ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

�������¤�ҧ���� (Accrued Expenses)


ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

�������¤�ҧ����  (Accrued Expenses) ���¶֧  �������·���Դ���㹧Ǵ�ѭ�ջѨ�غѹ����  ��Ԩ����ѧ���������Թ�֧�ѧ�����ѭ�֡�ѭ��  ��  ����ç�ҹ��ҧ����  �Թ��͹��ҧ����  �͡���¤�ҧ����  �繵�  �Ԩ��è֧���繵�ͧ��Ѻ��ا�ѭ���������������¢ͧ�Ǵ�ѭ�ջѨ�غѹ���ǵ����˹���Թ���

����������ǧ˹��  (Prepaid Expenses)  ���¶֧  �������·��Ԩ��è����Թ�������պҧ��ǹ����繢ͧ�Ǵ�ѭ�յ�������������  ��  �����Ҩ�����ǧ˹��  ������»�Сѹ������ǧ˹��  ����ɳҨ�����ǧ˹��

��úѹ�֡�ѭ�դ���������ǧ˹��  ���� 2 �Ը�  ���

1. �ѹ�֡������Թ��Ѿ��  ����ͨ����Թʴ��ŧ���㹺ѭ�դ���������ǧ˹��  �������鹧Ǵ�ѭ������͹��ǹ����繢ͧ�Ǵ�ѭ�ջѨ�غѹ�繤�������

2. �ѹ�֡����繤�������  ����ͨ����Թʴ��ŧ�ѭ������繤������·�駨ӹǹ  �������鹧Ǵ�ѭ������͹��ǹ����繢ͧ�Ǵ�ѭ�նѴ��繤���������ǧ˹��

�������� : www.softbizplus.com
��С�Ⱥ������� : http://www.prosmes.com

4.1.1 รายการปรับปรุงบัญชี (Adjusting  Entries)

          ขั้นตอนในการบันทึกรายการทางบัญชี ที่เริ่มจากการบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไปหรือสมุดรายวันเฉพาะ ผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภททั่วไป และบัญชีแยกประเภทย่อยรายตัวลูกหนี้  รายตัวเจ้าหนี้ หายอดคงเหลือในบัญชีต่างๆ  แล้วนำมาจัดทำงบทดลอง เพื่อเตรียมที่จะจัดทำงบแสดงฐานะการเงินต่อไปนั้น  ในวันสิ้นงวดบัญชีมักจะมีบัญชีรายได้ ค่าใช้จ่าย สินทรัพย์ หรือหนี้สินบางรายการที่ตัวเลขยังไม่เป็นปัจจุบันเนื่องจากการคาบเกี่ยวในการทำดำเนินงานระหว่างปีก่อน ปีปัจจุบันและปีหน้า เพราะฉะนั้นก่อนจัดทำงบแสดงฐานะการเงินต้องจัดทำรายการปรับปรุงบัญชี เพื่อให้ได้ตัวเลขที่ถูกต้องเป็นของงวดปัจจุบันจริงเท่านั้น


           รายการปรับปรุงบัญชี  (Adjusting  Entries)  หมายถึง การปรับรายการที่บันทึกในวันสิ้นงวดบัญชี เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายได้และค่าใช้จ่ายที่ได้บันทึกไว้ในระหว่างงวดบัญชีให้ถูกต้อง ก่อนที่จะนำยอดคงเหลือไปสรุปผลในงบกำไรขาดทุน ในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายได้และค่าใช้จ่ายบางรายการมีผลกระทบต่อสินทรัพย์ และหนี้สินของกิจการด้วย


รายการปรับปรุงบัญชีจำแนกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ การปรับปรุงบัญชีประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย และการปรับปรุงบัญชีประเภทสินทรัพย์ ดังนี้
1. การปรับปรุงบัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย  ได้แก่ 
1.1  ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued  Expenses)
1.2  ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า (Prepaid  Expenses)
1.3  รายได้ค้างรับ (Accrued  Income)
1.4  รายได้รับลวงหน้า (Deferred  Income)
2. การปรับปรุงบัญชีประเภทสินทรัพย์  ได้แก่
2.1  ค่าเสื่อมราคา (Depreciation)
2.2  หนี้สงสัยจะสูญและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (Doubtful  Accounts and Allowance for Doubtful  Account)
2.3  วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป (Supplies  Used)

4.1.2 การปรับปรุงประเภทค่าใช้จ่าย

           ค่าใช้จ่ายของกิจการเมื่อถึงกำหนดการจ่ายค่าใช้จ่ายแล้ว แต่กิจการยังไม่ได้ไปจ่ายงินอาจจะเนื่องมาจากมีความไม่ลงตัวของเงื่อนไขการจ่ายเงิน เช่น ดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่ถึงกำหนดจ่าย ณ วันที่กิจการปิดบัญชีปกติคือวันที่ 31  ธันวาคม ของทุกปีจึงถือเป็นดอกเบี้ยค้างจ่าย หรือค่าสาธารณูปโภคซึ่งกิจการใช้ประโยชน์แล้ว แต่ยังไม่ได้เรียกเก็บเงินถือเป็นค่าสาธารณูปโภคค้างจ่าย ในวันสิ้นปีจึงต้องทำรายการปรับปรุงบัญชีโดยใช้หลักเกณฑ์พึงรับพึงจ่ายในการบันทึกบัญชี

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued  Expenses)

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued  Expenses) คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแล้วในงวดบัญชีปัจจุบันแต่ยังไม่ได้จ่ายเงิน กิจการจะจ่ายเงินในงวดบัญชีต่อไป ถือเป็นหนี้สินของกิจการในงวดบัญชีปัจจุบัน จะต้องบันทึกบัญชีโดยเดบิตค่าใช้จ่าย และเครดิตค่าใช้จ่ายค้างจ่าย


เดบิต   ค่าใช้จ่าย..............................................XX
เครดิต ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย...................................XX

ตัวอย่างที่ 1 การปรับปรุงค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

กู้เงินจากธนาคาร 80,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 15 % ต่อปี เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 25X6 กำหนดจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง คือวันที่ 31 มี.ค. และ 30 ก.ย.

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

ตัวอย่างที่ 2  กิจการยังไม่ได้จ่ายค่าโฆษณา 2 เดือนๆ ละ 2,000 บาท

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย


ตัวอย่างที่ 3

ได้รับบิลค่าโทรศัพท์ประจำเดิอน ธ.ค. จำนวน 3,700 บาท กิจการยังไม่ได้ไปจ่าย

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย


ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า (Prepaid  Expenses)

ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า (Prepaid  Expenses) คือ ค่าใช้จ่ายที่จ่ายในงวดบัญชีปัจจุบันแต่ได้รวมค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีปีหน้าส่วนหนึ่งไว้ด้วยจำนวนที่ใช้ประโยชน์ในปีปัจจุบันถือเป็นค่าใช้จ่าย อีกจำนวนหนึ่งจะใช้ประโยชน์ในงวดบัญชีปีหน้าถือเป็นสินทรัพย์เรียกว่า ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า การบันทึกบัญชีสามารถบันทึกได้ 2 กรณี ดังนี้

หลักการปรับปรุงบัญชี  วิธีนี้ต้องปรับปรุงเป็นค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (สินทรัพย์)  และการนับระยะเวลาต้องเป็นของปีหน้า (1 ม.ค. ของปีหน้า - วันครบสัญญา)

หลักการบันทึกบัญชี

เดบิต   ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า....................................XX
เครดิต ค่าใช้จ่าย.................................................XX

กรณีที่ 1 บันทึกบัญชีเป็นค่าใช้จ่าย

กิจการจ่ายค่าเช่าอาคารล่วงหน้า 6 เดือน เริ่มวันที่ 1 พ.ย. 25X6 เป็นเงิน 12,000 บาท กิจการบันทึกไว้ในบัญชีค่าเช่า

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

กรณีที่ 2 บันทึกบัญชีเป็นสินทรัพย์

หลักการปรับปรุงบัญชี  วิธีนี้ต้องปรับปรุงเป็นค่าใช้จ่ายและระยะเวลานับปีปัจจุบัน (ตั้งแต่วันที่ทำสัญญา - วันสิ้นงวดบัญชี)
เดบิต   ค่าใช้จ่าย...............................................XX
เครดิต ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า............................XX

4.1.3  การปรับปรุงบัญชีประเภทรายได้

เบญจมาศ  อภิสิทธิ์ภิญโญ และคณะ (2550 : 130)  ได้ให้ความหมายของรายได้ค้างรับ คือ รายได้ที่เกิดขึ้นแล้วในระหว่างงวดบัญชี แต่ยังไม่ได้รับเงิน

อดิศร  เลาหวณิช และชนงกรณ์  กุณฑลบุตร (2552 : 86)  ได้ให้ความหมายของรายได้ค้างรับ คือ รายการที่เกิดจากการที่กิจการให้บริการแก่ลูกค้าไปแล้ว แต่ลูกค้ายังไม่ได้จ่ายเงินจนถึงวันสิ้นงวดบัญชี

สรุป รายได้ค้างรับ (Accrued  Income) คือ รายได้ของกิจการที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีปัจจุบันแต่ยังไม่ได้รับเงิน จึงต้องปรับปรุงเป็นรายได้ค้างรับ ถือเป็นสินทรัพย์ในงวดบัญชีปัจจุบัน จะบันทึกบัญชีโดย

เดบิต   รายได้ค้างรับ.........................................XX
เครดิต รายได้...................................................XX

กิจการให้นายกนกกู้เงินไป 20,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 12% ต่อปี เมื่อวันที่ 1 ก.ย.  25X6 ยังไม่ได้รับดอกเบี้ย

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

กิจการยังไม่ได้รับค่าเช่าตั้งแต่เดือน ต.ค. - ธ.ค. 25X6 เดือนละ 2,500 บาท

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

ซื้อพันธบัตรรัฐบาล เมื่อ 1 มี.ค. 25x6 จำนวน 30,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 16% ต่อปี กำหนดรับดอกเบี้ยทุกวันที่ 30 มิถุนายน

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

รายได้รับล่วงหน้า (Deferred  Income)

รายได้รับล่วงหน้า (Deferred  Income) คือ รายได้ที่ได้รับมาแล้วทั้งหมดในปีปัจจุบัน แต่ได้รวมรายได้ของปีหน้าไว้ด้วย จำนวนที่เกิดขึ้นตามส่วนในปีปัจจุบันถือเป็นรายได้ ส่วนอีกจำนวนหนึ่งจะเกิดขึ้นในปีหน้าถือเป็นหนี้สินของกิจการ เรียกว่า รายได้รับล่วงหน้า การบันทึกบัญชีสามารถบันทึกได้ 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 บันทึกบัญชีเป็นรายได้

หลักการปรับปรุงบัญชี  วิธีนี้ต้องปรับปรุงรายได้รับล่วงหน้านับระยะเวลาของปีหน้า ( 1 ม.ค. 25X7 - วันครบสัญญา )

เดบิต   รายได้.....................................................XX
เครดิต รายได้รับล่วงหน้า.......................................XX

ตัวอย่างที่ 8

ได้รับค่าเช่าอาคาร 1 ปี เริ่มวันที่ 1 ต.ค. 25X6 เป็นเงิน 18,000 บาท กิจการบันทึกไว้ในบัญชีรายได้ทั้งจำนวน

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย


ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย


กรณีที่ 2 บันทึกบัญชีเป็นหนี้สิน

หลักการปรับปรุงบัญชี  วิธีนี้ต้องปรับปรุงรายได้ที่เป็นของระยะเวลานับปีปัจจุบัน (ตั้งแต่วันที่ทำสัญญา - วันสิ้นงวดบัญชี)


เดบิต   รายได้รับล่วงหน้า............................XX
เครดิต รายได้.......................................XX

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย


4.1.4 การกลับรายการบัญชี (Reversing  Entries)

นิตยา  งามแดน (2552 : 118) ได้ให้ความหมายของการกลับรายการ หมายถึง การบันทึกรายการที่ได้เคยบันทึกไว้ในด้านตรงกันข้าม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อยกเลิกการบันทึกบัญชีที่เคยทำไว้ให้เกิดความสะดวกในการบันทึกรายการ

การกลับรายการบัญชี หมายถึง การโอนกลับรายการทางบัญชีที่ได้ปรับปรุงไว้แล้วในวันสิ้นงวดบัญชีกลับคืนไปเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายของประเภทนั้นๆ เพื่อให้การบันทึกบัญชีของงวดบัญชีใหม่มีความสะดวก โดยไม่ต้องคำนึงว่ารายได้หรือค่าใช้จ่ายใดเป็นของงวดบัญชีใหม่ หรือส่วนใดเป็นของงวดบัญชีก่อน รายการที่ต้องมีการ

กลับบัญชี ได้แก่

1.ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย บันทึกกลับรายการเพื่อให้การบันทึกบัญชีในงวดบัญชีใหม่สะดวก เมื่อกิจการมีการจ่ายเงินเพื่อค่าใช้จ่ายจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน โดยไม่ต้องคำนึงว่าการจ่ายในนั้นส่วนใดเป็นค่าใช้จ่ายปีก่อนและส่วนใดเป็นค่าใช้จ่ายปีปัจจุบัน

2. ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า (กรณีก่อนการปรับปรุงบันทึกไว้เป็นค่าใช้จ่าย) บันทึกกลับรายการโอนไปเป็นค่าใช้จ่ายตั้้งแต่ต้นงวดบัญชีปัจจุบัน เพื่อป้องกันการหลงลืมการบันทึกค่าใช้จ่าย

3. รายได้ค้างรับ บันทึกกลับรายการเพื่อให้การบันทึกบัญชีในงวดบัญชีใหม่สะดวกเมื่อกิจการมีการรับเงินรายได้ จะบันทึกเป็นรายได้ทั้งจำนวนโดยไม่ต้องคำนึงว่าการรัับเงินนั้นส่วนใดเป็นรายได้ปีก่อนและส่วนใดเป็นรายได้ปีปัจจุบัน

4. รายได้รับล่วงหน้า (กรณีก่อนการปรับปรุงบันทึกไว้เป็นรายได้) บันทึกกลับรายการโอนไปเป็นรายได้ตั้งแต่ต้นงวดบัญชีปัจจุบัน เพื่อป้องกันการหลงลืมการบันทึกรายได้

การโอนกลับรายการค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

จากตัวอย่างที่ 1 กู้เงินจากธนาคาร 80,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 15% ต่อปี เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 25X6 กำหนดจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง คือวันที่ 31 มี.ค. และ 31 ส.ค. การโอนกลับรายการจะเป็นดังนี้

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย



จากรายการที่ปรากฏในบัญชีแยกประเภทจะเห็นได้ว่าเมื่อทำการโอนกลับรายการแล้ว ถ้ากิจการจ่ายดอกเบี้ยในปี 25X7 งวดแรกในวันที่ 31 มีนาคม ก็จะบันทึกบัญชีโดย

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย


เมื่อนำรายการนี้ผ่านเข้าบัญชีแยกประเภทบัญชีดอกเบี้ยจ่ายซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีที่แล้วก็จะหักล้างไป 3,000 บาท จะปรากฏเป็นค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีนี้คงเหลือในบัญชีแยกประเภทเพียง  3,000 บาท (6,000 - 3,000)

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย


การโอนกลับรายการค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า กรณีบันทึกบัญชีไว้เป็นค่าใช้จ่าย

จากตัวอย่างที่ 4 กิจการจ่ายค่าเช่าอาคารล่วงหน้า 6 เดือน เริ่มวันที่ 1 พ.ย. 25X6 เป็นเงิน 12,000 บาท กิจการบันทึกไว้ในบัญชีค่าเช่า การบันทึกรายการกลับรายการบัญชีจะเป็นดังนี้

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย


เมื่อบันทึกรายการกลับบัญชีในงวดต้นปี 25X7 แล้วผ่านไปบัญชีแยกประเภทค่าเช่าจ่ายล่วงหน้าก็จะหักล้างออกทั้งหมด และไปแสดงเป็นค่าเช่าของปีปัจจุบันจำนวน 8,000 บาท

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย


การโอนกลับรายการรายได้ค้างรับ

จากตัวอย่างที่ 7 ซื้อพันธบัตรรัฐบาล เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 25X6 จำนวน 30,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 16% ต่อปี กำหนดรับดอกเบี้ยทุกวันที่ 30 มิถุนายน การโอนกลับรายการจะเป็นดังนี้

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย


จากรายการที่ปรากฏในบัญชีแยกประเภทจะเห็นได้ว่าเมื่อทำการโอนกลับรายการแล้ว ถ้ากิจการได้รับดอกเบี้ยในปี 25X7 ในวันที่ 30 มิถุนายน ก็จะบันทึกบัญชีโดย

เมื่อนำรายการนี้ผ่านเข้าบัญชีแยกประเภทบัญชีดอกเบี้ยรับซึ่งเป็นรายได้ของงวดบัญชีที่แล้วก็จะหักล้างไป 2,400 บาท จะปรากฏเป็นรายได้ของงวดบัญชีนี้คงเหลือในบัญชีแยกประเภทเพียง  2,400 บาท (4,800 - 2,400)

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย


การโอนกลับรายการรายได้รับล่วงหน้า กรณีบันทึกบัญชีไว้เป็นรายได้

จากตัวอย่างที่ 8 ได้รับค่าเช่าอาคาร 1 ปี เริ่มวันที่ 1 ต.ค. 25X6 เป็นเงิน 18,000 บาท กิจการบันทึกไว้ในบัญชีรายได้ทั้งจำนวน การโอนกลับรายการจะเป็นดังนี้

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย


เมื่อบันทึกรายการกลับบัญชีในงวดต้นปี 25X7 แล้วผ่านไปบัญชีแยกประเภทค่าเช่ารับล่วงหน้าก็จะหักล้างออกทั้งหมด และไปแสดงเป็นรายได้ค่าเช่าของปีปัจจุบันจำนวน 13,500 บาท

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายค้างจ่าย


ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายมีอะไรบ้าง

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีปัจจุบันแล้ว แต่กิจการยังไม่ได้จ่ายเงินจึงยังไม่ได้บัญทึกบัญชี เช่น ค่าแรงงานค้างจ่าย เงินเดือนค้างจ่าย ดอกเบี้ยค้างจ่าย เป็นต้น กิจการจึงจำเป็นต้องปรับปรุงบัญชีโดยเพิ่มค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีปัจจุบันแล้วตั้งเป็นหนี้สินไว้

ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า คืออะไร

ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่กิจการจ่ายเงินล่วงหน้าไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับบริการหรือรับบริการยังไม่ครบตามจำนวนเงินที่จ่ายไป ดังนั้น ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจึงเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนี้ส่วนหนึ่ง และเหลืออีกส่วนหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีถัดไป จึงถือเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน

ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายบันทึกยังไง

1. บันทึกไว้เป็นสินทรัพย์ เมื่อจ่ายเงินสดจะลงไว้ในบัญชีค่าใช้จ่ายล่วงหน้า เมื่อสิ้นงวดบัญชีให้โอนส่วนที่เป็นของงวดบัญชีปัจจุบันเป็นค่าใช้จ่าย 2. บันทึกไว้เป็นค่าใช้จ่าย เมื่อจ่ายเงินสดจะลงบัญชีไว้เป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน เมื่อสิ้นงวดบัญชีให้โอนส่วนที่เป็นของงวดบัญชีถัดไปเป็นค่าใช้จ่ายล่วงหน้า

ค่าแรงงานค้างจ่าย หมวดไหน

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย อยู่หมวด 2 หนี้สิน