ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม หมายถึง

หน่วยที่5 

ปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจ

   การประกอบธุรกิจทุกประเภทมักได้รับผลกระทบจากปัจจัยและสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจผลกระทบนั้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่ธุรกิจนั้นตั้งอยู่  ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

5.1  ปัจจัยและสิ่งแวดล้อมภายใน (Internal Environment)ได้แก่

        1) บุคลากร 

เป็นปัจจัยและสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญมากที่สุด  เนื่องจากบุคลากรเป็นผู้สร้างคุณภาพของสินค้าและบริการให้แก่กิจการนั้น ๆ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่จะพัฒนาบุคลากรของตนโดยการฝึกอบรมหรือการจัดสัมมนา ในขณะเดียวกันบุคลากรเองก็ต้องเป็นผู้ที่รักการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาด้วย

        2) เงิน เป็นปัจจัยที่ทำให้กิจการดำเนินไปโดยราบรื่นผู้ประกอบการควรเป็นผู้ที่มีความสามารถในการจัดหาแหล่งเงินทุนและบริหารเงินทุนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

เพื่อให้กิจการประสบผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้

        3) วัตถุดิบ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการผลิตสินค้าผู้ประกอบการควรเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี มีปริมาณเพียงพอต่อการผลิต  นอกจากนี้ จะต้องคำนึงถึงว่าสามารถที่จะนำวัตถุดิบอื่นมาใช้ทดแทนได้หรือไม่

        4) เครื่องจักร เป็นปัจจัยในการเพิ่มผลผลิตให้มีทั้งปริมาณและคุณภาพตรงกับความต้องการของลุกค้าหรือผู้บริโภค  ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนคนงาน 

นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยภายในอื่น ๆ ด้วย

        5) การจัดการ เป็นวิธีการหรือรูปแบบในการนำเอาทรัพยากรทั้งหมดขององค์กรมาจัดการเพื่อให้การผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  การจัดการที่ดีจะช่วยลด

ต้นทุนในการผลิตเป็นการใช้ทรัพยากรที่อยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

        6) การตลาด  เป็นการดำเนินการเพื่อที่จะนำสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตไปสู่ลูกค้าหรือผู้บริโภค การตลาดมีส่วนสำคัญในการกำหนดตัวสินค้าและบริการที่จะผลิตออกมา  โดยอยู่บนพื้นฐานของความต้องการของผู้บริโภคเป็นสำคัญ

        7) ทำเล  เป็นปัจจัยภายในที่ผู้ประกอบการสามารถกำหนดเองได้ โดยเลือกทำเลให้มีความเหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง  เพื่อให้เกิดสภาพคล่อง

5.2  ปัจจัยและสิ่งแวดล้อมภายนอก (External Environment)  ได้แก่

        1) ภาวะเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยและสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตที่จะต้องคาดคะเนภาวะเศรษฐกิจไว้ล่วงหน้าเพื่อจะได้วางแผนปรับปรุงธุรกิจของตนเองให้เจริญรุ่งเรืองหรือประสบกับความสูญเสียให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

        2) ระบบการแข่งขัน ผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตจะต้องเป็นผู้ที่สามารถมองระบบการแข่งขันในธุรกิจของตนเองได้ว่าธุรกิจอยู่ในระดับใด  สามารถที่จะแข่งขันกับคู่แข่งได้หรือไม่ หากแข่งขันได้จะแข่งขันด้วยกลยุทธ์หรือวิธีการใดจึงจะสามารถชนะคู่แข่งได้

        3) สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรม  เป็นตัวกำหนดว่าสภาพสังคมและวัฒนธรรมในลักษณะนี้  เหมาะที่จะประกอบธุรกิจประเภทใด  เพื่อให้สินค้าและบริการที่ผลิตออกมาสามารถจำหน่ายได้ 

        4) สภาพแวดล้อมทางกฎหมาย  กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจตราขึ้นเพื่อให้การดำเนินธุรกิจต่าง ๆ เป็นไปด้วยความยุติธรรม  เช่น กฎหมายป้องกันการผูกขาด กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น ผู้ประกอบการที่ดี จึงควรดำเนินธุรกิจของตนภายใต้กฎหมาย แต่เนื่องจากภาวะแวดล้อมทางกฎหมายมีข้อกำหนดหรือข้อบังคับมากมายและกฎหมายบางฉบับเข้าใจยาก จึงมักมีที่ปรึกษาทางกฎหมายประจำกิจการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติ

        5) ภาวะทางการเมือง  การเมืองนับว่ามีอิทธิพลเหนือการควบคุมของธุรกิจเป็นอย่างมาก  นักธุรกิจจึงพยายามเข้ามามีบทบาททางการเมืองเพื่อจะได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการตรากฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจของตน

        6) เทคโนโลยี ผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตจะต้องเป็นผู้ที่แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ 

เกี่ยวกับเทคโนโลยีอยู่เสมอ เพราะเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 

ผู้ที่ก้าวทันเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมเท่านั้น จึงจะสามารถดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

แบ่งออกเป็น   2  ประเภทใหญ่ๆคือ

1.    ปัจจัยแวดล้อมที่ควบคุมได้  หมายถึง สภาพแวดล้อมภายในทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการภายในของธุรกิจ  เช่น

1.  วัตถุประสงค์ของธุรกิจ

              2.   ทรัพยากรของธุรกิจ

3.   การจัดการ

2.  ปัจจัยแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมได้   หมายถึง  สภาพแวดล้อมภายนอกกิจการที่ผู้ประกอบการไม่สามารถควบคุมได้  เช่น 

1.ปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจ

2. ปัจจัยแวดล้อมทางด้นสังคม

3.  ปัจจัยแวดล้อมทางด้านการเมืองและกฏหมาย

4.  ปัจจัยแวดล้อมทางด้านเทคโนโลยี

5.  ปัจจัยแวดล้อมทางการแข่งขัน

5.4  สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ

สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญมากต่อการดำเนินธุรกิจในแต่ละประเทศ โดยต้องคำนึงถึงขนาดของเศรษฐกิจ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ทรัพยากรการผลิตต่างๆ รวมทั้งทรัพยากรมนุษย์ การกระจายรายได้ ความเป็นเมืองและชนบท   รายได้ประชาชาติต่อหัว   อำนาจซื้อหรือความสามารถในการซื้อของประชาชน การออม การลงทุนของประชาชนและรัฐบาล ดุลการค้าและดุลการชำระเงิน ตลอดจนสาธารณูปโภค และสิ่งความอำนวยความสดวกต่างๆ เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา ถนน ท่าเรือ สนามบิน ซึ่งจะมีผลต่อการกระจายสินค้า สถาบันการเงินและระบบการเงินที่ได้มาตรฐาน ฯลฯ เป็นต้น

5.5 วัฒนธรรมองค์การ (Organizational culture) หรือ วัฒนธรรมบริษัท (Corporate culture) หมายถึง แนวทางที่ได้ยึดถือปฏิบัติกันในองค์การ ซึ่งวัฒนธรรมองค์การจะมีอิทธิพลต่อทัศนคติและพฤติกรรมของสมาชิกในองค์การ หรือหมายถึงโครงร่างเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจ (Cognitive framework) ซึ่งจะมีลักษณะ

บ่งชี้ถึงกลุ่มของค่านิยม (set of values) ซึ่งบุคคลที่อยู่ในองค์การนั้น ยึดถือร่วมกัน ค่านิยมเหล่านี้เป็นสิ่งที่ใช้เป็นเกณฑ์เพื่อตัดสินว่า พฤติกรรมใดเป็นสิ่งที่ดีและสามารถยอมรับได้ พฤติกรรมใดบ้างที่ไม่ดี และไม่อาจยอมรับได้ ตัวอย่างเช่น ในบางองค์การยึดถือค่านิยมว่า “การตำหนิลูกค้าไม่ว่ากรณีใดเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้” ดังนั้นจึงมักพบข้อความที่เขียน เพื่อเตือนใจพนักงานขององค์การให้ปฏิบัติต่อลูกค้าเป็น กฎ 2 ข้อ

    1. The customer is always right. 

    2. If the customer is ever wrong, go back to see rule # 1.

องค์การต่าง ๆ อาจมี ค่านิยมเชิงลบหรือเชิงบวกในการปฏิบัติงานก็ได้เช่น เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นมักจะโยนความผิดไปที่ลูกค้า การลงโทษพนักงานทุกกรณีที่ทำผิด หรือการปฏิบัติต่อพนักงานในฐานะที่เป็นสินทรัพย์ที่ทรงคุณค่า (Valuable assets) สูงสุดขององค์การ เป็นต้น ในแต่ละกรณีดังกล่าว ค่านิยมจึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้สมาชิกองค์การรู้ว่า ตนควรปฏิบัติอย่างไร ในองค์การนั้น

ค่านิยมององค์การส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่เกิดมาจากข้อสมมุติพื้นฐาน (basic assumption) ของพนักงานในบริษัทร่วมกัน จึงเป็นเรื่องยากถ้าจะให้ฝ่ายบริษัทเองกำหนดข้อสมมุติเหล่านี้ เพราะเป็นเรื่องของความเชื่อและค่านิยมส่วนบุคคลของพนักงาน ด้วยเหตุนี้ วัฒนธรรมองค์การที่เข้มแข็งและมีพลังของหน่วยงานใด ๆ ควรสะท้อนถึงค่านิยมและความเชื่อของพนักงานร่วมกัน 

อย่างไรก็ตาม องค์การบางแห่งได้พยายามระบุค่านิยมที่จำเป็นบางประการขึ้น เพื่อให้กลายเป็นวัฒนธรรมขององค์การ โดยผ่านกระบวนการฝึกอบรมให้แก่พนักงาน

อีกลักษณะหนึ่งที่ทุกนิยามค่านิยมมีเหมือนกัน ก็คือ การใช้สัญลักษณ์เป็นสื่อบ่งบอกความหมายของค่านิยมที่เป็นวัฒนธรรมขององค์การนั้น ตัวอย่างที่พบเห็นบ่อย เช่น สัญลักษณ์กากบาดสีแดงบนพื้นสีขาว เป็นเครื่องหมายแทนองค์การกาชาด ซึ่งแสดงค่านิยมเรื่องความเมตตากรุณา การให้การรักษาพยาบาลผู้ทุกข์ยาก หรือสัญลักษณ์ช่อใบมะกอก (ใบโอลีฟ) ภายใต้แผนที่โลกเป็นเครื่องหมายขององค์การสหประชาชาติ แสดงถึงค่านิยมด้านการรักษาสันติภาพของโลก เป็นต้น บริษัทและองค์การส่วนใหญ่จะพยายามสร้างตราสัญลักษณ์ที่แฝงด้วยค่านิยม หรือ วัฒนธรรมองค์การของตนนอกจากสัญลักษณ์แล้ว คำขวัญหรือ Slogan ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สะท้อนค่านิยมหรือความเชื่อซึ่งเป็นวัฒนธรรมองค์การ เช่นบริษัทผลิตเครื่องไฟฟ้าชาร์ป (Sharp) ใช้คำขวัญว่า “ชาร์ปก้าวล้ำไปในอนาคต” หรือบริษัทผลิตรถยนต์วอลโว่ ใช้คำขวัญว่า “ทุกชีวิตปลอดภัยในวอลโว่” เป็นต้น

กล่าวโดยสรุปจากลักษณะร่วมทั้ง 3 ประการของค่านิยมที่เป็นวัฒนธรรมองค์การ จึงอาจให้คำนิยามใหม่ของวัฒนธรรมองค์การได้ว่า “เป็นกลุ่มของค่านิยมที่มีการยึดถือร่วมกัน ซึ่งช่วยให้คนที่อยู่ในองค์การทราบว่า การกระทำใดบ้างที่เป็นที่ยอมรับหรือไม่อาจยอมรับได้ โดยค่านิยมดังกล่าวถูกสื่อสาร ถ่ายทอดและเผยแพร่ด้วยสัญลักษณ์คำขวัญเรื่องเล่า เป็นต้นทั่วทั้งองค์การ”

    ประโยชน์ของวัฒนธรรมองค์การ

ช่วยในการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมภายนอก (External adaptation) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำงานให้บรรลุผลสำเร็จ วิธีการที่ใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และวิธีการของการกำหนดขอบเขต ของความสำเร็จ และความล้มเหลวนั้น (Schermerhorn,Hunt and Osborn. 2003 :263) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการตอบคำถามต่างๆได้แก่ ภารกิจที่แท้จริงคืออะไร จะสร้างประโยชน์ได้อย่างไร เป้าหมายคืออะไร วิธีการที่ใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายคืออะไร อิทธิพลจากภายนอกคืออะไร ผลที่ได้จะเป็นอย่างไร อะไรคือสิ่งที่ต้องทำถ้าเป้าหมายที่กำหนดไว้ไม่สามารถบรรลุได้ เราจะบอกบุคคลอื่นถึงสิ่งที่ดีได้อย่างไร เราจะหยุดกิจกรรมเมื่อใด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้สมาชิกในองค์กรมีระสบการณ์ร่วมกัน และเกิดการพัฒนาทัศนะร่วมกัน

ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม หมายถึง


ประเด็นสำคัญในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอกจะเกี่ยวกับสิ่งสำคัญ 2 ประการ คือ 

    1. พนักงานจะต้องพัฒนาวิธีการที่ยอมรับและค้นหาวิธีการที่ดีที่สุด เช่น พนักงานบริษัท โตโยต้าจะพิจารณาถึงคุณภาพของรถยนต์และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่เกิดประโยชน์ต่อการนำเข้าสู่ตลาด

    2. แต่ละบุคคลจะต้องทราบถึงสาเหตุที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว เช่น บริษัท โตโยต้า มีการกำหนดจุดที่หยุดกิจกรรมที่ยากต่อการพัฒนา และคิดแนวทางเปลี่ยนทิศทางในการแก้ปัญหา

ช่วยในการประสมประสานภายใน (Internal integration) จะเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์การรวมกลุ่ม โดยการค้นหาวิธีการปรับตัวในการทำงาน และใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน (Schermerhorn, Hunt and Osborn. 2003:263) กระบวนการของการประสมประสานภายใน จะเริ่มต้นด้นด้วย การกำหนัดลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ โดยการรวบรวมแต่ละบุคคลและวัฒนธรรมกลุ่มย่อยภายในองค์การ การพัฒนาลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ การใช้สนทนาและปฏิกิริยาระหว่างกัน ประกอบด้วยการค้นหาโอกาสหรืออุปสรรคความก้าวหน้าเกี่ยวกับนวัตกรรมซึ่งเกิดจากการร่วมมือกัน

วัฒนธรรมองค์กร คือ สิ่งที่หล่อหลอมให้คนในองค์กรมีและเข้าใจกฎกติกาในการอยู่ร่วมกัน ทำหน้าที่หลอมให้คนในองค์กรมีความเชื่อและพฤติกรรม ไปในทิศทางเดียวกัน วัฒนธรรมทำให้คนในองค์กรอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และลดความขัดแย้ง 

วัฒนธรรมองค์กรช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายขององค์กรได้โดยง่าย ดังที่กล่าวข้างต้นว่า วัฒนธรรมองค์กรช่วยหล่อหลอมให้คนในองค์กร มีความเชื่อและพฤติกรรมไปในทางเดียวกัน ซึ่งทิศทางดังกล่าวก็คือวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายขององค์กรนั่นเอง อีกทั้งการมีความขัดแย้งภายในองค์กรในระดับต่ำ ย่อมทำให้องค์กรสามารถพัฒนาองค์กรได้เร็วกว่าองค์กรที่มีความขัดแย้งสูง เพราะทุกคนในองค์กรจะร่วมมือกันสร้างประโยชน์ ให้แก่องค์กร ไม่ใช่ขัดผลประโยชน์ส่วนตัว

วัฒนธรรมองค์กร เป็นสัญลักษณ์ อย่างหนึ่งของขององค์กร เช่น บริษัท 3M มีวัฒนธรรมหลักขององค์กร คือ การสร้างนวัตกรรมใหม่อยู่เสมอ ดังนั้นพนักงานทุกคนใน บริษัท 3M จะเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ พนักงานทุกระดับในบริษัทสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ แม้กระทั่งพนักงานทำความสะอาด สิงนี้เองที่ทำให้บริษัท 3M มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกสู่ตลาดเสมอ และในวงธุรกิจ จะยกให้บริษัท 3M เป็นบริษัทแห่งนวัตกรรม

แต่อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมองค์กรจะสร้างประโยชน์ให้แก่องค์กรได้ก็ต่อเมื่อวัฒนธรรมนั้นเหมาะสมกับกับองค์กรนั้นๆซึ่งความเหมาะสมของวัฒนธรรมองค์กรของแต่ละองค์กรก็มีความแตกต่างกันไป ตามสภาพแวดล้อมขององค์กร ลักษณะขององค์กร ฯลฯ อีกทั้งการจะมีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยทั่งระยะเวลาที่ยาวนาน ความเข้มแข็งของผู้นำ และความร่วมมือของคนในองค์กรอีกด้วย

องค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์การ

    วัฒนธรรมองค์การมีองค์ประกอบหลักที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ

ส่วนประกอบของวัฒนธรรมองค์การที่สังเกตเห็นได้ (Observable Culture Element) องค์ประกอบที่สังเกตเห็นได้ของวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตเห็นได้ทั้งภายในและภายนอก ทั้งสองอย่างเป็นองค์ประกอบที่สำคัญเช่นเดียวกับเครื่องแบบของบริษัท การใช้ภาษาเฉพาะ การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันที่เป็นทางการ การจัดสำนักงาน การตกแต่ง และการปรับชื่อเสียงบริษัทในเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ทางสังคม และลักษณะอื่นของวัฒนธรรมที่สังเกตเห็นได้รวมไปถึงเรื่องราวความเป็นมาของบริษัทและพิธีการ เรื่องราวเหล่านี้บอกสมาชิกองค์การถึงพฤติกรรมใดควรมีรางวัลตอบแทนและต้องทำวิธีการอย่างไร ในการที่จะบรรลุความสำเร็จ หรือสิ่งใดที่ทำให้พวกเขาต้องประสบปัญหาความลำบาก

ค่านิยมร่วมและความเชื่อ (Shared Values and Beliefs) องค์ประกอบอันที่สองของวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้ไม่ง่าย แม้กระทั้งสมาชิกขององค์การส่วนใหญ่ก็ได้ตระหนักถึงค่านิยมหลักและความเชื่อร่วมของสมาชิกในองค์การว่าสิ่งใดสำคัญและสิ่งใดไม่สำคัญ

ข้อสมมติฐาน (Basic Assumption) ข้อสมมติฐานที่เป็นเครื่องสะท้อถึงค่านิยมได้แก่ ความถูกต้อง ความซื่อตรง ความยุติธรรม ความนอบน้อม ผลประโยชน์ ความเห็นอกเห็นใจ ความทระนงของแต่ละบุคคล และความมัธยัสถ์ ข้อสมมติฐานซึ่งเป็นรากฐานของค่านิยมนี้ เป็นความเชื่อมั่นที่มีต่อบุคคลที่จะทำดีหรือถูกต้องหรือมีศีลธรรม ซึ่งมีผลต่อความประพฤติที่บุคคลได้แสดงออกมา พนักงานจะแสดงพฤติกรรมออกมาแตกต่างกัน


การสร้างสรรค์วัฒนธรรมองค์การ

    การสร้างสรรค์วัฒนธรรมองค์การก็เหมือนกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อขายให้กับลูกค้า แต่แตกต่างกันที่กระบวนการของการสร้างสรรค์ วัฒนธรรมองค์การคือ กระบวนการที่แท้จริงในการเชื่อมโยงค่านิยมเชิงกลยุทธ์ (Strategy Values) กับค่านิยมทางวัฒนธรรม (Cultural Values) กระบวนการของการสร้างสรรค์วัฒนธรรมองค์การมี 5 ขั้นตอนดังนี้

การกำหนดค่านิยมเชิงกลยุทธ์ ค่านิยมเชิงกลยุทธ์ คือ ความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

ขององค์การซึ่งเป็นตัวกำหนดกลยุทธ์ที่ได้พิจารณากลั่นกรองของสิ่งแวดล้อมและการวิเคราะห์กลยุทธ์เพื่อประเมินทางด้านเศรษฐกิจประชากร นโยบายสาธารณะเทคโนโลยีและสังคม

พัฒนาค่านิยมทางวัฒนธรรม คือ ค่านิยมที่พนักงานต้องการที่จะปฏิบัติเพื่อให้องค์การสามารถ

ดำเนินตามค่านิยมเชิงกลยุทธ์ได้ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อขององค์การที่ว่าองค์การสามารถประสบความสำเร็จได้อย่างไร และเมื่อใด ถ้าองค์การไม่พยายามที่จะพัฒนาค่านิยมทางวัฒนธรรมให้เชื่อมโยงกับการกำหนดค่านิยมทางกลยุทธ์

การสร้างวิสัยทัศน์ คือ ภาพขององค์การว่าจะอยู่จุดใดเมื่อมีการพัฒนาค่านิยมเชิงกลยุทธ์และ

ค่านิยมทางวัฒนธรรมแล้ว องค์การจะต้องกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การใช้เป็นแนวทางร่วมกันระหว่างค่านิยมเชิงกลยุทธ์กับค่านิยมทางวัฒนธรรม

การเริ่มดำเนินกลยุทธ์ คือ เป็นการสร้างค่านิยมและเริ่มปฏิบัติเพื่อบรรลุตามวิสัยทัศน์ที่ได้กำหนด

ไว้ การเริ่มต้นดำเนินกลยุทธ์มักจะครอบคลุมหลายปัจจัย ตั้งแต่การพัฒนาการออกแบบองค์การไปจนถึงการสรรหาและการฝึกอบรมพนักงานที่มีค่านิยมร่วมและการดำเนินการตามค่านิยมร่วมนั้น โดยมีค่านิยมเชิงกลยุทธ์และค่านิยมทางวัฒนธรรมเป็นตัวกระตุ้นหรือสิ่งเร้าเพื่อให้เกิดการปฏิบัติ

การเสริมแรงพฤติกรรมทางวัฒนธรรม คือ การเสริมแรงทางพฤติกรรมทางวัฒนธรรมสามารถจะกระทำได้หลายรูปแบบ 

รูปแบบแรก การจัดระบบการให้รางวัลอย่างเป็นทางการในองค์การซึ่งจะต้องตอบสนองความต้องการทางพฤติกรรมในหลาย ๆ ด้าน เพื่อให้เกิดค่านิยมแก่พนักงาน 

รูปแบบที่สอง องค์การจะต้องบอกเรื่องราวต่าง ๆ ไปยังพนักงานทุกคนเพื่อเสริมสร้างค่านิยมทางวัฒนธรรม 

รูปแบบที่สาม องค์การจะต้องเน้นให้พนักงานทำสิ่งต่าง ๆ ที่สำคัญ ๆ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามวิสัยทัศน์ขององค์การ และให้เกิดผลปฏิบัติได้อย่าง จริงจัง

ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม หมายถึงอะไร

2. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่การสนับสนุนทางสังคม และสภาพแวดล้อมในการ ทางาน องค์การที่มีการส่งเสริมให้มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออานวยต่อการปฏิบัติงาน ทั้งทางด้าน ทรัพยากร อุปกรณ์เครื่องมือที่เพียงพอ สถานที่ที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน อีกทั้งการส่งเสริม บรรยากาศในการทางานที่มีการเกื้อกูลกัน มีความเอื้อเฟื้อต่อกัน มี ...

ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทํางานมีอะไร

สภาพแวดล้อมในการทํางาน หมายถึง สิ่งที่อยู่รอบตัวและเอื้ออํานวยให้คนทํางานได้อย่าง มีคุณภาพ ส่วนที่สําคัญคือ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่แสง สถานที่ในทํางาน เสียง อุณหภูมิ วัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งได้แก่การจัดการ สวัสดิการค่าตอบแทนความสัมพันธ์กับผู้ควบคุมงานและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ( ...

สภาพแวดล้อมขององค์การหมายถึงอะไร

หมายถึง : ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ภายนอกขอบเขต ขององค์การซึ่งมีผลกระทบต่อองค์การหรือส่วนใด ส่วนหนึ่งขององค์การ

องค์ประกอบสำคัญของสิ่งแวดล้อมมีอะไรบ้าง

สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีองค์ประกอบ 3 ประการดังนี้ 1. ลักษณะภูมิประเทศ 2. ลักษณะภูมิอากาศ 3. ทรัพยากรธรรมชาติ