เปลือกสับปะรดมีประโยชน์อะไร

เปลือกสับปะรดมีประโยชน์อะไร

เปลือกสับปะรดมีประโยชน์อะไร

อ่านแล้ว 170,385 ครั้ง  

ตั้งแต่วันที่ 06/07/2561

อ่านล่าสุด 8 นาทีที่แล้ว


Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ https://tinyurl.com/ybhfpppa

สับปะรดเป็นผลไม้เขตร้อนที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และมีเอนไซม์บรอมมีเลน (bromelain) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่น่าสนใจหลายอย่าง ปัจจุบันนอกจากการนำสับปะรดมาบริโภคในรูปแบบของผลไม้สดและใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารและขนมต่างๆ แล้ว ยังมีการนำสับปะรดมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้หลายชนิด เช่น สับปะรดกระป๋อง สับปะรดอบแห้ง สับปะรดแช่แข็ง น้ำผลไม้ น้ำส้มสายชู ไวน์สับปะรด อุตสาห์กรรมเบียร์ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และการใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้กับสับปะรดได้เป็นอย่างดี

เปลือกสับปะรดมีประโยชน์อะไร

ภาพจาก : https://juicing-for-health.com/wp-content/uploads/2012/06/pineapples.jpg

สับปะรด (Pineapple) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ananas comosus (L.) Merr. ชื่อพ้อง Ananas sativus Schult. f. เป็นพืชในวงศ์ BROMELIACEAE ชื่ออื่นๆ คือ ขนุนทอง, เนะซะ, แนะ, บ่อนัด, มะขะนัด, มะนัด, ม้าเนื่อ, ย่านนัด, ยานัด, ลิงทอง,สับปะรดลาย, และหมากเก็ง สับปะรดเป็นไม้ล้มลุก สูง 50 - 125 ซม. มีไหล ใบเดี่ยวเกิดจากรากเรียงเวียนเป็นกระจุก รูปแถบ กว้าง 1.5 - 6 ซม. ยาว 50 - 150 ซม. ขอบใบโค้งขึ้นมีหนามแหลม เนื้อใบหนา แข็ง มีเส้นใย ท้องใบมีเกล็ดสีขาว ดอกช่อเชิงลดออกที่ปลายยอด ใบประดับสีแดง เหลืองหรือเขียว กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันปลายแยกเป็นแฉก รูปไข่แกมสามเหลี่ยม กลีบดอกรูปแถบแกมขอบขนาน ปลายแหลม โคนกลีบสีขาว ปลายกลีบสีม่วงหรือแกมชมพู ยาว 16 - 26 มม. ผลรวมรูปกระสวยกว้าง อวบน้ำเปลือกแข็ง สีเหลืองหรือเกือบแดง กว้าง 3 - 15 ซม. ยาว 3 - 30 ซม. มักไม่ติดเมล็ด (1) สับปะรดที่นิยมปลูกในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 3 กลุ่มคือ Cayenne (พันธุ์ปัตตาเวียหรือที่เรียกว่าสับปะรดศรีราชา และพันธุ์นางแล), Queen (พันธุ์ภูเก็ต), และ Spanish (พันธุ์อินทรชิตและพันธุ์ขาว) (2)

ผลของสับปะรดมีสรรพคุณในการขับเหงื่อ ห้ามเลือด แก้ทางปัสสาวะ ขับพยาธิ ฆ่าพยาธิ แก้โลหิตระดู บำรุงโลหิต แก้นิ่ว แก้ระดูขาว เป็นยาระบาย แก้หนองใน ทำให้แท้ง ช่วยย่อยอาหาร แก้ปัสสาวะพิการ (ปัสสาวะขัด) ขับปัสสาวะ กัดเสมหะในลำคอ แก้เสมหะเหนียว ขับเสมหะ แก้ไอ ระงับการอักเสบและบวม ทำให้แผลหายเร็ว (3)

สับปะรด 100 ก. จะให้พลังงานประมาณ 50 กิโลแคลลอรี สารสำคัญที่พบในสับปะรดคือสารในกลุ่ม phytoestrogens, isoflavones, lignans, phenolics, กรดซิตริก, กรดมาลิก, วิตามินต่างๆ รวมทั้งเอนไซม์ บรอมมีเลน โดยสับปะรดแต่ละสายพันธุ์จะมีปริมาณสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้ (2)

เปลือกสับปะรดมีประโยชน์อะไร

การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่าน้ำคั้นจากสับปะรดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอย่างอ่อน มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ และยับยั้งการเกิดมะเร็ง เอนไซม์บรอมมีเลนมีฤทธิ์ย่อยโปรตีน ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน ต้านมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ช่วยย่อยอาหาร และมีฤทธิ์ลดอาการบวมและการอักเสบ การทดสอบทางคลินิกในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าโดยให้ผู้ป่วยรับประทานยาเม็ดที่มีเอนไซม์บรอมมีเลนขนาด 200 และ 400 มก./วัน พบว่าผู้ป่วยมีอาการปวดลดลง ปัจจุบันมีการพัฒนาเอนไซม์บรอมมีเลนเป็นยาแผนปัจจุบัน เช่น ยาช่วยย่อย และยารักษาอาการอักเสบและบวมของเนื้อเยื่อ (4-5)

การรับประทานสับปะรดหลังมื้ออาหารจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหาร ซึ่งการรับประทานสับปะรดอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองเล็กน้อยภายในปาก ริมฝีปาก และลิ้นได้ และแม้ว่าในขณะนี้จะยังไม่มีการรายงานความเป็นพิษจากการใช้ในรูปแบบของอาหาร แต่ไม่ควรรับประทานในขณะท้องว่าง เนื่องจากสับปะรดมีความเป็นกรดและมีเอนไซม์บรอมมีเลนหากรับประทานขณะท้องว่างจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารได้ สำหรับผู้ที่แพ้พืชในตระกูลเดียวกับสับปะรดควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน (4-5)

เอกสารอ้างอิง

  1. Backer CA, Brink RCB. Flora of Java Vol. III. Groningen: N.V. Wolters-Norrdhoff, 1968:761pp.
  2. The Thailand research fund (TRF). Durian. Proceeding of “Thai fruits-functional fruits” THAIFEX World of Food Asia 2010; 2010 July 1-2; Bangkok, Thailand. Bangkok: Square Print’93 co.,ltd;2010.
  3. นันทวัน บุณยะประภัทศร, บรรณาธิการ. สมุนไพรไม้พื้นบ้าน 4. กรุงเทพฯ: บริษัทประชาชนจำกัด, 2543: 740 หน้า.
  4. อรัญญา ศรีบุศราคัม. สับปะรด. จุลสารข้อมูลสมุนไพร 2544;18(4):3-7.
  5. กฤติยาไชยนอก. น้ำผักผลไม้เพื่อสุขภาพ. จุลสารข้อมูลสมุนไพร 2554;28(4):9-20.

เปลือกสับปะรดมีประโยชน์อะไร

เปลือกสับปะรดมีประโยชน์อะไร

การมีสุขภาพดี

Share:

สับปะรด เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ หลายคนจึงเชื่อว่าการบริโภคสับปะรดอาจช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดีได้ ในทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์จึงพยายามหาข้อพิสูจน์ถึงคุณประโยชน์ของสับปะรด เพื่อประสิทธิผลทางสุขภาพและการรักษาอันจะเป็นประโยชน์ในอนาคต

เปลือกสับปะรดมีประโยชน์อะไร

ลักษณะทางกายภาพที่เด่นชัดของสับปะรด คือ ผลไม้ที่มีตาอยู่รอบผล โดยที่เห็นเป็นตาเหล่านั้นแท้จริงแล้วเป็นดอกเล็ก ๆ ของสับปะรด ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่ทำให้สับปะรดแตกต่างจากผลไม้ชนิดอื่น ด้านบนของผลจะมียอดใบเป็นจุกซ้อนกันหลายชั้น ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงให้เห็นว่าสับปะรดผลนั้นพร้อมสำหรับการเก็บเกี่ยวแล้วหรือไม่ โดยสับปะรดเป็นผลไม้ที่ปลูกได้แม้ในพื้นที่แห้งแล้งและมีน้ำน้อย และจะโตเต็มที่ในเวลาประมาณ 18 เดือน

ในสับปะรดอุดมไปด้วยกรดซิตริกหรือกรดมะนาว (Citric) และกรดมาลิก (Malic) ที่เป็นสารให้รสเปรี้ยว โดยมีกรดแอสคอร์บิก (Ascorbic) หรือวิตามินซี ซึ่งมีประโยชน์ต่อการทำงานในระบบต่าง ๆ ของร่างกายรวมอยู่ด้วย

ส่วนอีกหนึ่งสารสำคัญที่พบในสับปะรด คือ เอนไซม์โบรมีเลน (Bromelain) ซึ่งเชื่อกันว่าสารนี้อาจช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารต้านการอักเสบ หรือกระทั่งมีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกที่ผิดปกติ รวมถึงอาจช่วยชะลอการแข็งตัวของเลือดได้

ดังนั้น นอกจากการบริโภคเป็นอาหารในชีวิตประจำวัน สับปะรดยังเป็นหนึ่งในผลไม้สำคัญที่นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจและศึกษาประสิทธิผลของมัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ในทางการแพทย์และสุขภาพ ดังเช่นประเด็นที่สำคัญ ต่อไปนี้

ข้อเสื่อม (Osteoarthritis) เป็นภาวะที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดตามข้อต่อร่างกายหรือข้อติด ด้วยสมมติฐานที่ว่าสารโบรมีเลนจากสับปะรดอาจช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารต้านกระบวนการอักเสบได้ จึงอาจมีประสิทธิผลต่อการรักษาข้อเสื่อมได้ด้วย ทำให้เกิดการทดลองให้สารโบรมีเลนเพื่อการรักษาในผู้ป่วยข้อเสื่อมระดับปานกลางถึงรุนแรงเป็นเวลา 12 สัปดาห์ แต่ผลการทดลองพบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงและประสิทธิผลทางการรักษาที่ปรากฏขึ้นแต่อย่างใด

ในขณะที่อีกหนึ่งงานทดลองในลักษณะคล้ายกัน ที่มีการใช้สารโบรมีเลนร่วมกับการใช้ยาทริปซิน (Typsin) หรือรูติน (Rutin) เปรียบเทียบกับการใช้ยาไดโคลฟีแนค (Diclofenac) ในการทดลองกับผู้ป่วยข้อเสื่อมบริเวณสะโพก ผลลัพธ์ที่ได้ คือ การใช้สารโบรมีเลนร่วมกับการใช้ยาทริปซินหรือรูตินมีผลทางการรักษาเท่ากับการใช้ยาไดโคลฟีแนค

อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ยังคงไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนเพียงพอจะยืนยันประสิทธิผลทางการรักษาของสารสกัดโบรมีเลนจากสับปะรดต่อภาวะข้อเสื่อมหรืออาการที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ จึงควรมีการศึกษาค้นคว้าในด้านดังกล่าวเพิ่มเติมต่อไป

แผลไฟไหม้ คือ แผลบริเวณผิวหนังและร่างกายที่เกิดจากความร้อนและเปลวไฟเผาทำลายเซลล์เนื้อเยื่อตามร่างกายบริเวณต่าง ๆ มีงานค้นคว้าหนึ่งที่ทดลองนำสารสกัดโบรมีเลนจากสับปะรดมาทาเพื่อรักษาแผลไฟไหม้ในผู้ป่วย 130 ราย ที่มีแผลรุนแรงในระดับที่ 2-3 เป็นเวลา 4 ชั่วโมง แล้ววัดผลจากเนื้อเยื่อตายของบาดแผลที่แพทย์จำเป็นต้องตัดเล็มออก ซึ่งพบว่าสารสกัดโบรมีเลนอาจส่งผลทำให้มีเนื้อเยื่อตายจากแผลไฟไหม้ลดน้อยลงได้

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงการทดลองบางส่วนและยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนรองรับการใช้สารสกัดโบรมีเลนเพื่อการรักษาแผลไฟไหม้แต่อย่างใด จึงควรมีการศึกษาค้นคว้าในด้านดังกล่าวเพิ่มเติมต่อไป

Sinusitis เป็นภาวะที่เยื่อบุบริเวณโพรงอากาศข้างจมูกเกิดการอักเสบบวมจากการติดเชื้อ ทำให้มีอาการอย่างคัดจมูก มีน้ำมูกข้น ปวดบริเวณจมูก ตา โหนกแก้ม หน้าผาก ฟัน ไอ ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น มีงานทดลองหนึ่งที่นำสารโบรมีเลนที่สกัดจากสับปะรดมาทดสอบประสิทธิภาพทางการรักษาไซนัสอักเสบ ด้วยการให้เด็กที่ป่วยด้วยไซนัสอักเสบเฉียบพลัน 116 ราย บริโภคสารโบรมีเลน ผลการทดลองพบว่าสารโบรมีเลนช่วยลดระยะเวลาในการเกิดอาการต่าง ๆ จากไซนัสอักเสบลงเมื่อเทียบกับการรักษาไซนัสอักเสบโดยทั่วไป

ถึงจะมีผลลัพธ์ที่วัดได้จากบางงานทดลองที่คล้ายกัน แต่ประสิทธิผลของสารโบรมีเลนจากสับปะรดในด้านการรักษาไซนัสอักเสบยังคงไม่ชัดเจนเพียงพอ ควรมีการค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไป และควรเน้นไปที่ประสิทธิผลทางการรักษาบรรเทาอาการเป็นหลัก

มะเร็ง เป็นโรคร้ายซึ่งเกิดจากความผิดปกติของเซลล์เนื้อเยื่อที่แบ่งตัวผิดปกติ มีการคาดว่าสารประกอบในสับปะรดอาจยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกที่ผิดปกติอย่างเซลล์มะเร็งได้ จึงมีการศึกษาค้นคว้าในด้านนี้ และพบว่าสารโบรมีเลนลดความเป็นพิษของเซลล์มะเร็ง ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในทางการแพทย์เพื่อการวางแผนรักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อไปในอนาคตได้

อย่างไรก็ตาม การทดลองอื่น ๆ ที่ศึกษาประสิทธิภาพของสารโบรมีเลนจากสับปะรดในผู้ป่วยมะเร็งไม่อาจแสดงผลลัพธ์ที่ชัดเจนในด้านคุณประโยชน์ในการรักษา และมะเร็งเป็นหนึ่งในโรคร้ายที่สำคัญ จึงควรศึกษาค้นคว้าอย่างละเอียดรอบคอบเพิ่มเติมต่อไป เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์สูงสุดในอนาคต

อาการปวดกล้ามเนื้อ (Muscle Soreness หรือ Myalgia) เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้จากอุบัติเหตุ การออกกำลังกายอย่างหนัก หรือมากเกินไป มีความเชื่อที่ว่าสารโบรมีเลนในสับปะรดอาจช่วยป้องกันการเกิดอาการปวดระบบตามกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายได้ แต่หลังมีการค้นคว้าวิจัยในเรื่องนี้กลับพบผลลัพธ์ว่า การบริโภคสารโบรมีเลนทันทีหลังการออกกำลังกายอย่างหนักไม่ได้ช่วยลดอาการเจ็บปวดบริเวณกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง และไม่ได้มีผลต่อความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อแต่อย่างใด

นอกจากนี้ ยังมีอีกงานค้นคว้าหนึ่งที่ให้ผู้ร่วมทดลองจำนวน 40 ราย ออกกำลังกายอย่างหนักด้วยแขนข้างที่ไม่ถนัด หลังจากนั้นจึงบำบัดด้วยการให้สารโบรมีเลน ยาแก้ปวดไอบูโพรเฟน และยาหลอกทันทีหลังการออกกำลังกาย ผลการทดลองกลับพบกว่าไม่มีความแตกต่างทางการรักษาของสารโบรมีเลนและยาไอบูโพรเฟน และสารทั้ง 2 ชนิดนี้ก็ไม่มีผลทางการรักษาต่อปัญหาการเคลื่อนไหวของข้อต่อ หรือความเจ็บปวดบริเวณข้อพับแขนแต่อย่างใด

ดังนั้น สมมติฐานถึงประสิทธิภาพของสารโบรมีเลนในสับปะรดต่ออาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อ ถือได้ว่ายังคงไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดที่พิสูจน์ได้ในขณะนี้

สับปะรดมีประโยชน์ต่อร่างกายจริงหรือไม่

แม้จะมีข้อมูลด้านการทดลองและงานค้นคว้าวิจัยมากมายเกี่ยวกับสารเคมีในสับปะรด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารโบรมีเลน แต่ทุกวันนี้ก็ยังคงไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ที่ชัดเจนถึงประสิทธิผลทางสุขภาพต่อการรักษาโรค ดังนั้น ผู้บริโภคควรระมัดระวัง และคำนึงถึงปัจจัยทางสุขภาพของตนก่อนการบริโภค ไม่บริโภคสับปะรดหรือใช้สารสกัดจากสับปะรดเพื่อหวังผลทางการรักษาปัญหาสุขภาพด้วยตนเอง หากไม่มั่นใจหรือมีข้อสงสัยประการใด ควรศึกษาหาข้อมูลที่สำคัญเพิ่มเติมและปรึกษาแพทย์ก่อน

ปริมาณที่เหมาะสมในการบริโภคสับปะรด

ปริมาณที่พอดีสำหรับการบริโภคต่อวัน คือ เนื้อสับปะรด 2 ชิ้น ซึ่งจะมีวิตามินซีอยู่ประมาณ 100 มิลลิกรัม ส่วนสับปะรดที่ถูกแปรรูปแล้วอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น น้ำสับปะรด ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมักมีสารโบรมีเลนอยู่ประมาณ 500 มิลลิกรัม 

ส่วนใช้สารโบรมีเลนที่เป็นสารสกัดจากสับปะรดเพื่อผลทางการรักษา ต้องอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น ซึ่งแพทย์จะพิจารณาปริมาณตามความเหมาะสม โดยปริมาณทั่วไปอยู่ที่ครั้งละ 40 มิลลิกรัม 3-4 ครั้ง/วัน

ความปลอดภัยในการบริโภคสับปะรด

ผู้บริโภคทั่วไป

  • โดยทั่วไป การบริโภคสับปะรดจะปลอดภัยหากรับประทานในปริมาณที่พอดี หรือไม่เกินกว่าปริมาณที่แนะนำ
  • สารโบรมีเลนในสับปะรดมีความเป็นพิษต่ำมาก แต่อย่างไรก็ตาม สารนี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการบริโภคได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ประจำเดือนมามากกว่าปกติ มีผดผื่นคันตามผิวหนัง
  • การรับประทานสับปะรดมากจนเกินไปอาจทำให้มีอาการปากบวมหรือแก้มบวม ริมฝีปากหรือมุมปากอักเสบได้
  • การรับประทานน้ำสับปะรดที่ยังไม่สุกเต็มที่อาจทำให้อาเจียนอย่างรุนแรงได้

ผู้ที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

  • ผู้ที่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร แม้ยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนที่เพียงพอเกี่ยวกับอันตรายจากการรับประทานสับปะรดในผู้ที่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร แต่ผู้บริโภคควรระมัดระวังและรับประทานสับปะรดในปริมาณที่พอดีเท่านั้น เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงต่อตนเองและทารก
  • ผู้ป่วยภูมิแพ้หรือมีภาวะภูมิไวเกิน หากเป็นผู้ที่แพ้สารประกอบใด ๆ ในสับปะรด ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคสับปะรดและอาหารบางชนิด หรือหลีกเลี่ยงสารที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ในลักษณะเดียวกันได้ เช่น แครอท ข้าวสาลี ผักชีฝรั่ง ผักชีล้อม สารลาเท็กซ์ ละอองเรณูของต้นหญ้า เป็นต้น หรือหากผู้ป่วยไม่แน่ใจเกี่ยวกับสิ่งที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานอาหารทุกครั้ง
  • ผู้ป่วยผ่าตัด สารโบรมีเลนในสับปะรดอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะมีเลือดออกทั้งในระหว่างการผ่าตัดและหลังการผ่าตัด ดังนั้น ควรหยุดบริโภคสับปะรดและสารโบรมีเลนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนวันผ่าตัด

Share:

หัวข้อสนนทนาที่เกี่ยวข้อง

เข้าสู่ระบบ

หรือใช้บัญชี Facebook ของคุณเพื่อเข้าสู่ระบบใน Pobpad.com,กดลิ้งค์ด้านล่าง:

เปลือกสับปะรดมีประโยชน์อะไร

×