คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทํางานอะไร

รีวิวมนุษยศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาสำคัญของผู้คนทั่วโลกที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารและเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาค้นคว้าความรู้ทางวิชาการได้อย่างกว้างขวาง ด้วยเหตุนี้วิชาภาษาอังกฤษจึงเป็นวิชาบังคับเรียนตั้งแต่ระดับประถมไปจนถึงมหาวิทยาลัยในระบบการศึกษาของไทย และมีน้องๆ ม.ปลายจำนวนไม่น้อย ที่มีความชอบและอยากจะศึกษาเกี่ยวกับภาษาอังกฤษอย่างลึกซึ้งเพื่อนำทักษะความรู้ไปใช้ประโยชน์ด้านที่ตัวเองสนใจในอนาคต ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งถือได้ว่ามีชื่อเสียงระดับประเทศ ต้องอยู่ในความคิดอันดับแรกๆ ของน้องๆ อย่างแน่นอน เพราะสาขาวิชานี้เปิดสอนมาพร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อายุกว่า 60 ปี ถือเป็นภาควิชาเก่าแก่และเป็นภาควิชาหลักที่มีส่วนสำคัญในการเรียนการสอนของทุกคณะในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

น้องๆ ที่เข้ามาเรียนในสาขานี้กว่า 50% คือคนที่สอบผ่านระบบรับตรงโควตาของคณะที่ว่ากันว่าทั้งยากและคะแนนโหดมาก ดังนั้นคนที่เข้ามาเรียนในสาขานี้ได้ จะต้องมีพื้นฐานความรู้และทักษะทางภาษาอังกฤษกันพอสมควร เพราะการเรียนการสอนจากอาจารย์ทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่มากด้วยคุณวุฒิและประสบการณ์จะเข้มข้นและเน้นความรู้เชิงวิชาการเป็นหลัก โดยที่นี่เรียนกัน 4 ปี และน้องๆ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ จะมีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า “มนุษย์อิ๊ง” สำหรับน้องมนุษย์อิ๊งปี 1 จะต้องเรียนวิชาพื้นฐานเหมือนกับนักศึกษาทั่วไปในคณะ คือ จิตวิทยา ภาษาไทย วิชาทางมนุษยศาสตร์ และภาษาอังกฤษที่เน้นทักษะในการฟัง พูด และเขียน จากนั้นในปีที่ 2 น้องๆ จะได้เรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการพูดนำเสนอผลงาน การเขียนเรียงความ วรรณคดี และภาษาศาสตร์เบื้องต้น เมื่อขึ้นปี 3 จะเรียนลึกลงไปเกี่ยวกับภาษาศาสตร์ ทักษะการเขียนเชิงวิชาการ ระบบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ รวมถึงวิชาวรรณคดีเพิ่มเติมทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรอง บทละคร และในชั้นปีที่ 4 จะได้เรียนวิชาการวิจัยและกระบวนวิชาเลือกตามความถนัดและความสนใจ คือ ภาษาศาสตร์ วรรณคดี ทักษะการสื่อสาร โดยในเทอมที่ 2 นักศึกษาจะต้องทำงานวิจัย ค้นคว้า และนำเสนอผลงาน

นอกจากเก่งในด้านวิชาการแล้ว น้องๆ สาขาวิชานี้ส่วนมากก็เป็นนักกิจกรรมที่เก่งเช่นเดียวกัน ​โดยกิจกรรมสำคัญของภาควิชานี้ที่น้องๆ ในทุกชั้นปีจะต้องได้ร่วมคือ การแสดงละครเวทีภาษาอังกฤษ เพราะนักศึกษาสาขานี้จะต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาและความเข้าใจด้านวัฒนธรรมที่หลากหลายของคน ดังนั้นประสบการณ์ที่ห้องเรียนอาจจะสอนไม่ได้ น้องๆ จึงต้องเรียนรู้เองจากประสบการณ์ต่างๆ ก่อนออกไปใช้ชีวิตจริงในสังคม และแน่นอนว่าจบสาขานี้สามารถทำงานได้หลากหลายทั้ง งานสายวิชาการ เช่น ครู อาจารย์ ผู้ช่วยวิจัย หรืองานสายบริการ เช่น มัคคุเทศก์ เลขานุการ แอร์โฮสเตส พนักงานต้อนรับ หรือสายงานธุรกิจ เช่น ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างประเทศ เจ้าหน้าที่แปลเอกสาร เจ้าหน้าที่ด้านการศึกษา เจ้าหน้าที่พิสูจน์อักษร เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อ หรือประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร

- เป็นสาขาวิชาเปิดสอนมาพร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อายุกว่า 60 ปี
- เป็นภาควิชาเก่าแก่และเป็นภาควิชาหลักที่มีส่วนสำคัญในการเรียนการสอนของทุกคณะในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จบมาทำงานอะไร

บัณฑิตสาขาวิชาเอกภาษาอังกฤษ สามารถทำงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษา และความเข้าใจด้านวัฒนธรรมได้หลากหลายประเภท ดังนี้
1. สายวิชาการ เช่น ครู อาจารย์ ผู้ช่วยวิจัย
2. สายบริการ เช่น มัคคุเทศก์ เลขานุการ แอร์โฮสเตส พนักงานต้อนรับ
3. สายงานธุรกิจ เช่น ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้แทนฝ่ายขาย ผู้จัดการฝ่ายขาย เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน พนักงานฝ่ายต่างประเทศ พนักงานต้อนรับอาคันตุกะต่างประเทศ เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม เจ้าหน้าที่แปลเอกสาร เจ้าหน้าที่การศึกษา เจ้าหน้าที่พิสูจน์อักษร เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

สมัครเรียนทำอย่างไร

ระบบรับตรง
โครงการรับนักเรียนที่มีผลการเรียนดี
- นักเรียนชั้นม.6 โดยมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 4 เทอม (ชั้นม. 4 - 5) ไม่น้อยกว่า 3.50
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) รายวิชาภาษาอังกฤษ 4 เทอม (ชั้นม. 4 - 5) ไม่น้อยกว่า 3.50
- มีประสบการณ์ในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร อาจจะมีประกาศนียบัตร/เกียรติบัตร หรือรางวัลมาแสดง
- ไม่มีความพิการที่เป็นอุปสรรคตอ่ การพูด การได้ยิน และการมองเห็น
- ผ่านการสอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ ของทางสาขาวิชาฯ
- สมัครผ่านเว็บไซต์ www3.reg.cmu.ac.th

โควตา 17 จังหวัดในเขตภาคเหนือ (เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ เชียงราย น่าน ลำพูน พะเยา แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร และอุทัยธานี)
- กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาชั้นม.5 หรือ 6 ทุกแผนแผนการเรียน
- ผ่านการทดสอบของมหาวิทยาลัย
- สมัครผ่านทางเว็ปไซต์ https://www.reg.cmu.ac.th

แอดมิชชัน
พื้นฐานวิทยาศาสตร์
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 30%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 20%

พื้นฐานศิลปศาสตร์
- O-NET 30%
- GPAX 20%
- GAT 50%

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

120, 000 บาท

รายละเอียดค่าใช้จ่าย

15, 000 บาท/เทอม

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทํางานอะไร

หลายคนอาจจะสงสัยว่าเรียนสาขามนุษยศาสตร์จบมาแล้วไปทำอะไรได้บ้าง จริงๆ แล้วข้อดีของการเรียนมนุษยศาสตร์คือไม่มีอาชีพที่ตายตัวแบบงานสาขาอื่นๆ เพราะฉะนั้นเลยขึ้นอยู่กับคนที่เรียนเลยว่าอยากทำงานสาขาอะไร แต่วันนี้จะยกงานที่หลากหลายมากขึ้น

(อย่างไรก็ตาม รายได้อาจจะมากน้อยตามประเภทบริษัท พื้นที่ประเทศหรือจังหวัดที่ทำ หรือประสบการณ์ เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งตกใจว่าทำไมถึงไม่มีอาชีพนี้ อาชีพนี้มาอยู่ได้ยังไง หรือทำไมอาชีพนี้ไม่เห็นเกี่ยวกับสาขามนุษยศาสตร์เลย)

1. Content Marketing/Content Strategist

ในยุคนี้สมัยนี้งานสายคอนเทนต์กำลังมาแรงเพราะฉะนั้นการเป็นคนวางแผนคอนเทนต์ให้ผลิตภัณฑ์หรือตามเอเจนซี่จึงเป็นที่ต้องการในตลาด ใครๆ ก็อยากให้งานออกมาปัง น่าสนใจ การจะเป็นคนที่ผลิตคอนเทนต์ที่ออริจินัลและน่าสนใจได้อาจจะไม่ได้ใช้แค่กลไกตลาด แต่ใช้ความน่าสนใจ ความสร้างสรรค์ด้วย คนเรียนสาขามนุษยศาสตร์ที่เรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้อาจจะมาช่วยเติมเต็มในด้านนี้ได้

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทํางานอะไร

2. Creative

อาชีพนี้แม้ส่วนใหญ่จะจบสายนิเทศหรือศิลป์ แต่ก็มีสายมนุษย์ศาสตร์ที่ไปเป็นครีเอทีฟหลายคน ยกตัวอย่างพี่ป๋อมแป๋ม อดีตพิธีกรรายการเทยเที่ยวไทย ที่เริ่มต้นเป็นครีเอทีฟรายการต่างๆ อยู่เบื้องหลังก่อนจะเป็นพิธีกรอยู่เบื้องหน้าก็จบสายมนุษยศาสตร์มาเช่นกัน เพราะฉะนั้นไม่สำคัญว่าจะจบสายอะไร ถ้ามีความสามารถ ใจรักและความตั้งใจแล้วจะทำอะไรก็ได้

3. Technical Editor

เราอาจจะได้ยินการเป็น Editor หรือบรรณาธิการตามนิตยสารหรือสำนักพิมพ์เชิงไลฟ์สไตล์กันมาบ้าง แต่วันนี้จะมาแนะนำอาชีพ Technical Editor หรือบรรณาธิการสายเทคนิค อาชีพนี้จะเป็นแผนกคอยปรู๊ฟ แก้ไขคำศัพท์เชิงเทคนิคในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ไม่ค่อยเห็นในชีวิตประจำวันทั่วไป เช่น อุตสาหกรรมเครื่องยนต์ อุตสาหกรรมเทคนิคอื่นๆ อาจจะได้ใช้หลายภาษาก็ได้แล้วแต่ชนิดของอุตสาหกรรมและกลุ่มเป้าหมายที่เลือกไป

4. Tutor

งานสอนพิเศษหรือติวเตอร์ถือว่าเป็นงานที่มีรายได้ต่อชั่วโมงสูงทีเดียว คนที่เรียนสาขามนุษยศาสตร์จะได้รับความเชื่อถือจากผู้ปกครองและนักเรียนส่วนใหญ่ในการสอนวิชาประเภทสังคม ประวัติศาสตร์ ภาษาต่างๆ หรือการสอบที่จำเพาะเจาะจง เช่น SAT IELTS TOEIC TOEFL การเขียน การพูดต่างๆ และอื่นๆ อีกมากมาย เรียกว่าทางเลือกสายนี้เปิดโอกาสให้คนเรียนสายมนุษยศาสตร์ที่รักการสอนหรือการอธิบาย บางคนก็สอนเป็นรายได้เสริม บางคนก็สอนจนเป็นรายได้หลักได้เลย

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทํางานอะไร

5. เจ้าหน้าที่กระทรวง

อาชีพนี้แม้จะมีการแข่งขันมาก ต้องสอบหลายวิชา แต่ความมั่นคง และสวัสดิการที่ได้รับก็น่าสนใจเพียงพอที่จะทำให้หลายๆ คนที่เรียนสาขามนุษยศาสตร์เข้าหา อาชีพนี้เป็นอาชีพที่ค่อนข้างเป็นทางการ เหมาะกับคนที่ชอบอะไรประเภทนี้ อาจจะมีกฎเกณฑ์หรือการแต่งตัวที่เข้มงวดมากกว่าการทำงานสายอาชีพอื่น แต่ถ้าใครชอบและคิดว่าเป็นสิ่งท้าทายแล้วก็น่าสนใจมากทีเดียว

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทํางานอะไร

6. Secretary

เลขาธิการไม่ใช่อาชีพที่จำกัดให้สายอาชีพใดอาชีพหนึ่ง แต่ว่านักศึกษาที่จบสายมนุษยศาสตร์หลายๆ คนก็ให้ความสนใจกับอาชีพนี้ เพราะเป็นอาชีพที่รวมความสามารถหลายๆ แบบไว้ด้วยกัน ทั้งการจัดการ ภาษา มารยาท การพูดจา ความรู้ทั่วไป ความสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และอื่นๆ อีกมากมาย เลขาธิการถือเป็นตัวแทนของตำแหน่งต่างๆ หรือตัวแทนของบริษัทก็ว่าได้ เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ท้าทายเลย

7. พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

อาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องแบนหรือเรียกอีกอย่างว่า แอร์โฮสเตส และสจ๊วต เป็นอาชีพที่มีหลายๆ คนใฝ่ฝันหา อาชีพนี้คนที่เรียนสาขามนุษยศาสตร์ประเภทสายภาษาบางคนอาจจะได้เปรียบเรื่องไปประกอบอาชีพในสายการบินที่ต้องการภาษานั้นพอดี แต่สายอื่นๆ ก็ไม่ได้เป็นรอง เพราะการจะทำอาชีพนี้ได้ต้องผ่านการคัดเลือกและการทดสอบที่เข้มข้น ไม่ใช่แค่คัดกันที่ส่วนสูงและหน้าตา เพราะฉะนั้นต้องทำการบ้านดีๆ เพราะงานนี้แม้จะได้ไปหลายประเทศแต่ก็หนักและเหนื่อยไม่แพ้อาชีพอื่นเลย

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทํางานอะไร

8. ไกด์

อาชีพไกด์เป็น 1 ในอาชีพสำหรับคนชอบท่องเที่ยว (ไปอ่านบทความรวมอาชีพสำหรับคนชอบท่องเที่ยวได้ที่นี่) แต่ก่อนจะทำอาชีพนี้ได้ก็ต้องสอบให้ได้รับรองไกด์ก่อน ไม่ใช่ว่าทุกคนก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นสำหรับใครที่อยากเป็นอาจจะเริ่มจากการเรียนสาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม แล้วไปสอบไกด์ หรือสำหรับใครที่อยากเป็นจริงๆ แต่เรียนสาขาอื่นก็อาจจะต้องหาความรู้ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมต่างๆ ให้แม่นเพื่อไปสอบและแข่งขันนั่นเอง

ทั้งนี้ทั้งนั้นอย่างที่บอกไปว่าทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับบริษัทที่ทำ ถ้าทำบริษัทเอกชนหรือบริษัทต่างชาติก็จะมีเรทเงินที่สูงกว่าบางที่ แต่สรุปแล้วค่าของงานหรือค่าความสำเร็จอาจไม่ได้มาจากแค่หน้าที่การงานหรือเงินเดือนอย่างเดียว เพราะฉะนั้นเลือกเรียน เลือกทำงานที่สนใจดีกว่าเครียดว่างานนั้นได้เงินเดือนมากกว่าอีกงาน หรือเรียนสาขานี้แล้วจะได้เงินเยอะกว่าอีกสาขา เพราะยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น เพื่อน ประสบการณ์ ความรู้ มาให้คิดอีกด้วย

คณะมนุษยศาสตร์ ภาษาไทย ทํางานอะไร

อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา 1. นักวิชาการ อาจารย์ นักวิจัยทางภาษาไทย 2. นักเขียน นักวิจารณ์ บรรณาธิการ 3. นักสื่อสารมวลชน มัคคุเทศก์ ล่าม ประชาสัมพันธ์ 4. ประกอบอาชีพ อิสระตามความถนัดของตน

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาอะไรบ้าง

สำหรับด้านอื่นๆนั้นก็จะมีทั้งหมด ๑๘ สาขา ดังนี้ ๑. สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ๒.สาขาวิชาจิตวิทยา ๓. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ๔. สาขาวิชามนุษยสัมพันธ์ ๕. สาขาวิชาบ้านและชุมชน ๖. สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ ๗. สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ๘.สาขาวิชาพัฒนาสังคม / ชุมชน

ทำไมถึงเลือกเรียนคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ทำให้เข้าใจความคิดมนุษย์ ด้วยความหมายมนุษยศาตร์และสังคมศาสตร์ที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับมนุษย์และสังคมโดยตรงแล้ว เพราะฉะนั้นการเรียนสายมนุษยศาตร์และสังคมศาสตร์จึงเป็นการศึกษาเกี่ยวกับแนวความคิดของมนุษย์และสังคมที่มนุษย์อยู่อาศัย และนอกจากนั้นยังศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์รวมถึงประวัติศาสตร์ของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สาขาวิชาภาษาไทยเรียนเกี่ยวกับอะไร

ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะสำคัญ และวิวัฒนาการ ของภาษา วรรณกรรมไทย ตลอดจนศิลปะการใช้ทักษะทางภาษาทั้ง 4 ด้าน อย่างมีวิจารณญาณภาควิชาภาษา ไทยมุ่งที่จะให้นักศึกษาได้รู้จักและตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทยในทุก ๆ ด้าน จนเกิดความ ซาบซึ้งสามารถเป็นผู้นำในการศึกษาวิจัย เผยแพร่และถ่ายทอดสรรพวิทยาการ รวมทั้งประยุกต์ใช้ความรู้ ...