สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์มีลักษณะเป็นอย่างไร

    การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เป็นการรับหรือถ่ายทอดพลังงานในสิ่งมีชีวิต เช่น การกินอาหารต่อกันเป็นทอดๆ หรือที่เรียกว่าห่วงโซ่อาหาร ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตจะมีหลายรูปแบบ เช่น การอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัย (symbiosis) และการเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตอื่น (parasitism) โดยแย่งทรัพยากร

สิ่งมีชีวิตในโลกนี้มีจำนวนมากมายทั้งพืช สัตว์และอื่นๆ มีทั้งขนาดเล็กที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น จนกระทั่งมีขนาดใหญ่มาก สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียวจนกระทั่งจำนวนล้านฟเซลล์ ถ้านำสิ่งมีชีวิตทั้งหมดมาจัดเป็นกลุ่มโดยใช้เกณฑ์ต่างๆ ในการจำแนก จะจำแนกได้หลายรูปแบบ แต่ถ้าใช้จำนวนเซลล์เป็นเกณฑ์ในการจำแนกจะได้เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ดังนี้

      1.สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์เพียงเซลล์เดียว มีลักษณะที่สำคัญ คือ เป็นเซลล์เดี่ยวที่มีนิวเคลียส โดยสารในนิวเคลียสจะกระจายอยู่ทั่วเซลล์ โครงสร้างภายในเป็นแบบง่ายๆ พบได้ทั้งในน้ำและบนบก ดำรงชีวิตอย่างอิสระ

     สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวมีลักษณะในการดำรงชีวิตเหมือนสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ โดยสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวสามารถทำกิจกรรมต่างๆ เช่น กินอาหาร ย่อยอาหาร หายใจ เคลื่อนที่ สืบพันธ์ุ เป็นต้น

     ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่นอะมีบา พารามีเซียม คลอเรลลา ไดอะตอม เป็นต้น

สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์มีลักษณะเป็นอย่างไร
อะมีบา
สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์มีลักษณะเป็นอย่างไร
พารามีเซียม
สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์มีลักษณะเป็นอย่างไร
คลอเรลลา
สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์มีลักษณะเป็นอย่างไร
ไดอะตอม


        2.สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยเซลล์มากกว่า 1 เซลล์ ได้แก่ สาหร่าย เห็รา สัตว์ และพืชโดยทั่วไป

นักเรียนสามารถเรียนรู้การสังเกตและสามารถอธิบายรูปร่างลักษณะเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์

สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบไปด้วยหน่วยย่อยที่สุด เรียกว่า เซลล์ (cell) โดยจะมีรูปร่างหลายแบบแตกต่างกัน สิ่งมีชีวิตบางชนิดประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียว แต่สิ่งมีชีวิตบางชนิดก็ประกอบด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก เราจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. เซลล์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (unicellular organism) มีโครงสร้างและรูปร่างที่ไม่ซับซ้อน มีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การย่อยอาหาร การขับถ่าย การสืบพันธุ์ การหายใจ ฯลฯ ภายในเซลล์เดียวทั้งหมด เช่น อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา ยีสต์ แบคทีเรีย

    • อะมีบา (ameoba) มีรูปร่างไม่แน่นอนและเคลื่อนที่โดยเท้าเทียม (pseudopodium)
    • พารามีเซียม (paramecium) มีรูปร่างคล้ายรองเท้า และมีขน (cilia) ช่วยในการเคลื่อนที่
    • ยูกลีนา (euglena) มีแฟลกเจลลา (flagella) คล้ายหาง ช่วยในการเคลื่อนที่
  2. เซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular organism) มีโครงสร้างและรูปร่างแตกต่างกัน เพื่อไปทำหน้าที่ที่จำเพาะเจาะจง ได้แก่

2.1 เซลล์พืช (plant cell) มีรูปร่างของเซลล์ค่อนข้างเป็นรูปหลายเหลี่ยม ลักษณะแข็งแรง เช่น เซลล์รากหอม เซลล์คุม และเซลล์สาหร่ายหางกระรอก
- เซลล์รากหอม มีลักษณะเป็นเหลี่ยมเรียงติดกัน เมื่อย้อมด้วยสีย้อมจะติดสีของนิวเคลียส โดยแต่ละเซลล์จะมี 1 นิวเคลียส ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน เพราะเซลล์บริเวณรากหอมมีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์
- เซลล์คุม (guard cell) พบบริเวณส่วนของใบพืช มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่วประกบกัน 2 เมล็ด ทำให้เกิดรูตรงกลาง เรียกว่า ปากใบ (stoma) ซึ่งเป็นช่องทางเข้าออกของอากาศและน้ำ
- เซลล์สาหร่ายหางกระรอก มีลักษณะเป็นสีเหลี่ยมผืนผ้าเรียงต่อกัน ภายในเซลล์มีเม็ดสีเขียวจำนวนมาก เรียกว่า เม็ดคลอโรพลาสต์ (chloroplast)

2.2 เซลล์สัตว์ (animal cell) มีรูปร่างของเซลล์ค่อนข้างกลม ลักษณะยืดหยุ่น เช่น เซลล์เยื่อบุข้างแก้ม เซลล์เม็ดเลือดแดง และเซลล์เม็ดเลือดขาว
- เซลล์เยื่อบุข้างแก้ม มีลักษณะค่อนข้างกลม มีย้อมสีจะติดส่วนของนิวเคลียสชัดเจน
- เซลล์เม็ดเลือดแดง มีลักษณะค่อนข้างกลม เมื่อย้อมสีจะไม่ติดชดเจน เนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดแดงที่เจริญเต็มที่นิวเคลียสจะสายไปและบริเวณดังกล่าวทำหน้าที่ลำเลียงแก๊สออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
- เซลล์เม็ดเลือดขาว มีลักษณะค่อนข้างกลม เมื่อย้อมสีจะติดในส่วนของนิวเคลียสชัดเจน จึงสามารถแยกออกจากเซลล์เม็ดเลือดแดงได้ ซึ่งมีหน้าที่กำจัดเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย

ตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เช่น สาหร่าย ไฮดรา แมงกะพรุน แมลง รา พืช สัตว์ คน ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีเซลล์ของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ เช่น เซลล์ของสาหร่ายสีเขียว เซลล์ของเห็ดและรา ก็จะมีโครงสร้างคล้าย ๆ กับเซลล์พืช

สิ่งมีชีวิตที่มีหลายเซลล์จะมีโครงสร้างที่ซับซ้อนขึ้น จึงมีการจัดระบบของเซลล์ โดยเริ่มจากเซลล์ที่มีรูปร่างเหมือนกันและทำหน้าที่อย่างเดียวกัน รวมกลุ่มกันกลายเป็นเนื้อเยื่อ (tissue) เนื้อเยื่อหลาย ๆ ชนิดทำหน้าที่อย่างเดียวกันรวมกันกลายเป็นอวัยวะ (organ) อวัยวะหลาย ๆ อวัยวะจำทำหน้าที่ร่วมกันเป็นระบบอวัยวะ (organ system) และระบบอวัยวะหลาย ๆ ระบบ ก็ทำงานประสานกันเกิดเป็นร่างกาย (body) ของสิ่งมีชีวิต