เล่าเรื่องกรุงสยาม ผู้แต่ง

ปาลเลกัวซ์, ฌัง-บัปติสต์. (2549). เล่าเรื่องกรุงสยาม. นนทบุรี: ศรีปัญญา.

ปาลเลกัวซ์, ฌัง-บัปติสต์. 2549. "เล่าเรื่องกรุงสยาม". นนทบุรี: ศรีปัญญา.

ปาลเลกัวซ์, ฌัง-บัปติสต์" เล่าเรื่องกรุงสยาม". นนทบุรี: ศรีปัญญา, 2549. Print.

ผู้เขียนได้ประพันธุ์งานเล่มนี้แบบเชิงพรรณาโดยอาศัยความทรงจำ จากบันทึกฯ และพงศาวดารหลายฉบับ ประกอบในการเรียบเรียง ซึ่งมีส่วนอย่างยิ่งที่เผยให้เห็นประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ความเชื่อ คติธรรม ศาสนา ตลอดจนเหตุการณ์สำคัญในอดีตไว้อย่างน่าสนใจ นับเป็นงานประพันธ์ที่มีความสำคัญยิ่งเล่มหนึ่ง ที่ควรค่าต่อการศึกษาทั้งในเชิงอัตลักษณ์และเชิงเปรียบเทียบ

หนังสือน่าอ่านเกี่ยวกับกรุงสยามในมุมมองของชาวตะวันตกอีกเล่มหนึ่ง ที่ผู้เขียนได้ประพันธ์งานเล่มนี้แบบเชิงพรรณนาโดยอาศัยความทรงจำ จากบันทึกฯ และพงศาสดารหลายฉบับประกอบในการเรียบเรียงซึ่งมีส่วนอย่างยิ่งที่เผยให้เห็นประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ความเชื่อ คติธรรม ศาสนา ตลอดจนเหตุการณ์สำคัญในอดีตไว้อย่างน่าสนใจ นับเป็นงานประพันธ์ ที่มีความสำคัญยิ่งเล่มหนึ่ง ที่ควรค่าต่อการศึกษาทั้งในเชิงอัตลักษณ์และเชิงเปรียบเทียบ

อยุธยา ราชธานี 417 ปีของอาณาจักรสยามที่ล่มสลายลงเพราะสงคราม กลับมามีบทบาทสำคัญยิ่งในฐานะเครื่องมือสร้าง “อดีต” และ “ประวัติศาสตร์” ให้แก่รัฐชาติสมัยใหม่ นับจากยุคเริ่มต้นเปิดประเทศ ปฏิรูปสยาม ปฏิวัติสยาม และยุคชาตินิยมไทย

พื้นที่ที่เคยใช้ประกอบพิธีกรรมของรัฐจารีต ถูกใช้งานโดยชนชั้นนำของรัฐสมบูรณาญาสิทธิ์อย่างตั้งใจ ก่อนกลายเป็นพื้นที่เปิดให้ประชาชนเข้ามาใช้สอยได้ในยุคประชาธิปไตยเบ่งบานและต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน โดยถือเป็นเมืองเก่าไม่กี่แห่งที่ผู้คนในบริบทปัจจุบันแทรกอยู่ในโบราณสถานและเนื้อเมืองเก่า

  • ศิริราช-รามา ผนึกบิ๊กค้าปลีก เปิดศูนย์แพทย์เซ็นทรัล-โลตัส
  • ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 1 ธันวาคม 2565 (อัพเดต)
  • ฟุตบอลโลก 2022 ญี่ปุ่น พลิกแซงชนะ สเปน 2-1 กอดคอกันเข้ารอบ

บีบีซีไทยร่วมเดินทางไปกับ ศ.ดร. ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะ เพื่อสำรวจร่องรอยประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ใน จ.พระนครศรีอยุธยา

เล่าเรื่องกรุงสยาม ผู้แต่ง
อ.ชาตรีระบุว่า โบราณสถานที่เป็นซากในอยุธยา ความเสียหายใหญ่เกิดจากการรื้อย้ายอิฐไปสร้างกรุงเทพฯ ไม่ใช่เกิดจากการต่อสู้กับพม่า / NAPAT WESSHASARTAR/BBC THAI

การเสียกรุงเมื่อ พ.ศ. 2310 ส่งผลให้เมืองอยุธยาถูกทิ้งร้าง อิฐมหาศาลถูกรื้อ-ย้าย-ขนถ่ายไปสร้างกรุงเทพมหานครในยุคต้นรัตนโกสินทร์

แม้มีความพยายามบูรณะสถานที่สำคัญ ๆ แต่มิอาจฟื้นฟูเมืองเก่าให้กลับมาชีวิตดังเดิม

กระทั่งเกิดปรากฏการณ์ที่อาจารย์ชาตรีเรียกว่า “การปฏิสังขรณ์อดีต” ซึ่งเขาให้คำจำกัดความไว้ว่าเป็นการซ่อมแซม สร้างกลับ โดยมีการแต่งเติม เสริม เพิ่มเข้าไปทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ ไม่ได้สนใจความเป็นต้นฉบับดั้งเดิมแท้ 100% ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของการบูรณะโบราณสถานในยุคก่อนสมัยใหม่

นักวิชาการผู้ศึกษาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมแบ่งการปฏิสังขรณ์อดีตในพื้นที่เมืองเก่าอยุธยาออกเป็น 3 ระลอก ได้แก่

  • พ.ศ. 2394-2475 โดยราชวงศ์จักรี
  • พ.ศ. 2475-2490 โดยคณะราษฎร
  • พ.ศ. 2490-2500 โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม

ในแต่ละระลอกได้เกิดการ “รื้อฟื้นอดีต” และ “ตีความอดีตใหม่” หลายเรื่องกลายเป็นเค้าโครงประวัติศาสตร์ไทยที่ส่งผลมาถึงปัจจุบัน

ราชวงศ์จักรี : การสร้างประวัติศาสตร์ “สยามใหม่”

โครงการบูรณปฏิสังขรณ์บนพื้นที่เมืองเก่าอยุธยาริเริ่มในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งในวัง และวัด

เล่าเรื่องกรุงสยาม ผู้แต่ง
ภาพจิตรกรรมฝาผนังพระสยามเทวาธิราชทูลเชิญพระอิศวรเสด็จลงมาจุติเป็นพระนเรศวรภายในวัดสุวรรณดาราราม เขียนโดยพระยาอนุศาสน์จิตรกร (ในสมัย ร.7) ถือเป็นประวัติพระองค์ดำในแบบที่ต่างออกไป เพราะมีการแทรกเรื่องบุญบารมีและเรื่องเล่าโบราณลงไปด้วย / NAPAT WESSHASARTAR/BBC THAI

ศ.ดร. ชาตรีนำคณะไปเยือน 2 วัดสำคัญที่ได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัย ร.4 นั่นคือ วัดสุวรรณดาราราม ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารเพิ่มหลายหลัง ทั้งวิหาร เจดีย์ประธาน เจดีย์ราย 10 องค์ หอระฆัง และกำแพงแก้วล้อมรอบเขตพุทธาวาส และวัดเสนาสนาราม (วัดเสื่อ) ซึ่งให้บูรณะเสมือนสร้างใหม่ แล้วปรับเป็นวัดในธรรมยุติกนิกาย โดยวัดแห่งหลังได้รับการเปรียบเปรยเป็นวัดคู่แฝดของวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามใน กทม. ซึ่งเป็นพระอารามหลวงประจำรัชกาลด้วย

Advertisement

ศิลปสถาปัตยกรรมของวัดสุวรรณดารารามและวัดเสนาสนารามที่มีลักษณะร่วมกัน หนีไม่พ้น หน้าบันและซุ้มประตูลายพระมหามงกุฏ พระราชลัญจกรประจำพระองค์ (พระนามเดิมของ ร.4 คือ เจ้าฟ้ามงกุฏ) และเจดีย์ทรงกลม ซึ่งจากการศึกษาของ ศ.ดร. ชาตรี พบว่าเป็นเจดีย์รูปแบบเดียวที่สามารถโยงกลับไปหาพุทธวจนะได้ ขณะที่สถูปเจดีย์ทรงปรางค์แบบกรุงศรีอยุธยาตอนต้นเป็นของครูบาอาจารย์ยุคหลังซึ่งพุทธศาสนาเริ่มบิดผันไปเป็นพราหมณ์แล้ว

“รัชกาลที่ 4 ทรงตั้งธรรมยุติกนิกาย หลัก ๆ คือการย้อนกลับไปหาพุทธเดิมแท้ที่ถูกต้อง กลับไปหาคำพูดคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเจดีย์ทรงระฆังกลมสามารถโยงไปถึงพุทธแท้ได้ ดังนั้นเราจะเห็นเจดีย์ทรงนี้ในวัดที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4” ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม ม.ศิลปากร กล่าว พลางชี้ชวนให้ดูเจดีย์ทรงพระราชนิยมของพระมหากษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี

เล่าเรื่องกรุงสยาม ผู้แต่ง
วัดเสนาสนารามใน จ.พระนครศรีอยุธยา เปรียบเหมือนวัดคู่แฝดของวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามใน กทม. ซึ่งเป็นวัดประจำ ร.4 / NAPAT WESSHASARTAR/BBC THAI

พระราชวังจันทรเกษม ซึ่งมีสถานะเป็นวังหน้าในสมัยอยุธยา ก็ได้รับการบูรณะเสมือนสร้างใหม่ในสมัย ร.4 เช่นกัน โดยโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมพระที่นั่งพิมารรัตยาและพลับพลาจตุรมุขไว้เป็นที่ประทับเมื่อเสด็จประพาสกรุงเก่า

“ความสำคัญคือการมีพระราชวังของกษัตริย์ฟื้นกลับมาที่อยุธยาเป็นครั้งแรกนับจากเสียกรุง และไม่ใช่แค่อยุธยา แต่มีการย้อนกลับไปยังเมืองเก่าอื่น ๆ ทั้งที่ลพบุรี สุโขทัย รื้อฟื้นให้เป็นประวัติศาสตร์ชุดเดียวกันของชาติ มีการสร้างวังทับลงบนโบราณสถานเดิมที่เชื่อว่าเคยเป็นวังอันยิ่งใหญ่” ศ.ดร. ชาตรีเล่า

เขาขยายความว่า ประวัติศาสตร์เป็นทรัพยากรชั้นดีในการสร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐสมัยใหม่ การอ้างถึงความเป็นประเทศที่มีความเก่าแก่ยาวนานทางประวัติศาสตร์ มีเมืองเก่าที่ยิ่งใหญ่ย้อนกลับเป็นร้อยเป็นพันปี คือสิ่งที่โลกในยุคสมัยใหม่ต้องการ ต่างจากโลกยุคเก่าที่ไม่ต้องการอดีตแบบนี้ ทำให้เมืองเก่าที่เสียไปแล้ว หมดสถานะและความศักดิ์สิทธิ์ลงแล้ว ถูกทิ้งร้าง

เล่าเรื่องกรุงสยาม ผู้แต่ง
พระราชวังจันทรเกษมได้รับการฟื้นสถานะให้เป็นวังอีกครั้งในยุค ร.4 ก่อนกลายเป็นที่ทำการของมณฑลกรุงเก่า ซึ่งมีพระยาโบราณราชธานินทร์เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ทว่าภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จันทรเกษม จนถึงปัจจุบัน / NAPAT WESSHASARTAR/BBC THAI

แม้ ร.4 ทรงริเริ่มการปฏิสังขรณ์อดีตในพื้นที่เมืองเก่าอยุธยา แต่จุดเปลี่ยนสำคัญแท้จริงเกิดขึ้นในสมัย ร.5 ที่พระราชวังกรุงเก่า ซึ่งมีการสำรวจ ขุดค้น และบูรณะพื้นที่แห่งนี้ตามแนวคิดสมัยใหม่เป็นครั้งแรก

ศ.ดร. ชาตรีนำคณะเดินลัดเลาะผ่านวัดพระศรีสรรเพชญ แลเห็นเจดีย์เรียงรายสลับกับวิหารขนาดเล็กในสภาพปรักหักพัง เข้าสู่เขตพระราชวังโบราณซึ่งครั้งหนึ่งเป็นที่ประทับของกษัตริย์อยุธยา ก่อนมาหยุดอยู่กลางสนามหญ้ากว้างสุดลูกหูลูกตา ทว่าขาดความเขียวชอุ่ม ถัดไปไม่ไกลมีฐานอิฐ ผนังก่ออิฐ และเสา 2 ต้น หากปราศจากคำบรรยายของนักวิชาการผู้รับบทไกด์กิตติมศักดิ์ ย่อมไม่อาจจินตนาการได้ว่าซากโบราณสถานที่เห็นอยู่ตรงหน้าคือพระที่นั่งสรรเพชญปราสาท และพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์

“จุดที่ทุกคนยืนอยู่นี้ คือลานด้านหน้าของพระราชพิธีรัชมงคล ร.ศ. 126 สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นแหล่งสุดท้ายของการปฏิสังขรณ์อดีตในระลอกแรก”

พระราชพิธีนี้จัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2450 ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติยาวนาน เสมอด้วยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 กษัตริย์ผู้ครองคราวราชย์ยาวนานที่สุดในสมัยที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี (ปีต่อมา มีพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกในโอกาสครองสิริราชสมบัติครบ 40 ปี ยาวนานยิ่งกว่ากษัตริย์ทุกพระองค์)

เล่าเรื่องกรุงสยาม ผู้แต่ง
ร.5 เสด็จออกหน้าพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาท (สร้างขึ้นชั่วคราว) ในพระราชพิธีรัชมงคล พ.ศ. 2450 / สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

ในช่วงเวลา 4-5 วันของพระราชพิธี ภาพความยิ่งใหญ่ของราชธานี 417 ปีถูกรื้อฟื้น-ปรากฏแก่สายตาของเจ้านายชนชั้นนำสยามในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นรัฐสมัยใหม่

  • กำแพงหน้าพระราชวัง : มีการก่อกำแพงเมือง ประตูเมือง และฉนวนขึ้นมาใหม่เป็นแนวยาว
  • พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท : มีการสร้างพระที่นั่งชั่วคราวขึ้นใหม่บนฐานรากเดิม เพื่อใช้เป็นที่ประทับ บำเพ็ญพระราชกุศล และประกอบพระราชพิธีบวงสรวงอดีตกษัตริย์อยุธยา
  • ท้องสนามหน้าพระที่นั่งสรรเพชญปราสาท : ได้รับการปรับแต่งให้เป็นสถานที่จัดแสดงมหรสพ
  • พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ : มีการสร้างพลับพลาและปรับสภาพ เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดเลี้ยงเจ้านาย

“เหตุการณ์นี้เป็นพิธีกรรมใหม่ที่สร้างความเชื่อมโยงระหว่างประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์เข้ากับราชอาณาจักรอยุธยา นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมต้องกลับมาทำถึงอยุธยาที่เคยทิ้งร้าง ไม่มีใครสนใจ”

“การได้มองเห็นกษัตริย์รัตนโกสินทร์ประทับและประกอบพระราชพิธีภายในมหาปราสาทของกษัตริย์อยุธยา… มันคือการสร้างเส้นเชื่อมทางพระมหากษัตริย์ของประเทศสยามผ่านประวัติศาสตร์ของสถาบันกษัตริย์ที่ยาวไกลไปเรื่อย ๆ ต่อเนื่องกัน เป็นวงศ์เดียวกัน แม้ต่างราชวงศ์ แต่เป็นสายของสถาบันกษัตริย์ชาติสยามเหมือนกัน”

เล่าเรื่องกรุงสยาม ผู้แต่ง
พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ภายในพระราชวังกรุงเก่าเป็นสถานที่ประชุมจัดตั้งโบราณคดีสโมสร เพื่อสืบสวนเรียบเรียงเรื่องราวของสยามในอดีต โดยมี ร.5 ทรงดำรงตำแหน่งสภานายก มีพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ร่วมเป็นสมาชิก / NAPAT WESSHASARTAR/BBC THAI

2 ธ.ค. 2450 วันสุดท้ายของพระราชพิธีรัชมงคลที่กรุงเก่า ในหลวง ร.5 ทรงประชุมจัดตั้ง “โบราณคดีสโมสร” ณ พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ โดยถือเป็นครั้งแรกที่มีการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์โบราณคดีอย่างจริงจังโดยชาวสยาม

ศ.ดร. ชาตรีอัญเชิญพระราชดำรัสเปิดโบราณคดีสโมสรเมื่อ 115 ปีก่อนมาถ่ายทอดเป็นบางช่วง และตีความเพิ่มเติมว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงไม่เพียงต้องการให้มีการปฏิสังขรณ์อดีตของอยุธยา แต่ยังคาดหวังไปถึงการปฏิสังขรณ์อดีตของบ้านเมืองอื่น ๆ ภายในอาณาบริเวณของประเทศสยาม ไม่ว่าจะเป็น เชียงแสน เชียงราย เชียงใหม่ สวรรคโลก โศกโขทัย (ชื่อเรียกในขณะนั้นของสุโขทัย) อยุธยาเก่า อยุธยาใหม่ ฯลฯ เพื่อสร้างประวัติศาสตร์ “สยามสมัยใหม่” ขึ้นมา

ต่อมา สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้รับแนวพระราชดำรินี้มาใช้ชำระพระราชพงศาวดารและประวัติศาสตร์ชาติไทย

ในช่วงเปลี่ยนผ่านประเทศจาก รัฐจารีต สู่ รัฐยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อาจารย์ชาตรีชี้ว่า ได้เกิดสำนึกใหม่ว่าด้วยรัฐและชาติในหมู่ชนชั้นนำ ทำให้อดีตและประวัติศาสตร์กลายเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

เล่าเรื่องกรุงสยาม ผู้แต่ง
ขบวนช้างเสด็จของ ดุ๊กโยซัน อัลเบรกต์ แห่งเยอรม ผู้สำเร็จราชการเมืองบรันชวิก พร้อมด้วยพระชายา ร่วมฉายพระรูปบริเวณหน้าวิหารมงคลบพิตร ระหว่างเสด็จประพาสกรุงเก่าเมื่อ 8 ก.พ. 2452 / สมุดภาพกรุงเก่า จ.พระนครศรีอยุธยา ก่อน พ.ศ. 2500

หลังจากนั้นพื้นที่พระราชวังหลวงสมัยอยุธยาได้กลายเป็นสถานที่ที่กษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์ใช้ประกอบพระราชพิธีสำคัญเรื่อยมา เช่น ในปี พ.ศ. 2453 ร.6 เสด็จมาประกอบพระราชพิธีสังเวยอดีตมหาราช ณ พระที่นั่งตรีมุข ในพระราชวังกรุงเก่า ในปี พ.ศ. 2469 ร.7 เสด็จมาประกอบพระราชพิธีเดียวกันภายหลังขึ้นทรงราชย์

เช่นเดียวกับสถานที่ใกล้เคียงและวัดวาอารามต่าง ๆ ที่ชนชั้นนำสยามและแขกบ้านแขกเมืองเดินทางมาเยี่ยมชมอยู่เนือง ๆ

ห้วงเวลาดังกล่าวเป็นเสมือนจุดเปลี่ยนทางความหมายจาก “เมืองที่ถูกทิ้งร้าง” กลายเป็น “เมืองโบราณที่เป็นหลักฐานของอดีตราชธานีเก่าอันยิ่งใหญ่ของสยาม” อาจารย์ชาตรีสรุป

นี่คือผลิตผลสำคัญของการปฏิสังขรณ์อดีตของอยุธยาที่เกิดขึ้นภายใต้บริสังคมการเมืองแบบรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์

คณะราษฎร : ชุบชีวิตเมืองด้วยคน

ทว่าภายหลังการปฏิวัติสยาม 2475 เปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ การปฏิสังขรณ์อดีตก็เกิดขึ้นเป็นระลอก 2 เพื่อรองรับระบอบใหม่และอุดมการณ์การเมืองชุดใหม่

“ความแตกต่างที่สำคัญจากระลอกแรกคือ การเข้าไปบูรณะวัดตอนในทั้งหลาย ไม่มีวังเลย และไปเปิดพื้นที่ให้เป็นสาธารณประโยชน์มากขึ้น” ศ.ดร. ชาตรีเกริ่นนำ

เล่าเรื่องกรุงสยาม ผู้แต่ง
แผนที่แสดงแนว ถ.โรจนะ ที่ตัดผ่านเข้ามาในพื้นที่เกาะเมืองอยุธยา และโครงการก่อสร้างสำคัญ ๆ ในยุคคณะราษฎร / CHATRI PRAKITNONTHAKAN

ความเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายที่เกิดขึ้นกับการอนุรักษ์โบราณสถานในยุคคณะราษฎรมี ดังนี้

  • 2476 จัดตั้งกรมศิลปากร สังกัดกระทรวงธรรมการ โดยหนึ่งหน้าที่รับผิดชอบคือการดูแลโบราณสถาน
  • 2477 ออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยโบราณสถาน ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ และการพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ
  • 2478 อธิบดีกรมศิลปากรในฐานะผู้รับผิดชอบตาม พ.ร.บ.โบราณสถานฯ ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในพื้นที่เกาะเมืองอยุธยา 69 แห่ง โดยห้ามทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เคลื่อนย้าย
  • 2481 ออก พ.ร.บ. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติแผ่นดินและที่วัดร้างภายในกำแพงเมือง จ.พระนครศรีอยุธยา รวมเนื้อที่ราว 4,500 ไร่ ให้กระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบดูแล โดยนายปรีดี พนมยงค์ แกนนำคณะราษฎร ดำรงตำแหน่ง รมว.คลังในขณะนั้น
  • 2481 จัดตั้งเทศบาลเมืองนครศรีอยุธยา

นักวิชาการ เจ้าของผลงานเขียน “ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร : สัญลักษณ์ทางการเมืองในเชิงอุดมการณ์” ระบุว่า การปฏิสังขรณ์อดีตในระลอก 2 มุ่งเน้นการอนุรักษ์ควบคู่การพัฒนาเมือง โดยคณะราษฎรต้องการชุบชีวิตเมืองให้เต็มไปด้วยผู้คน-นำความเจริญสมัยใหม่ใส่เข้าไป จึงเน้นโครงการเปิดพื้นที่เมือง

รูปธรรมที่เกิดขึ้นคือ การสร้างทางหลวงแผ่นดินสายวังน้อย-อยุธยา หรือที่เรียกว่า ถ.โรจนะ ผ่าเข้าไปกลางเกาะเมืองอยุธยา และการสร้างสะพานปรีดี-ธำรง เชื่อมต่อการการสัญจรด้วยรถยนต์เข้าสู่เกาะเมืองอยุธยาเป็นครั้งแรก

สะพานที่ตั้งตามชื่อของ 2 แกนนำคณะราษฎร ผู้เป็นชาวอยุธยาโดยกำเนิด นายปรีดี พนมยงค์ และ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้เปลี่ยนสภาพการตั้งรกราก-สร้างที่อยู่อาศัยของชาวเมืองไปอย่างมีนัยสำคัญ จากเคยใช้ชีวิตอยู่ริมแม่น้ำรอบเกาะเมือง เดินทางไปไหนมาไหนด้วยเรือ ก็ย้ายไปพักอาศัยในพื้นที่ตอนในของเกาะอยุธยามากขึ้น

เล่าเรื่องกรุงสยาม ผู้แต่ง
ด้านหน้าอาคารศาลากลางจังหวัดมีเสา 6 ต้น สื่อถึงหลัก 6 ประการของคณะราษฎร และปลายเสาติดตั้งประติมากรรมของวีรกษัตริย์และวีรสตรี ได้แก่ พระเจ้าอู่ทอง, พระบรมไตรโลกนาถ, พระนเรศวร, พระนารายณ์, พระศรีสุริโยทัย และพระเจ้าตากสิน / NAPAT WESSHASARTAR/BBC THAI
เล่าเรื่องกรุงสยาม ผู้แต่ง
อาคารหลังนี้เป็นหนึ่งในมรดกยุคคณะราษฎร โดย 2 แกนนำ – ปรีดี พนมยงค์ นายกฯ คนที่ 7 และหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกฯ คนที่ 8 – เป็นชาวอยุธยาโดยกำเนิด และเป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนนี้ / HATAIKARN TREESUWAN/BBC THAI

นอกจากนี้ยังมีการสร้างสถานที่ราชการ ศาลากลางจังหวัด และโรงเรียน ด้วยศิลปสถาปัตยกรรมแบบคณะราษฎร

อาคารสิริมังคลานันท์ของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ซึ่งนายปรีดี-หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์เป็นศิษย์เก่า (ชื่อในขณะนั้นคือ โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลกรุงเก่า) เป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมยุคนั้น สะท้อนผ่านอาคารรูปทรงเรขาคณิต หลังคาแบน ไม่ขึ้นเป็นจั่ว ไม่มีลวดลายไทย สื่อถึงความเสมอภาค และลดฐานานุศักดิ์ทางสังคม

คณะราษฎรยังเข้าไป “จัดการ” และ “สร้างความหมายใหม่” ให้แก่โบราณสถานบางแห่งด้วย ที่ยังมีหลักฐานปรากฏถึงปัจจุบันคือเจดีย์วัดสามปลื้ม ซึ่งถูกรื้ออาคารประกอบทั้งวิหาร โบสถ์ ออกไป จนเหลือเจดีย์ประธานเพียงองค์เดียว อาจารย์ชาตรีชี้ว่า นี่เป็นการเปลี่ยนความหมายของเจดีย์อันศักดิ์สิทธิ์ในแบบประเพณี ไปสู่การเป็นอนุสาวรีย์-วงเวียน-หมุดหมายของเมือง (แลนด์มาร์ก) กลางถนนสมัยใหม่

“มันคือการอยู่ร่วมกันระหว่างเมืองใหม่แทรกอยู่ในเมืองเก่า ซึ่งโมเดลนี้เป็นที่ถกเถียงนะ เพราะหลายคนมองว่าเป็นตัวทำลายโบราณสถาน ซึ่งก็จริง วัดวาอารามหลายแห่งถูกรื้อทิ้งมากในช่วงการพัฒนาอันนี้ แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ทำให้เมืองมีชีวิต ไม่ใช่กลายเป็นอุทยานประวัติศาสตร์สำหรับนักท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ปัจจุบันไม่มีใครทำโมเดลนี้แล้วนะ ถ้าเจอเมืองเก่า ไม่มีใครเขาตัดถนน หรือเข้าไปอยู่อาศัยแล้ว ก็จะปล่อยสภาพเดิมไว้ทั้งหมด” ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรมกล่าว

เล่าเรื่องกรุงสยาม ผู้แต่ง
เจดีย์วัดสามปลื้มต้องเหลือเพียงองค์เดียวหลังมีการตัด ถ.โรจนะ ผ่านกลางพื้นที่วัดสามปลื้ม โดยชาวเมืองเก่าบางส่วนตั้งชื่อเล่นให้เจดีย์องค์นี้ “เจดีย์นักเลง” เพราะแม้แต่รถที่วิ่งมาก็ยังต้องหลบให้ / NAPAT WESSHASARTAR/BBC THAI

จอมพล ป. : อนุสาวรีย์ที่ไม่ได้สร้าง กับ สิ่งปลูกสร้างที่เป็นบ่อเกิด “อิฐเก่า ๆ แผ่นเดียว” ในวงการโบราณคดี

เมื่อคณะราษฎรหมดอำนาจลง แต่หนึ่งในสมาชิกคณะราษฎรนามว่า จอมพล ป.พิบูลสงคราม กลับมาเรืองอำนาจอีกครั้งในฐานะนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ในปี พ.ศ. 2491-2500

อดีตอันยิ่งใหญ่ของศูนย์กลางอาณาจักรสยามก็ถูกใช้เป็นโครงเรื่องประวัติศาสตร์ชาตินิยมไทย การปฏิสังขรณ์อดีตของอยุธยาเดินมาถึงจุดเปลี่ยนสู่ระลอก 3 โดยมีเป้าหมายเพื่อการบูรณะโบราณสถานที่สำคัญของอยุธยาให้กลับมามีสภาพสมบูรณ์หรือใกล้เคียงกับอดีตมากที่สุด

โครงการสำคัญที่เกิดขึ้นในยุคนี้ อาทิ การปฏิสังขรณ์วิหารพระมงคลบพิตร วัดพระศรีสรรเพชญ, การบูรณะเจดีย์สามองค์ วัดพระศรีสรรเพชญ รวมถึงการสร้างอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทว่าโครงการหลังยังไม่ทันเกิดขึ้นก็มีต้องพับไป หลังรัฐบาลจอมพล ป. ถูกรัฐประหารโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อปี พ.ศ. 2500

“ในระลอกนี้ มีความพยายามจะสร้างหรือตีความใหม่ ๆ ให้แก่โบราณสถานเหมือนกัน เช่น วงเวียนวัดสามปลื้ม ก็ทำเป็นฉากสำหรับสมเด็จพระเจ้าตากสินในการเสด็จหนีออกจากอยุธยา ผมคิดว่าถ้าอนุสาวรีย์นั้นสำเร็จ คงจะปลุกเร้าความรู้สึกชาตินิยมได้ดีทีเดียวว่าโอ้โหคนไทยกลุ่มพระเจ้าตากกำลังหนีออกจากข้าศึกพม่าที่กำลังรุกรานกันอยู่ ก็คงจะเป็นอนุสาวรีย์ที่เข้ามาปลุกอุดมการณ์ชาตินิยมได้อย่างมีพลังมากขึ้น” ศ.ดร. ชาตรีให้ความเห็น

เล่าเรื่องกรุงสยาม ผู้แต่ง
เจดีย์สามองค์ วัดพระศรีสรรเพชญ ได้รับการบูรณะด้วยการฉาบปูน (ภาพในยุคจอมพล ป. เปรียบเทียบกับภาพปัจจุบัน) สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ/ BBC Thai

ในยุคจอมพล ป. ยังมีการขุดค้นทางโบราณคดีตามวัดต่าง ๆ จำนวนมาก และนำมาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปากร มีการจัดทัศนะศึกษาที่พาผู้คนย้อนอดีตกลับไปรู้จักราชธานีอันยิ่งใหญ่ของชาติ ทำให้เรื่องราวของกรุงเก่ากลับมาอยู่ในความรับรู้ของสาธารณชน

บึงพระรามเป็นอีกสถานที่ที่ได้รับการปรับปรุงขนานใหญ่ช่วงรัฐบาลจอมพล ป. เพื่อเป็นสวนสาธารณะให้ชาวเมืองได้พักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งแนวคิดนี้สืบทอดมาจากคณะราษฎรที่นิยมสร้างรมณียสถานสำหรับประชาชนในพื้นที่กลางเมือง

บนเนื้อที่ 274 ไร่ของสวนสาธารณะบึงพระราม มีสิ่งปลูกสร้างหลังหนึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2499 ด้านหน้ามีป้ายกำกับไว้ว่า พระที่นั่งเย็น ทว่าไม่ค่อยมีผู้คนเข้ามาเยี่ยมชมนัก

เมื่อ ศ.ดร. ชาตรีนำคณะเข้าไปสำรวจใกล้ ๆ จึงพบอาคารหลังนี้สร้างทับลงบนฐานอิฐเดิม

จากนั้นอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมได้อธิบายถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยประเพณีที่ใช้สร้างพระที่นั่งเย็น ซึ่งพบเห็นได้ในช่วงจอมพล ป. ยุคสอง ตัวอาคารต้องสวมด้วยจั่ว มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ลดทอนรายละเอียด และใช้สีเขียว ต่างจากจอมพล ป. ยุคแรก-ยุคคณะราษฎร ที่ใช้สถาปัตยกรรมใหม่ หลังคาแบน

“อาคารหลังนี้เป็นบ่อเกิดของประโยคที่สำคัญมากในวงการโบราณคดี ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมของชาติ โดยถือเป็นต้นกำเนิดแนวคิดในการอนุรักษ์ของกรมศิลปากรที่ใช้สืบทอดต่อเนื่องกันมาถึงปัจจุบัน” นักวิชาการ ม.ศิลปากร กล่าว

เล่าเรื่องกรุงสยาม ผู้แต่ง
พื้นที่ภายในพระที่นั่งเย็น ซึ่งสร้างทับลงบนฐานอิฐเดิม / NAPAT WESSHASARTAR/BBC THAI

ในคราวเสด็จประพาส จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2506 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงแวะพักผ่อนอิริยาบถ ณ พระที่นั่งเย็น ซึ่งทางจังหวัดจัดเตรียมไว้ให้ และได้ทอดพระเนตรอาคารหลังนี้ ก่อนมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า

“…การก่อสร้างอาคารสมัยนี้คงจะเป็นเกียรติสำหรับผู้สร้างคนเดียว แต่เรื่องโบราณสถานนั้นเป็นเกียรติของชาติ อิฐเก่า ๆ แผ่นเดียวก็มีค่า ควรจะช่วยกันรักษาไว้ ถ้าเราขาดสุโขทัย อยุธยา และกรุงเทพฯ แล้ว ประเทศไทยก็ไม่มีความหมาย…”

นี่คือที่มาที่ของรากเหง้าความคิดและวิธีปฏิบัติเพื่อรักษาโบราณสถาน แม้เป็น “อิฐเก่า ๆ แผ่นเดียว” แต่ก็ถือเป็นตัวแทนของประวัติศาสตร์ชาติไทย

ความสำเร็จของชนชั้นนำไทย

เมื่อเค้าโครงประวัติศาสตร์ไทยพลิกผันไปตามการปฏิสังขรณ์อดีตในแต่ละระลอก น่าสนใจว่าประวัติศาสตร์ชุดไหนคือกระแสหลักในยุคปัจจุบัน

ศ.ดร. ชาตรีอธิบายว่า ปกติเวลาดูประวัติศาสตร์คณะราษฎรกับสมบูรณาญาสิทธิ์ จะขัดแย้งกัน แต่การบูรณะโบราณสถานในฐานของการสร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐชาติสมัยใหม่ ทั้งรัฐสมบูรณาญาสิทธิ์ และรัฐชาติหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีจุดร่วมและมีความสอดคล้องกันมากกว่าความขัดแย้ง เพราะโบราณสถานเมืองเก่าอยุธยา รวมถึงเมืองโบราณอื่น ๆ ได้กลายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในการสร้างหรือทำให้ความคิดแบบชาตินิยมมีพลัง และเป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนอารยธรรมเก่าแก่ของรัฐ

ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในรายละเอียดคือ ในยุคสมบูรณาญาสิทธิ์ รัฐ/ชาติ หมายถึงตัวกษัตริย์ ดังนั้นโบราณสถานที่เกี่ยวกับกษัตริย์จึงได้รับการฟื้นฟูบูรณปฏิสังขรณ์ ขณะที่ยุคหลัง 2475 เน้นปฏิสังขรณ์วัดและโบราณสถานที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์

เล่าเรื่องกรุงสยาม ผู้แต่ง
ศ.ดร. ชาตรีชี้ว่า หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่รัฐสมัยใหม่คือประวัติศาสตร์ของรัฐและชาติ “ยิ่งรัฐไหนสาวอดีตไปไกลเป็นพันหรือหมื่นปี ยิ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐนั้นยิ่งใหญ่” / NAPAT WESSHASARTAR/BBC THAI

ท่ามกลางความพยายามเสาะหา-สร้าง-เสริม-เติม-ต่อประวัติศาสตร์ของชนชั้นนำยุคต่าง ๆ ความทรงจำต่ออยุธยาในฐานะอดีตราชธานีที่ล่มสลาย คล้ายยังเป็นภาพหลักเหนือกว่าภาพอดีตชุดอื่น ๆ

“จริง ๆ ก็ใช่ หากบางคนจะมองเห็นราชธานีเก่าที่ล่มสลาย แต่ก็มีคนที่เห็นว่าชาติไทยยิ่งใหญ่ขนาดไหนผ่านซากโบราณสถานของอยุธยา ไม่ได้เห็นแล้วรู้สึกเศร้า แต่รู้สึกว่าเมื่อก่อนเรายิ่งใหญ่ขนาดนี้เชียวหรือ”

“นี่อาจนับได้ว่าเป็นความสำเร็จของชนชั้นนำไทยในการเปลี่ยนผ่านตัวเองจากรัฐโบราณสู่รัฐสมัยใหม่” ศ.ดร. ชาตรีกล่าวทิ้งท้าย

…..

หมายเหตุ : กิจกรรม “กรุงเก่าเล่าเรื่องราชวงศ์จักรีและคณะราษฎร” นำเดินชมโดย ศ.ดร. ชาตรี ประกิตนนทการ จัดโดยศูนย์ข้อมูลมติชน (MIC)