สนธิสัญญาเบอร์นีเกี่ยวข้องกับรัชกาลใด

“หนังสือสัญญาเซอยอนโบวริง” เป็นสนธิสัญญาทางการค้าระหว่างสยามกับสหราชอาณาจักร โดยเซอร์จอห์น เบาว์ริง ราชทูตที่ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย เข้ามาทำสนธิสัญญา และได้ลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring Treaty) ซึ่งบนปกสมุดไทยใช้ชื่อว่า “หนังสือสัญญาเซอยอนโบวริง” เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2398

สยามเปลี่ยนไปอย่างไร เมื่อระเบียบใหม่เข้ามา ?

สนธิสัญญาเบาว์ริงลงนามในสมัยรัชกาลที่ 4 ทั้งนี้ความสัมพันธ์ระหว่างสยามและอังกฤษ เดิมถูกกำหนดไว้โดยสนธิสัญญา เบอร์นี ในปี 2369 และซึ่งเบาว์ริงใช้สนธิสัญญานี้เป็นจุดเริ่มต้นเจรจา 

สนธิสัญญาเบาว์ริงเปลี่ยนกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ โดยถือเป็นการสิ้นสุดของการผูกขาดการค้าต่างประเทศโดยพระคลังสินค้าของกษัตริย์และเจ้านายสยาม ฯลฯ ทำให้เกิดการค้าเสรี แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษารูปแบบบางประการของการให้สัมปทานหรือการผูกขาด ของเจ้าภาษีอากรแบบเดิมอยู่ (ฝิ่นและบ่อนเบี้ยการพนัน) นอกจากนี้ สนธิสัญญายังอนุญาตให้ชาวอังกฤษสามารถถือครองที่ดินในสยาม ทั้งให้สหราชอาณาจักรจัดตั้งกงสุลอังกฤษในกรุงเทพฯ ด้วย

สิทธิสภาพนอกอาณาเขตคืออะไร ?

สนธิสัญญาเบาว์ริงมีผลทำให้สยามเสียอำนาจอธิปไตยทางการศาล มีการรับประกันสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้พลเมือง เป็นสิทธิทางกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ที่สามารถใช้กฎหมายของประเทศตัวเอง ในดินแดนประเทศอื่นได้ กล่าวคือสยามยินยอมให้ชาวต่างชาติ และคนในบังคับของชาวต่างชาตินั้นไม่ต้องขึ้นศาลไทย แต่ขึ้นศาลกงสุลแทน ซึ่งต่อมาไทยได้ใช้สนธิสัญญาเบาว์ริงเป็นแม่แบบของสนธิสัญญากับประเทศชาติตะวันตกอื่น ๆ ด้วย เช่น ฝรั่งเศส สหรัฐฯ เดนมาร์ก รวมถึงประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น  

ผลของสนธิสัญญาทำให้คนจีนที่เข้ามาค้าขายในไทย ขอเข้าเป็นคนในบังคับชาติตะวันตก เพื่อต้องการได้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต ทำให้คนไทยเกิดข้อเสียเปรียบอย่างยิ่ง นำมาสู่การพยายามเจรจาเพื่อขอยกเลิกสนธิสัญญาเบาว์ริง ซึ่งบางประเทศได้คืนเอกราชทางการศาลใหไทย บางประเทศต่อรองว่าไทย ต้องประกาศใช้ประมวลกฎหมายครบถ้วนแล้วเป็นเวลา 5 ปี จึงจะยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตอย่างเด็ดขาดให้

สู่หนทางพัฒนากฎหมายไทย

หลังสนธิสัญญาเบาว์ริงในสมัยรัชกาลที่ 4 สยามในเวลานั้นก็เร่งปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและกฎหมายให้เป็นสากล หวังการปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลของไทยให้เจริญทัดเทียมอารยประเทศ โดยมีสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง ก็เพื่อนำไปสู่การยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ทวงคืนอธิปไตยทางการศาล โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะกรรมการชำระกฎหมายขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 เพื่อปรับปรุงประมวลกฎหมายของไทย

ในปี พ.ศ. 2477 ไทยได้จัดทำประมวลกฎหมายสำเร็จ และประกาศใช้อย่างสมบูรณ์ในปี 2478 นับต่อไปอีก 5 ปี คือราวปี 2480 รัฐบาลไทยได้เจรจาขอความร่วมมือในการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ทำให้ไทยได้รับเอกราชทางการศาลกลับคืนมา นับรวมอายุของสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่มีอิทธิพลต่อไทยนับเป็นเวลากว่า 80 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2398 - 2480 

Sources : www.m-culture.go.th, pridi.or.th, วารสารนิติสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1/2549: ความตกลง FTA กับความชอบด้วยกฎหมาย

เรียบเรียง : อ.อโณทัย

ประวัติศาสตร์ไทยจากเอกสารเฮนรี เบอร์นีย์

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ฉบับพิมพ์ :พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2554

หมายเหตุ : -

ประวัติศาสตร์ไทยจากเอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่มนี้ เป็นหนังสือที่รวบรวมบทความซึ่งค้นคว้าเรียบเรียงข้อมูลจากประวัติศาสตร์หลักฐานที่ปรากฏในเอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เป็นหลัก และบางบทความก็เป็นการแสดงความคิดเห็นอันเกิดจากการศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน โดยในหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยบทความเรื่องต่างต่างๆ ได้แก่ บทบาทของอังกฤษในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยรัชกาลที่ 3 การเมืองสยามในสายตาของเฮนรี เบอร์นีย์ การเมืองไทยในหัวเมืองปักษ์ใต้ในอดีตกับจดหมายเหตุหลวงอุดมสมบัติ ปัตตานีในเอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เจ้าพระยานครศรีธรรมราชกับการทำสนธิสัญญาเบอร์นีย์ (กรณีเมืองไทรบุรี) กบฏไทรบุรีในสมัยรัชกาลที่ 3 นโยบายของอังกฤษที่สเตรตส์ เซตเทิลเมนตส์ และความสัมพันธ์กับสยาม และประเพณีในราชสำนักที่ปรากฏในเอกสารเบอร์นีย์มิ

(จำนวนผู้เข้าชม 1879 ครั้ง)

สนธิสัญญาเบอร์นีเกี่ยวข้องกับรัชกาลใด

ภาพ: ปกด้านหน้าของ สนธิสัญญาเบาว์ริง
พร้อมตราพระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4
ที่มา: The Nation Archives, UK

สนธิสัญญาเบาว์ริงคืออะไร

“สนธิสัญญาเบาว์ริง” หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ “หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษแลประเทศสยาม” ซึ่งจัดทำขึ้นระหว่างสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ซึ่งคนไทยมักจะเรียกว่าอังกฤษกับประเทศไทยหรือสยามในเวลานั้น[1]

ส่วนชื่อ สนธิสัญญาเบาว์ริง นั้น มาจากข้อความบนปกสมุดไทย (สมุดข่อย) ซึ่งใช้ชื่อว่า “หนังสือสัญญาเซอร์ยอนโบวริง”[2] โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการค้าและพาณิชย์เพื่อเปิดการค้าเสรีระหว่างสยามกับสหราชอาณาจักร

สนธิสัญญาฉบับนี้ไม่ใช่สนธิสัญญาการค้าและพาณิชย์ระหว่างสยามกับสหราชอาณาจักรเป็นฉบับแรก โดยก่อนหน้านั้น สยามได้เคยทำสนธิสัญญากับสหราชอาณาจักรขึ้นแล้วในช่วงปี พ.ศ. 2369 คือ “สนธิสัญญาระหว่างราชอาณาจักรสยามกับสหราชอาณาจักร” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “สนธิสัญญาเบอร์นีย์” ซึ่งตั้งตามชื่อของ ‘เฮนรี เบอร์นีย์’ พ่อค้า-นักเดินทาง-นักการทูตของบริษัท บริติช อีสอินเดีย ซึ่งทำขึ้นในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

สนธิสัญญาเบอร์นีเกี่ยวข้องกับรัชกาลใด

ภาพ:สำเนาสนธิสัญญาเบอร์นีย์
ที่มา: วิกิพีเดีย

ความแตกต่างระหว่างสนธิสัญญาเบาว์ริงกับสนธิสัญญาฉบับอื่น

ในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับประเทศยุโรปตะวันตก จะเห็นได้ว่าสยามและประเทศทางแถบยุโรปตะวันตกมีความสัมพันธ์กันมาเป็นเวลานาน จากเอกสารหลักฐานทางประวัติศาสตร์จำนวนมาก เช่น ในสมัยอยุธยาได้มีการทำการค้ากับโปรตุเกส ฮอลันดา (เนเธอร์แลนด์) หรือเคยรับคณะทูตจากราชอาณาจักรสยามในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เป็นต้น ซึ่งในสนธิสัญญาเบาว์ริงนั้นก็มีเนื้อหาที่แตกต่างกับสนธิสัญญาเบอร์นีย์ด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ของแต่ละประเทศที่ผ่านมานั้น มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป เช่น กรณีของโปรตุเกสกับฮอลันดา มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อทำการค้ากับสยามเท่านั้น หรือ กรณีของฝรั่งเศส ที่มุ่งจะเผยแพร่ศาสนาตามพันธกิจและคตินิยมของกษัตริย์ผู้อุปถัมภ์คริสตศานาในเวลานั้น เป็นต้น

เป้าหมายของการทำสนธิสัญญาในช่วงรัตนโกสินทร์นั้นเปลี่ยนแปลงไป การค้าขายกับพระคลังสินค้าสร้างความยากลำบากให้กับประเทศยุโรปตะวันตก เนื่องจากพระคลังสินค้าคอยเอาเปรียบและโก่งราคาสินค้า อีกทั้งยังเก็บภาษีซ้ำซ้อน ทำให้ราคาสินค้าที่ต้องซื้อจากสยามมีราคาแพง

ในขณะเดียวกัน บริบทของการค้าในเวลานั้น ต่างถูกควบคุมด้วย “พระคลังสินค้า” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคา เนื่องจากในเวลานั้นพระคลังสินค้าได้ทำการผูกขาดการค้าระหว่างประเทศเอาไว้กับพระคลังสินค้า[3] และพ่อค้ายุโรปตะวันตกไม่สามารถเลือกที่จะทำการค้าโดยไม่ผ่านพระคลังสินค้าได้

แม้ความตั้งใจแรกของสหราชอาณาจักรเมื่อเข้ามาตกลงทำสนธิสัญญาเบอร์นีย์กับสยามจะมีความตั้งใจที่จะให้สยามเปิดเสรีการค้า โดยยกเลิกบทบาทการผูกขาดทางการค้าโดยพระคลังสินค้า และแก้ไขปัญหาภาษีดังได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น ทว่า ในท้ายที่สุดความตั้งใจในเวลานั้นก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร 

อย่างไรก็ตาม ผลของการเจรจาในครั้งนั้นก็คือ หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษแลประเทศสยามฉบับแรก ซึ่งประกอบด้วยความตกลงร่วมกันทั้งหมด 14 ข้อ โดยเนื้อหาในข้อ 1 – 4 จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสยามและสหราชอาณาจักรในเรื่องเขตแดนและคนในบังคับของสหราชอาณาจักร และในข้อ 5 – 14 จะเป็นเรื่องในทางการค้า ด้วยเหตุที่เจรจาในครั้งนั้นยังไม่สำเร็จสมความตั้งใจรัฐบาลสหราชอาณาจักรในเวลาต่อมาจึงได้ติดต่อเข้ามาเพื่อทำหนังสือสัญญาฉบับใหม่

การทำสนธิสัญญาเบาว์ริง

การทำ สนธิสัญญาเบาว์ริง นั้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากความตั้งใจที่ยังไม่บรรลุสมใจหมายของรัฐบาลสหราชอาณาจักร  ฉะนั้น เมื่อสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จสวรรคตแล้ว และรัฐบาลสหราชอาณาจักรได้รับสัญญาณจากสยามว่าอยากให้มีการเจรจาทำหนังสือสัญญาฉบับใหม่ รัฐบาลสหราชอาณาจักรจึงได้แต่งตั้งให้ ‘เซอร์จอห์น เบาว์ริง’ ณ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งข้าหลวงเกาะฮ่องกงเดินทางมายังราชอาณาจักรสยามเพื่อทำหนังสือสัญญาฉบับใหม่

สนธิสัญญาเบอร์นีเกี่ยวข้องกับรัชกาลใด

ภาพ: เซอร์จอห์น เบาว์ริง

การทำหนังสือสัญญาฉบับใหม่นั้นมีการลงนามกันใน วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2399 ณ ราชอาณาจักรสยาม เนื้อหาของสนธิสัญญาฉบับนี้คือ การผนวกรวมเอาเนื้อหาของสนธิสัญญาฉบับก่อน (เบอร์นีย์) ประกอบเข้ากับเนื้อหาของสนธิสัญญาฉบับใหม่ โดยมีจุดเน้นย้ำสำคัญที่แตกต่างจากสนธิสัญญาฉบับก่อนคือ การกำหนดให้สยามต้องเปิดเสรีทางการค้า ซึ่งทำให้บทบาทของพระคลังสินค้าหมดลง และกำหนดสินค้าควบคุมไว้เฉพาะฝิ่นเท่านั้นที่จะต้องขายให้กับรัฐบาล และมีการเจรจาตกลงกันในเรื่องภาษีโดยกำหนดห้ามมิให้สยามเก็บภาษีซ้ำซ้อนและเก็บภาษีไม่เกินร้อยละ 3

สนธิสัญญาเบอร์นีเกี่ยวข้องกับรัชกาลใด

ภาพ: เนื้อหาบางส่วนในสนธิสัญญาเบาว์ริง

อย่างไรก็ตาม ผลสำคัญที่เป็นผลพลอยเกิดขึ้นไปด้วยก็คือ ภายใต้สนธิสัญญาฉบับนี้รัฐบาลสยามต้องยอมรับเขตอำนาจศาลของอังกฤษเหนือเขตอำนาจศาลไทยในบุคคลภายใต้บังคับของสหราชอาณาจักร ซึ่งคนทั่วไปอาจเรียกกันว่าเป็น การเสียเอกราชทางการศาล หรือ เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต

ด้วยเหตุว่าในเวลานั้นกฎหมายที่สยามใช้ มีลักษณะเป็นจารีตนครบาลซึ่งในมุมของประเทศยุโรปตะวันตกมองว่า วิธีการดังกล่าวนั้นล้าสมัยและไม่ส่งเสริมการขยายตัวทางการค้า การขอยกเว้นเขตอำนาจศาลไทยเหนือคนในบังคับของสหราชอาณาจักรจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการค้า ซึ่งผลประการหนึ่งจากการยกเว้นเขตอำนาจศาลไทยเหนือคนในบังคับของสหราชอาณาจักรถูกถ่ายทอดมาสู่ประเทศไทยและกลายเป็นรากฐานธรรมเนียมทางการค้าของไทยในเวลาต่อมา

ผลของสนธิสัญญาเบาว์ริง

ผลของสนธิสัญญาเบาว์ริงนั้น ก่อให้เกิดผลกระทบในหลายลักษณะ ทั้งผลกระทบทางเศรษฐกิจและทางการเมือง  (อ่าน: ผลกระทบของสนธิสัญญาเบาว์ริงในทางเศรษฐกิจของสยาม)

อย่างไรก็ตาม ในแง่สำคัญที่สุดก็คือ สนธิสัญญาเบาว์ริงกลายเป็นต้นแบบของการทำสนธิสัญญาอีกหลายฉบับที่ประเทศยุโรปตะวันตก สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นได้เจรจาขอเข้ามาทำกับประเทศไทยในลักษณะเดียวกัน ซึ่งนักวิชาการบางคนเรียกสนธิสัญญาในลักษณะดังกล่าวว่าเป็น สนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาค โดยรวมแล้วรัฐบาลสยามได้ทำสนธิสัญญาไว้ทั้งสิ้น 12 ฉบับ ดังนี้[4]

ประเทศวันที่ (นับแบบเก่า)การทำหนังสือสัญญา
สหรัฐอเมริกา 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2399 ส่งทูตมายังกรุงเทพมหานคร
ฝรั่งเศส 15 สิงหาคม พ.ศ. 2399 ส่งทูตมายังกรุงเทพมหานคร
เดนมาร์ก 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2401 ส่งทูตมายังกรุงเทพมหานคร
โปรตุเกส 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2401 ส่งทูตมายังกรุงเทพมหานคร
สันนิบาตฮันเซอ (รัฐอิสระในเยอรมนี) 25 ตุลาคม พ.ศ. 2403 ส่งทูตมายังกรุงเทพมหานคร
เนเธอร์แลนด์ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2403 ส่งทูตมายังกรุงเทพมหานคร
ปรัสเซีย 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 ส่งทูตมายังกรุงเทพมหานคร
นอร์เวย์ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2401 ทำสัญญาโดยผ่านทางพระยามานุกูลกิจสยามมิตรมหายศ (เอกอัครราชทูตไทยประจำยุโรป)
เบลเยียม 29 สิงหาคม พ.ศ. 2401 ทำสัญญาโดยผ่านทางพระยามานุกูลกิจสยามมิตรมหายศ(เอกอัครราชทูตไทยประจำยุโรป)
อิตาลี 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2401 ทำสัญญาโดยผ่านทางพระยามานุกูลกิจสยามมิตรมหายศ
(เอกอัครราชทูตไทยประจำยุโรป)
โปรตุเกส 3 ตุลาคม พ.ศ. 2401 ทำสัญญาโดยผ่านทางพระยามานุกูลกิจสยามมิตรมหายศ
(เอกอัครราชทูตไทยประจำยุโรป)
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2402 ทำสัญญาโดยผ่านทางพระยามานุกูลกิจสยามมิตรมหายศ
(เอกอัครราชทูตไทยประจำยุโรป)

ดังนั้น หากเราพิจารณาต่อสนธิสัญญาเบาว์ริงในมิติของความมั่นคงแต่เพียงถ่ายเดียว การเกิดขึ้นของสนธิสัญญาที่ราชสำนักสยามจำยอมต้องลงนามตามข้อตกลง เพราะครั่นคร้ามต่ออิทธิพลของชาติมหาอำนาจใหม่จากดินแดนตะวันตก ที่กำลังแผ่ขยายอำนาจเหนือรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นการคุกคาม ให้สยามต้องสูญเสียการควบคุมสิทธิการค้าที่แต่เดิมถูกผูกขาดไว้เฉพาะเพียงชนชั้นนำ ผ่านกลไกการควบคุมของ "พระคลังสินค้า" เปลี่ยนแปลงไปเป็นระบบการค้าเสรี ที่บริษัทตัวแทนของชาติมหาอำนาจสามารถเข้าถึงสินค้าและเปิดโอกาสของสินค้าเข้าสู่สยามได้อย่างเสรี และนำมาสู่การเปิดทางให้สยามจำต้องลงนามในสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคต่อประเทศอื่นๆ อีก 12 ฉบับในเวลาต่อมา นั้นว่าเป็นผลเสียต่อผู้ปกครองสยาม แต่หากเราพิจารณาถึงคุณูปการของสนธิสัญญาเบาร์ริง ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า สยามได้รับความเปลี่ยนแปลงจากการเปิดประตูเข้าสู่ตลาดเสรีที่ส่งผลต่อภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของสยามอย่างไม่อาจเปลี่ยนแปลงย้อนกลับไปครั้งก่อนการลงนามได้อีกต่อไป

อ่าน: “สนธิสัญญาเบาว์ริง” ต้นฉบับจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ประเทศอังกฤษ (The National Archives, United Kingdom) จัดทำเอกสารและถ่ายภาพโดย อาจารย์พิพัฒน์ กระแจะจันทร์

อ่าน: ทวิภพ The Siam Renaissance 2547: ภาพสะท้อนของประวัติศาสตร์และจุดเปลี่ยนทางเศรษฐกิจจากเหตุการณ์ตีตราสนธิสัญญาเบาว์ริง โดย เขมภัทร ทฤษฎิคุณ

หมายเหตุ: จัดรูปแบบอักษรโดยบรรณาธิการ

 


[1] สนธิสัญญาฉบับนี้ทำขึ้นในวันที่ 6 เมษายน 2399 ในรัชสมัยของสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่กับ (สยาม) และสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย (สหราชอาณาจักร).

[2] ปรามินทร์ เครือทอง, พระจอมเกล้า “King Mongkut” พระเจ้ากรุงสยาม (มติชน 2547) 169.

[3] เขมภัทร ทฤษฎิคุณ, ‘ผลกระทบของสนธิสัญญาเบาว์ริงในทางเศรษฐกิจของสยาม’ <https://pridi.or.th/th/content/2021/07/774> สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564

[4] ชัย เรื่องศิลป์, ประวัติศาสตร์ไทย สมัย พ.ศ. 2352 – 2453 ด้านเศรษฐกิจ (โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ 2527) 181

สาระสําคัญของสนธิสัญญาเบอร์นี่ มีอะไรบ้าง

สาระสำคัญ ให้เรือพ่อค้าอังกฤษปฏิบัติตามธรรมเนียมไทย ห้ามมิให้ขายกระสุนดินดำแก่เอกชน ให้ขายเฉพาะในหลวงเท่านั้น แต่สินค้าอื่นสามารถค้าขายได้อย่างเสรี ค่าธรรมเนียมสลุบกำปั่นรวมเบ็ดเสร็จ ถ้ามีสินค้าเข้ามาขาย คิดวาละ 1,700 บาท ถ้าไม่มีสินค้าเข้ามาขาย คิดวาละ 1,500 บาท โดยไม่เรียกเก็บจังกอบ ภาษี และค่าธรรมเนียมเพิ่ม

สนธิสัญญาเบอร์นีถูกแก้ไขมาเป็นสนธิสัญญาใด

ในปลายสมัยรัชกาลที่ 3 รัฐได้หันกลับมาใช้นโยบายการค้าผูกขาดอีกครั้ง ซึ่งถือเป็นการละเมิดข้อตกลงในสนธิสัญญาเบอร์นี ก่อให้เกิดปัญหาทางการค้าระหว่างสยามกับอังกฤษ นำไปสู่การทำ สนธิสัญญาเบาริง (Bowring treaty) ในปี 2398 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งสยามต้องยอมรับระบบการค้าเสรีของอังกฤษในที่สุด

ไทยทำสนธิสัญญาไมตรีฉบับแรกกับใคร

สนธิสัญญาเบอร์นีย์ที่ไทยตกลงลงนามกับประเทศอังกฤษใน พ.ศ. ๒๓๖๙ นับเป็นสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพานิชย์ฉบับแรกที่ไทยทำกับประเทศตะวันตกในสมัยรัตนโกสินทร์ อาจกล่าวได้ว่าสนธิสัญญาฉบับนี้มีนัยสำคัญในการปูทางให้ชาติตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาทในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ดูเหมือนว่าไทยจะปิดประเทศ ...

สนธิสัญญาฉบับใดที่ร.4ทรงทำไว้

สนธิสัญญาเบาว์ริง หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษแลประเทศสยาม สนธิสัญญาเบาว์ริงฉบับภาษาไทยเขียนลงสมุดไทย ก่อนส่งไปจักรวรรดิอังกฤษ ให้รัฐบาลอังกฤษประทับตรา