ลิ้นควบคุมความดันน้ำมันทำหน้าที่อะไร

หลักการทำงานของระบบควบคุมเครื่องยนต์ใน Peugeot 406 EA9

<< < (4/23) > >>

zuzarz:
Tweet

2.3   Fuel Pressure regulator - ตัวควบคุมแรงดันน้ำมัน
     ด้วยเหตุที่หัวฉีดจะเปิดทางให้น้ำมันไหลผ่านออกไปเท่ากันทุกครั้ง ฉะนั้นจึงมีความสำคัญจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งเข้าหัวฉีดให้คงที่ที่ 3.5 Bar. ตลอดเวลาเพื่อไห้ได้ปริมาณการฉีดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วยเวลาคงที่เสมอ โดยมี Fuel Pressure Regulator ทำหน้าที่ควบคุมรักษาแรงดันให้คงที่   ตัวของ Pressure Regulator ประกอบด้วยเสื้อโลหะทรงกระบอกที่ถูกแบ่งเป็น 2 ห้องด้วยแผ่น Diaphragm ที่มีวาล์วติดอยู่ตรงกลาง ในห้องหนึ่งมีสปริงคอยดันแผ่น Diaphragm ไว้ทำให้วาล์วไปปิดทางไหลกลับของน้ำมันในอีกห้องหนึ่งที่ต้องการควบคุมแรงดันน้ำมัน   ต่อเมื่อมีน้ำมันเข้ามาในห้องควบคุมแรงดันก็จะออกแรงกดแผ่นDiaphragm ลงจนเมื่อแรงดันนี้เอาชนะแรงสปริงได้วาล์วก็จะเปิดทางให้น้ำมันส่วนที่ทำให้เกิดความดันส่วนเกินไหลกลับคืนลงถังไป  ใน  PG406 Pressure Regulator  นี้จะประกอบรวมกันอยู่ในหน่วยเดียวกันกับ ปั๊มน้ำมันและลูกชุดลูกลอย   จากหลักการทำงานจะพบว่าถ้าแผ่น Diaphragm รั่วหรือฉีกขาดจะทำให้แรงดันน้ำมันในระบบสูงขึ้นและเมื่อมีสิ่งใดไปติดค้างที่วาล์วหรือสปริงล้าอ่อนแรงก็จะทำให้แรงดันลดลงกว่าค่ากำหนดซึ่งล้วนแต่ทำให้ปริมาณการฉีดจ่ายน้ำมันเข้าลูกสูบผิดพลาดไปด้วย

ภาพแสดงผังของระบบส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของ PG406 และโครงสร้างของ Pressure regulator

zuzarz:
Tweet

2.4   SCHRADER VALVE - วาล์วปล่อยแรงดันน้ำมันในรางหัวฉีด
     วาล์วปล่อยแรงดันน้ำมันในรางหัวฉีด มีลักษณะเหมือนกับจุ๊บลมยางล้อรถ มีไว้เพื่อ ปล่อยแรงดันน้ำมันในรางหัวฉีดออก  หรือจะใช้ต่อเข้ากับ Pressure Gauge เพื่อตรวจสอบแรงดันในระบบ หรือจะต่อเข้ากับมาตรวัดอัตราการไหลเพื่อตรวจสอบปริมาณการส่งจ่ายน้ำมันของปั๊มก็ได้

ภาพ SCHRADER VALVE - วาล์วปล่อยแรงดันน้ำมันในรางหัวฉีด

zuzarz:
Tweet

2.5   Injector - หัวฉีด
Electronic fuel injector มีหน้าที่ฉีดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าให้แต่ละลูกสูบทางด้านท่อไอดีใกล้ๆกับลิ้นไอดี ตามจังหวะและระยะเวลาการฉีดที่ ECU กำหนดให้
การทำงานของหัวฉีด หัวฉีดประกอบด้วยตัวเสื้อที่มีขดลวดไฟฟ้าที่พันอยู่บนปลอกบังครับแกนวาล์ว และแกนวาล์วที่มีแม่เหล็กถาวรติดอยู่ที่ปลายบน  ส่วนปลายอีกข้างจะมีวาล์วติดอยู่   และมีสปริงคอยดันให้วาล์วนั่งปิดรูหัวฉีดไว้ตลอด     ทันทีที่ ECU สั่งจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ขดลวดก็จะเกิดสนามแม่เหล็กไปดึงแม่เหล็กถาวรบนแกนวาล์วให้ยกสูงขึ้น ประมาณ 0.1 ม.ม. น้ำมันเชื้อเพลิงในรางหัวฉีดที่มีแรงดันคงที่ 3.5 Bar. ก็จะไหลผ่านไส้กรองของหัวฉีดผ่านพื้นที่วงแหวนที่เกิดจากการยกตัวของวาล์วกับรูที่ปลายหัวฉีดออกไปเป็นละอองน้ำมันจนกว่า ECU จะหยุดการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ขดลวด    ปกติ ECU จะจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ขดลวดช่วงสั้นๆประมาณ 1-2 ส่วนในพันส่วนของวินาที (1-2 ms) เท่านั้น   ฉะนั้นปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ฉีดจ่ายออกไปจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาการเปิดหัวฉีดนั่นเอง

ภาพประกอบโครงสร้างและหลักการทำงานของหัวฉีด

zuzarz:
Tweet

2.6   Inertia Fuel Shutoff Switch (IFS) ? สวิทซ์ตัดน้ำมัน
      IFS คืออุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยชนิดหนึ่ง เป็นสวิทช์ที่ทำงานทันทีที่มีแรงกระแทกอย่างฉับพลัน
     หลักการทำงานของ IFS   คือทันทีที่มีแรงกระแทกประมาณ 10-12 G หรือมากกว่า เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ลูกบอลเหล็กที่ถูกแรงแม่เหล็กถาวรดูดอยู่ให้ติดอยู่ด้านล่างก็จะกระเด้งขึ้นไปชนแผ่นสปริงที่ถูกรั้งไว้ (spring loaded) ให้ดีดตัวขึ้น หน้าสัมผัสของสวิทช์ก็จะแยกออกจากขั้วต่อ และจะอยู่ในสภาวะนั้นจนกว่าจะกดปุ่ม (Manual reset) ให้คืนสู่สภาวะเดิม
     นั่นคือสวิทช์นี้จะทำงานเมื่อรถยนต์วิ่งด้วยความเร็วประมาณ 35 กม/ชม วิ่งเข้าชนเสาตอหม้อแล้วหยุดทันที!!!!

ภาพประกอบโครงสร้างของ IFS

zuzarz:
Tweet

        ใน Peugeot 406 EA9 สวิทช์ IFS นี้จะทำหน้าที่ตัดไฟที่จ่ายให้กับ Double Relay ตัวที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ดังในภาพประกอบ และตั้งแต่รุ่นปี 2002   IFS Switch นี้ถูกตัดออกไปแล้ว

ภาพประกอบอุปกรณ์ทำงานต่างๆที่  IFS ไปตัดการจ่ายไฟ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

วาล์วควบคุมแรงดัน, Pressure Control Valves หรือ วาล์วควบคุมแรงดัน

  วาล์วควบคุมแรงดัน (Pressure Control Valves)

  วาล์วควบคุมความดันไฮดรอลิก ทำหน้าที่ควบคุมความดันสูงสุดของระบบไฮดรอลิก ควบคุมการทำงานของปั๊ม และปรับลด-เพิ่มความดันให้ได้ตามต้องการ      วาล์วควบคุมความดันในระบบไฮดรอลิกมีอยู่ 4 ประเภท

  • วาล์วจำกัดความดัน (Relief Valve) แบ่งเป็น 2 แบบ
                   

1. วาล์วจำกัดความดัน แบบโดยตรง (derect operataed relief valve)
                  2. วาล์วจำกัดความดัน แบบโดยผ่านสัญญานควบคุม (Pilot operated relief valve)

  • วาล์วไฮดรอลิกลดความดัน (Pressure reducing valve)
                    

1. ความดันของวงจรย่อยคงที่ (Constant reduced pressure valve)
                   2. ลดความดันด้วยปริมาณคงที่ (Fixed amount reduction valve)

  • วาล์วไฮดรอลิกควบคุมลำดับการทำงาน (Pressure sequence valve)
 
  • วาล์วไฮดรอลิกแบบลัดวงจร (Unload valve)
 

วาล์วไฮดรอลิกจำกัดความดัน (Hydraulic relief valve)

 

ลิ้นควบคุมความดันน้ำมันทำหน้าที่อะไร

ลิ้นควบคุมความดันน้ำมันทำหน้าที่อะไร

วาล์วระบายความดัน (Relief valve)

  วาวล์จำกัดความดันเป็นวาล์วที่ใช้ในการควบคุมความดันสูงสุดของระบบ โดยปกติจะมีปั๊มเป็นตัวจ่ายน้ำมันไฮดรอลิกเพื่อส่งเข้าสู่อุปกรณ์ต่างๆ ในระบบ และเนื่องจากมีการจ่ายน้ำมันเข้าระบบปริมาณมาก ระบบจึงเกิดแรงดันขึ้น จึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่จะช่วยระบายแรงดันส่วนเกินออก โดยเมื่อความดันของระบบสูงขึ้นจนค่าแรงสปริงที่วาล์วระบายความดันตั้งไว้ วาล์วก็จะระบายนํ้ามันไฮดรอลิกออกจากระบบเพื่อลดความดันของระบบลง เพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ไฮดรอลิกเกิดการชำรุดเสียหาย วาล์วระบายความดัน หรือรีลีฟวาล์วจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

  1. วาล์วระบายความดันแบบทางตรง (Direct operate relief valve)

  เป็นวาล์วระบายความดันโดยอาศัยหลักการของแรงดันมากระทำกับก้านวาล์วและค่าของสปริงโดยตรง เหมาะกับงานที่มีอัตราการไหลของปั้มไฮดรอลิกที่ไม่สูงมาก (ไม่เกิน 60 ลิตร/นาที) นอกจากนี้ยังสามารถนำไปต่อเป็นการทำงานแบบรีโมทได้อีกในกรณีที่เครื่องจักรมีขนาดใหญ่และต้องการปรับค่าจำกัดความดันในจุดต่างๆของเครื่องจักร 
ข้อดีของรีลีฟชนิดนี้คือ ตอบสนองการปรับความดันเร็ว ราคาถูก
ข้อเสียรับอัตราการไหลได้น้อยไม่เหมาะกับปั๊มขนาดใหญ่

  วาล์วจำกัดความดันแบบทางตรง (Direct operate relief valve)

ลิ้นควบคุมความดันน้ำมันทำหน้าที่อะไร

ลิ้นควบคุมความดันน้ำมันทำหน้าที่อะไร

ลิ้นควบคุมความดันน้ำมันทำหน้าที่อะไร

2. วาล์วระบายความดันทางแบบทางอ้อมโดยผ่านสัญญานควบคุม (Hydraulic pilot operated relief valve) วาล์ไฮดรอลิกควบคุมทิศทางแบบอ้อม ประกอบด้วยวาล์วควบคุมความดันสัญญาณ หรือก็คือวาล์วระบายแรงดันแบบทางตรงที่มีไว้เพื่อควบคุมความดันในไลท์ไพล๊อตหรือในที่นี้เรียกไพล๊อตวาล์ว (pilot valve) โดยจะทำหน้าที่เป็นตัวควบคุม การทำงานของวาล์วหลัก (main valve)   ถ้าความดันของน้ำมันในระบบตํ่ากว่าความดันของวาล์วที่ตั้งไว้ วาล์วหลักก็จะปิดอยู่โดยนํ้ามันจากทางเข้าก็จะไหลผ่านไปอยู่ด้านหลังของตัวลิ้นของวาล์วหลัก ทำให้ความดันทั้งสองด้านของตัวลิ้นสมดุล เมื่อความดันของระบบเพิ่มขึ้น ความดันของนํ้ามันในช่องหมายเลข 2 (pilot line)ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งถ้าความดันนี้สูงจนชนะแรงสปริงของวาล์วไพล๊อต (pilot valve) นํ้ามันจากline pilot  ก็จะไหลออกทางช่องระบายด้านบนสู่ไลน์แท้ง ทำให้นํ้ามันด้านหลังของตัวลิ้นของวาล์วหลัก(main valve)ลดลง ตัวลิ้นของวาล์วหลักก็จะเปิดให้นํ้ามันไหลกลับเข้าถัง และตัวลิ้นนี้จะปิดลงอีกเมื่อความดันของระบบลดลงตํ่ากว่าแรงสปริงของวาล์วนำ วาล์วแบบนี้จะใช้กับระบบที่มีปริมาณการไหลสูงและต้องการความดันของระบบค่อนข้างคงที่ขณะที่ระบายนํ้ามันออก

  วาล์วไฮดรอลิกควบคุมทิศทางแบบทางอ้อม (Hydraulic pilot operated relief valve)

 

ลิ้นควบคุมความดันน้ำมันทำหน้าที่อะไร

สิ่งควรรู้ในการใช้งานรีลีฟ ทั้งสองแบบ ทั้งReliefแบบ direct operated และแบบPilot operated
1  ความดันสูงสุดที่สามารถปรับตั้งได้  คือค่า cracking spring ที่เวลาเราขันอัดเข้าไปนั่นเอง
2 ความดันต่ำสุดที่สามารถทำงานได้ คือค่า cracking spring ที่เวลาเราคลายออกสุดนั่นเอง
3 อัตราการไหลที่สามารถ รับได้  ควรเลือกให้พอดีกับขนาดปั๊ม ไม่มากไป หรือน้อยไป
4 การทนความดันสูงสุด

  บริษัท วี-เท็ค เอ็นจิเนียริ่ง ซัพพลาย จำกัด
108/14 หมู่2 ตำบลบางม่วง อำเภอ บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140

  Website : https://www.vtechengineering.com

  FACEBOOK:  https://m.facebook.com/servicehydraulic/

    Tel : 02-195-6342 Fax : 02-195-6344

  E-MAIL: [email protected]

  คุณจิรศักดิ์ โอฬารประโมช
TEL.0831783858
 ID LINE : yongkubb