หลักการ ทำงาน เป็นทีม อย่างมีความสุข

การทำงานเป็นทีม

ความหมายของการทำงานเป็นทีม

                การทำงานเป็นทีม เป็นประเภทหนึ่งของการทำงานกลุ่ม (Group Work) ทีมงานทุกทีมงานจัดเป็นกลุ่มทำงาน แต่กลุ่มทีมงานทุกกลุ่มอาจจะไม่เป็นทีมงานเสมอไป เนื่องจากจากทำงานเป็นกลุ่มนั้นเป็นการทำงานของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพื่อการทำงานที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและมีเป้าหมายร่วมกัน มีลักษณะการทำงานหลายแบบ มีการทำงานที่ประสานกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ร่วมกันตั้งไว้

แนวคิดเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีม

                นักวิชาการที่สนใจเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีมได้แก่ Douglas McGregor ในหนังสือ The Human Side of Enterprise (1960) และ Rensis Likert ใน New Patterns of Management (1961)

                McGregor ได้กล่าวถึงลักษณะการทำงานเป็นทีม ดังนี้

1.บรรยากาศขององค์กรที่เป็นรูปนัย ตามสบาย ไม่เครียดเกินไป

2.มีการอภิปรายกันอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของแต่ละคน

3.งานหรือวัตถุประสงค์ของกลุ่ม สมาชิกทุกคนมีความเข้าใจและยอมรับ

4.สมาชิกกลุ่มยอมรับรับเหตุผลของกันและกัน

5.เมื่อมีการขัดแย้งกัน จะต้องแก้ปัญหาร่วมกัน จะไม่มีการหนีปัญหา

6.มีการตัดสินใจ ด้วยความคิดเห็นส่วนใหญ่

7.การวิจารณ์เปิดเผยตรงไปตรงมา

8.ทุกคนมีอิสรเสรีในการแสดงความรู้สึก

9.การปฏิบัติงาน การมอบหมายงาน ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง

10.ผู้นำกลุ่มไม่สามารถต่อสู้ เพื่ออำนาจส่วนตัว ประเด็นสำคัญอยู่ที่ไม่ได้อยู่ที่ใครควบคุม แต่อยู่ที่ทำอย่างไรให้งานสำเร็จผล

11.กลุ่มมีอิสรภาพในการทำงานของสมาชิกแต่ละคน จะมีการหยุดเพื่อตรวจสอบงานเป็นระยะ

                Rensis Likert ได้กล่าวถึงการทำงานเป็นกลุ่มไว้ดังนี้

1.สมาชิกกลุ่มมีทักษะ ในเรื่องของภาวะผู้นำและบทบาทของสมาชิก

2.กลุ่มมีประสิทธิภาพและมีความสัมพันธ์ในการทำงานต้องเป็นไปด้วยดี

3.สมาชิกในกลุ่มทุกคนต้องมีความซื่อสัตย์

4.สมาชิกและหัวหน้ากลุ่มต้องมีความไว้ใจกันสูง

5.ค่านิยมและเป้าหมายต่างๆจะต้องเกิดจากความพึงพอใจและความจำเป็นของสมาชิก

6.การปฏิบัติงานสมาชิกทุกคนต้องมีความอดทน เพื่อให้ได้มาซึ่งค่านิยมและเป้าหมายของกลุ่ม

7.ถ้าค่านิยมของกลุ่มมีความสำคัญมากขึ้นเท่าใด ความพึงพอใจของกลุ่มยิ่งสำคัญมากขึ้นตาม

8.สมาชิกกลุ่มมีการกระตุ้นเตือนกัน เพื่อให้งานได้สำเร็จตามเป้าหมายของกลุ่ม

9.เมื่อเกิดปัญหาจะต้องมีการให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แนะนำ วิจารณ์ ให้ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

10.หัวหน้าควรยอมรับหลักการซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการสร้างบรรยากาศของการสร้างสรรค์ในกลุ่มและการร่วมมือกันแทนที่จะแข่งขันชิงดีกันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม

11.กลุ่มมีความกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

12.สมาชิกแต่ละคนยอมรับด้วยความเต็มใจด้วยปราศจากความกลัวในอุปสรรคและเป้าหมาย

13.หัวหน้าและสมาชิกในกลุ่ม จะต้องเชื่อว่าคนในกลุ่มสามารถทำงานที่ยากให้สำเร็จได้

14.เมื่อมีความจำเป็นที่จะรับคำแนะนำ สมาชิกคนอื่นๆของกลุ่มจะให้คำแนะนำสมาชิกเท่าที่จำเป็น

15.บรรยากาศที่สนับสนุนกลุ่มสมาชิกกลุ่มมาจำเป็นที่จะต้องพูดคำว่า ครับ ขอรับกระผมกับหัวหน้าทีมเสมอไป

16.กลุ่มมีความตระหนักในค่านิยมของความคิดสร้างสรรค์

17.มีการกระตุ้นให้สมาชิกติดต่อสื่อสารกันอย่างเปิดเผย

18.มีการกระตุ้นทางใจสูง เพื่อใช้เป็นกระบวนการติดต่อสื่อสาร เพื่อจะได้มีการเสริมสร้างประโยชน์และเป้าหมายต่างๆภายในกลุ่ม

19.ทุกคนสนใจข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับกลุ่ม

20.กลุ่มที่มีประสิทธิภาพสูงย่อมยอมรับอิทธิพลของบุคคลอื่นและของกันและกัน

21.กระบวนการของกลุ่ม กลุ่มที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถทำให้สมาชิกใช้กำลังความสามารถได้เต็มที่

22.ความสามารถของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม มีอิทธิพลต่อกันและกันและย่อมมีส่วนร่วมต่อความยืดหยุ่นและการปรับตัวของความคิด เป้าหมายและทัศนคติต่างๆ

23.ในกลุ่มที่มีประสิทธิภาพแต่ละคนในกลุ่มรู้สึกมั่นใจและปลอดภัยในการตัดสินใจในปัญหาที่ดูเหมือนจะเหมาะสมต่อเขา

24.หัวหน้าของกลุ่มที่มีประสิทธิภาพสูง จะได้รับการเลือกตั้งมาอย่างระมัดระวังความสามารถของผู้นำ

หลักการทำงานเป็นทีม

                หลักการทำงานเป็นทีมที่สำคัญของ Mclntyre and Sales 1995 ได้กล่าวไว้ดังนี้

1.สมาชิกในทีมจะต้องมีการตอบรับและยอมรับผลสะท้อนหรือการตอบรับจากสมาชิกอื่นๆ

2.การทำงานเป็นทีมต้องมีความเต็มใจ มีการเตรียมตัว เตรียมใจ

3.การทำงานเป็นทีมต้องมีการรวบรวมความคิดเห็นของสมาชิกในทีม

4.การทำงานจะต้องสนับสนุนเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

5.ผู้นำเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้เห็นว่าทีมจะดำเนินไปลักษณะใด ผู้นำจะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับสมาชิก

ประเภทของทีม

                ทีมงานมีรูปแบบพื้นฐานที่นิยมใช้งานมีอยู่ 3 ประเภท การเลือกใช้จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ได้แก่

    1.ทีมงานแก้ปัญหา (Problem-solving Team)

   2.ทีมงานบริหารด้วยตนเอง (Self-managed Work Team)

   3.ทีมข้ามสายงาน (Cross-function Team)

                ความท้าทายที่สำคัญขององค์การจะนำไปสู่ระบบที่เป็นทางการ ซึ่งจะเป็นที่มาของทีมงานที่มีศักยภาพในการทำงานในระดับสูง เพื่อให้ได้ทีมงานที่มีศักยภาพจำเป็นจะต้องมีการกำหนดสิ่งต่างๆดังนี้

1.ทีมงานที่คอยให้คำแนะนำ

2.ทีมงานบริหาร

3.ทีมงานปฏิบัติ

การสร้างทีมงาน

                การสร้างทีมงาน (Team Building) เป็นกิจกรรมที่เป็นทางการเพื่อปรับปรุงพัฒนางานตามหน้าที่ของทีมงามเพื่อให้ทีมงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นวิธีการที่ต้องอาศัยความร่วมมือกันที่จะรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อปรับปรุงทีมงาน

                ทีมงานโดยทั่วไปไม่ได้เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ บางครั้งสมาชิกและผู้นำทีมจะต้องทำงานหนักเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เมื่อมีการสร้างทีมงานขึ้นมาใหม่จะต้องบริหารเพื่อให้กลุ่มมีความพัฒนา ถึงแม้ว่ามีการพัฒนาอย่างเต็มที่แล้ว ทีมงานส่วนใหญ่ก็ยังพอปัญหาการทำงานในหลายๆประเด็นที่มีความแตกต่างกัน กระบวนการที่มีระบบการสร้างทีมจะสามารถช่วยได้

                วิธีการสร้างทีมงาน (Approaches to team Building)

1.วิธีการล่าถอยอย่างมีแบบแผน (Formal retreat approach)

2.วิธีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous improvement approach)

3.การใช้ประสบการณ์ภายนอก (Outdoor experience approach)

                การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ

                                การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ มีกระบวนการที่สำคัญ  5 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ การรับรู้ปัญหา

ขั้นตอนที่การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

ขั้นตอนที่การวางแผนปฏิบัติการ

ขั้นตอนที่การดำเนินงาน

ขั้นตอนที่การประเมินผลลัพธ์จากการดำเนินงาน

ลักษณะของการทำงานเป็นทีม

                ทีมงานที่มีศักยภาพในการทำงานระดับสูงจะมีลักษณะพิเศษที่ทำให้เกิดความเป็นเลิศในเรื่องของทีมงาน และสามารถบรรลุข้อได้เปรียบเฉพาะอย่าง ดังนี้

                1.ทีมงานที่มีศักยภาพการทำงานในระดับสูงจะมีค่านิยมหลักที่แข็งแกร่ง

                2.ทีมงานที่มีศักยภาพการทำงานในระดับสูงจะมีวัตถุประสงค์ในการทำงานที่ชัดเจน

                3.ทีมงานที่มีศักยภาพการทำงานในระดับสูงจะมีส่วนประกอบของทักษะที่ถูกต้อง ซึ่งจะประกอบด้วยทักษะด้านการแก้ปัญหา ทักษะการตัดสินใจ และทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

                4.ทีมงานที่มีศักยภาพการทำงานในระดับสูงจะมีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงาน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

ลักษณะทีมงานที่ไม่มีประสิทธิภาพและทีมงานที่มีประสิทธิภาพ

                Woodcock Mike ได้สรุปลักษณะทีมงานที่ไม่มีประสิทธิภาพและทีมงานที่มีประสิทธิภาพไว้ดังนี้

                ลักษณะทีมงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ

                                ลักษณะทีมงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย

                1.อาการของความคับข้องใจ ความคับข้องใจเกิดจากการที่คนเรามองไม่เห็นทางว่าความต้องการของตนจะได้รับการตอบสนองอย่างไร ความคับข้องใจจะทำให้เกิดความหมดหวัง ขาดความผูกพันกับเป้าหมายของส่วนรวมและขาดแรงจูงใจ ซึ่งอาการคับข้องใจจะทำให้เกิดการแสดงออกด้วยความหงุดหงิด การก้าวร้าว การแก้แค้น เพราะสมาชิกไม่มีโอกาสที่จะได้แสดงความคิดเห็นของตนในระบบงาน สิ่งเหล่านี้จะทำให้การตอบโต้รุนแรงมากยิ่งขึ้น

                2.การแก่งแย่งชิงดี การแข่งขันเป็นเรื่องธรรมดาในองค์การ แต่การแข่งขันที่มุ่งทำลายกัน ที่มีแต่   กลโกงเต็มไปหมด ย่อมเป็นการแข่งขันที่ไม่ดีต่อองค์การ จะทำให้องค์การประสบความล้มเหลว ทำให้สมาชิกในองค์การหมดกำลังใจในการทำงานเพราะคิดว่ายังไงงานก็จะไม่ประสบความสำเร็จ

                3.สีหน้าของสมาชิก อาการของทีมงานจะแสดงออกทางสีหน้าว่าสุขหรือทุกข์

                4.ความเปิดเผยและความซื่อตรง จะเกิดขึ้นเมื่อความล้มเหลวเกิดขึ้นแล้ว เพราะเมื่อความล้มเหลวเกิดขึ้นทางสุดท้ายคือคนเรายอมเปิดเผยความจริง ถ้าเราบอกข้อมูลที่ถูกต้องก่อน ยากที่จะเกิดความล้มเหลวเกิดขึ้น

                5.การประชุม เป็นหนึ่งสิ่งที่จะทำให้เป็นว่าทีมมีประสิทธิภาพหรือไม่ เหตุผลสำคัญของการประชุมคือ การใช้ทักษะของสมาชิกในการร่วมกันแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง จะเห็นได้ว่าจะมีสมาชิกเพียงบางคนที่สามารถใช้ทักษะได้ สิ่งจะจะบ่งชี้คุณภาพของการประชุมคือความรู้สึกของสมาชิกว่าอยากประชุมหรือเบื่อหน่ายการประชุม

                6.ความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง เป็นเครื่องชี้คุณภาพของทีมงานในทีมงานที่ไม่มีประสิทธิภาพเช่นกัน

                7.สมาชิกไม่พัฒนาตนเอง

                8.บทบาทและหน้าที่ของสมาชิกไม่ชัดเจน

                9.การไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากภายนอก

                10.สมาชิกขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

                11.สมาชิกไม่ให้ความร่วมมือและไม่ช่วยเหลือกัน

                ลักษณะของทีมงานที่มีประสิทธิภาพ

                                ลักษณะของทีมงานที่มีประสิทธิภาพมีลักษณะดังต่อไปนี้

                1.วัตถุประสงค์ชัดเจนและมีเป้าหมายที่สอดคล้องกัน

                2.สมาชิกมีความเปิดเผย จริงใจและเผชิญหน้าเพื่อแก้ปัญหา

                3.สมาชิกมีการสนับสนุนและไว้วางใจกัน

                4.สมาชิกมีความร่วมมือและใช้ความขัดแย้งในทางสร้างสรรค์

                5.กลุ่มมีกระบวนการตัดสินใจและกระบวนการทำงานที่เหมาะสม

                6.ใช้ภาวะผู้นำที่เหมาะสม

                7.ประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ

                8.การพัฒนาตนเองของสมาชิก

                9.ต้องมีความสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นๆ

ขั้นตอนการทำงานเป็นทีม

                ขั้นตอนการทำงานเป็นทีม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนที่สำคัญๆ ได้แก่

1.การปฐมนิเทศ

2.สร้างความเข้าใจร่วมกัน

3.การหาข้อยุติหรือข้อสรุป

4.การปฏิบัติงาน

อุปสรรคในการทำงานเป็นทีม

                9 อุปสรรคของการทำงานเป็นทีม จากวารสาร Personnel Journal ฉบับเดือนมกราคม 1988 มีดังนี้

1.ความแตกต่างระหว่างบุคลิกภาพ

2.การมีส่วนร่วมในการทำงานอย่างไม่เท่าเทียมกัน

3.การขาดความรู้สึกมีส่วนร่วมในทีม

4.ความล้มเหลวในการประเมินทีม

5.อำนาจของผู้นำ

6.ขาดแคลนทางเลือก

7.การปิดบัง ไม่สื่อสารแลกเปลี่ยนกัน

8.ขาดการวินิจฉัยในทีมงาน

9.ขาดการกระจายข่าวสารสู่ระดับล่าง

ความขัดแย้งและการจัดการกับความขัดแย้ง

                ความขัดแย้ง

                                ความขัดแย้งในองค์การแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่

                1.ความขัดแย้งในตัวบุคคล

                2.ความขัดแย้งระหว่างบุคคล

                3.ความขัดแย้งภายในกลุ่ม

                4.ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม

                5.ความขัดแย้งระหว่างองค์การ

                การจัดการกับความขัดแย้ง

                                การจัดการกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์การสามารถจัดการได้ดังต่อไปนี้

                1.การหลีกเลี่ยง

                2.การแข่งขัน

                3.การยอมเสียสละ

                4.การประนีประนอม

                5.การร่วมมือกัน

หลักการพัฒนาทีม

                แบบจำลอง (Mode) ของ Peter และคณะ (1975) ซึ่งอุทัย บุญประเสริฐ (2531) ได้นำมาอธิบายสรุปไว้ดังนี้

                1.การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน

                2.การสื่อสารระหว่างกันแบบเปิดเผย

                3.ปรึกษาหารือกัน

                4.การสร้างความร่วมมือกันอย่างแข็งขัน

                5.การติดตามและส่งเสริมการพัฒนาทีมงานอย่างต่อเนื่อง

การทำงานเป็นทีมของครู

                วิธีการทำงานนอกสถานศึกษา

                                บุญเลิศ ส่องสว่างกล่าวถึงวิธีการทำงานนอกสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้ (บุญเลิศ ส่องสว่าง 2339, 148-149)

                1.1 วิธีการทำงานเป็นทีมอย่างเป็นทางการ มีลักษณะ ดังนี้

                                1.มีโครงสร้างแน่นอน มีความรับผิดชอบที่แน่นอน จัดแบ่งสายงานไปตามระเบียบและกฎหมายที่รองรับ

                                2.อำนาจสั่งการขึ้นอยู่กับผู้ที่รับผิดชอบตามหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย

                                3.เคร่งครัดในระเบียบ การปฏิบัติงานและติดต่อสัมพันธ์ การติดต่อสื่อสารภายในและภายนอกหน่วยงานจะเป็นไปตามระเบียบและลักษณะของสายงานที่กำหนดไว้

                                4.กำหนดคุณลักษณะงาน มีการกำหนดระบบของสายงานตามลำดับขั้น โดยแบ่งสายงานจากสูงมาหาต่ำ หรือต่ำมาหาสูงไม่นิยมเสนองานข้ามลำดับสายงาน

                                5.ประกอบด้วยความถนัดและสามารถเฉพาะอย่าง แต่สามารถเพิ่มบทบาทตำแหน่งหน้าที่ตามความสามารถและระยะเวลาที่ตนปฏิบัติงาน

                                6.มีความสัมพันธ์ของสมาชิกในลักษณะที่สัมพันธ์กับการทำงานที่เกี่ยวข้องกัน

                                7.มีความสำเร็จของหน่วยงานที่เกิดจากระบบและผู้นำของระบบ

                1.2 วิธีการทำงานเป็นทีมอย่างไม่เป็นทางการ มีดังลักษณะดังนี้

                                1.มีโครงสร้างที่ไม่แน่นอน ระบบงานไม่แน่นอน แต่มีจุดมุ่งหมายชัดเจน

                                2.มีความยืดหยุ่น ไม่ยึดระเบียบเป็นแนวปฏิบัติตายตัว

                                3.ไม่กำหนดลักษณะงาน การดำเนินงานจะเป็นไปตามความเหมาะสมที่เกิดจากสภาพสังคมหรือบุคคลในองค์การ เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งตามความจำเป็น

                                4.มีความสัมพันธ์อย่างเป็นกันเองระหว่างสมาชิก โดยไม่มีระเบียบปฏิบัติที่ชัดเจน

                                5.มีการเลือกหัวหน้าทีมอย่างไม่เป็นทางการ มีความยืดหยุ่นในการบริหารงานไปสู่จุดหมายอย่างเหมาะสม

                                6.มีความสำเร็จของหน่วยงานที่เกิดจากสมาชิกในทีมร่วมมือร่วมใจกันทำงาน

                แนวทางการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา

                                ครูสามารถนำวิธีการทำงานเป็นทีมมาใช้ในสถานศึกษาได้ 2 แนวทาง คือ การทำงานเป็นทีมกับเพื่อนร่วมวิชาชีพและการทำงานเป็นทีมกับผู้เรียน ซึ่งแต่ละแนวทางมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

                                1.1 การทำงานเป็นทีมกับเพื่อนร่วมวิชาชีพ มีแนวทางดังต่อไปนี้

                                                1.การทำงานเป็นทีมเป็นแบบทางการ ชัดเจนในเรื่องบทบาทหน้าที่ สายงานและระเบียบปฏิบัติต่างๆโดยเฉพาะในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับ

                                                2.มีสถานภาพเป็นทั้งผู้นำและสมาชิก หมุนเวียนกันไป ซึ่งจะต้องเข้าใจบทบาทของตนให้ชัดเจน และปฏิบัติหน้าที่อย่างเหมาะสม

                                                3.มีงานบางลักษณะที่ต้องใช้วิธีการทำงานเป็นทีมอย่างไม่เป็นทางการเนื่องจากมีความยืดหยุ่นและความคล่องตัว และเอื้อต่อการทำงานมากกว่า

                                                4.มีการผสมผสานการทำงานเป็นทีมทั้งสองวิธี เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพ

                                                5.มีการให้อภัยกันหากมีความผิดพลาดในการทำงานและพร้อมที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างสร้างสรรค์

                                1.2 การทำงานเป็นทีมกับผู้เรียน มีแนวทางดังต่อไปนี้

                                                1.เลือกวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกัน

                                                2.ให้ความรู้เรื่องหลักการทำงานเป็นทีมที่ถูกต้อง

                                                3.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดลองทำงานร่วมกัน โดยครูเป็นผู้คอยให้คำปรึกษา

                                                4.มีการประเมินการทำงานร่วมกันของผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนทราบข้อดีและข้อเสียที่ควรปรับปรุง

                                                5.เน้นให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการทำงานเป็นทีมและเกิดเจตคติที่ดีต่อการทำงานในลักษณะดังกล่าว

                                                6.ให้แรงเสริมผู้เรียนที่มีทักษะการทำงานเป็นทีม

แนวทางการทำงานเป็นทีมนอกสถานศึกษา

                ในการทำงานเป็นทีมนั้นครูไม่ได้มีโอกาสใช้เฉพาะในสถานศึกษาเพียงเท่านั้น เนื่องจากปัจจุบันครูต้องมีบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลและหน่วยงานภายนอกสถานศึกษาในลักษณะที่ต้องทำงานร่วมกันครูควรต้องมีแนวทางการทำงานเป็นทีมดังนี้

                1.ส่งเสริมให้เกิดการทำงานเป็นทีมอย่างเป็นทางการในลักษณะโครงสร้างที่ชัดเจน มีวัตถุประสงค์ตรงกัน

                2.สนับสนุนให้บุคคลในชุมชนที่เป็นผู้นำชุมชน เป็นที่รักและศรัทธาของชาวบ้าน

                3.เน้นวิธีการปฏิบัติงานในลักษณะการทำงานเป็นทีมอย่างไม่เป็นทางการ

                4.พยายามให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงานโดยนำความสามารถของแต่ละคนมาใช้ให้เกิดประโยชน์

                5.คอยช่วยเหลือและประสานงานให้การทำงานเป็นไปได้อย่างราบรื่น

                6.หลีกเลี่ยงมาขัดแย้งและความไม่เข้าใจกันที่อาจเกิดขึ้นพร้อมทั้งหาวิธีแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

อ้างอิง

              พวงรัตน์ เกสรแพทย์. (2557). การบริหารและจัดการการศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ

นางสาวชมภูนุช ครองขจรสุข

ผู้รวบรวม