นักพัฒนาการท่องเที่ยวทำงานเกี่ยวกับอะไร

                                  3. งานสวัสดิการและช่วยเหลือนักท่องเที่ยว มีหน้าที่รับผิดชอบเป็นศูนย์กลางในการประสานงานและสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วนในการให้ความช่วยเหลือ การอำนวยความสะดวก การแก้ไขปัญหาการหลอกลวง การดูแลความปลอดภัย และการบรรเทาทุกข์แก่นักท่องเที่ยวและ ผู้ประสบภัยทางการท่องเที่ยว โดยส่งเสริมสนับสนุนหน่วยงานของรัฐและเอกชน เพื่อร่วมกันดำเนินงานให้เกิดเครือข่ายและความเข้มแข็งอย่างเป็นระบบ และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่ได้รับมอบหมาย

เพื่อประโยชน์ของท่านโปรดดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่รับสมัครสอบ ที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อตรวจสอบข้อมูลการรับสมัครสอบ


นักพัฒนาการท่องเที่ยวทำงานเกี่ยวกับอะไร

นักพัฒนาการท่องเที่ยวทำงานเกี่ยวกับอะไร

สอบท้องถิ่น 2564 นักพัฒนาการท่องเที่ยว เปิดรับสมัคร

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นักพัฒนาการท่องเที่ยว

อัตราว่าง : 4 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15060- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี

จังหวัดภาค/เขตที่จะบรรจุ

ภาคเหนือ เขต 1: เชียงราย เชียงใหม่่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน
จำนวนที่รับ: 2 อัตรา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 1: กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม
จำนวนที่รับ: 1 อัตรา

  • กรมเจ้าท่า เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-17 ม.ค. 2566 รวม 66 อัตรา,
  • สตง. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 28 ธ.ค. -20 ม.ค. 2566 รวม 31 อัตรา,
  • สตง. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 28 ธ.ค. -20 ม.ค. 2566 รวม 31 อัตรา,
  • ป.ป.ง. เปิดรับสมัครสอบ 6 ม.ค. -16 ม.ค. 2566 รวม 6 อัตรา,
  • ธกส. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เปิดรับสมัครสอบพนักงาน บัดนี้-27 ธ.ค. 2565

ภาคใต้ เขต 1: กระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี
จำนวนที่รับ: 1 อัตรา

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักพัฒนาการท่องเที่ยว

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทางรัฐประศาสนศาสตร์ บริหารธุรกิจ วารสารศาสตร์ สื่อสารมวลชน นิเทศศาสตร์ ประชาสัมพันธ์ อักษรศาสตร์ สารสนเทศ การจัดการ การโฆษณา คอมพิวเตอร์ การท่องเที่ยว การโรงแรม ภาษาต่างประเทศ

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักพัฒนาการท่องเที่ยว

หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานด้านพัฒนาการท่องเที่ยว ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  • 1.1 รวบรวม ประมวลจัดทำข้อมูลสถิติทางวิชาการเบื้องต้น วิเคราะห์ เพื่อประกอบ การวางแผนงาน โครงการ หรือแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว การกำหนดมาตรฐานการท่องเที่ยว การพัฒนาบริการท่องเที่ยว การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การพัฒนางานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่
  • 1.2 สำรวจ รวบรวม ศึกษา สรุปจัดทำรายงาน รวมทั้งประมวล และวิเคราะห์ข้อมูล ทางวิชาการ วิจัย จัดทำฐานข้อมูล เพื่อวางแผน จัดทำหลักเกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยว การพัฒนาบริการ ท่องเที่ยว การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การพัฒนางานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์และการพัฒนา แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่
  • 1.3 รวบรวม จัดเก็บข้อมูล สถิติเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว การสร้างและพัฒนาเครื่องมือ จัดทำคู่มือ แนวทางปฏิบัติเอกสารวิชาการและสื่อ เพื่อนำไปใช้ในการ ดำเนินงานพัฒนาการท่องเที่ยว ด้านการพัฒนาบริการท่องเที่ยว การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การพัฒนางาน ทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่
  • 1.4 จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์และปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการด้านการท่องเที่ยว เพื่อประกอบการวางแผนด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว การพัฒนาบริการท่องเที่ยว การพัฒนา แหล่งท่องเที่ยว การพัฒนางานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่
  • 1.5 ร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์แนวทาง วิธีการ ในการ อนุมัติอนุญาตด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว ร่วมติดตามประเมินผลการดำเนินงาน กิจกรรม และสรุป การศึกษา วิเคราะห์วิจัย รวมทั้งร่วมส่งเสริม สนับสนุน เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยว การพัฒนา บริการท่องเที่ยว การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การพัฒนางานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์และการ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่
  • 1.6 ร่วมวางแผนการพัฒนาการบริการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้พื้นที่สามารถ ดึงดูดนักท่องเที่ยวอันจะสร้างรายได้และภาพลักษณ์ที่ดีของพื้นที่ที่รับผิดชอบ และให้บริการการท่องเที่ยว ในพื้นที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่นที่รับผิดชอบ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับความพึงพอใจสูงสุด
  • 1.7 ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบและควบคุมการพัฒนา บำรุงรักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟู ปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่รวมถึงธำรงรักษาสภาพแวดล้อม วัฒนธรรม ประเพณี ศิลปกรรม โบราณวัตถุ ปูชนียสถานต่างๆ ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของพื้นที่
  • 1.8 รวบรวม ประมวล จัดทำข้อมูลนักท่องเที่ยว หรือสถิติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์ และสรุปจัดทำรายงานประกอบการวางแผนงาน โครงการ หรือแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว การกำหนด มาตรฐานการท่องเที่ยว การพัฒนาบริการท่องเที่ยว และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่
  • 1.9 ให้บริการการท่องเที่ยวในพื้นที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่นที่รับผิดชอบเพื่อให้ นักท่องเที่ยวได้รับความพึงพอใจสูงสุด
  • 1.10 รวมรวม และจัดเก็บข้อมูลด้านการท่องเที่ยว เช่น สถานที่ท่องเที่ยว ฯลฯ เพื่อ จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ เช่น คู่มือ แผนที่ท่องเที่ยว เว็บไซต์ ฯลฯ
  • 1.11 ศึกษา และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาท่องเที่ยว เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  • 3.1 ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้ เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
  • 3.2 ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  • 4.1 ให้คำแนะนำและให้บริการทางวิชาการเบื้องต้นแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายใน และภายนอก และประชาชน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยว การพัฒนาบริการท่องเที่ยว การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ได้รับข้อมูลต่างๆ ที่ถูกต้อง และเกิดประโยชน์ สูงสุด
  • 4.2 ให้บริการข้อมูล เอกสาร สื่อ ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตอบ ข้อซักถามเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยว การพัฒนาบริการท่องเที่ยว การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การพัฒนา งานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์และการส่งเสริมสนับสนุนธุรกิจการ ถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ ในประเทศไทย
  • 4.3 อำนวยความสะดวกด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อการพัฒนาบริการท่องเที่ยว การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การพัฒนางานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์และการส่งเสริมสนับสนุนธุรกิจ การถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย

วิชาที่สอบ

นักพัฒนาการท่องเที่ยว

หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขัน
เพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2564

(แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564)

หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น มีทั้งหมด 3 ภาค โดยจะสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตาแหน่ง (ภาค ข.) ก่อน แล้วจึงให้ผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) และ ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข.) ตามเกณฑ์ในประกาศรับสมัครแล้ว มีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) โดยหลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันมีรายละเอียด ดังนี้

1. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)

เป็นการทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย โดยคำนึงถึงระดับความรู้ความสามารถที่ต้องการตามระดับตำแหน่ง ดังต่อไปนี้

1.1 วิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล (คะแนนเต็ม 30 คะแนน)

เป็นการทดสอบความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล ในเรื่องดังต่อไปนี้

  1. ความสามารถในการสรุปความ หรือจับประเด็นในข้อความหรือเรื่องราว
  2. ความสามารถในการวิเคราะห์เหตุการณ์หรือสรุปเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจหรือสังคม
  3. ความสามารถในการหาแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นไปตามข้อมูลหรือสมมติฐาน
  4. ความสามารถในการวิเคราะห์และสรุปเหตุผลอย่างอื่น เช่น สรุปเหตุผลเกี่ยวกับตัวเลขและข้อมูลต่าง ๆ การคิดสรุปหาเหตุผล และอุปมาอุปไมย เป็นต้น
  5. ความสามารถในการคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงคำ ข้อความ หรือรูปภาพ

1.2 วิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ (คะแนนเต็ม 30 คะแนน)

เป็นการทดสอบความพื้นฐานที่เกี่ยวกับกฎหมายในการปฏิบัติราชการ ในเรื่องดังต่อไปนี้

  1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ดาวน์โหลดคลิกที่นี่
  2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 8 พ.ศ.2553 ดาวน์โหลด
  3. พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดาวน์โหลด
  4. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดาวน์โหลด
  5. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดาวน์โหลด
  6. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดาวน์โหลด
  7. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดาวน์โหลด
  8. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดาวน์โหลด
  9. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดาวน์โหลด
  10. พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘ ดาวน์โหลด
  11. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดาวน์โหลด

1.3 วิชาภาษาไทย (คะแนนเต็ม 20 คะแนน)

เป็นการทดสอบความรู้และความสามารถในการใช้ภาษา โดยการอ่านจับใจความ การสรุปความ การตีความ การขยายความจากข้อความสั้นๆ หรือบทความ และให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆ จากคาหรือกลุ่มคา ประโยคหรือข้อความสั้นๆ การเรียงข้อความ การสะกดคา การแต่งประโยค และคาศัพท์

1.4 วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 20 คะแนน)

เป็นการทดสอบความรู้และความสามารถภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐาน ทางการอ่าน การสรุปความ การตีความ และความเข้าใจสาระสาคัญของข้อความในระดับเบื้องต้น

2. ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตาแหน่ง (ภาค ข) (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)

เป็นการทดสอบความรู้ความสามารถในทางที่จะใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตาแหน่งที่
สมัครสอบโดยเฉพาะ โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย ในเรื่องดังต่อไปนี้

  1. พระราชบัญญัตินโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดาวน์โหลด
  2. พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดาวน์โหลด
  3. ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวในระดับต่างๆ
  4. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
  5. ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์การพัฒนาและการส่งเสริมการท่องเที่ยว
  6. ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนงานโครงการ การสำรวจ การศึกษา วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว
  7. ความรู้เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาด การบริการ ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวในรูปแบบต่าง ๆ
  8. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของตำแหน่งที่ สมัครสอบ

3. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) กำหนดคะแนนเต็ม 100 คะแนน

เป็นการประเมินบุคคลโดยวิธีการสัมภาษณ์ สังเกต ตรวจสอบเอกสาร เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตาแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทางาน ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จริยธรรมและคุณธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงานรวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพ ความสามารถพิเศษที่เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติราชการ และพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบ

วิธีการสมัครงานข้าราชการ สอบท้องถิ่น 2564 นักพัฒนาการท่องเที่ยว :สมัครทางอินเทอร์เน็ต

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค. – 31 มี.ค. 2564 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

นักพัฒนาการท่องเที่ยว สอบอะไรบ้าง

“สอบท้องถิ่น 2564 นักพัฒนาการท่องเที่ยว“.
จังหวัดภาค/เขตที่จะบรรจุ.
1.1 วิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล (คะแนนเต็ม 30 คะแนน).
1.2 วิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ (คะแนนเต็ม 30 คะแนน).
1.3 วิชาภาษาไทย (คะแนนเต็ม 20 คะแนน).
1.4 วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 20 คะแนน).

เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวทำอะไรบ้าง

หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย

นักพัฒนาการท่องเที่ยว รับกี่คน

ประกาศกรมการท่องเที่ยว เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อสรรหาและเลือกสรรเป็นพนักงานราชการ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร 1. ตำแหน่ง นักพัฒนาการท่องเที่ยว จำนวน 9 อัตรา 2. ตำแหน่ง นิติกร จำนวน 3 อัตรา

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. มีบทบาทหน้าที่อย่างไร

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามีภารกิจในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทย รับผิดชอบด้านการตลาดโดยเฉพาะในการส่งเสริมชักชวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวต่างชาติและชาวไทยให้เที่ยวไทย เพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยอย่างเติบโตและต่อเนื่อง ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ...