีทั่วไปที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลอื่น ศาลยุติธรรมเป็นที่พึ่งของประชาชนในกรณีที่เกิดข้อพิพาทกันไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา เพราะเมื่อเกิดข้อขัดแย้งกันขึ้น คู่พิพาทจะต้องให้ผู้เป็นกลางเป็นคนตัดสินให้ความยุติธรรมทั้งสองฝ่าย ผู้พิพากษาเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรมและจะเป็นผู้ตัดสินตามตัวบทกฎหมาย

     3. ศาลปกครอง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับประชาชน หรือระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำในทางปกครอง

     4. ศาลทหาร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทหารและคดีอื่น ๆให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งคดีอาญาทหาร หมายถึง คดีอาญาที่ผู้กระทำความผิดเป็นทหาร

2) คณะรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหาราชการแผ่นดิน ซึ่งประกอบไปด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คนและคณะรัฐมนตรีอีก 35 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

     1. นายกรัฐมนตรี ต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้นำชื่อเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งและประธานสภาลงนามเป็นผู้สนองพระราชโองการ

     2. รัฐมนตรี คือบุคคลที่นายกรัฐมนตรีพิจารณาเลือกให้เข้ามาทำงานร่วมกัน เรียกว่า คณะรัฐมนตรี ซึ่งจะเป็นบุคคลใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขณะนั้น แต่ต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมดกำหนด เช่น มีสัญญาติไทยโดยกำเนิด สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา เป็นต้น

3) องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้มีองค์กรอิสระซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้หลายองค์กร เช่น

     1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ควบคุมและดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งการออกเสียงประชามติให้เป็นไปอย่างสุจริตและเที่ยงธรรม ประกอบด้วยประธานกรรมการการเลือกตั้ง 1 คน ปละกรรมการอีก 4 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา

     2. คณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ไต่สวน และสรุปสำนวนข้อเท็จจริง พร้อมทั้งทำความเห็นเกี่ยวกับการถอดถอนข้าราชการระดับสูง หรือนักการเมืองออกจากตำแหน่ง และการดำเนินคดีทางอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองส่งไปยังศาลฎีกาและแผนก คดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมทั้งไต่สวนวินิจฉัยกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูงที่ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวย ผิดปกติ เป็นต้น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประกอบด้วยประธาน 1 คนและกรรมการอีก 8 คน โดยพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา

     3. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มีอำนาจหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน ให้คำปรึกษา แนะนำ และเสนอแนะให้เกิดการแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน และมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการวินัยทางการเงินและการคลังที่เป็นอิสระ ซึ่งประกอบด้วยประธาน 1 คนและกรรมการอีก 6 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทางแต่งตั้งจกผู็มีความชำนาญและประสบการณ์ด้านการตรวจ เงินแผ่นดิน บัญชี ตรวจสอบภายใน การเงิน การคลัง และอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง

     4. ผู้ตรวจการแผ่นดิน ทำหน้าที่พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงกรณีที่ข้าราชการหรือหน่วยงานของรัฐละเลยการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายจนทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชน ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ อีกทั้ง รายงานผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่พร้อมข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเป็นประจำทุกปี ผู้ตรวจการแผ่นดินมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน โดยพระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาและจากผู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชน

     5. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ส่งเสริมการเคารพและปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน ตรวจสอบแล้วรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เสนอมาตรการแก้ไขต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลตลอดจนเสนอแนะให้มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้ดีขึ้น

4) ประชาชน ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดการมีส่วนรวมทางการเมืองของประชาชนไว้หลายอย่าง เพราะถือว่าประชาชนเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ที่มีสิทธิกำหนดทิศทางการเมืองของประเทศไทย มิใช่เพียงแค่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาในวันเลือกตั้งเท่านั้น แต่ประชาชนยังมีส่วนร่วมทางการเมือง ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ดังนี้

     1. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่พวกเขาร่วมเสนอเข้ามา ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ

     2. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา เพื่อให้มีมติถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุด หากมีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ หรือส่อไปในทางทุจริต

     3. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงประชามติ ในกรณีที่มีการให้ออกเสียงประชามติ เพื่อแสดงความเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้น

อ้างอิงที่มา : http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/2033-00/  และไพศาล ภู่ไพบูลย์ อังคณา ตติรัตน์ และปนัดดา มีสมบัติงาม. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.1. พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันได้บัญญัติเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองไว้ในหมวดใด

กล่าวโดยสรุป รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นรัฐธรรมนูญลำดับที่ 20 ที่ได้ประกาศใช้ในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทย สาระสำคัญอยู่ในหมวดทั่วไป คือ “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรง ...

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันคือฉบับใด

ปัจจุบันประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาแล้ว 20 ฉบับ ฉบับปัจจุบันคือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560. คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจัดทำขึ้น ผ่านการออกเสียงประชามติโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 279 มาตรา

หลักการและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญคืออะไรบ้าง

เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ขยายสิทธิ เสรีภาพ และส่วนร่วมของพลเมืองในการเมือง การเพิ่มการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยประชาชน เพื่อให้เกิดความสุจริตและโปร่งใสในระบอบการเมือง การทำให้ระบบการเมืองมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับให้ความสำคัญสูงสุดกับสิ่งใด

1. การประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน โดยรัฐธรรมนูญจะมีการบัญญัติเรื่องสิทธิของ ประชาชนไว้อย่างชัดเจนเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะสิทธิขั้นพื้นฐานซึ่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับให้ความสาคัญสูงสุด

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันได้บัญญัติเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองไว้ในหมวดใด รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันคือฉบับใด หลักการและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญคืออะไรบ้าง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับให้ความสำคัญสูงสุดกับสิ่งใด หลักการสําคัญของรัฐธรรมนูญ 2560 หลักการของรัฐธรรมนูญมีอะไรบ้าง โครงสร้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน ประกอบด้วยอะไรบ้าง หลักการและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ คืออะไรบ้าง รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ฉบับที่เท่าไร โครงสร้างของรัฐธรรมนูญ มีลักษณะสําคัญอย่างไร รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน 2565