การยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม การขายสินค้า

กิจการบางประเภทได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม มีสิทธิแจ้งขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ แต่ก็มีอีกกลุ่มกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่สามารถขอจดทะเบียน ดังนั้น ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจว่ากิจการของตนเองมีสิทธิดังกล่าวหรือไม่ เพื่อปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง


ตารางเปรียบเทียบสิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

การยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม การขายสินค้า


ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีสิทธิขอจดทะเบียน มีดังนี้

1. ผู้ประกอบการขายสินค้าที่มิใช่การส่งออก หรือการให้บริการ ตามมาตรา 81 (1) ดังต่อไปนี้

  • การขายพืชผลทางการเกษตร

  • การขายสัตว์ ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต

  • การขายปุ๋ย

  • การขายปลาป่น อาหารสัตว์

  • การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์

  • การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน

2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

3. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน

4. การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

5. การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร


ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่มีสิทธิขอจดทะเบียน มีดังนี้

1. ผู้ประกอบการขายสินค้าที่มิใช่การส่งออก หรือการให้บริการ ตามมาตรา 81 (1) ดังต่อไปนี้

  • การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการ

  • การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรมในสาขา

  • การให้บริการการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ

  • การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาล

  • การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ

  • การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์

  • การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน

  • การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น

  • การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ

  • การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร

  • การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งมิใช่เป็นการขนส่งโดยอากาศยาน หรือเรือเดินทะเล

  • การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์

  • การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น

  • การขายสินค้าหรือการให้บริการของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งส่งรายรับให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย

  • การขายสินค้าหรือการให้บริการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการสาธารณกุศลภายในประเทศ ซึ่งไม่นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่น

    1.1 การขายพืชผลทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดของพืช และวัตถุพลอยได้จากพืช ทั้งนี้ ต้องอยู่ในสภาพสดหรืออาจรักษาสภาพไว้เพื่อไม่ให้เสียเป็นการชั่วคราวในระหว่างขนส่ง หรือเพื่อการขายปลีกและขายส่ง ข้าวสาร หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสีข้าว แต่ไม่ได้รับยกเว้นสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม (ทำเป็นอุตสาหกรรมหมายถึงผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชผลทางการเกษตรที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะหรือหีบห่อ ที่ผนึกในลักษณะมั่นคง แต่ไม่รวมถึงนมสดที่ไม่ได้มีการปรุงแต่ง รส กลิ่น และสี)

    1.2 การขายสัตว์ ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต และในกรณีสัตว์ไม่มีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ ส่วนต่างๆ ของสัตว์ ไข่ น้ำนม และวัตถุพลอยได้จากสัตว์ ทั้งนี้ ที่อยู่ในสภาพสด หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเป็นการชั่วคราวในระหว่างขนส่งหรือเพื่อมิให้เสียเพื่อการขายปลีก หรือขายส่ง แต่ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม (ทำเป็นอุตสาหกรรมหมายถึงผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชผลทางการเกษตรที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะหรือหีบห่อ ที่ผนึกในลักษณะมั่นคง แต่ไม่รวมถึงนมสดที่ไม่ได้มีการปรุงแต่ง รส กลิ่นและสี)

    1.3 การขายปุ๋ย
    1.4 การขายปลาป่น อาหารสัตว์
    1.5 การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุงรักษา ป้องกัน ทำลายหรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์
    1.6 การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน       

    2.การให้บริการดังต่อไปนี้ ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

    2.1 การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วย สถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน

    2.2 การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรมในสาขา และลักษณะการประกอบกิจการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
    (ลักษณะการประกอบกิจการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี: ผู้ประกอบการจะต้องมิได้เรียกเก็บค่าบริการโดยตรงจากผู้ชมหรือผู้ฟัง )

    2.3 การให้บริการการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ หรือการประกอบวิชาชีพอิสระอื่นตามที่อธิบดีกำหนด โดยอนุมัติรัฐมนตรี ทั้งนี้ เฉพาะวิชาชีพอิสระที่มีกฎหมายควบคุม การประกอบวิชาชีพอิสระนั้น

    2.4 การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

    2.5 การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ทั้งนี้ ในสาขา และลักษณะการประกอบกิจการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี (ลักษณะการประกอบกิจการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี:  การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ในสาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์โดยต้องไม่ใช่การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการในทางธุรกิจ โดยผู้ประกอบการให้บริการวิจัยต้องเป็นบุคคลธรรมดา หรือเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือเป็นมูลนิธิ หรือเป็นสถาบันอุดมศึกษา หรือเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษที่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นส่วนหนึ่งของส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ)

    2.6 การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์

    2.7 การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน

    2.8 การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น

    2.9 การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ ทั้งนี้ เฉพาะบริการในสาขาและลักษณะการประกอบกิจการตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี (นักแสดงสาธารณะหมายถึง นักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุ หรือโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะแสดงเดี่ยว เป็นหมู่ หรือคณะ)

    2.10 การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร (ในส่วนการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยอากาศยาน เป็นกิจการที่ผู้ประกอบการมีสิทธิแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้)

    2.11 การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งมิใช่เป็นการขนส่งโดยอากาศยาน หรือเรือเดินทะเล

    2.12 การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์

    2.13 การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบริการที่เป็นการพาณิชย์ของราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นการหารายได้หรือ  ผลประโยชน์ไม่ว่าจะเป็น กิจการสาธารณูปโภคหรือไม่ก็ตาม

    2.14 การขายสินค้าหรือการให้บริการของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งส่งรายรับทั้งสิ้นให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย

    2.15 การขายสินค้าหรือการให้บริการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการสาธารณกุศลภายในประเทศ ซึ่งไม่นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่น

    2.16 การขายสินค้าหรือการให้บริการตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 )

    3.การนำเข้าสินค้าดังต่อไปนี้ 

    3.1 การนำเข้า สินค้าตาม 1.1  ถึง 1.6

    3.2 สินค้าจากต่างประเทศที่นำเข้าไปในเขตปลอดอากร ทั้งนี้ เฉพาะสินค้าที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น (พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 35) พ.ศ. 2544 )

    3.3 สินค้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากร ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร

    3.4 สินค้าซึ่งนำเข้าและอยู่ในอารักขาของศุลกากร แล้วได้ส่งกลับออกไปต่างประเทศ โดยได้คืนอากรขาเข้า ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร