สรุปดนตรีในวัฒนธรรมต่างประเทศ

ดนตรีในวัฒนธรรมจีน

1. ดนตรีในวัฒนธรรมจีน
จีนเป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างใหญ่มากทำให้มีภาษาถิ่นเยอะแยะมากมายแตกต่างกันไป และดนตรีในแต่ละท้องถิ่นก็มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก 

ชาวจีนแบ่งประเภทของเครื่องดนตรีตามลักษณะของวัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรีนั้นๆ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 8 ประเภทได้ดังนี้
1. ไม้  2. หนัง  3.ไม้ไผ่ 4.โลหะ  5.น้ำเต้า  6.น้ำเต้า  7.ดิน  8.เส้นไหม

เครื่องดนตรีในวัฒนธรรมจีน

1. กู่เจิง เป็นเครื่องสาย ใช้วิธีดีดในการบรรเลง เป็นเครื่องดนตรีโบราณของจีน มีประวัติยาวนานประมาน2500ปี
  

สรุปดนตรีในวัฒนธรรมต่างประเทศ

2. ขลุ่ยจีน เป็นเครื่องดนตรีที่ทำจากไม้ไผ่ แม้จะเป็นเครื่องดนตรีที่ดูเหมืนขลุ่ยทั่วไป แต่มีความเป็นมามากถึง7000 ปี รูปลักษณ์และวิธีการบรรเลงต่างจากขลุ่ยไทย ในสมัยก่อนขลุ่ยทำมาจากกระดูกสัตว์ ต่อมาได้นำไม้ไผ่มาทำขลุ่ยแทน และมีวิวัฒนาการต่อไปเรื่อยๆนำวัสดุอื่นๆมาทำขลุ่ย เช่น ขลุ่ยหยก ขลุ่ยเซรามิค ขลุ่ยแก้ว เป็นต้น

สรุปดนตรีในวัฒนธรรมต่างประเทศ

3.เอ้อหู เป็นเครื่องสาย มีลักษณะคล้ายซอ มช้คันชักสีเพื่อทำให้เกิดเสียง 

สรุปดนตรีในวัฒนธรรมต่างประเทศ

4. ผีผา

ผีผา มีลำตัวยาวรีคล้ายลูกสาลี่ผ่าซีก มีคันทวนยาว ซึ่งมีทั้งคันทวนตรง และคันทวนงอน มีหลายขนาด โดยมีสายทำด้วยไนล่อน 4 – 5 สาย ด้านบนลำตัวมีผิ่นที่ทำด้วยไม้ อยู่ใต้สายของผีผา ประมาณ 9-13 อัน สำหรับรับนิ้วเวลากดสาย คล้ายกับซึงของไทย

สรุปดนตรีในวัฒนธรรมต่างประเทศ

5. แคนจีน เครื่องดนตรีที่ใช้วิธีการเป่าในการบรรเลง ททำจากไม้ไผ่ มีประวัติยาวนานกว่า2400 ปี 

6. เปียนจง เครื่องดนตรีมีลักษณะคล้ายระฆังราว ทำจากโลหะ ใช้วิธีการตีเพื่อทำให้เกิดเสียง

สรุปดนตรีในวัฒนธรรมต่างประเทศ


ดนตรีในวัฒนธรรมพม่า

สรุปดนตรีในวัฒนธรรมต่างประเทศ

           ดนตรีในวัฒนธรรมพม่า ประเทศพม่ามีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมาก เพราะประกอบไปด้วยวัฒนธรรมพม่า มอญ กะเหรี่ยง ไทยใหญ่ รวมทั้งกลุ่มวัฒนธรรมชาติอื่นๆ มมีทั้งดนตรีแบบแผนพระราชสำนัก ดนตรีราษฎร บรรเลงประกอบพิธีทางศาสนาและ บรรเลงเพื่อความบันเทิง 

สรุปดนตรีในวัฒนธรรมต่างประเทศ

ซายวาย สามารถเรียกได้ทั้ง 2 อย่าง 1. เครื่องดนตรีคือ เปิงมางคอก 2. วงดนตรีซายวาย คือวงดนตรีเปิงมาง และอาจเรียกวงปี่พาทย์ชนิดนี้ว่า ปัตซาย ส่วนตัวเปิงมางคอกนั้น จะเรียกว่า ปัตวาย 

ซายวายเป็นวงดนตรีประจำชาติของพม่า ที่ใช้ในงานพิธีและงานบันเทิง มีเล่นทั้งในงานหลวง งานวัด และงานราษฎร์ ปัจจุบันพม่ายังคงมีความนิยมนำวงซายวายมาเล่นในงานพิธีต่างๆ เช่น งานบวช งานเจาะหู งานทรงเจ้า งานรับปริญญา และงานต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง

สรุปดนตรีในวัฒนธรรมต่างประเทศ


จีวาย (Kyiwaing)

         จีวาย เป็นเครื่องดนตรีประเภทเดียวกันกับฆ้องวงของไทยเพียงแต่ร้านฆ้องทำด้วยไม้ปิดทองประดับกระจกเช่นเดียวกับ มองวาย จีวายชุดหนึ่งมี21 ลูก ใช้บรรเลงทำนองเพลง ฆ้องวงพม่าเรียงลูกฆ้องตามแนวนอนเช่นเดียวกับฆ้องไทย แต่ฆ้องมอญเรียงตามแนวนอนและตั้งขึ้นทั้งสองข้างคล้ายตัว U ภาษาท้องถิ่นเรียก จีวาย ว่า จีนอง ก็มี

สรุปดนตรีในวัฒนธรรมต่างประเทศ

มองซาย (Maung zaing)

            มองซาย คือ ฆ้องรางชุด เป็นเครื่องดนตรีที่ประกอบด้วยฆ้องปุ่มขนาดต่างๆ กัน แขวนไว้ รางที่เป็นกรอบไม้ตรงๆรูปสี่เหลี่ยมไม่มีการประดับตกแต่งอย่างจีวาย หรือ มองซาย มีลูกฆ้องทั้งสิ้น 18–19 ลูก เรียงกันเป็น 5 แถว ลูกฆ้องของมองซาย มีขนาดใหญ่กว่า จีวาย รางฆ้องจะวางราบกับพื้น ยกเว้นกรอบที่บรรจุฆ้องลูกใหญ่ชุดที่เสียงต่ำที่สุดจะวางพิงไว้กับ จีวาย เมื่อออกแสดง มองซายเป็นเครื่องดนตรีที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ในราวปี 1920 – 1930

สรุปดนตรีในวัฒนธรรมต่างประเทศ

ซองเกาะ

ซองเกาะ มีลักษณะเป็นพิณที่มีคอโค้งงอยาวสวยงามเหมือนกับคันธนู และมีฐานที่ทอดนอนลงไปไว้สำหรับการวางเล่นบนหน้าตัก สายของพิณซึ่งอาจจะทำจากเส้นไนลอนหรือเอ็นจะถูกขึงจากส่วนคอหรือส่วนที่เหมือนคันธนูของตัวพิณไปยังส่วนตัวพิณ เป็นการขึงแบบขึงทแยง ปลายของสายทุกเส้นมักจะมีการประดับตัวสายด้วยพู่สีแดง เพิ่มความสวยงามและสื่อถึงความสูงศักดิ์ให้แก่ตัวพิณ ซองเกาะมีขนาดมาตรฐานคือยาว 80 เซนติเมตร กว้างและลึก 16 เซนติเมตร ความสูงประมาณ 60 เซนติเมตร

วงดนตรีพม่า


ดนตรีในวัฒนธรรมเวียดนาม

เครื่องดนตรีของเวียดนามนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วจะประกอบด้วยเครื่องดนตรี 5 ชิ้น คือ    nhi , tranh , nguyet , ty และtam  เรียกว่าการรวมตัวของเครื่องดนตรี 5 ชิ้น ที่สมบูรณ์แบบ เครื่องดนตรีเหล่านี้อาจจะดูเป็นองค์ประกอบที่ธรรมดาแต่กลับสามารถถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างจับใจผู้ฟัง

Nhi หรือ dan nhi เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย (เครื่องสี) เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายเครื่องดนตรีจีนคือ erhu และคล้ายซอด้วงของไทยมีเสียงสูงต่ำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะและมีเสียงที่มีความชัดเจน  nhi ประกอบด้วยสาย 2 สาย ขึงบนกล่องเสียงที่มีลักษณะยาว  สาย 2 สายนี้ทำมาจากไหมถัก และที่หุ้มกล่องเสียงนั้นทำมาจากหนังงู แต่ในปัจจุบันนั้นเครื่องสายแบบนี้จะทำมาจากลวดและกล่องเสียงไม้  เวลาเล่นจะวางไว้บนเข่าของนักดนตรี

Dan tranh เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย (เครื่องดีด) เป็นเครื่องสายที่มีลักษณะคล้ายพิณซึ่งมี 16 สายและยาวประมาณ 40 นิ้วหรือ ประมาณ 100 เซนติเมตร ใช้ทั้งเป็นเครื่องดนตรีเล่นเดี่ยวและเล่นเป็นวง เครื่องดนตรีชนิดนี้ประดิษฐ์ขึ้นโดยจักรพรรดิ Phuc Hi ของจีน ในปัจจุบัน dan tranh เป็นเครื่องดนตรีที่นิยมกันอย่างแพร่หลายและเป็นเครื่องดนตรีที่นักเรียนหญิงชาวเวียดนามเลือกเรียน

Kim หรือ dan nguyet เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย (เครื่องดีด) มีลักษณะคล้ายกีตาร์ค่อนข้างยาว  มีวิธีการจับเหมือนกีตาร์ ประกอบด้วยสาย 2 สาย มีเสียงที่นุ่มนวล

เครื่องเป่า ได้แก่ ปี่ และ ขลุ่ยเวียดนาม สำหรับปี่นั้นมีลักษณะคล้ายปี่ชวาของไทย ให้เสียงแหลมเล็ก สำหรับขลุ่ยเวียดนามนั้นมีลักษณะคล้ายขลุ่ยจีน มีรูให้เสียง 6 รู มีรูเป่าอยู่ด้านข้างของขลุ่ยคล้ายฟลูท ความยาวประมาณ 70 เซนติเมตร ให้เสียงแหลมเล็กรวมถึงนุ่มนวลอีกทั้งสามารถทำเลียนเสียงของนกได้ด้วย

 dan bau เป็นดนตรีอีกอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก เป็นพิณน้ำเต้าสายเดี่ยวแบบโบราณ เสียงของ dan bau นี้มีเสน่ห์มากจนกระทั่งมีคำกล่าวที่ว่า ให้ผู้หญิงระวังผู้ชายที่เล่น dan bau ให้ดีเพราะมิเช่นนั้นแล้วอาจจะตกหลุมรักนักดนตรีโดยไม่รู้ตัว

เครื่องดนตรีประเภทประกอบเครื่องประกอบจังหวะ มีทั้งที่ทำจาก เครื่องหนัง โลหะ ไม้ กระเบื้อง เป็นต้น เช่น กลอง จากภาพมีลักษณะภาพรวมคล้ายกลองชุด มีส่วนประกอบทั้งที่ทำจากหนังสัตว์ในส่วนของหน้ากลอง ที่ทำจากโลหะในส่วนของฉาบ และที่ทำจากไม้ การตีกลองของเวียดนามนั้นมีลักษณะเฉพาะตามลักษณะชุดการแสดงและเพลงที่บรรเลงนั้น ๆ นอกจากนี้ยังมีเครื่องประกอบจังหวะอื่น ๆ ที่ทำจากกระเบื้องให้เสียงแหลมเล็ก และที่ทำจากไม้มีลักษณะหน้าที่การบรรเลงคล้ายกรับ แต่มีลูกเล่นแพรวพราว

วงดนตรีเวียดนาม

.

ดนตรีในวัฒนธรรมอินเดีย

มรดกทางวัฒนธรรมของดนตรีอินเดีย แบ่งออกได้เป็น 2 ฝ่าย คือ ดนตรีประจำชาติฝ่ายฮินดู และฝ่ายมุสลิม 

-มุสลิมจะอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ

-อิทธิพลของดนตรีฮินดูจะอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ

-สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็ได้ชาวอินเดียจะใช้เสียงดนตรีเป็นสื่อติดต่อกับพระเจ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่ตนเองเคารพนับถืออยู่

ระบบเสียง

ดนตรีอินเดีย การจัดระบบเสียงที่มีลักษณะเฉพาะอย่างเป็นระบบ เป็นหมวดหมู่เช่นเดียวกับดนตรีตะวันตกมีโน้ตเต็มเสียง 7 โน้ต โน้ตเพี้ยนเสียงสูงและเพี้ยนต่ำ 5 เสียง บันไดเสียงต่าง ๆ และที่เป็นลักษณะเด่นของดนตรีอินเดีย คือ การนำเสียงในแต่ละบันไดเสียงมาจัดเป็นกลุ่มเสียงเพื่อนำมาใช้บรรเลงในเวลาที่กำหนดการจัดระบบชุดเสียงจากบันไดเสียงหลักนี้จะเรียกว่า ราคะ (Raga) 

โน้ตเสียงเต็มในดนตรีอินเดีย เรียกว่า สุทธะ สวระ มีทั้งหมด 7 โน้ต คือ สา (sa) รี (re) กา (ga) มา (ma) ปา (pa) ธา (dha) และนี (ni) ซึ่งโน้ตทั้ง 7 นี้ เชื่อว่าเกิดจากการเลียนแบบเสียงร้องของสัตว์ชนิดต่าง ๆ ดังนี้
 สา(sa) เกิดจากเสียงร้องของนกยูง
 รี(re) เกิดจากเสียงร้องของนกชาดก
 กา(ga) เกิดจากเสียงร้องของแพะ
 มา(ma) เกิดจากเสียงร้องของนกยาง
 ปา(pa)เกิดจากเสียงเสียงร้องของนกกาเหว่า
 ธา(dha)เกิดจากเสียงร้องของกบในฤดูฝน
 นี(ni)เกิดจากเสียงร้องของช้าง

เมื่อนำโน้ตเต็มเสียงของอินเดีย ทั้ง 7 โน้ตมาเปรียบเทียบกับโน้ตดนตรีตะวันตก จะได้ ดังนี้
  สา ตรงกับโน้ต C
 รี ตรงกับโน้ต D
 กาตรงกับโน้ต E
 มาตรงกับโน้ตF
 ปาตรงกับโน้ตG
 ธาตรงกับโน้ตA
นีตรงกับโน้ต B

ราคะ (Raga)

              ราคะ คือ ชุดของเสียงดนตรีที่เลือกมาจากบันไดเสียงถาตะ บันไดเสียงใดบันไดเสียงหนึ่ง จำนวนอย่างน้อย 5 เสียง นำมาจัดระเบียบเรียงไว้เป็นชุด ๆ มีทั้งเสียงขาขึ้นและขาลงเหมือนอย่างดนตรีตะวันตก ราคะแต่ละชุด จะต้องนำไปใช้บรรเลงในเวลาที่กำหนดไว้ ทั้งนี้เพราะชาวอินเดียเชื่อว่าการประกอบกิจกรรมใด ๆ จะต้องทำให้เหมาะสมกับกาลเวลา ถ้าทำถูกกาลเวลาพระผู้เป็นเจ้าจะประทานพรให้ ดลบันดาลแต่สิ่งที่ดี ๆ ให้ แต่ถ้าทำไม่ถูกกาลเวลา พระผู้เป็นเจ้าจะดลบันดาลให้พบกับเคราะห์ร้ายนานาประการ บันไดเสียง 1 บันไดเสียง สามารถนำเสียงต่าง ๆ มาจัดเรียงให้เป็นราคะได้มากกว่า 1 ราค
 ตัวอย่างราคะ
 1. ลลิตา ราคะ
 C  Db  E  F  F#  A  B  C
เวลาบรรเลง : เช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น
 2. โยกียะ ราคะ
 C  Db  F  G  Ab  C
 เวลาบรรเลง : หลังพระอาทิตย์ขึ้น
 3. พระบาท ราคะ
 C  D  E  F  G  Ab  B  C
 เวลาบรรเลง : สามชั่วโมงแรกหลังจากพระอาทิตย์ขึ้น
 4. สารังคะ  ราคะ
 C  D  F  G  Bb  C
เวลาบรรเลง :  เที่ยงวัน
 5. พิมพะลาศรี  ราคะ
 C  Eb  F  G  Bb  C
 เวลาบรรเลง :หลังจากสามโมงเย็น
 6. มาระวา  ราคะ
 C  Db  E  F#  A  B  C
 เวลาบรรเลง :ก่อนพระอาทิตย์ตกดิน
 7.  บิฮ้าก  ราคะ
 C  E  F (F#)  G  B  C
 เวลาบรรเลง :เวลาเที่ยงคืน

เครื่องดนตรีอินเดีย

 

ซีต้าร์
สายซีตาร์ 20 สายทำด้วยโลหะ สายจำนวน 7 สายวางพาดบนนมโลหะ ใช้ดีดเป็นทำนองเพลง 5 สายและดีดเสียงโตนิดอีก 2 สาย ส่วนที่เหลืออีก 13 สาย ทำเป็นสายผลิตเสียงซ้อน (Sympathetic Strings) ในปัจจุบันซีตาร์เป็นเครื่องดนตรีของอินเดียที่มีชาวต่างชาติให้ความสนใจฝึกหัดมาก


Tabla (ทาบลา)
ประกอบด้วยกลอง 2 ตัว ตัวเสียงสูงเรียกว่า ดายัน ตัวใหญ่ เสียงต่ำกว่าเรียกว่า บายัน
วัสดุที่ใช้ทำกลอง มีทั้งไม้(ปกติดายันจะใช้ไม้) เหล็กกล้า(ในภาพ) อลูมิเนียม ทองแดง ไม้ ดินเผา ขึงด้วยหนังวัวหรือแพะ กลองสองตัวนี้ผลิตเสียงได้ไม่ต่ำกว่า 6 เสียง ซึ่งจะมีชื่อเรียกเสียง เช่น น่า ติ้น ด้า ดิ้น เก เค ฯลฯ (เทียบกับกลองไทยได้ประมาณ 4เสียง ได้แก่ ติง โจ๊ะ จ๊ะ ทั่ม)

วงดนตรีอินเดีย

ดนตรีในวัฒนธรรมอินโดนิเซีย

 

ดนตรีของอินโดนีเซียที่เป็นที่รู้จักของชาวโลก คือ ดนตรีกาเมลัน(Gamelan Music) เป็นวงที่ประกอบด้วยเครื่องที่ทำด้วยโลหะชนิดต่าง ๆ ทั้งเหล็ก ทองเหลือง และสำริด เป็นหลัก เครื่องตีในวงกาเมลันส่วนหนึ่งมีรูปร่างคล้ายฆ้องวงของไทย แต่มีขนาดใหญ่กว่ามีชื่อเรียกต่างกันไป อีกส่วนหนึ่งก็คล้ายกับระนาดเหล็กของไทย แตกต่างกันที่จำนวนของลูกระนาดและลักษณะของรางที่นำมาใช้วางลูกระนาด การเล่นดนตรีการเมลันเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอินโดนีเซีย เสียงดนตรีกาเมลันจะได้ยินทั้งในโรงเรียน ในวัด ในวัง และสถานีวิทยุกระจายเสียง โอกาสที่จะบรรเลงก็แตกต่างกันไป มีทั้งบรรเลงในพิธีศักดิ์สิทธิ์ บรรเลง ในงานรื่นเริง บรรเลงรับและส่งเจ้านาย บรรเลงการประกอบการแสดงต่าง ๆ

วงดนตรีอินโดนิเซีย


ดนตรีในวัฒนธรรมกรีก

อารยธรรมโบราณทางภาคพื้น ยุโรปตะวันออก เกิดทีหลังภาคพื้นเอเชียตะวันออกซึ่งเกิดขึ้นก่อนคริสต์ศักราช 3,000 ปี ความเจริญในศิลปวัฒนธรรมของยุโรปตะวันออกเกิดขึ้นเมื่อ1,000ปีก่อนคริสต์ศักราช ความเจริญดังกล่าว สูงสุดอยู่ที่ประเทศกรีกซึ่งยกย่องดนตรีเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์สามารถใช้ในการชำระล้างบาป  และมลทินทางใจได้สามารถรักษาบำบัดโรคภัยไข้เจ็บได้ นอกจากนี้ดนตรียังได้รับการยกย่องเป็นศิลปะชั้นสูงควรแก่การศึกษาวัฒนธรรมตะวันตกถูกผูกติดอยู่กับชาวกรีกโบราณและชาวโรมันอย่างปฎิเสธไม่ได้ความสมบูรณ์ความยอดเยี่ยมของความสวยงามและศิลปะมีต้นกำเนิดจากกรีก รวมทั้งทางปรัชญาของกรีก
ประวัติของดนตรีกรีกโบราณตั้งแต่เริ่มต้นถึง 330 ปี ก่อนคริสต์กาล(330 B.C;) เมื่อ วัฒนธรรมของกรีกแยกเป็น 2 สาย กล่าวคือ
สายที่ 1 ทางตะวันออก (Alexander the Great) และสายที่ 2 ทางตะวันตก (ตามชาวโรมัน) นอกจากนี้ดนตรีกรีก
ยังแบ่งออกเป็นยุดต่าง ๆ ได้ดังนี้

1. Mythical Period จากเริ่มต้นถึง 1,000 ปี ก่อนคริสต์กาล (1,000 B.C.) ในสมัยนี้ได้
สูญหายไปในความลึกลับของศาสตร์แห่งเทพนิยายกรีก
ดนตรีประเภทนี้ใช้ประกอบพิธีกรรมของลัทธิเทพเจ้าอพอลโล (Apollo) ผู้เป็นเจ้าแห่งแสงสว่าง ซึ่งรวมถึงความมีเหตุผลและวินัยถือความถูกต้องชัดเจนและการดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง เครื่องดนตรีที่ใช้ คือ พิณไลร่า (Lyre)

ส่วนพิธีกรรมของเทพเจ้าไดโอนีซัส (Dionysus) นั้นถือว่าเป็นไปในทางตรงกันข้ามคือสื่อถึงความป่าเถื่อนอึกทึกครึกโครม สนุกสนาน ความลึกลับ และความมืด

เทพนิยายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีคือ บรรดาเทพ 9 องค์ เป็นธิดาของเทพเจ้าซีอุส ซึ่งเป็นเทพประจำสรรพวิทยาและศาสตร์แต่ละชนิด

2. Homeric Period 1,000 – 700 (B.C) โฮเมอร์ (Homer) เป็นผู้ก่อตั้งสมัยนี้ และในสมัยนี้มีบทร้อยกรอง ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชนชาติ เกิดขึ้นจากการเดินทางผจญภัยของโฮเมอร์ ต่อมาบทร้อยกรองหรือ มหากาพย์ของโฮเมอร์ ได้กลายเป็นวรรณคดีสำคัญซึ่งชาวกรีกนำมาขับร้อง ผู้ที่ขับร้องมหากาพย์จะดีดพิณ
ไลร่า (Lyra) คลอการขับร้อง ลักษณะการขับร้องนี้เรียกว่าบาดส์ (Bards) ศิลปินเหล่านี้พำนักอยู่ตามคฤหาสน์ของขุนนางถือเป็นนักดนตรีอาชีพ ขับกล่อมบทมหากาพย์โดยใช้ทำนองโบราณซึ่งเป็นท่อนสั้น ๆ แต่มีการแปรทำนองหลายแบบ นอกจากนี้ยังมีดนตรีพื้นเมือง (Folk songs) ซึ่งมีลักษณะเป็นเพลงของพวกเลี้ยงแกะที่เป่า Panpipes (เครื่องดนตรีชนิดหนึ่งคล้ายแคน) เพื่อกล่อมฝูงแกะและยังมีดนตรีของชาวเมืองในลักษณะของ คณะนักร้อง (Chorus) ขับร้องเพลงในพิธีทางศาสนาต่าง ๆ เช่น พิธีแต่งงาน พิธีศพ ฯลฯ หรือในโอกาสต่าง ๆเช่นในงานฉลองชัยชนะเป็นต้นคณะนักร้องสมัครเล่นเหล่านี้มักจะจ้างพวกบาดส์ให้มาดีดคีธารา (Kithara) คลอประกอบ
3. Archaic Period 700-550 B.C.
ศิลปะส่วนใหญ่มีการเริ่มต้นขั้นพื้นฐานในช่วงสมัยนี้และได้มีการพัฒนาขึ้นในสมัยคลาสสิกเกิดความนิยมรูปแบบกวีนิพนธ์ที่เรียกว่า “ลีริก” (Lyric) และการแสดงออกจากการระบายอารมณ์ในใจของกวี (Music expressing sentiments)ไม่ว่าจะเป็นความยินดี หรือ ความทุกข์ระทมอันเกิดจากความรัก ความชัง ความชื่นชมต่อความงามของฤดูใบไม้ผลิ ความประทับใจในความงามของค่ำคืนในฤดูร้อนหรือความสำนึกส่วนตัวของกวีที่มีต่อสังคม ต่อชาติรวมความแล้วกวีนิพนธ์แบบลีริก (Lyric) นี้เอื้อให้กวีได้แสดงความรู้สึกส่วนตนได้อย่างเต็มที่
การร้องเพลงประกอบระบำที่เรียกว่าไดธีแรมบ์ (Dithyramb) เป็นเพลงที่ใช้บวงสรวงและเฉลิมฉลองให้แก่เทพเจ้าไดโอนิซุสซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์เป็นการขับร้องเพลงประสานเสียง ที่มีต้นกำเนิดโดยนักร้องชาย 12 คน ต่อมาได้มีการพัฒนาปรับปรุงโดย Arion ได้เพิ่มจำนวนนักร้องเป็น 50 คนและกำหนดให้มีนักร้องนำ 1 คน

4. Classical Period 550-440 B.C.
โชไรเลส (Choeriles) พีนีซุส (Phrynichus)พาตินุส (Pratinas) และเธสพิส (Thespis)ได้พัฒนาการร้องเพลงประกอบระบำที่เรียกว่าไดธีแรมบ์ (Dithyramb) กล่าวคือได้มีการร้องเพลงโต้ตอบกับกลุ่มคอรัสทำให้การแสดงกลายรูปเป็นในลักษณะการสนทนาโต้ตอบกัน แทนที่จะเป็นการเล่าเรื่องโดยการบรรยายอยู่ฝ่ายเดียว พวกเขายังช่วยสร้างให้เกิดวัฒนธรรมของกรีกโบราณคือ การละคร (Drama) เป็นรูปแบบการแสดงที่มีการผสมผสานศิลปะการเต้นรำและดนตรีเข้าด้วยกันได้อย่างสมดุลย์

ในสมัยนี้ได้มีการสร้างโรงละครกลางแจ้ง ตั้งอยู่ระหว่างซอกเขาที่มีเนินลาดโอบล้อมอยู่สามด้านเป็นอัฒจันทร์ที่นั่งคนดูซึ่งจุคนได้เป็นจำนวนมากและยังเห็นการแสดงได้ชัดเจนไม่มีการบังกัน อัฒจันทร์คนดูนี้เซาะเป็นขั้นบันไดสูงขึ้นไปตามไหล่เขาที่ลาดชันโดยโอบล้อมบริเวณที่ใช้แสดงเป็นพื้นที่ราบอยู่ต่ำลงไปเป็นรูปวงกลมหรือครึ่งวงกลม ซึ่งเรียกบริเวณว่า  ออร์เคสตรา (Orchestra) ใช้เป็นที่แสดงของพวกคอรัสซึ่งยังคงความนิยมติดมากับการแสดง

5. Hellinistic Period 440-330 B.C.
ลักษณะของการละครสมัยนี้เริ่มไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากว่ามีการพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ เข้ามาซึ่งเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการละคร ในสมัยนี้ศิลปะและบทประพันธ์ร้อยกรองต่าง ๆ มีการพัฒนาแยกออกจากดนตรีมีนักปราชญ์ทางดนตรีหลายคนการค้นพบกฎพื้นฐานของเสียงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาและคณิตศาสตร์ ซึ่งนักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์นามกระเดื่องของกรีกคือ ไพธากอรัส (Pythagoras) เป็นผู้วาง กฎเกณฑ์ไว้โดยการทดลองเกี่ยวกับการสั่นสะเทือนของเสียงจากความสั้น - ยาวของสายที่ขึงไว้ ไพธากอรัสค้นพบวิธีที่จะสร้างระยะขั้นคู่เสียงต่าง ๆ รวมทั้งระยะขั้นคู่ 8 ซึ่งเป็นหลักที่สำคัญของบันไดเสียงของดนตรีตะวันตก นักคิดรุ่นต่อ ๆ มาได้พัฒนาทฤษฎีดนตรีของกรีกจนได้เป็นระบบที่สลับซับซ้อนที่รู้จักกันในนามของโมด (Mode) ซึ่งได้แก่บันไดเสียงทางดนตรีที่ใช้ในการชักจูงให้ผู้ฟังมีความรู้สึกต่าง ๆ กันออกไป บันไดเสียงเหล่านี้จึงมีการใช้ในการสร้างสรรค์ดนตรีเฉพาะตามกรณี จากโมดนี้เองชนชาติกรีกได้พัฒนาหลักการของอีธอส (Doctrine of ethos) ซึ่งเป็นความเชื่อในเรื่องของพลังแห่งสัจธรรมของดนตรีโดยกล่าวไว้ว่าพลังของดนตรีมีผลเกี่ยวเนื่องกับการแสดงออกถึงความชื่นชอบหรือความขัดแย้งกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ดนตรีเกี่ยวข้องกับความดีและความชั่วร้าย โดยทั่วไปโมดสามารถจัดได้เป็นสองจำพวกคือ โมดที่สื่อถึงความเงียบสงบ มีระเบียบ ใช้กับพิธีกรรมของเทพเจ้าอพอลโลและโมดที่สื่อถึงความป่าเถื่อนอึกทึกครึกโครมใช้กับพิธีกรรมของเทพเจ้าไดโอนีซัส ผลสะท้อนของแนวคิดที่กล่าวถึงนี้ทำให้ดนตรีของกรีกมีทั้งการแสดงออกถึงความซับซ้อนของท่วงทำนองจากการบรรเลงของเครื่องดนตรีล้วน ๆ ในการแสดงเพื่อการแข่งขันหรือในงานฉลองต่าง ๆ และดนตรีที่แสดงออกถึงรูปแบบที่มีมาตรฐานซึ่งสัมพันธ์กับการบรรยายเรื่องราวตำนานของวีรบุรุษและการศึกษาสำหรับพวกสังคมชั้นสูงที่เต็มไปด้วยปรัชญาอันลึกซึ้งในหนังสือ Poetics นั้น อริสโตเติล (Aristotle) ได้อธิบายว่าดนตรีมีอำนาจเหนือจิตใจมนุษย์อย่างไรบ้าง เขากล่าวว่าดนตรีเลียนแบบอารมณ์ต่าง ๆ ของมนุษย์ ฉะนั้นเมื่อมนุษย์ได้ยินดนตรีซึ่งเลียนแบบอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ก็จะเกิดมีความรู้สึกคล้อยตามไปด้วยทฤษฎีดนตรีกรีก
ของ Aristoxenus กลายเป็นพื้นฐานสำคัญของทฤษฎีดนตรีในปัจจุบันโดยได้เสนอผลงานระบบเสียงที่เรียกว่า เตตราคอร์ด (Tetrachord) 3 ชนิด คือ Diatonic, Chromatic, และ Enharmonic โดยเสียงที่อยู่ภายในคู่ 4 เพอร์เฟคจะถูกเรียกว่า Shade ดังตัวอย่าง

ถ้าได้ยินดนตรีที่กระตุ้นอารมณ์ที่ทำให้จิตใจต่ำบ่อย ๆ เข้าก็ทำให้เขาพลอยมีจิตใจต่ำ
ไปด้วยตรงกันข้ามถ้ามีโอกาสได้ฟังดนตรีที่ช่วยยกระดับจิตใจก็จะทำให้ผู้นั้นเป็นคนที่มีจิตใจสูง
ดังนั้น เปลโตและอริสโตเติล มีความคิดเห็นตรงกันในข้อที่ว่าหลักสูตรการศึกษาควรประกอบ
ด้วยวิชากีฬาและดนตรีที่ถูกต้อง เพื่อเป็นการฝึกทั้งร่างกายและจิตใจ เปลโตสอนว่า “การเรียน
ดนตรีอย่างเดียวทำให้อ่อนแอและเป็นคนมีปัญหา การเรียนกีฬาอย่างเดียวทำให้เป็นคนที่อารมณ์
ก้าวร้าวและไม่ฉลาด” ยิ่งกว่านั้นเปลโตยังได้กำหนดไว้ว่า “ดนตรีที่เหมาะสมสำหรับการศึกษา
ไม่ควรมีลีลาที่ทำให้อารมณ์อ่อนไหวควรใช้ทำนองที่มีลีลาดอเรียน(Dorian)และฟรีเจียน (Phrygian)”

บันไดเสียงทั้งสองข้างต้นทำให้เกิดอารมณ์กล้าหาญและสุภาพเรียบร้อย เปลโตเชื่อว่า
ดนตรีมีอำนาจในการที่จะเปลี่ยนนิสัยของมนุษย์จนกระทั่งในบางกรณีสามารถรักษาโรค
ให้หายได้นี่คือทฤษฎีอีธอส (Ethos) ของดนตรี เปลโตยังเคยกล่าวไว้ว่า
“จะให้ใครเป็นผู้เขียนกฎหมายก็แล้วแต่ ขอให้ข้าพเจ้าได้เป็นผู้แต่งเพลงประจำชาติก็แล้วกัน”
นี่หมายถึงว่า กฎหมายเพียงแต่กำหนดขอบเขตความประพฤติของคนจากภายนอก
แต่อีธอสของดนตรีสามารถเข้าถึงจิตใจมนุษย์ และคุมนิสัยจากภายในได้
จากการศึกษาหลักฐานต่าง ๆ สรุปได้ว่าดนตรีกรีกน่าจะเป็นดนตรีเน้นเสียงแนวเดียว
(Monophonic music) กล่าวคือเน้นเฉพาะแนวทำนองโดยไม่มีแนวประสานเสียง
ทำให้โครงสร้างของทำนองมีความสลับซับซ้อน ระยะขั้นคู่เสียงที่ใช้จะห่างกันน้อยกว่าครึ่งเสียง
ได้ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่าไมโครโทน (Microtones) ดนตรีกรีกมีหลายรูปแบบ นับตั้งแต่ดนตรีที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีล้วน ๆ ไม่มีการร้องไปจนถึงการร้องบทกวีแต่รูปแบบที่นับว่าสำคัญ
ได้แก่ การร้องหมู่ ซึ่งพบได้ในละครของกรีก ในระยะแรกการร้องหมู่ใช้ในการสรรเสริญพระเจ้า
และวีรบุรุษซึ่งมักมีการเต้นรำประกอบเพลงร้องด้วย