การพัฒนาวิชาชีพครู มีอะไรบ้าง

3.2  การพัฒนาวิชาชีพ

       ข้าพเจ้าเข้าร่วมกลุ่มพัฒนาวิชาชีพครู  มีการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมทางวิชาการในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  สร้างและพัฒนานวัตกรรมจากการเข้าร่วมในชุมชนการเรียนรู้  ตลอดจนนำนวัตกรรมจากการเข้าร่วมในชุมชนการเรียนรู้มาจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน
Øบันทึกหลักฐานร่องรอยข้อมูล/สารสนเทศ/หลักฐานที่สะท้อนความรู้ความสามารถ

1.       เอกสารหลักฐานแสดงการเข้าร่วมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพครู

¨    แบบบันทึกกิจกรรม  PLC 

2.       นวัตกรรมจากการเข้าร่วมในชุมชนการเรียนรู้

¨    สื่อ นวัตกรรม ชิ้นงานที่ได้จากกิจกรรม PLC 

3.       เอกสารหลักฐานการนำนวัตกรรมมาจัดการเรียนรู้

¨    ภาพถ่ายการนำนวัตกรรมที่ได้จากกระบวนการ PLC ไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน

4.       เอกสารหลักฐานแสดงการสร้างเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้

¨    แบบบันทึกกิจกรรม PLC

การพัฒนาวิชาชีพ หมายถึง กระบวนการพัฒนาวิชาชีพครู โดยการมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในระดับสถานศึกษา หรือระดับเครือข่าย หรือระดับชาติ และแสดงบทบาท  ในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) ด้วยความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร มีวิสัยทัศน์ คุณค่า เป้าหมายและภารกิจร่วมกัน เพื่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร และสร้างนวัตกรรมจากการเข้าร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยนำความรู้ ความสามารถ ทักษะ ที่ได้จากการพัฒนาวิชาชีพมาพัฒนา

หลักฐาน ร่องรอย เอกสาร

แฟ้มเอกสาร หลักฐานการพัฒนาวิชาชีพ

ตรวจสอบจากเอกสารหลักฐาน แหล่งข้อมูล เช่น

1. เอกสารทางวิชาการ(แบบฝึกประสบการณ์/แบบฝึกทักษะ/บทความทางวิชาการ/กรณีศึกษา ฯลฯ)

2. บันทึกร่องรอยการใช้เอกสารทางวิชาการ(แบบฝึกประสบการณ์/แบบฝึกทักษะ/บทความทางวิชาการ/กรณีศึกษา ฯลฯ)จัดทำขึ้นในการจัดการเรียนรู้

3. การบันทึกกิจกรรม PLC

4. คำสั่งแต่งตั้งของโรงเรียน กิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ        

5. หลักฐาน ร่องรอย ภาพถ่าย

6. หลักฐาน ร่องรอยการนำองค์ความรู้ PLC ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน

7. นวัตกรรมที่เกิดจาก PLC  

8. หลักฐาน ร่องรอยการสร้างเครือข่าย PLC

9. หลักฐาน ร่องรอย PLC มาใช้ในองค์กรจนเกิดเป็นนวัตกรรม

10. หลักฐาน ร่องรอยผลงานเป็นที่ประจักษ์ เป็นที่ยอมรับหรือได้รับการยกย่อง ในวงวิชาชีพ ด้าน PLC

11. หลักฐาน ร่องรอยรางวัลเกียรติบัตรและอื่นๆ

12. หลักฐาน ร่องรอยการเป็นวิทยากร เป็นแกนนำ การเผยแพร่ การนำเสนอ การจัดนิทรรศการ เป็นต้น

13. เอกสาร หลักฐานอื่นๆเพิ่มเติม ที่เกี่ยวข้อง

ข้อกำหนดระดับคุณภาพ

ระดับ 1  เข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

ระดับ 2

1. เข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

2. นำองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน

ระดับ 3

1. เข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

2. นำองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน

3. สร้างนวัตกรรม ที่ได้จากการเข้าร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

4. สร้างเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

ระดับ 4

1. เข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

2. นำองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน

3. สร้างนวัตกรรมที่ได้จากการเข้าร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

4. สร้างเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

5. สร้างวัฒนธรรมทางการเรียนรู้ในสถานศึกษา

6. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ

7. เป็นแบบอย่างที่ดี

ระดับ 5

1. เข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

2. นำองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน

3. สร้างนวัตกรรมที่ได้จากการเข้าร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

4. สร้างเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

5. สร้างวัฒนธรรมทางการเรียนรู้ในสถานศึกษา

6. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อวงวิชาชีพ

7. เป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นผู้นำ

การพัฒนาวิชาชีพครู

สภาพปัจจุบันและปัญหาวิชาชีพครูในประเทศไทย

ครู คือ ผู้กำหนดคุณภาพประชากรในสังคม และคุณภาพประชากรในสังคม คือ ตัวพยากรณ์ความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง การศึกษา วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม วิชาชีพครูจึงควรเป็นที่รวมของคนเก่ง คนดี สามารถเป็นต้นแบบทางคุณธรรม จริยธรรม การประพฤติปฏิบัติตน การดำรงชีวิต และการชี้นำสังคมไปในทางที่เหมาะสม

ในสภาพความเป็นจริงที่ปรากฏในปัจจุบัน วิชาชีพครูกลับเป็นวิชาชีพที่คนทั่วไปดูหมิ่นดูแคลน เป็นวิชาชีพที่รายได้ต่ำ ผู้ประกอบวิชาชีพครูยากจน ผู้ปกครองที่มีการศึกษาสูงและมีฐานะดี ไม่ประสงค์จะให้บุตรหลานของตนศึกษาเพื่อออกไปประกอบวิชาชีพครู เยาวชนที่สำเร็จการศึกษาชั้น ม. 6 ก็ไม่ประสงค์ที่จะสมัครเรียนในสาขาวิชาชีพครู ผู้สมัครเรียนในสาขาครูจึงมักเป็นผู้ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ เมื่อไม่สามารถสอบเข้าเรียนในสาขาวิชาชีพอื่นได้แล้วจึงจะสมัครเรียนเพื่อออกไปเป็นครู

ปัญหาเกี่ยวกับวิชาชีพครูอาจสรุปได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ดังนี้

ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการผลิต เช่น ปัญหาอันเนื่องมาจากตัวป้อนเข้าของกระบวนการ ผลิตครู กระบวนการเรียนการสอนนักศึกษาครู การกำหนดคุณลักษณะของบัณฑิตครู และการควบคุมให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษามีคุณลักษณะตามที่กำหนด เป็นต้น

ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการใช้ครู เช่น ปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนด้าน งบประมาณ การบำรุงขวัญกำลังใจครูดี การติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของชุมชนในการใช้ครู เป็นต้น

ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่อให้การผลิตและการใช้ครูเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล เช่น ปัญหาความด้อยประสิทธิภาพของผู้บริหาร การขาดระบบการตรวจสอบและประเมินผู้บริหารการไม่มีส่วนร่วมในการบริหารงานของท้องถิ่น การขาดแคลนทรัพยากรเพื่อการบริหาร รวมทั้งการขาดสถาบันพัฒนาผู้บริหารระดับมืออาชีพ เป็นต้น

1. ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการผลิต

สถาบันผลิตครูไม่สามารถผลิตครูให้มีคุณลักษณะตามที่สังคมต้องการได้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้การผลิตครูมีประสิทธิผลต่ำอาจสรุปได้ 5 ประการดังนี้

1. คนเก่งไม่เรียนครู เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า คนเก่ง ส่วนใหญ่ไม่สนใจเป็นครู จากข้อมูลการเลือกเข้าเรียนต่อของผู้สมัครสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ปี การศึกษา 2539 ผู้สมัครส่วนใหญ่จะเลือกคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์เป็นอันดับสุดท้าย มีเพียงร้อยละ 19 ที่เลือกคณะครุศาสตร์เป็นอันดับ 1 และนักศึกษาครู มีผลการเรียนในระดับปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ จากข้อมูลเกรดเฉลี่ยในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของนักศึกษาครูในสถาบันราชภัฏ(ซึ่งเป็นสถาบันผลิตครูแหล่งใหญ่) พบว่า มีเกรดเฉลี่ย ประมาณ 2.3 (สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ, 2540) นอกจากนี้ นักศึกษาครูมักไม่เลือกเรียนวิชาเอกที่เป็นสาขาขาดแคลน เช่น สาขาทางด้านวิทยาศาสตร์ เพราะต้องใช้ความพยายามในการเรียนสูงกว่าสาขาวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ (สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ, 2540)

2. รัฐลงทุนเพื่อการผลิตครูต่ำ เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในการผลิตบัณฑิตสาขาต่าง ๆ มีหลักฐานชัดเจนว่า รัฐลงทุนเพื่อการผลิตครูต่ำกว่าวิชาชีพอื่น ๆ มาก (สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ, 2540) สถาบันผลิตครูส่วนใหญ่ จึงมีปัญหาความขาดแคลนปัจจัยที่จำเป็นต่อการผลิตครู ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ขาดงบดำเนินการเพื่อพัฒนาคณาจารย์ และพัฒนาการเรียนการสอน นอกจากนี้ การผลิตครูดำเนินการโดยสถาบันของรัฐทั้งหมด ถึงแม้กฎหมายเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาผลิตครูได้ แต่ยังไม่มีเอกชนรายใดดำเนินการเพราะไม่คุ้มทุน

3. กระบวนการเรียนการสอนเน้นทฤษฏีมากกว่าเน้นการปฏิบัติจริงถ้าพิจารณาจากหลักสูตรการผลิตครูจะพบว่าหลักสูตรที่ใช้ในปัจจุบันเป็นหลักสูตรที่กำหนดจากส่วนกลางและผูกติดกับแนวคิดสากลมากกว่าท้องถิ่น เน้นทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติจริง เน้นองค์ความรู้มากกว่าวิธีแสวงหาความรู้ วิชาที่สอนเป็นแบบแยกส่วน ขาดความเชื่อมโยงและบูรณาการ มีผลให้ผู้เรียนไม่ได้พัฒนาทักษะและวิธีการมองปัญหาในเชิงองค์รวม กระบวนการเรียนการสอนเพื่อผลิตครูยังเน้นครูเป็นศูนย์กลาง เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้มากกว่าการส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ รักที่จะเรียนรู้ อาจารย์ผู้สอนเป็นผู้กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนและการวัดผลฝ่ายเดียว ผู้เรียนไม่มีส่วนร่วม และ ที่สำคัญการจัดการเรียนการสอนขาดการประสานสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของท้องถิ่นและชุมชน ทำให้นักศึกษาครูไม่สามารถเรียนรู้ และพัฒนาวิชาชีพครูให้เหมาะสมกลมกลืนกับวิถีชีวิตของสภาพแวดล้อม ได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ สื่อ นวัตกรรม และแหล่งการเรียนรู้ในสถาบันผลิตครูไม่เอื้อให้นักศึกษาครู แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเอง การวัดผลและประเมินผลเน้นการสอบวัดเนื้อหาวิชาการมากกว่าการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ชี้นำแนวความคิดและคุณลักษณะที่เหมาะสมกับการเป็นครูในอนาคต และที่สำคัญ หลักสูตรการผลิตครูไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อรองรับการผลิตครูรุ่นใหม่ซึ่งต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความพร้อมทั้งความรู้ในเนื้อหาวิชาการ ความสามารถในการชี้นำความรู้ มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ และมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งสามารถปรับใช้เทคโนโลยีในวิชาชีพได้

4. ขาดระบบการประกันคุณภาพบัณฑิตครู เนื่องจากคุณภาพของบัณฑิตครูเป็นไปตามเกณฑ์การวัดและประเมินผลของสภาประจำแต่ละสถาบันและไม่มีองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินคุณภาพบัณฑิตของสถาบันต่าง ๆ ฝ่ายผลิตครูเป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพการผลิตครูแต่เพียงผู้เดียว การประเมินคุณภาพบัณฑิตเน้นการท่องจำเนื้อหาสาระควบคู่กับระเบียบราชการมากกว่าการวัดคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการเป็นครู

5. ขาดการตรวจสอบคุณภาพการผลิตครูและสถาบันผลิตครู การประกันคุณภาพการผลิตครูและสถาบันผลิตครูเพิ่งเป็นที่ยอมรับ และเริ่มดำเนินการมาไม่นานนัก การดำเนินการในปัจจุบันอยู่ในขั้นการสร้างหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติ ในช่วงที่ ผ่านมาจึงไม่มีการดำเนินการประกันคุณภาพการผลิตครูและสถาบันผลิตครูอย่างชัดเจน นอกจากนี้ สถาบันผลิตครูของรัฐมีจำนวนถึง 114 แห่ง และอยู่ต่างสังกัดกัน ส่งผลให้สถาบันผลิตครูขาดเอกภาพในนโยบายและมาตรฐานการผลิตครู ประกอบกับการไม่มีหน่วยงานกลางที่มีอำนาจตามกฎหมายในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานและติดตามประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพการดำเนินงานของสถาบันผลิตครู คุณภาพการผลิตครูจึงแตกต่างกันไปตามเกณฑ์การวัดและประเมินผลของแต่ละสถาบัน

2. ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการใช้ครู

การพัฒนาวิชาชีพครู มีอะไรบ้าง

สาเหตุที่ทำให้การใช้ครูมีประสิทธิผลต่ำอาจสรุปได้ 4 ประการดังนี้

1. ค่าตอบแทนครูต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับวิชาชีพอื่น ๆ ที่รับผิดชอบต่ออนาคตและความสงบเรียบร้อยของคนในชาติ เป็นต้นว่า อัยการ ตุลาการ แพทย์ และตำรวจแล้ว วิชาชีพครูได้รับค่าตอบแทนต่ำ ผลการสำรวจในปี พ.ศ. 2539 พบว่ามีครูเพียงร้อยละ 50 ที่สามารถอยู่ได้อย่างประหยัดด้วยเงินเดือนครู (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2539) จากการสำรวจของกระทรวงศึกษาธิการ (2539) พบว่า 95% ของครูไทยเป็นหนี้และภาวะหนี้สินนี้ ส่งผลให้ครูขาดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานและมีผลกระทบต่อการเรียนการสอนของตน รวมทั้ง การที่รัฐไม่สามารถปรับ เงินเดือนข้าราชการครูให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ครูส่วนใหญ่มีปัญหาทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากรายได้น้อยแต่ค่าครองชีพสูง ครูบางส่วนต้องหารายได้เพิ่มจากการประกอบอาชีพเสริมต่าง ๆ ซึ่งบางครั้งเป็นการ เบียดบังเวลางาน และส่งผลให้ครูเอาใจใส่ต่อการเรียนการสอนน้อยลง นอกจากนี้ ครูที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ห่างไกลความเจริญยังต้องเสียสละเงินเดือนบางส่วนเพื่อช่วยเหลือนักเรียนและซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอนด้วย (สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และกรมการฝึกหัดครู, 2536) วิชาชีพครูจึงไม่ได้รับความสนใจจากคนทั่วไป แม้กระทั่งผู้ที่เป็นครูหากมีทางเลือกอื่นก็เลือกที่จะไม่ประกอบอาชีพครู

นอกจากนี้การที่ระบบเงินเดือน สวัสดิการ และค่าตอบแทนของครูโดยทั่วไป เป็นระบบเดียวกันไม่มีความแตกต่างระหว่างครูดี ครูเก่ง กับครูเฉื่อยชาขาดความ รับผิดชอบ สภาพเช่นนี้ทำให้ครูดีมีแนวโน้มจะออกจากวิชาชีพมากขึ้น ส่วนครู ที่ยังคงอยู่ในระบบก็ขาดแรงจูงใจที่จะพัฒนาตนและพัฒนางาน ส่งผลให้ผู้สมัครเรียนครูสาขาขาดแคลนซึ่งเรียนยากกว่าสาขาอื่นยิ่งลดน้อยลง เพราะครูทุกสาขาวิชาได้รับ ผลตอบแทนในระบบเดียวกัน

2. ระเบียบปฏิบัติไม่เอื้อต่อการพัฒนางานและการพัฒนาตนเอง ครู ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการทำให้ครูมีสถานภาพมั่นคง ไม่เห็นความสำคัญของการพัฒนาตนเอง ระเบียบ กฎเกณฑ์ การบริหารของระบบราชการสะกัดกั้นเสรีภาพความก้าวหน้าทางวิชาการ และไม่กระตุ้นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของครู ระบบงบประมาณในปัจจุบันไม่เปิดโอกาสให้ครูและโรงเรียนมีส่วนกำหนดระบบบริหารไม่ยืดหยุ่นให้ครู แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ครูรู้สึกไร้พลังอำนาจการควบคุมงานของตน การบริหารสถานศึกษาใช้ระบบการบังคับบัญชาแบบราชการตามลำดับขั้น หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้มีอำนาจสั่งการเบ็ดเสร็จเป็นระบบอำนาจนิยม ผลคือ สถานศึกษาขาดบรรยากาศของชุมชนวิชาการที่เอื้อต่อการพัฒนาตนเองของครู สภาพการร่วมมือทำงานร่วมกัน รับผิดชอบของครูมีน้อย ส่วนผู้ประกอบอาชีพครูในสถานศึกษาเอกชนก็ขาดความ มั่นคงในวิชาชีพ ขาดความก้าวหน้า ค่าตอบแทนต่ำแต่ภาระงานสูง และขาดอิสระในการปฏิบัติงาน ทำให้พัฒนาตนเองได้น้อย เกิดสภาพขาดขวัญกำลังใจ ท้อแท้ มากกว่าครูของรัฐเสียอีก

3. ขาดระบบการติดตามและประเมินผลที่มีประสิทธิผลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานของครูในปัจจุบันดำเนินการโดยผู้บังคับบัญชาของครู ซึ่งก็ทำตามนโยบายผู้บังคับบัญชาซึ่งเปลี่ยนแปลงค่อนข้างบ่อย ระบบ เกณฑ์ วิธีการและประสิทธิภาพของการประเมินมีความแตกต่างกันไปตามคุณภาพ ความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาแต่ละคน ผู้ใกล้ชิด และได้รับผลจากการปฏิบัติงานของครูโดยตรง เช่น ผู้ปกครอง ชุมชน รวมทั้งเพื่อนครูไม่มีส่วนในการประเมินครู และ ผลการประเมินก็ไม่มีความหมายในทางให้คุณให้โทษต่อครูมากนัก ครูที่ได้รับการ คัดเลือกเป็นครูดีเด่นของโรงเรียนก็ไม่เป็นหลักประกันว่าจะได้รับการเลื่อนเงินเดือน 2 ขั้น ดังนั้น ในสภาพความเป็นจริง จึงมีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานของครูอย่างจริงจังน้อยมากและยังไม่เป็นที่ยอมรับจากครูโดยทั่วไปเท่าที่ควร ระบบการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล จึงยังไม่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาครูและพัฒนาการศึกษา

4. ชุมชนมีส่วนร่วมในการใช้ครูน้อย ปัจจุบันผู้ใช้ครูมีอำนาจและผูกขาดการคัดเลือก การใช้ การประเมินและพัฒนาครูแต่ฝ่ายเดียว ชุมชนซึ่งได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานของครูโดยตรง ไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการนี้

การคัดเลือก บรรจุ แต่งตั้งครู เป็นอำนาจตามกฎหมายของหน่วยงานส่วนกลาง คือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู และกรมเจ้าสังกัดครู กรมเจ้าสังกัดบางกรมได้กระจายอำนาจการบริหารงานบุคคลให้จังหวัดหรือสถานศึกษาในระดับหนึ่ง แต่อำนาจแต่งตั้ง โยกย้ายผู้บริหารสถานศึกษายังเป็นของส่วนกลาง การวิ่งเต้นเอาตำแหน่งโดยอาศัยอำนาจนอกระบบจึงปรากฏให้เห็นเสมอ การที่ท้องถิ่นและชุมชนไม่มีส่วนรับรู้และพิจารณาเลือกสรรบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนในท้องถิ่นของตน ทำให้การจัดการศึกษาในโรงเรียนถูกมองว่าเป็นหน้าที่ของโรงเรียนหรือรัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว ชุมชนเป็นเพียงผู้รับบริการและไม่สนใจที่จะให้ความร่วมมือในการพัฒนาการศึกษา การติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน การตรวจสอบ ประเมินผล และให้ความร่วมมือในการพัฒนาการศึกษา การพัฒนาการศึกษาจึงไม่ก้าวไกลเท่าที่ควร

นอกจากนี้ การจัดการศึกษาในปัจจุบัน สถานศึกษาดำเนินการไปตามนโยบาย และแผนจากส่วนกลาง หลักสูตร เนื้อหาสาระในการเรียนการสอนก็มาจากส่วนกลาง ชุมชนไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ครูเองก็ไม่สนใจที่จะเรียนรู้จากชุมชน และไม่นำเอาวิถีชีวิตในชุมชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน ส่งผลให้สถานศึกษาและครูแยกตัวออกจากชุมชน ทำให้ครูสอนในสิ่งที่ไม่สอดคล้องและไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชนได้ นักเรียนเมื่อเรียนจบแล้วก็ไม่ได้ทำงานในชุมชนนั้น ต้องอพยพเคลื่อนย้ายหางานทำที่อื่น ความแข็งแกร่งของชุมชนถูกทำลาย ในส่วนของครูก็ขาดความรู้เกี่ยวกับชุมชน ขาดการพัฒนาตนเอง ขาดสำนึกรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม ส่งผลให้ไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมเท่าที่ควร

3. ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการ

การพัฒนาวิชาชีพครู มีอะไรบ้าง

สาเหตุที่ทำให้การบริหารจัดการมีประสิทธิผลต่ำอาจสรุปได้ 6 ประการ ดังนี้

1. ผู้บริหารโรงเรียนมีความรู้และความสามารถทางการบริหารต่ำ จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ(2539) พบว่า ผู้บริหารโรงเรียน ส่วนใหญ่มีพื้นความรู้ระดับปริญญาตรีและปฏิบัติราชการโดยเฉลี่ย ประมาณ 20-30 ปี มีความรู้ความสามารถไม่เพียงพอในการบริหาร ผู้บริหารโรงเรียนบริหารโดยยึดความเห็นของตนเองเป็นใหญ่ ให้ครูมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนต่ำ ไม่ให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน การประชุมระหว่างผู้บริหารโรงเรียน ครู และผู้ปกครองส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะการชี้แจงข้อเท็จจริงมากกว่าการแสวงหาแนวทางการแก้ปัญหา ครู ผู้ปกครองและผู้แทนชุมชนจึงแทบไม่มีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียน ขวัญและกำลังใจของครูส่วนใหญ่จึงอยู่ในระดับต่ำ

2. ผู้บริหารโรงเรียนไม่สนใจพัฒนาตนเอง เป็นที่ทราบและยอมรับกันโดยทั่วไปว่า เส้นทางการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนขึ้นกับอำนาจสั่งการของนักการเมือง ดังนั้น แทนที่ผู้บริหารจะสนใจพัฒนาตนเองเพื่อให้การบริหารงานโรงเรียนเป็นไปเพื่อสร้างขวัญ กำลังใจกับครูในโรงเรียน หรือเพื่อพัฒนาครูและการศึกษาในโรงเรียน ผู้บริหารกลับเสียเวลาไปกับการประจบหรือทำงานให้นักการเมือง ความใส่ใจในการพัฒนาตนเองเพื่อบริหารงานในหน้าที่รับผิดชอบจึงมีน้อย และมิได้เป็นไปเพื่อการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาและบริการทางการศึกษาของโรงเรียนอย่างแท้จริง

3. ขาดระบบการตรวจสอบและประเมินผลผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล ปัญหาด้านการประเมินผลที่ผู้บริหารประสบมีลักษณะคล้ายกันกับปัญหาของครู ผู้บริหารส่วนใหญ่มีความคิดว่าการตรวจสอบและประเมิน คือ การจับผิด การตรวจสอบและประเมินผู้บริหารโรงเรียนจึงดำเนินการเฉพาะกรณีที่มีความผิดชัดเจน หรือเพื่อเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง การประเมินเพื่อปรับปรุงและพัฒนางานมีค่อนข้างจำกัด การปรับปรุงและพัฒนางานอย่างเป็นระบบในโรงเรียนจึง ไม่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด

4. ผู้ปกครอง ชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนต่ำ เนื่องจากอำนาจรัฐเข้าไปมีบทบาทในการบริหารการศึกษา และบริหารงานบุคคลในโรงเรียนค่อนข้างสูง ทั้งทำหน้าที่กำหนดบทบาทของการบริหาร และผู้ทำหน้าที่ในการบริหารโรงเรียน โดยมิได้กระจายอำนาจในส่วนนี้ให้แก่ชุมชน ส่งผลให้ผู้ปกครอง ชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนต่ำ สิ่งที่ชุมชนจะรับรู้เกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนอย่างมากที่สุด คือ การรับทราบนโยบายของโรงเรียน หรือมีส่วนร่วมโดยให้การสนับสนุนหรือช่วยเหลือโรงเรียนตามความต้องการของโรงเรียนเท่านั้น

5. ขาดทรัพยากรเพื่อการบริหารโรงเรียน ในช่วงเวลาที่ผ่านมา รัฐเป็นฝ่ายเดียวที่สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการบริหารโรงเรียน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนโรงเรียน และจำนวนครูกว่าหกแสนคนที่มีอยู่งบประมาณที่รัฐจัดสรรให้เกือบทั้งหมด จึงเป็น งบประมาณเพื่อจ่ายเป็นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของครู งบประมาณเพื่อการบริหารโรงเรียนโดยเฉพาะเพื่อให้โรงเรียนได้พัฒนาบุคลากรมีน้อยมาก นอกจากได้รับงบประมาณจากรัฐไม่เพียงพอแล้ว ในสภาพปัจจุบันโรงเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้ประสานงานเพื่อแสวงหาความร่วมมือในการระดมทรัพยากร ความเชี่ยวชาญจากชุมชน เอกชน เพื่อการบริหาร เป็นผลให้ครูในโรงเรียนไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร และการบริหารงานในโรงเรียนก็ไม่สามารถก้าวทันกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่น่าจะนำมาใช้เพื่อการบริหารจัดการ

6. ขาดสถาบันพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนระดับมืออาชีพ ปัจจุบันมีสถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษาซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ มีหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนา ผู้บริหารได้จำนวนจำกัด หลักสูตรฝึกอบรม ผู้บริหารโรงเรียนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่เข้มข้นเพียงพอที่จะทำให้ผู้บริหารกลายเป็นผู้บริหารมืออาชีพได้

เพื่อผ่อนคลายปัญหาข้างต้น โรงเรียนและหน่วยงานทางการศึกษาได้ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย กำหนดแนวทางในการแก้ปัญหา และดำเนินการแก้ปัญหาไปแล้วระดับหนึ่ง ตัวอย่างของผลการศึกษา วิจัย และแนวทางการแก้ปัญหาที่กำลังดำเนินการอยู่ และที่กำลังจะดำเนินการในอนาคตจะได้นำมากล่าวถึงในตอนต่อไป

พัฒนาวิชาชีพครู มีอะไรบ้าง

เข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ.
นำองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน.
สร้างนวัตกรรมที่ได้จากการเข้าร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ.
สร้างเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ.
สร้างวัฒนธรรมทางการเรียนรู้ในสถานศึกษา.

พัฒนาการวิชาชีพครู คืออะไร

การพัฒนาวิชาชีพครูเป็นกระบวนการเรียนรู้ของครูอย่างต่อเนื่องตามช่วงอาชีพครูเพื่อความมั่นใจ ว่าครูจะมีความรู้ ทักษะ และสมรรถนะที่จำาเป็นสำาหรับการปฏิบัติการสอนท่ามกลางการเปลื่ยนแปลง ของสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วที่มีผลกระทบต่อการเรียนรู้และการสอน บทความนี้มี ความมุ่งหมายที่จะนำาเสนอกรอบแนวคิดสำาหรับการสอน ...

การพัฒนาวิชาชีพหมายถึงอะไร

การพัฒนาวิชาชีพ หมายถึง กระบวนการพัฒนาวิชาชีพครู โดยการมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในสถานศึกษา หรือระดับเครือข่าย หรือระดับชาติ และแสดงบทบาทในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) ด้วยความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร มีวิสัยทัศน์ คุณค่า เป้าหมายและถารกิจร่วมกัน เพื่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรม ...

ทำไมถึงต้องมีการพัฒนาวิชาชีพครู

กล่าวโดยสรุป การพัฒนาครูเป็นการด าเนินงานที่พยายามจะสร้างเสริมความรู้ ทักษะ ความสามารถ ให้บังเกิดสมรรถนะที่จ าเป็นและมีความส าคัญต่อวิชาชีพ การพัฒนาครูเป็นงานที่ต้องกระท าอย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต เพราะการพัฒนาครูจะช่วยพัฒนาคุณภาพและวิธีการทางานของครูช่วยประหยัดเวลาและลดความ สูญเปล่า ท าให้รู้งานและท างานได้รวดเร็วมี ...