การ ดำรง ชีวิตของพืช ม.4 สรุป

เรื่อง  การดำรงชีวิตของพืช

            พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญต่อคนและสัตว์เป็นอย่างมาก เพราะเป็นแหล่งอาหารและอากาศซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของคนและสัตว์และยังช่วยสร้างสมดุลให้แก่ธรรมชาติ

ความหมายและการจำแนกประเภทของพืช

    พืช หมายถึง สิ่งมีชีวิตชั้นสูงที่สามารถสังเคราะห์อาหารเองได้ พืชจึงจัดเป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศ เช่น มะม่วง กุหลาบ มอส เห็ด รา แหน ฯลฯ 

    พืชสามารถแบ่งออกได้ 2 พวกใหญ่ๆ คือ พืชมีดอกและพืชไม่มีดอก 
    1. พืชมีดอก คือ พืชที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีอวัยวะส่วนต่างๆ ครบถ้วน คือ มีดอก ราก ลำต้น ใบ ผล และเมล็ด จัดเป็นพืชชั้นสูง

      ดอก คือ ส่วนที่มีองค์ประกอบของอวัยวะสืบพันธุ์และใช้ขยายพันธุ์ออกไป ได้แก่ พืชส่วนมากที่เราพบเห็นอยู่ทั่วไป เช่น มะม่วง ลำไย กุหลาบ มะลิ ถั่ว พริก ข้าว กล้วย อ้อย ข้าวโพด มะละกอ มะเขือ ฯลฯ

      • พืชบางชนิดมีดอกขนาดเล็ก เช่น จอก แหน

      • พืชบางชนิดไม่ค่อยออกดอก เช่น ตะไคร้ พลูด่าง

    2. พืชไม่มีดอก คือ พืชที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะไม่มีดอกใช้สำหรับสืบพันธุ์ เป็นพืชที่มีวิวัฒนาการต่ำกว่าพืชมีดอก มีจำนวนชนิดไม่มากเท่าพืชมีดอก เราจึงพบได้น้อยกว่าพืชมีดอก เช่น มอส เห็ด รา เฟิร์น สน ปรง แป๊ะก๊วย หวายทะนอย หญ้าถอดปล้อง (หญ้าหางม้า) ฯลฯ


            ส่วนประกอบที่สำคัญของพืชมีดอก คือ ราก ลำต้น ตา ใบ ดอก ผล และเมล็ด โดยโครงสร้างแต่ละส่วนมีความสำคัญอย่างไร เรามาศึกษาในรายละเอียดกันต่อไป

        ลักษณะของราก

  1. เจริญเติบโตตามแรงดึงดูดของโลก

  2. ไม่มีข้อ ปล้อง

  3. ส่วนมากจะมีสีขาว และสีน้ำตาลอ่อน

  4. ส่วนโคนใหญ่ ส่วนปลายเล็ก


        ส่วนประกอบของราก 

  1. หมวกราก เป็นส่วนที่อยู่ปลายสุดของราก คือ ส่วนที่มีการเจริญเติบโต และยึดตัวดันให้ปลายรากหยั่งลึกลงไปในดิน และป้องกันอันตราย

  2. รากขนอ่อน อยู่บริเวณผิวของราก ทำหน้าที่ดูดอาหาร ได้แก่ น้ำ และสารอาหารของพืชที่เราเรียกว่า ปุ๋ย ซึ่งสารที่รากดูดจะต้องละลายในน้ำก่อนที่จะส่งขึ้นสู่ลำต้น


        จำแนกประเภทของราก 

            จำแนกตามตำแหน่งการเกิด ได้ดังนี้ 
      1. รากแก้ว เป็นรากที่มีขนาดใหญ่ มีลักษณะตอนโคนโต แล้วค่อยเรียวเล็กลงไปจนถึงตอนปลาย

        พืชใบเลี้ยงคู่ จะมีรากแก้ว เป็นรากที่งอกออกจากเมล็ด มีลักษณะใหญ่กว่ารากอื่นๆ รากที่แตกออกจากรากแก้ว เรียกว่า รากแขนง และรากฝอย ตามลำดับ เช่น ต้น มะม่วง มะขาม 
        ชมพู่ เงาะ ฯลฯ

      2. รากแขนง เป็นรากที่เจริญโตแตกออกมาจากรากแก้ว และแตกแขนงออกเป็นทอดๆ
      3. รากฝอย เป็นรากเส้นเล็กๆ ที่มีขนาดเท่าๆ กัน งอกเป็นกระจุก

        พืชใบเลี้ยงเดี่ยว จะมีเฉพาะรากฝอย เช่น พืชจำพวก หญ้า ไผ่ ข้าว ข้าวโพด มะพร้าว ฯลฯ

วิดีโอ YouTube


การ ดำรง ชีวิตของพืช ม.4 สรุป

เฉลยตรวจสอบความรู้ก่อนเรียน

ให้นักเรียนใส่เครื่องหมายถูก ( ) หรือ ผิด ( ) หน้าข้อความตามความเข้าใจของ

นักเรียน

1. การสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นกระบวนการที่สามารถนำ�พลังงานแสงมาเปลี่ยนเป็น

พลังงานเคมีเพื่อใช้ในการดำ�รงชีวิตของพืช

2. พืชต้องการ น้ำ� ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และแสง เพื่อใช้ในกระบวนการ

สังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งเกิดขึ้นในคลอโรพลาสต์

3. พืชลำ�เลียงน้ำ�และธาตุอาหารผ่านโฟลเอ็ม เพื่อใช้ในกระบวนการต่าง ๆ รวมทั้ง

กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง จากนั้นจะลำ�เลียงน้ำ�ตาลที่ได้จากกระบวนการ

สังเคราะห์ด้วยแสงผ่านไซเล็มเพื่อไปใช้ที่ส่วนต่าง ๆ ของพืช

4. น้ำ�ตาลที่พืชสร้างขึ้นบางส่วนจะนำ�ไปสังเคราะห์เป็นสารอินทรีย์หลายชนิด เช่น

คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน

5. พืชต้องการน้ำ�และแสงในการดำ�รงชีวิต นอกจากนี้ยังต้องการธาตุอาหารชนิดต่าง ๆ

ในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน เพื่อให้เจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 3 | การดำ�รงชีวิตของพืช

72

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ