แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1


สาระสำคัญ
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 ได้กำหนดแนวทางหลักในการพัฒนาประเทศเน้นเฉพาะด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการลงทุนในสิ่งก่อสร้างขั้นพื้นฐานในรูปของระบบคมนาคมและขนส่ง ระบบเขื่อนเพื่อการชลประทานและพลังงานไฟฟ้า สาธารณูปการ ฯลฯ เป็นอันมากการที่รัฐทุ่มเททรัพยากรเข้าไปในรูปโครงการดังกล่าวนี้ ก็เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้มีการลงทุนในด้านเอกชน และเพิ่มผลผลิตทางสาขาเกษตรและอุตสาหกรรมอย่างได้ผลดี เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
ผลการพัฒนา
ผลการดำเนินงานในช่วงแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 1 ได้มีส่วนผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศรุดหน้าไปอย่างเห็นได้ชัด อาจกล่าวได้ว่าเข้าสู่ยุคการพัฒนาเป็นครั้งแรกอย่างแท้จริงการขยายตัวของมวลรวมผลิตภัณฑ์ในประเทศได้เพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยถึงร้อยละ 8 ต่อปี คือเพิ่มจากฐานเศรษฐกิจที่มีมูลค่าการผลิตเพียง 59,000 ล้านบาทในปี 2503 เป็นประมาณ 89,000 ล้านบาท ในปี 2509 ทางด้านโครงการขั้นพื้นฐานได้มีการเริ่มงานชลประทานซึ่งเป็นโครงการใหญ่ 2 โครงการ คือ โครงการแม่กลอง และโครงการแม่น้ำน่าน เริ่มก่อสร้างบูรณะทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัดตามโครงการ 8 ปี และ 6 ปี เริ่มส่งพลังงานไฟฟ้าจากโครงการยันฮี และโครงการไฟฟ้าลิกไนท์ที่กระบี่ ตลอดจนการดำเนินการตามโครงการอื่น ๆ ที่มีความสำคัญอีกหลายสิบโครงการ
ในด้านการค้าระหว่างประเทศ มูลค่าสินค้าออก และสินค้าเข้าได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะยังมีการขาดดุลการค้า แต่ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศมีฐานะเกินดุลทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศมีปริมาณสูงขึ้นเป็น 800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเดือนสิงหาคม 2509 และค่าเงินบาทมีเสถียรภาพดีเป็นที่เชื่อถือทั่วไป ความมั่นคงทางการคลังของประเทศเป็นปัจจัย สำคัญประการหนึ่งที่ได้ยังผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจส่วนใหญ่ประสบผลสำเร็จตลอดมาด้วยดี
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี--

ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ 13 ซึ่งมี 13 หมุดหมายการพัฒนา เช่น ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าสำคัญของโลก และหลังจากนี้จะเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา

ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่13 (2566-2570) ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอเมื่อวันที่ 3 พ.ค.2565 และ ครม.มอบหมายให้ สศช.นำเสนอร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 เสนอต่อ “รัฐสภา” เพื่อทราบก่อนมีการประกาศใช้

สำหรับร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ถือเป็นแผนระดับที่ 2 ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการแปลงยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติและกำหนดทิศทางการพัฒนาที่ประเทศควรมุ่งเน้นในระยะ 5 ปีถัดไปคือปี 2566-2570 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 มีเป้าหมายที่จะทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งได้มีการออกแบบแผนนี้มาจากฐานคิดรวม 4 ประการ 

1.เศรษฐกิจพอเพียง 2.ความสามารถในการที่จะล้มแล้วลุกให้ไว เดินไปข้างหน้าให้ได้ 3.เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ และ 4.การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนวียน เศรษฐกิจสีเขียว

ทั้งนี้ เป้าหมายหลักของแผนฯ ฉบับที่ 13 ได้กำหนดหลัก 5 ประการ 1.การปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม 2.การพัฒนาคนสู่โลกยุคใหม่ 3.การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม 4.การเปลี่ยนผ่านการผลิตและการบริโภคไปสู่ความยั่งยืน และ 5.การเสริมสร้างความสามารถของไทยในการรับมือกับความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลงภายใต้โรคอุบัติใหม่ 

แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1
นอกจากนี้ รายละเอียดของ 13 หมุดหมาย ได้ตั้งเป้าให้มีการพัฒนาใน 4 มิติ 

1.การบริการ โอกาสและความสามารถ 2. ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม 3.ความยั่งยืนของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ 4.การผลักดันและพลิกโฉมประเทศ 

รวมทั้งมีการสั่งการให้รัฐมนตรี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำหมุดหมายของแผนฉบับที่13 ไปพิจารณา แบ่งเป็นแผนปฏิบัติการในระดับต่างๆเพื่อขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ พลิกโฉมเป็นประเทศที่มีการพัฒนาสูงขึ้น ยกระดับจากประเทศรายได้ปานกลาง ไม่ใช่เรื่องที่ง่าย แต่ไม่ใช่เรื่องที่เราจะทำไม่ได้ ถ้าทุกคนร่วมมือกันโดยลดความขัดแย่งระหว่างกันให้มากที่สุด 

“นี่คือแนวทางในการบริหารประเทศต้องเป็นแบบนี้ เพราะทุกคนเกี่ยวพันกันไปหมด เราต้องหาปัญหาให้เจอและหาวิธีการ วางแผนงาน ค่าใช้จ่าย งบประมาณต่างๆให้พอเพียงไปด้วย เราก็ตั้งเป้าว่าจะทำยังไงจากแผนฉบับนี้ ทำให้รายได้ประชาชาติต่อหัวอยู่ที่ 3 แสนบาทต่อคน ต้องพยายามอย่างยิ่งยวด แต่ขีดความสามารถของคนทั้ง 8ด้าน อยู่ในระดับสูง ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้ในระดับที่สูง” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 จะนำมาใช้ในปี 2566-2570 มีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามเจตนารมณ์ของยุทธศาสตร์ชาติ 

สำหรับสาระสำคัญของร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 มีหลายส่วนประกอบกัน เช่น หลักการและแนวคิด 4 ประการคือ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างความสามารถในการ “ล้มแล้วลุกไว” เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ 

รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG) โดยมีวัตถุประสงค์ คือ พลิกโฉมประเทศไทยสู่ “สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน”

ขณะที่เป้าหมายหลักของการพัฒนามี 5 ประการ ได้แก่ 

1.การปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม 2.การพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่ 3.การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรมการเปลี่ยนผ่านการผลิตและบริโภคไปสู่ความยั่งยืน และการเสริมสร้างความสามารถของประเทศในการรับมือกับความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลงภายใต้บริบทโลกใหม่ 

โดยมีตัวชี้วัดที่สำคัญได้แก่ 1.รายได้ประชาชาติต่อหัวเท่ากับ 9,300 ดอลลาร์ หรือประมาณ 300,000 บาท โดยปี 2564 รายได้ประชาชาติต่อหัวเท่ากับ 7,097 ดอลลาร์ หรือประมาณ 227,000 บาท

2.ดัชนีความก้าวหน้าของคนอยู่ในระดับสูง เท่ากับ 0.7209 โดยปี 2563 อยู่ที่ 0.6501

3.ความแตกต่างของความเป็นอยู่หรือรายจ่าย ระหว่างกลุ่มประชากรที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงสุด 10% และต่ำสุด 40% ในประเทศมีค่าต่ำกว่า 5 เท่า โดยปี 2562 มีค่าเท่ากับ 5.66 เท่า

4.ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมลดลงไม่น้อยกว่า 20% เมื่อเทียบเคียงกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกปกติที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยปี 2561การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานลดลง16%

แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เริ่มเมื่อใด

แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที 1 (พ.ศ. 2504-2509)

แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เน้นเรื่องอะไร *

แผนพัฒนาฉบับที่ 1 ได้กำหนดแนวทางหลักในการพัฒนาประเทศเน้นเฉพาะด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการลงทุนในสิ่งก่อสร้างขั้นพื้นฐานในรูปของระบบคมนาคมและขนส่ง ระบบเขื่อนเพื่อการชลประทานและพลังงานไฟฟ้า สาธารณูปการ ฯลฯ เป็นอันมากการที่รัฐทุ่มเททรัพยากรเข้าไปในรูปโครงการดังกล่าวนี้ ก็เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้มีการลงทุนในด้าน ...

ผู้เริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับแรก คือใคร

ต่อมา ปี 2502 ในสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ปรับโครงสร้างการทำงานและเปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ” และได้จัดทำ "แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับแรกขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2504 และใน พ.ศ. 2515 ได้นำกระบวนการวางแผนพัฒนาสังคมมาใช้ควบคู่กับการวางแผน ...

แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติมีกี่ฉบับ

ประเทศไทยมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯมาตั้งแต่ปี 2504 จนถึงปัจจุบันผ่านระยะเวลากว่า 60 ปี มี "แผนพัฒนาฯ" 12 ฉบับ