การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ดุษฎีนิพนธ์

                   5.4.5  การลำดับย่อหน้า การเรียบเรียงข้อความเนื้อหาให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน นอกจากจะต้องคำนึงถึงภายในแต่ละย่อหน้าแล้ว ผู้เขียนยังต้องคำนึงเสมอว่า  ข้อความในย่อหน้าคิดกันจะต้องมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันเป็นไปตามลำดับสอดคล้องกับโครงเรื่องด้วย

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มีความเชื่อว่า การศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา เป็นการสนับสนุนให้ผู้เรียนได้มีความรู้ความสามารถและทักษะเชิงวิชาการระดับสูงและเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชา รู้จักสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ด้วยการจัดการเรียนการสอนวิชาสาะรณสุขศาสตร์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจ สามารถทางานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในทุกด้าน โดยเฉพาะในเชิงวิชาการเพื่อให้มีความสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่ดีมีคุณภาพในระดับมาตรฐานสากล ด้วยการศึกษาค้นคว้า วิจัย และนำผลการวิจัยมาประยุกต์ใช้ เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล รวมทั้งเป็นผู้มีเจตคติที่ดีต่อปฏิบัติงาน บริการสุขภาพ มีคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติงาน และเป็นผู้นำในการพัฒนาตนเองและสังคมอย่างต่อเนื่อง

รายละเอียดหลักสูตร

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและคุณลักษณะดังนี้
(1) มีความรู้ความสามารถและทักษะขั้นสูงเชิงวิชาการในการพัฒนางานสาธารณสุขสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการคุ้มครองสุขภาพอนามัยในระดับสูงและเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชาอย่างลึกซึ้งและเป็นปัจจุบัน รวมทั้งมีทักษะในการวางแผนและการบริหารจัดการด้วยการนำผลการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขของประเทศสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการคุ้มครองสุขภาพของประชาชน
(2) มีความรู้ความสามารถและทักษะขั้นสูงเชิงวิชาการในการสร้างหรือค้นคว้าหา องค์ความรู้ด้านสาธารณสุขด้วยกระบวนการวิจัยและประยุกต์ใช้ในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์เพื่อการพัฒนา ปรับปรุง และแก้ไขปัญหาด้านการสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาและวิวัฒนการของประเทศชาติและเป็นพื้นฐานการพัฒนาการสาธารณสุขของประเทศ
(3) มีความคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและสามารถแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ มีเหตุมีผล และเป็นอิสระในการจัดการและแก้ไขปัญหาทั้งที่คาดการณ์ได้และคาดการณ์ไม่ได้ด้วยดุลยพินิจที่เหมาะสม
(4) แสดงออกซึ่งภาวะผู้นาที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยเฉพาะในเชิงวิชาการ และสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่ดีมีคุณภาพในระดับมาตรฐานสากล
(5) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และสามารถทางานร่วมกับผู้อื่นได้
(6) ติดต่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับบุคคล กลุ่มคน และชุมชน
(7) มีความรู้ความสามารถและทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง
(8) มีความสนใจใฝ่เรียนรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ด้านการสาธารณสุขที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ด้วยการศึกษาค้นคว้า วิจัย และนำผลการวิจัยมาประยุกต์ใช้ ซึ่งจะนาไปสู่การพัฒนาตนเอง พัฒนาการเรียนรู้และการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
(9) มีเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุขแก่ประชาชนทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ
(10) มีคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติงาน รวมทั้งสามารถใช้ดุลยพินิจของตนและสนับสนุนให้ผู้อื่นใช้ดุลยพินิจเพื่อการจัดการปัญหาได้อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรมที่เหมาะสม
(11) ส่งเสริมและดารงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรมที่ดีงาม และสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตลอดจนเคารพในกติกาและรับผิดชอบต่อหน้าที่ในสังคม

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
ภาษาอังกฤษ Doctor of Philosophy Program in Public Health
ชื่อปริญญาบัตร
ชื่อเต็ม(ภาษาไทย) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) ปร.ด. (สาธารณสุขศาสตร์)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) Doctor of Philosophy (Public Health)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) Ph.D (Public Health)

วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร

วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร
เป็นผู้ที่มีทักษะขั้นสูงในการสร้างหรือค้นคว้าหาองค์ความรู้เชิงประจักษ์ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ตลอดจนพฤติกรรมสุขภาพ และมีทักษะในการวางแผนและการบริหารจัดการด้านการสาธารณสุข
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร แบ่งตามแผนการศึกษา คือ
(1) แผน 1 เน้นการทำวิจัย
แบบ 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ศึกษาเฉพาะหมวดดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต
แบบ 1.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศึกษาเฉพาะหมวดดุษฎีนิพนธ์ 72 หน่วยกิต
(2) แผน 2 ศึกษารายวิชาและทาวิจัย
แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ศึกษารายวิชาเพิ่มเติมและหมวดดุษฎีนิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 51 หน่วยกิต
แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศึกษารายวิชาเพิ่มเติมและหมวดดุษฎีนิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 75 หน่วยกิต
5. รูปแบบของหลักสูตร
5.1 รูปแบบ เป็นหลักสูตรระดับปริญญาเอก ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา
5.2 ภาษาที่ใช้ เป็นหลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย
5.3 การรับเข้าศึกษา รับนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยสื่อสารในการเรียนการสอนได้
5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอน
5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา เป็นการให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
6.1 สถานภาพของหลักสูตร เป็นหลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2559 ซึ่งกำหนดเปิดดาเนินการสอน ในภาคการศึกษา ที่ 1 ปีการศึกษา 2559
6.2 การพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
- คณะกรรมการวิชาการได้พิจารณากลั่นกรองหลักสูตรในการประชุมคณะกรรมการวิชาการ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ครั้งที่ 4/2559 เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559
- สภามหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ได้มีมติอนุมัติในการประชุมสภาวิทยาลัยเวสเทิร์น ครั้งที่ 2/2559 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ระบบการจัดการศึกษา

1.1 ระบบ
ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค (Semester) ตามเกณฑ์ของสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาซึ่งกำหนดให้หนึ่งปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติและ 1 ภาคฤดูร้อน โดยในแต่ละภาคการศึกษาจะจัดการเรียนการสอนในภาคทฤษฎีไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อหนึ่งหน่วยกิต ภาคปฏิบัติ ภาคทดลอง และ/หรือการศึกษาดูงาน 30-45 ชั่วโมงต่อหนึ่งหน่วยกิต และมีชั่วโมงการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง นอกจากนี้หลักสูตรอาจจัดการศึกษาในบางรายวิชาในลักษณะเป็นชุดวิชา (Module) หรือทีละรายวิชา โดยมีกำหนดระยะเวลาและจานวนหน่วยกิตที่มีสัดส่วนที่เทียบเคียงได้เท่ากับการศึกษาภาคการศึกษาปกติในระบบทวิภาค
1.2 การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน ไม่มี
1.3 การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค ไม่มี
1.4 ระยะเวลาในการศึกษา
ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่เกิน 6 ปีการศึกษา สาหรับผู้มีคุณวุฒิปริญญาโท และไม่เกิน 8 ปีการศึกษา สำหรับผู้มีวุฒิปริญญาตรี ทั้งนี้ให้นับจากภาคการศึกษาแรกที่รับเข้าศึกษาในหลักสูตร
2. การดำเนินการหลักสูตร
2.1 วัน - เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
การดำเนินการเรียนการสอน เป็นวันและเวลานอกวันเวลาทาการปกติ
2.2 คุณสมบัติและการคัดเลือกนิสิต
2.2.1 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
(1)ผู้เข้าศึกษาต้องเป็นผู้สาเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาที่สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการรับรอง โดยผู้เข้าศึกษาใน
แบบ 1.1 และแบบ 2.1 จะต้องเป็นผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า
แบบ 1.2 และแบบ 2.2 จะต้องเป็นผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีผลการศึกษาดีมาก
(2) ผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษของทางมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น หรือผลสอบโทเฟลตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นกาหนด
(3) คัดเลือกจากผู้ที่ผ่านการสอบสัมภาษณ์
(4) สาหรับผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
2.2.2 การคัดเลือกนิสิต
การคัดเลือกนิสิตให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น โดยพิจารณาจาก
(1) คุณสมบัติตามหมวดที่ 3 ข้อ 2.2.1
(2) คัดเลือกจากผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียน หรือ
(3) คัดเลือกจากผู้ที่ผ่านการสอบสัมภาษณ์
(4) พิจารณาจากปัจจัยอื่นๆ ประกอบ อาทิ ประสบการณ์ในการทางาน ความสามารถที่จะศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาให้สาเร็จ

หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน

3. หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน
3.1 หลักสูตร
3.1.1 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ กาหนดโครงสร้างของหลักสูตร ประกอบด้วย จานวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร โดยแบ่งตามแผนการศึกษา คือ
(1) แผน 1 เน้นการทาวิจัย
แบบ 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ศึกษาเฉพาะหมวดดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต
แบบ 1.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศึกษาเฉพาะหมวดดุษฎีนิพนธ์ 72 หน่วยกิต
(2) แผน 2 ศึกษารายวิชาและทาวิจัย
แบบ 2.1 สาหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ศึกษารายวิชาเพิ่มเติมและหมวดดุษฎีนิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 51 หน่วยกิต
แบบ 2.2 สาหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศึกษารายวิชาเพิ่มเติมและหมวดดุษฎีนิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 81 หน่วยกิต
3.1.2 โครงสร้างและองค์ประกอบของหลักสูตร
(1) แผน 1 เน้นการทาวิจัย
การศึกษาในแผนนี้ นิสิตต้องจัดทาข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์และทาดุษฎีนิพนธ์ควบคู่ไปกับการสัมมนาทางวิชาการ ภายใต้การกากับดูแลของคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ โดย
แบบ 1.1 สาหรับผู้ที่สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท โดยอาจลงทะเบียนเรียนเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ให้ความเห็น โดยไม่คิดค่าคะแนน
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)
หมวดวิชาบังคับ - หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ - หน่วยกิต
ดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต
รวมจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
แบบ 1.2 สาหรับผู้ที่สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)
หมวดวิชาบังคับ - หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ - หน่วยกิต
ดุษฎีนิพนธ์ 72 หน่วยกิต
รวมจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 72 หน่วยกิต
(2) แผน 2 ศึกษารายวิชาและทาวิจัย
นิสิตต้องเข้าศึกษาตามรายวิชาที่กาหนดไว้ในหลักสูตรโดยมีผลคะแนนไม่ต่ากว่า B และทาข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์และจัดทาดุษฎีนิพนธ์ให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์และมีการเสนอผลงานต่อที่ประชุมการสัมมนาทางวิชาการ ในการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์คณะกรรมการสอบ โดย
แบบ 2.1 สำหรับผู้ที่สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)
หมวดวิชาบังคับ - หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ 15 หน่วยกิต
ดุษฎีนิพนธ์ 36 หน่วยกิต
รวมจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 51 หน่วยกิต
แบบ 2.2 สาหรับผู้ที่สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)
หมวดวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ 15 หน่วยกิต
ดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต
รวมจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 81 หน่วยกิต

ผังโครงสร้างหลักสูตร

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ดุษฎีนิพนธ์

อาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ดุษฎีนิพนธ์

รศ.ดร.สุรีย์ จันทรโมลี

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ดุษฎีนิพนธ์

รศ.ดร.ประภาเพ็ญ สุวรรณ

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ดุษฎีนิพนธ์

รศ.ดร.พรสุข หุ่นนิรันดร์

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ดุษฎีนิพนธ์

ผศ.ดร.ฐาวรี ขันสำโรง