คะแนนโอเน็ต ม.6 มีผลอะไรบ้าง

คะแนนโอเน็ต ม.6 มีผลอะไรบ้าง

  

       สวัสดีค่ะ เดือนหน้า 18-19 ก.พ.  น้องๆ ม.6 มีนัดสอบ O-NET อีก 5 วิชา คือ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ พร้อมกันแค่ไหนแล้วเอ่ย แต่ก่อนจะไปสอบ พี่มิ้นท์ มีเรื่องสำคัญมาฝาก ไปดูกันว่าการสอบ O-NET สำคัญกับชีวิตน้องๆ ม.6 ขนาดไหน คุ้มค่ากับการเดาหรือมั่วในห้องสอบมั้ย แต่เตือนเลยว่า ทำให้เต็มที่ดีกว่า อย่ามั่วเลยนะ^^
 

        1. O-NET สอบได้ครั้งเดียวในชีวิต ก็คือ ตอนอยู่ ม.6 เท่านั้น คิดจะซิ่ว จะสอบใหม่ ไม่มีทางจ้า ใช้คะแนนเดิมวนไป ทำไม่ดีคะแนนนี้ก็ติดตัวไปเรื่อยๆ   2. สายว่าที่หมอทั้งหลาย ต้องผ่านเกณฑ์คะแนนรวม O-NET 60% หลายคนได้คะแนนวิชาเฉพาะแพทย์กับวิชาสามัญดีมาก ผ่านได้สบายๆ แต่มาตกม้าตายเพราะ O-NET ไม่ถึง 60%  ซึ่งตรงนี้ กสพท ค่อนข้างเอาจริง ไม่อนุโลมนะคะ ดังนั้น ว่าที่คุณหมอ คุณเภสัช ทั้งหลาย จะเกร็งกับการสอบ O-NET มาก ยังไงก็ตาม พี่มิ้นท์ว่าระดับน้องๆ ที่ผ่านเกณฑ์วิชาสามัญและวิชาเฉพาะแพทย์มาแล้ว ถ้าตั้งใจสอบเต็มที่ เกณฑ์ O-NET 60% ก็ทำอะไรเราไม่ได้หรอก จริงมั้ย?   3. คะแนน O-NET เป็นเกณฑ์คัดเลือกในรอบแอดมิชชั่นถึง 30% ถ้านึกภาพไม่ออกว่าเยอะแค่ไหน ก็ลองคิดเป็นคะแนนเอาว่า คะแนนแอดมิชชั่นเต็ม 30,000 แบ่งเป็นคะแนน O-NET 9,000 คะแนนแล้ว ถ้าหารย่อยลงไปอีก 5 วิชา ก็เท่ากับวิชาละ 1,800 คะแนนเลยทีเดียว ซึ่งการแอดมิชชั่นเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย วัดกันที่คะแนนรวมล้วนๆ บางคนคะแนน GAT PAT ไม่ดี ก็ได้คะแนน O-NET นี่แหละที่มาลากขึ้นฝั่งได้    4. ในแอดมิชชั่นกลาง มีเกณฑ์ขั้นต่ำ O-NET คล้ายกับเกณฑ์ขั้นต่ำ GAT PAT ในรับตรง ถึงจะไม่ได้กำหนดทุกมหาวิทยาลัย แต่ถ้าโชคร้ายเป็นคณะที่เราอยากเข้า แต่ขั้นต่ำไม่ถึงก็สมัครไม่ได้นะ ยกตัวอย่างเช่น  คณะศิลปศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ ม.ธรรมศาสตร์ กำหนดขั้นต่ำ วิชาภาษาอังกฤษ = 75 คะแนน,  คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ กำหนดขั้นต่ำ วิชา 01 - 05 (ทุกวิชา) วิชาละ 30 คะแนน เห็นเกณฑ์แล้ว พอจะมีไฟสอบกันบ้างหรือยังคะ

       5. คะแนน O-NET วัดมาตรฐานของโรงเรียนได้ด้วยนะ นอกจากน้องๆ จะเอาคะแนนนี้ไปยื่นแอดมิชชั่นแล้ว สิ่งที่ต้องรู้อีกอย่างคือ คะแนนของน้องๆ ทุกคนจะเป็นตัววัดมาตรฐานการเรียนการสอนของโรงเรียนค่ะ ถ้าน้องๆ สังเกตก็คงเห็นว่า โรงเรียนค่อนข้างให้ความสำคัญกับ O-NET หาคนมาติวให้สม่ำเสมอ ดังนั้นพูดได้เต็มปากว่า โรงเรียนค่อนข้างคาดหวังกับผลสอบของน้องๆ นะ ทำให้เต็มที่!     6. O-NET เป็นน้ำหนักที่มาถ่วงเกรด (GPAX) ด้วย แม้ว่าในการแอดมิชชั่น น้องๆ จะยื่น GPAX ที่ไม่ถ่วง O-NET ก็ตาม แต่เกรดจบในใบผลการเรียนจะมีน้ำหนัก O-NET มาถ่วงด้วย GPAX จบจึงลดลงกว่าปกติ แต่จะลดลงเล็กน้อยหรือเยอะก็ขึ้นอยู่กับผล O-NET ของตัวเอง น้องๆ จึงต้องตั้งใจเรียนทั้งในโรงเรียนและการสอบ O-NET ค่ะ ถึงจะได้เกรดจบสวยๆ 7. รับตรงหลังแอดมิชชั่นหลายแห่ง ก็ขอใช้ O-NET ด้วย หากยังไม่อยากทิ้งโอกาสหลังแอดมิชชั่น พี่มิ้นท์แนะนำให้น้องๆ ตั้งใจทำ O-NET ให้เต็มที่ที่สุด เพราะหลังแอดมิชชั่น จะมีรับตรงเปิดรับสมัครอีกจำนวนหนึ่ง ที่ใช้ O-NET เป็นเกณฑ์รับสมัครด้วย เช่น เอเชียศึกษา ม.ศิลปากร, พยาบาลทหารอากาศ เป็นต้น

       เห็นแบบนี้แล้ว พี่มิ้นท์ก็หวังว่า 18-19 ก.พ.ที่จะถึงนี้ น้องๆ จะทำข้อสอบ O-NET ให้เต็มที่ สมกับที่เตรียมความพร้อมมาหลายเดือนนะคะ สู้ๆ!

  • #Admission
  • #O-NET
  • #O-NET ม.6
  • #สอบ O-NET
  • #โอเน็ท
  • #โอเน็ต ม.6
  • #เกณฑ์ขั้นต่ำ O-NET

คะแนนโอเน็ต ม.6 มีผลอะไรบ้าง

พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

คะแนนโอเน็ต ม.6 มีผลอะไรบ้าง

การสอบ O-NET คืออะไร

O-NET (Ordinary National Educational Test) เป็นการทดสอบในระดับชาติ
 เพื่อวัดความรู้รวบยอดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6
ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 
เป็นผู้ดำเนินการออกข้อสอบและจัดสอบทั่วประเทศ

O-NET ป.6 จัดสอบวันไหน

O-NET ป.6 สอบวิชาอะไรบ้าง

  1. คณิตศาสตร์
  2. วิทยาศาสตร์
  3. ภาษาไทย
  4. ภาษาอังกฤษ

คะแนนโอเน็ต ม.6 มีผลอะไรบ้าง

O-NET คณิตศาสตร์ สอบเรื่องอะไรบ้าง

วิชาคณิตศาสตร์มีเรื่องที่ออกสอบทั้งหมด 12 เรื่อง สรุปให้เข้าใจง่ายตามสไตล์พี่โอชิน ได้แก่

  1. จำนวน ตัวเลข การประมาณค่า
  2. สมบัติจำนวนนับ
  3. แบบรูปจำนวน
  4. ครน. หรม.
  5. เศษส่วนทศนิยม
  6. สมการ
  7. รูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม
  8. รูปคลี่สามมิติ
  9. ทิศและแผนผัง
  10. แผนภูมิแท่ง แผนภูมิเส้น
  11. ความน่าจะเป็น
  12. บทประยุกต์ ร้อยละ กำไร ขาดทุน

รูปแบบข้อสอบ

ปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน             16 ข้อ

อัตนัย (ตอบเป็นตัวเลข) จำนวน     4 ข้อ

อ่านรายละเอียดเต็ม ๆ จาก สทศ. ได้ที่นี่ .. คลิก..

คะแนนโอเน็ต ม.6 มีผลอะไรบ้าง

O-NET วิทยาศาสตร์ สอบเรื่องอะไรบ้าง

วิชาวิทยาศาสตร์มีเรื่องที่ออกสอบทั้งหมด 8 เรื่อง สรุปให้เข้าใจง่ายตามสไตล์พี่แอม ได้แก่

  1. สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
  2. ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
  3. สารและสมบัติของสาร
  4. แรงและการเคลื่อนที่
  5. พลังงาน
  6. กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
  7. ดาราศาสตร์และอวกาศ
  8. ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

รูปแบบข้อสอบ

ปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน            26 ข้อ

ปรนัยเลือกตอบเชิงซ้อน จำนวน    2 ข้อ

อ่านรายละเอียดเต็ม ๆ จาก สทศ. ได้ที่นี่ ..คลิก..

คะแนนโอเน็ต ม.6 มีผลอะไรบ้าง

O-NET ภาษาไทย สอบเรื่องอะไรบ้าง

วิชาภาษาไทยมีเรื่องที่ออกสอบทั้งหมด 8 เรื่อง สรุปให้เข้าใจง่ายตามสไตล์พี่ปุณ ได้แก่

  1. สำนวน สุภาษิต
  2. ประโยค
  3. ความหมายของคำ
  4. ชนิดของคำ
  5. การอ่าน การพูด การเขียน
  6. การอ่านจับใจความ
  7. คำราชาศัพท์
  8. บทร้อยกรอง

รูปแบบข้อสอบ

ปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน    32 ข้อ

อัตนัย เขียนตอบ จำนวน      2 ข้อ

อ่านรายละเอียดเต็ม ๆ จาก สทศ. ได้ที่นี่  ..คลิก..

คะแนนโอเน็ต ม.6 มีผลอะไรบ้าง

O-NET ภาษาอังกฤษ สอบเรื่องอะไรบ้าง

วิชาภาษาอังกฤษมีเรื่องที่ออกสอบทั้งหมด 5 เรื่อง สรุปให้เข้าใจง่ายตามสไตล์พี่หนึ่ง ได้แก่

  1. การอ่านออกเสียง
  2. ภาษาเพื่อการสนทนา
  3. การอ่าน
  4. ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
  5. ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ

รูปแบบข้อสอบ

ปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน   40 ข้อ

อ่านรายละเอียดเต็ม ๆ จาก สทศ. ได้ที่นี่ .. คลิก..  

ทำไมต้องตั้งใจสอบ O-NET ป.6

1.   ท้าทายความสามารถของตัวเอง

การสอบ O-NET เป็นการวัดความรู้ขั้นพื้นฐานของตัวเอง ยิ่งทำคะแนนได้มากยิ่งแปลว่าเรามีความรู้ขั้นพื้นฐานพร้อมที่จะต่อยอดไปเรียนต่อในชั้นมัธยม

2.  ช่วยยกระดับคุณภาพของโรงเรียน

ข้อสอบ O-NET เป็นข้อสอบชุดเดียวกันทั้งประเทศ จึงเป็นภาพสะท้อนคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน หากนักเรียนสอบได้คะแนนสูงโรงเรียนก็ได้รับผลการประเมินดีเช่นกัน เป็นการตอบแทนพระคุณของโรงเรียนและคุณครูที่มอบความรู้ให้กับเรา

3. ใช้ในการสอบแข่งขันเข้าเรียนต่อในชั้นม.1

โรงเรียนที่อยู่ในสังกัด สพฐ. เช่นสวนกุหลาบ สามเสน บดินทรเดชา สตรีวิทย์  จะใช้คะแนน O-NET ถึง 30% ในการพิจารณาคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อในชั้น ม.1 ห้องเรียนปกติ 

ข้อสอบ O-NET หากฝึกทำย้อนหลังไปหลายๆปี ก็จะเริ่มเห็นแนวทางการออกข้อสอบ จึงเป็นสนามสอบที่เรียกได้ว่าสามารถทำคะแนนได้ดี (ถึงขั้นได้เต็ม) หากเตรียมความพร้อมมาอย่างเต็มที่ ไม่เหมือนกับข้อสอบที่แต่ละโรงเรียนออก เพราะไม่สามารถคาดเดาอะไรได้เลย

คอร์สตะลุยโจทย์ O-NET ของ Best Brain มาจากการติดตามข้อสอบ O-NET ย้อนหลังไป 7 ปีของทีมคุณครูที่มีประสบการณ์การติวเด็กประถมเข้า ม.1 ทำให้คุณครูเห็นแนวทางการออกข้อสอบ และนำมาวิเคราะห์ จัดหมวดหมู่คำถาม เพื่อทำให้เด็กๆเห็นว่าเรื่องไหนออกสอบบ่อยต้องเน้นย้ำ เรื่องไหนต้องมีเทคนิคการคิดหรือเทคนิคการเลือกคำตอบอย่างไรให้ได้คะแนน หากน้องๆได้เรียนคอร์สนี้เรียกได้ว่าน้องๆจะได้รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง  ดูรายละเอียดคอร์สเรียนได้ที่..นี่..

คะแนนโอเน็ต ม.6 มีผลอะไรบ้าง