หนังสือรับรองถิ่นกำเนิด from FTA เป็นหนังสือรับรองสำหรับอะไร

หนังสือรับรองถิ่นกำเนิด from FTA เป็นหนังสือรับรองสำหรับอะไร

Show

Form E เป็นหนึ่งในประเภทของหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าหรือหนังสือแสดงสัญชาติของสินค้าว่ามีการผลิตและส่งออกจากสมาชิกประเทศในเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน หรือ ASEAN-China Free Trade Area (ACFTA) 

โดย ASEAN-China Free Trade Area (ACFTA) เป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนนั้น ด้วยจุดประสงค์ในการมุ่งขยายการค้า พัฒนาเศรษฐกิจ และการลงทุนระหว่างกันในประเทศที่เป็นสมาชิก ACFTA ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 11 ประเทศ

อย่างไรก็ตาม การขอใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรในการนำเข้าสินค้าจากประเทศที่เป็นสมาชิก ACFTA นั้น ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขและข้อตกลงร่วมกันของ ACFTA เท่านั้น อีกทั้งไม่ใช่สินค้าทุกชนิดที่จะใช้ลดหย่อนภาษีนำเข้าได้ ทั้งนี้ ผู้นำเข้าจึงจำเป็นต้องเช็คพิกัดศุลกากรว่าสินค้าที่จะนำเข้านั้น ใช้ลดหย่อนภาษีนำเข้าได้หรือไม่

Max Logistics ผู้ให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีน ได้รวบรวม 10 ประเด็นน่ารู้เกี่ยวกับหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form E) มาฝาก สำหรับผู้ประกอบการยุคใหม่ ที่ในอนาคตอาจจำเป็นต้องขอเอกสาร Form E เพื่อใช้ประกอบการนำเข้าสินค้าจากจีน

  1. หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า เริ่มต้นใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2547 ปัจจุบัน ได้รับการปรับปรุงเป็นฉบับใหม่ล่าสุด หรือเรียกว่า ACFTA Upgrading Protocol และเริ่มใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 เป็นต้นมา
  2. หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าฉบับใหม่ เป็นสีขาว แทนสีเทา โดยมีแบบฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูลอยู่ด้านหน้า และรายละเอียดข้อมูลอยู่ด้านหลัง จัดพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น
  3. หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าฉบับใหม่ ยกเลิกการจำกัดจำนวนรายการสินค้า จากเดิมที่จำกัดไว้ไม่เกิน 20 รายการต่อฉบับ เป็นแสดงรายการเกิน 20 รายการได้
  4. การระบุ FOB ในหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าเฉพาะกรณีที่สินค้าผ่านคุณสมบัติถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยเกณฑ์สัดส่วนวัตถุดิบภายในภูมิภาค (RVC) เท่านั้น จากเดิมที่กำหนดให้ระบุทุกกรณี
  5. ปัจจุบันมีการยกเลิกอัตราภาษีนำเข้าสินค้าภายใต้ ACFTA แล้วกว่าร้อยละ 90 หรือราว 8,000 กว่ารายการสินค้า
  6. Form E มีอายุ 1 ปีเท่านั้น นับจากวันที่ออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า
  7. ข้อมูลที่ระบุในเอกสารหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า จะต้องกรอกถูกต้อง และตรงกับเอกสารอื่นๆ ที่ใช้ประกอบการนำเข้าและส่งออก หากข้อมูลไม่ถูกต้องหรือผิดพลาด อาจทำให้ไม่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีนำเข้าได้
  8. หน่วยงานภาครัฐของไทยที่มีอำนาจในการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าคือ กรมการค้าต่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์ ส่วนหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า เพื่อพิจารณาการให้สิทธิพิเศษหรือการลดภาษีศุลกากรนำเข้า คือ กรมศุลกากรและกระทรวงการคลัง
  9. ประเทศที่เป็นสมาชิกในเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) มีทั้งหมด 11 ประเทศ ได้แก่ จีน ไทย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เมียนมาร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และบรูไน
  10. ปัจจุบัน สามารถให้บริษัทชิปปิ้งเป็นผู้ดำเนินการจัดทำ Form E แทนผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าได้ โดยที่ผู้นำเข้าไม่ต้องไปดำเนินการด้วยตนเอง ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยประหยัดเวลาและสะดวกสบายเป็นอย่างมาก

Max Logistics บริษัทชิปปิ้งผู้ให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีนแบบถูกกฎหมาย สามารถออกใบขน จัดทำ Form E พร้อมใบกำกับภาษีครบถ้วนถูกต้อง เอกสารทุกใบดำเนินการในชื่อของผู้นำเข้าทั้งหมด ทำให้ใช้เป็นหลักฐานในการแสดงต่อศุลกากรและสรรพากรหากถูกตรวจสอบย้อนหลัง ขนส่งทางรถแบบไม่เต็มตู้จากจีนมาไทย 3-5 วัน พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ ด้วยเรทค่าขนส่งเพียง 29 บาท/กก. เช็คสถานะสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงบนเว็บไซต์

หนังสือรับรองถิ่นกำเนิด from FTA เป็นหนังสือรับรองสำหรับอะไร

 

หนังสือรับรองถิ่นกำเนิด from FTA เป็นหนังสือรับรองสำหรับอะไร

เอกสาร หรือหนังสือสำคัญ  ที่ผู้นำเข้า ส่งออกต้องรู้

เรามาเริ่มทำความรู้จักกับ

หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin)

Certificate of Origin หรือ CO

เป็นสิ่งที่แสดงว่าสินค้าที่ระบุ มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศใด และมีประโยชน์ในการขอรับสิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากรจากประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษ รวมทั้งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการขยายตลาดการค้า และสร้างอำนาจต่อรองด้านราคาได้อีกทางหนึ่งหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร

คือ หนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อรับรองว่าสินค้าที่ระบุในหนังสือรับรองฯ ผลิตถูกต้องตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าและตามเงื่อนไขภายใต้ระบบสิทธิพิเศษของประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษฯ ซึ่งจะได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีนำเข้าของประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษฯ 8 ชนิด ได้แก่

(1) Certificate of Origin Form A เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป โดยจะได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีขาเข้าสำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษ GSP ได้แก่ ญี่ปุ่น รัสเซียและเครือรัฐอิสระ 10 ประเทศ (กลุ่ม CIS ได้แก่ รัสเซีย อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจานสาธารณรัฐเบลารุส คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน สาธารณรัฐมอลโดวา ทาจิกิสถานยูเครน อุซเบกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน)

 (2) ระบบรับรองตนเองของผู้ส่งออก (Registered Exporter: REX)ภายใต้ระบบ GSP สวิตเซอร์แลนด์และนอร์เวย์ ใช้วิธีการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของผู้ส่งออก หรือ Registered Exporter: REX system  ผู้ส่งออกที่ประสงค์จะรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองจะต้องมาขึ้นทะเบียนกับกรมการค้าต่างประเทศ   (กองบริหารการนำเข้าและรับรองถิ่นกำเนิด) เพื่อให้ได้รับ REX Number ซึ่งผู้ส่งออกจะต้องใช้ในการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง โดยสามารถรับรองถิ่นกำเนิดฯ ลงในเอกสารทางการค้าที่มีข้อมูล เช่น ชื่อ ที่อยู่ของผู้ส่งออก รายละเอียดของสินค้าที่ส่งออกและวันที่ออกเอกสาร (Date of Issue) อาทิ ใบกำกับสินค้า (Invoice) ใบรายการบรรจุหีบห่อ (Packing List) เป็นต้น

(3) หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า แบบ GSTP เป็นหนังสือรับรองฯที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษภายใต้ระบบการแลกเปลี่ยนสิทธิพิเศษทางการค้าสำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศกำลังพัฒนา รวม43 ประเทศที่ได้ลงนามและให้สัตยาบันข้อตกลงแล้ว

ดูได้ที่  https://bit.ly/38MVHAR

(4) Certificate of Origin Form D เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษ ตามความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade In Goods Agreement: ATIGA) สำหรับสินค้าที่ส่งไปประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา สปป.ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม

(5) หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า การใช้สิทธิพิเศษภายใต้ความตกลงเขตการค้า เสรีต่างๆ เป็น หนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษตามความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีต่างๆ ได้แก่

  • ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ใช้ Form E
  • ความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย ใช้ Form FTA
  • ความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย ใช้ Form AI
  • ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ใช้ Form FTA
  • ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ไทย-นิวซีแลนด์ สามารถรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองบนใบกำกับสินค้า (Invoice)
  • ความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย- นิวซีแลนด์ ใช้ Form AANZ
  • ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ใช้ Form JTEPA
  • ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น ใช้ Form AJ
  • ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี ใช้ Form AK
  • ความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ไทย-เปรู ใช้ Form TP
  • ความตกลงการค้าเสรีไทย-ชิลี ใช้ Form TC

(6) หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับ สินค้าหัตถกรรม  (Certificate in Regard to Certain Handicraft Products) เป็นหนังสือรับรองฯที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกสินค้าหัตถกรรมไปยังสหภาพยุโรปตามรายการที่กำหนดไว้

(7) หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับสินค้า ผ้าไหมและผ้าฝ้ายทอด้วยมือ (Certificate Relating to Silk or Cotton Handloom Products) เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกสำหรับสินค้าผ้าไหม และผ้าฝ้ายที่ทอ ด้วยมือตามระเบียบการให้สิทธิพิเศษทางการค้าของสหภาพยุโรปซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีขาเข้า

(8) หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับ สินค้าหัตถกรรมทั่วไป   (Certificate of Origin Handicraft or Handloom Products) เป็นหนังสือรับรองฯที่ใช้สำหรับการส่งออกสินค้าหัตถกรรมภายใต้สิทธิพิเศษฯไปยังประเทศญี่ปุ่นและแคนาดา

หนังสือรับรองถิ่นกำเนิด from FTA เป็นหนังสือรับรองสำหรับอะไร

Form D

2.หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ไม่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรคือ หนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อรับรองว่าสินค้าที่ระบุในหนังสือรับรองฯ มีถิ่นกำเนิด จากประเทศผู้ออกหนังสือรับรองฯ จริงและใช้เป็นเอกสารประกอบการนำเข้าตามระเบียบการนำเข้าของประเทศปลายทาง หรือตามเงื่อนไขของผู้นำเข้าเท่านั้น ไม่สามารถใช้เพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากร ได้แก่ หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าทั่วไป (Certificate of Origin : Form C/O ทั่วไป) หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ไม่ได้รับ สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป และหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าไปยังเม็กซิโก (ANEXO III)  และหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับสินค้าที่ได้รับโควตาในการนำเข้าสหภาพยุโรป    (Certificate of Origin for Imports of Products Subject to Special non-preferential Import Arrangements into  the Enropern Unfor)

เราก็ได้เห็นประโยชน์ของหนังสือรับรองสินค้าแล้วนะครับ  ครั้งต่อไป เราจะมาศึกษาขั้นตอนในการขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดแบบต่างๆ

แหล่งข้อมูล

www.dft.go.th

www.unctad.org

Recommended Posts