หลักการวิจารณ์หนังสือมีอะไรบ้าง

บทวิจารณ์ (Critic)

เป็นงานเขียนที่แสดงความเห็นต่อสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรม เป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีความงามความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่าง

ไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมได้ดีมากสมควรได้รับรางวัล,ติชม,มักใช้คำเต็ม ว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่า หนังเรื่องนี้ดำเนิน

เรื่องช้า ทำให้คนดูเบื่อ(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาณ 2542 1072)

ประเภทของงานวิจารณ์

1.แง่ตามการวิจารณ์

1.1 จิตวิจารณ์ เป็นการวิจารณืตามความรู้สึกนึกคิดของผู้วิจารณ์

1.2อรรถวิจารณ์ เป็นการตีความ

     1.2.1วิจารณืตามเนื้อหาสาระและสรุปผล

     1.2.2สรุปงานแล้วเปรียบเทียบข้อดีข้อด้อย

1.3วิพากษ์วิจารณ์ เป็นการวิจารณ์เชิงตัดสิน

    1.3.1อาจใช้แบบอย่างที่ผ่านมาเป็นเครื่องวัด

    1.3.2หรืออาจใช้ความรู้สึกชอบไม่ชอบ

2.แบ่งตามเรื่องวิจารณ์

2.1 การวิจารณ์ทางวิชาการ เป็นการวิจารณืผลงานสาขาวิชาต่างๆโดยนำหลักการในศาสตร์นั้นมาเป็นเกณฑ์

2.2การวิจารณ์เชิงข่าว เป็นการวิจารณ์ข่าว อาทิ การแข่งขันกีฬา

2.3การวิจารณ์วรรณกรรม2.3.1ระดับง่าย เป็ฯการให้ผู้อ่านได้รู้จักหนังสือหรือข้อเขียน2.3.2ระดับลึก เป็นการพินิจพิเคาระห์คุณค่าในแง่ต่างๆ

2.4การวิจารณ์ทั่วไป2.4.1วิจารณืการแสดง ละคร ดนตรี ภาพยนตร์2.4.2วิจารณ์รายการต่างๆทางสื่อมวลชน2.4.3วิจารณ์งานศิลปกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพถ่าย

การวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์

1.การมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่วิจารณ์

2.การเขียนทางลึกและการค้นหาด้วยสมมุติฐาน

3.การใช้เหตุและผลด้วยความเที่ยงธรรม

การเขียนบทความ บทบรรณาธิการ และบทวิจารณืที่ไม่สร้างสรรค์

1.การทำตัวเป็นผู้พิพากษา

2.การใช้ถ้อยคำหยาบคายและก้าวร้าว

3.การตำหนิและคัดค้านโดยไม่มีการเสนอแนะ

4.การอวดตัวเป็นผู้รู้

5.การใช้คำว่า"ต้อง"และ"อย่า"

6.การมีอคติต่อสถาบันและบุคคล

7.การเขียนถึงบุคคลที่สามซึ่งอาจจะนำมาซึ่งความเสียหาย

8.การใช้สำนวนที่ผิดความหมาย

9.การใช้วรรคตอน คำย่อ นาม และสรรพนามไม่ถูกต้อง

10.การเขียนโดยผิดหลักภาษา

Credit http://www.thaicomic.com/board/index.php?showtopic=1134

Source :: กระต่ายโลหิต [writer]

 ความหมายของการเขียนวิจารณ์

หลักการวิจารณ์หนังสือมีอะไรบ้าง

           การเขียนวิจารณ์ คือ การค้นหาข้อดีและข้อไม่ดีของเรื่องที่จะวิจารณ์ชี้ให้เห็นข้อบกพร่อง พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขให้ดีขึ้น  เป็นการวิจารณ์เพื่อสร้างสรรค์

    ลักษณะของการวิจารณ์

             1. การวิจารณ์เป็นการถ่ายทอดความคิดเห็น ชี้จุดเด่น จุดด้อยตลอดจนความรู้สึกเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เช่น ผลงานด้านศิลปกรรม งานวรรณกรรม ข่าวสารบ้านเมือง เหตุการณ์ในสังคม เรื่องราวของบุคคล เป็นต้น อย่างสมเหตุสมผล มีข้อมูลสนับสนุนความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีอคติต่อสิ่งที่วิจารณ์ เช่น หนังสือที่เราจะวิจารณ์นั้นมีอะไร ให้เนื้อหาสาระแก่ผู้อ่านมากน้อยเพียงใด เป็นต้น

                2. เป็นข้อเขียนที่ชัดเจนในการบอกให้ผู้อ่านทราบถึงรายละเอียดของสิ่งนั้น ดังนั้นผู้วิจารณ์ต้องมีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับเรื่องที่วิจารณ์เป็นอย่างดี เช่น การวิจารณ์วรรณกรรม จะต้องรู้ว่าเป็นหนังสือประเภทใด ใครเป็นผู้แต่ง มีเนื้อเรื่อง วิธีการแต่ง การใช้ภาษาเป็นอย่างไร เป็นต้น  แล้วจึงสามารถวินิจฉัยคุณค่าของสิ่งที่จะวิจารณ์ได้ว่าดีหรือไม่อย่างไร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านในการตัดสินใจ เลือกชม เลือกซื้อ เลือกอ่านสิ่งนั้น

               3. เป็นข้อเขียนที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย น่าอ่าน ทำให้ผู้อ่านติดตามอ่านจนจบ   ใช้ถ้อยคำอย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช้ถ้อยคำในเชิงประจาน หรือโจมตีผู้เขียนอย่างรุนแรง นอกจากนี้ บทวิจารณ์ที่ดีจะต้องให้ความรู้ ความคิด ข้อเสนอแนะ แก่ผู้อ่าน ชี้ให้เห็นคุณค่าพิเศษที่อยู่ในงานเขียนเรื่องนั้น     

    โครงสร้างของบทวิจารณ์

              1.  ชื่อเรื่อง (Tlttle)  ควรตั้งชื่อเรื่องที่เรียกร้องความสนใจของผู้อ่านและสื่อความหมายได้ชัดเจน  เช่น ตั้งชื่อตามชื่อหนังสือที่ต้องการวิจารณ์ ตั้งชื่อตามจุดมุ่งหมายของเรื่อง ตั้งชื่อด้วยการให้ประเด็นชวนคิดชวนสงสัย เป็นต้น

              2.  ความนำหรือประเด็นที่จะวิจารณ์ (Lead or Issue)  หรือบทนำ  เป็นการเขียนนำเกี่ยวกับเรื่องที่จะวิจารณ์ เช่น    ถ้าเป็นการวิจารณ์วรรณคดี  ต้องบอก ชื่อวรรณคดี ผู้แต่ง ประเภท 
ความเป็นมาของเรื่อง และอาจเขียนอธิบายและจูงใจที่ทำให้ผู้วิจารณ์สนใจวรรณคดีเรื่องนี้

             3.  เนื้อเรื่อง (Body)  เป็นส่วนแสดงความคิดเห็นและรายละเอียดในการวิจารณ์ โดยนำเสนอจุดเด่น และจุดบกพร่องของเรื่องอย่างมีหลักเกณฑ์และมีเหตุผล หากต้องการเล่าเรื่องย่อของวรรณคดีหรือวรรณกรรม ที่นำมาวิจารณ์ ควรเขียนเล่าเรื่องอย่างสั้นๆ เพราะการวิจารณ์ไม่ใช่การสรุปเรื่อง แต่เป็นการแสดงความคิดเห็นของผู้วิจารณ์ที่มีต่อวรรณคดีหรือวรรณกรรมเรื่องนั้น ผู้เขียนต้องการสื่อความหมายอะไรมายังผู้อ่านหนังสือ และสื่อให้ชัดเจนหรือไม่ อย่างไร

             ถ้าประเด็นในการวิจารณ์มีหลายประเด็น ควรนำเสนอตามลำดับ เพื่อให้ผู้อ่านบทวิจารณ์เข้าใจง่ายไม่สับสน ในกรณีที่วรรณคดีหรือวรรณกรรมเรื่องนั้นมีจุดเด่นและจุดด้อย ควรเขียนถึงจุดเด่นก่อนแล้วจึงกล่าวถึงจุดด้อย เพื่อให้เกียรติผู้เขียน และแสดงให้เห็นว่าการวิจารณ์ คือการสร้างสรรค์ไม่ใช่การทำลาย

           4. บทสรุป (Conclusion) เป็นย่อหน้าสุดท้ายของบทวิจารณ์ เป็นการเขียนสรุปความคิดทั้งหมดที่วิจารณ์และให้แง่คิด หรือข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน นอกจากนี้บทสรุปยังช่วยให้ผู้อ่านได้ทบทวนประเด็นสำคัญของเรื่องและความคิดสำคัญของผู้วิจารณ์ แม้ว่าผู้อ่านอาจจะไม่ได้อ่านบทวิจารณ์ทั้งบท แต่ได้อ่านบทสรุปก็สามารถทราบเรื่องของวรรณคดีหรือวรรณกรรมที่นำมาวิจารณ์ รวมทั้งความคิดเห็นของผู้วิจารณ์ที่มีต่อวรรณคดีหรือวรรณกรรมเรื่องนั้นได้