อารยธรรมโบราณในดินแดนประเทศไทยมีอิทธิพลต่อการพัฒนาของสังคมไทยในปัจจุบันอย่างไร

.ใบงานที่ 6.4 
อิทธิพลของอารยธรรมโบราณในดินแดนไทย

อารยธรรมโบราณในดินแดนประเทศไทยมีอิทธิพลต่อการพัฒนาของสังคมไทยในปัจจุบันอย่างไร

คำชี้แจง   ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

    1. อารยธรรมโบราณในดินแดนไทย มีพื้นฐานมาจากอะไร

         ความต้องการความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต การเรียนรู้จากธรรมชาติ และความเชื่อในธรรมชาติ ผี เทวดา  

ผสมกับความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา ตลอดจนมีตัวอักษรขึ้นใช้บันทึกเรื่องราวต่างๆ 

    2. ศาสนามีอิทธิพลอย่างไรกับสังคมไทยในปัจจุบัน

         เป็นเครื่องช่วยควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคม ให้อยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข 

    3. ศิลปกรรมใดบ้างที่ได้รับอิทธิพลมาจากอารยธรรมสมัยโบราณ

         1) สถาปัตยกรรม เช่น การสร้างปรางค์ประดับอาคารต่างๆ มาจากขอม เจดีย์ทรงกลมตามแบบศรีลังกา เป็นต้น

        2) ปฏิมากรรม เช่น การสร้างพระพุทธรูปแบบต่างๆ ตัวอย่างเช่น แบบเชียงแสน แบบสุโขทัย เป็นต้น                           

    4. พระมหากษัตริย์ไทยนำแบบอย่างการปกครองบ้านเมืองในอดีตมาปรับใช้อย่างไรบ้าง

         การนำหลักศาสนามาใช้เป็นหลักในการปกครองประชาชน เช่น การนำหลักทศพิธราชธรรมในพระพุทธศาสนา
มาเป็นหลักการในการปกครอง จนขนานนามกษัตริย์ว่าเป็น “ธรรมราชา” หรือการยกย่องกษัตริย์เป็นเทวราชา ตามความ

เชื่อของพราหมณ์-ฮินดูมีการใช้คำนำหน้านามกษัตริย์ในการยกย่องอย่างสูง เช่น พ่อขุนหรือพระเจ้าอยู่หัว เป็นต้น

    5. การปลูกข้าวของเกษตรกรไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

         วัฒนธรรมการปลูกข้าวมีมานานจนถึงปัจจุบัน แม้จะมีวิทยาการมาช่วยในการปลูกข้าว แต่วิธีการเพาะปลูกยังคงใช้วิธีการแบบดั้งเดิม วิถีชีวิตของคนไทยก็ผูกพันอยู่กับประเพณีการปลูกข้าว

    6. ประเพณีใดบ้างที่ได้รับมาจากความเชื่อสมัยโบราณ และมีอิทธิพลต่อสังคมปัจจุบันอย่างไร

         ประเพณีการอุปสมบท การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ พิธีแต่งงาน ประเพณีสงกรานต์ เป็นต้น ซึ่งประเพณีเหล่านี้เป็น 

เครื่องช่วยกล่อมเกลาจิตใจ ทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

7. ภาษาไทยมีที่มาอย่างไรก่อนที่คนไทยจะมีตัวอักษรใช้และพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน

         มีการหยิบยืมมาจากภาษาที่มีผู้คนใช้มาก่อน เช่น ภาษาบาลี-สันสกฤต จากอินเดีย หรือตัวอักษรที่มีใช้กันมาก่อนดินแดนไทยได้พัฒนาการเขียน การอ่านมาจนถึงปัจจุบัน  

8. อารยธรรมโบราณในดินแดนไทยมีอิทธิพลต่อสังคมไทยในปัจจุบันอย่างไร

                  (พิจารณาตามคำตอบของนักเรียน โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน)

อารยธรรมโบราณในดินแดนประเทศไทยมีอิทธิพลต่อการพัฒนาของสังคมไทยในปัจจุบันอย่างไร


                พัฒนาการของมนุษยชาติ มีความสัมพันธ์และต่อเนื่องกับมนุษย์ในอดีต ที่ได้สร้างสมความเจริญต่อเนื่องกันมาจากอารยธรรมหรือวัฒนธรรมโบราณ และคนรุ่นหลังก็ได้พัฒนารูปแบบความเจริญนั้นให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน

                ผู้คนที่ตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย ตั้งแต่ยุคหินเรื่อยมาจนตั้งเป็นชุมชนและอาณาจักร ต่างได้สร้างสมความเจริญเรื่อยมา ตั้งแต่รู้จักการใช้เครื่องมือหิน ต่อมาพัฒนาเป็นเครื่องมือที่ทำด้วยโลหะ รู้จักการทำเครื่องปั้นดินเผา และนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงเป็นสัตว์บ้าน รู้จักการสร้างบ้านอยู่อาศัยแทนการร่อนเร่อยู่ในถ้ำ และตามเพิงผา รู้จักทำนาและเพาะพืชผลและเรียนรู้ประสบการณ์จากธรรมชาติ เช่น พืช พืชชนิดใดเป็นยารักษาโรคได้ การนับถือธรรมชาติ ผี เทวดา เพื่อบำรุงขวัญและสร้างความเชื่อมั่น ต่อมามีการตั้งอาณาจักรและรับศาสนาจากอินเดีย ทั้งศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา โดยได้ผสมผสานกลมกลืนกับความเชื่อเดิม และมีการใช้ตัวอักษรบันทึกเรื่องราวของคนในปลายพุทธศตวรรษที่ 12  เป็นต้นมา อิทธิพลของอารยธรรมโบราณที่มีผลต่อการพัฒนาการของไทยในปัจจุบัน ที่สำคัญ เช่น

อารยธรรมโบราณในดินแดนประเทศไทยมีอิทธิพลต่อการพัฒนาของสังคมไทยในปัจจุบันอย่างไร

            1. ศาสนา เป็นอารยธรรมสำคัญที่นำมาใช้ควบคุมพฤติกรรมของผู้คนในสังคมนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเครื่องมือที่ช่วยขจัดความกลัว ความกังวล บรรเทาปัญหาที่เป็นความทุกข์ทางใจ ซึ่งศาสนาที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อสังคมไทย วัฒนธรรมไทย และวิธีชีวิตของชาวไทย ก็คือ พระพุทธศาสนา ที่เผยแผ่จากอินเดียเข้ามาสู่สุวรรณภูมิเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 3 โดยอาณาจักรแรกในดินแดนไทยที่ยอมรับนับถือ ได้แก่ อาณาจักรทวารวดี หลังจากนั้นก็ส่งผ่านต่อไปยังแว่นแคว้น อาณาจักรอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง จนกระทั่งถึงสมัยอาณาจักรสุโขทัยที่เป็นการรวมกลุ่มของชาวไทยอย่างเป็นปึกแผ่น ชาวสุโขทัยได้ยอมรับนำเอาพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์จากเมืองนครศรีธรรมราชเข้ามาเป็นศาสนาประจำอาณาจักรนับจากนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทก็เป็นศาสนาที่ชาวไทยส่วนใหญ่ให้การยอมรับนับถือกันมาโดยตลอด

อารยธรรมโบราณในดินแดนประเทศไทยมีอิทธิพลต่อการพัฒนาของสังคมไทยในปัจจุบันอย่างไร

         พระพุทธเจ้า ศาสดาของพระพุทธศาสนา        

 ที่มาของรูปภาพ : https://bit.ly/2IWatXP

            2. ศิลปกรรม ศิลปกรรมไทยมีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งแง่คิด รูปแบบของศิลปกรรมที่มีอยู่ในสังคมไทยปัจจุบันมีหลายประการ เช่น ปฎิมากรรมการสร้างพระพุทธรูป เทวรูป ล้วนยึดถือรูปแบบจากที่อาณาจักรต่าง ๆ เคยสร้างสรรค์ไว้ เป็นต้นแบบการสร้างพระพุทธรูปมักนิยมสร้างตามแบบศิลปะเชียงแสน หรือ ตามแบบศิลปะสุโขทัย ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นต้นแบบที่มีความงามเป็นเลิศ หรือการสร้างสถาปัตยกรรมที่เป็นรูปแบบองค์ปรางค์ประดับในอาคารต่าง ๆ ก็ได้รับแบบอย่างมาจากศิลปะขอม รวมทั้งเจดีย์ทรงกลมแบบลังกาในสมัยปัจจุบัน ก็เป็นสิ่งที่เป็นบรรพบุรุษในอดีตที่เคยสร้างไว้ก่อน

อารยธรรมโบราณในดินแดนประเทศไทยมีอิทธิพลต่อการพัฒนาของสังคมไทยในปัจจุบันอย่างไร

การฟ้อนรำ

ที่มารูปภาพ : http://exhibition.contestwar.com/node/479

            3. การมีผู้นำ ทุกสังคมย่อมมีหัวหน้าเป็นผู้นำ เป็นผู้ปกครอง คนไทยเมื่อตั้งอาณาจักรก็ได้รับวัฒนธรรมมีผู้นำจากอารยธรรมโบราณ ในสมัยสุโขทัยมีคำนำหน้าพระนามกษัตริย์ว่า พ่อขุนในระยะแรก และ พระในเวลาต่อมา เมื่อรับอิทธิพลของพระพุทธศาสนา ก็ได้รับหลักการของผู้ปกครองที่เรียกว่า ทศพิธราชธรรม”(ธรรมะ 10 ประการสำหรับพระมหากษัตริย์) เข้ามาด้วย จนเป็นหลักธรรมที่สำคัญของพระมหากษัตริย์ไทย และสถาบันกษัตริย์ก็ดำรงเป็นสถาบันสำคัญของคนไทย ประเทศไทย ตลอดมาและตลอดไป

            4. การปลูกข้าว ในดินแดนไทยมีการปลูกข้าวกันมาหลายพันปี โดยพบแหล่งปลูกข้าวที่เก่าแก่ ที่โคกพนมดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี และข้าวได้กลายเป็นพืชผลที่สำคัญในการยังชีพของคนบนผืนแผ่นดินไทยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแม้ว่าจะมีวิทยาการสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการปลูกข้าว แต่เทคนิควิธีการเพาะปลูกหลัก ๆ ก็ยังใช้รูปแบบเดิม หลายแห่งก็เคยเป็นพื้นที่ผืนเดียวกันกับผู้คนในรัฐโบราณเคยทำการเพาะปลูก และปัจจุบันประเทศไทยก็เป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของโลก โดยไทยได้ส่งข้าวไปขายยังต่างประเทศเป็นอันดับหนึ่งของโลกและนำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก

อารยธรรมโบราณในดินแดนประเทศไทยมีอิทธิพลต่อการพัฒนาของสังคมไทยในปัจจุบันอย่างไร

การทำนา

ที่มาของรูปภาพ : http://www.rakbankerd.com/agriculture

            5. ภาษา ภาษามีความสำคัญในการสื่อสารและถ่ายทอดความรู้ ความคิด ภาษาไทยเป็นภาษาที่หยิบยืมมาจากภาษาของผู้คนที่เคยอยู่บนผืนแผ่นดินไทยและจากเพื่อนบ้าน ที่สำคัญคือ ภาษาบาลี-สันสกฤต จากอินเดีย ในทำนองเดียวกัน พยัญชนะไทยหรืออักษรไทยที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ขึ้น เมื่อ พ.ศ.1826 ก็ได้รับอิทธิพลจากตัวอักษรที่ใช้กันมาก่อนในดินแดนไทย แต่ก็ได้มีวิวัฒนาการรูปแบบการเขียน การอ่านตัวอักษรภาษาไทยเรื่อยมาจนถึงยุคปัจจุบัน ถึงแม้รูปแบบลักษณะตัวอักษรจะแตกต่างไปตั้งแต่แรกสร้างไปบ้าง แต่ก็ต้องถือว่าสังคมไทยก็ยังคงใช้ตัวอักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอยู่ภาษาไทยนับเป็นวัฒนธรรมไทยและเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย ดังนั้น ทุกคนจึงควรช่วยอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่ตลอดไป

            6. ประเพณี คนไทยได้สั่งสมประเพณีอันงามต่าง ๆ มาเนิ่นนาน โดยการนำความเชื่อต่าง ๆ มาผสมผสานกับวิถีชีวิตต่าง ๆ เช่น ทำขวัญเดือน การอุปสมบท พิธีแต่งงาน การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ประเพณีลอยกระทง สงกรานต์ เข้าพรรษา เป็นต้น ซึ่งประเพณีเหล่านี้ได้ตกทอดกันมา และมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต เป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจของผู้คนรวมถึงช่วยให้คนไทยสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีสันติสุข

                จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแหล่งอารยธรรมมากมายกระจายทั่วไป ในดินแดนที่เป็นที่ตั้งของประเทศต่าง ๆ อันเป็นสิ่งที่ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ควรมีความปลาบปลื้มร่วมกัน ในฐานะที่ภูมิภาคของเราแห่งนี้ เป็นดินแดนอารยธรรมเก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก

                สำหรับประเทศไทย ก็เป็นที่ตั้งของแหล่งอารยธรรมที่เป็นมรดกโลกด้วยเช่นกันซึ่งอารยธรรมโบราณหลาย ๆ ด้านก็ยังมีผลต่อพัฒนาการของสังคมไทยในปัจจุบันด้วย

อารยธรรมโบราณในดินแดนประเทศไทยมีอิทธิพลต่อการพัฒนาของสังคมไทยในปัจจุบันอย่างไร

ที่มาของรูปภาพ : http://tkpp.myreadyweb.com/news/topic-70515.html

                 กล่าวโดยสรุป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผู้คนตั้งถิ่นฐานและสร้างสมความเจริญเป็นเวลานาน มีแหล่งความเจริญหลายแห่ง เช่น อารยธรรมบ้านเชียง ที่จังหวัดอุดรธานี แหล่งอารยธรรมดองซอนที่ประเทศเวียดนาม อย่างไรก็ดี แหล่งความเจริญดังตัวอย่าง ถ้าเรียกให้ถูกต้อง ควรเรียกว่า แหล่งอารยธรรมเพราะความมีความเจริญไม่ถึงขั้นอารยธรรม คือ ต้องเป็นความเจริญระดับชุมชนเมือง การมีระเบียบการจัดการปกครอง มีตัวอักษรใช้ เป็นต้น ความเจริญได้กลายเป็นมรดกตกทอดแก่ผู้คนที่อยู่ในส่วนต่าง ๆ ของภูมิภาค รวมทั้งดินแดนของประเทศไทย สถานที่บางแห่งและสิ่งก่อสร้างสมัยก่อนได้กลายเป็นมรดกของมนุษยชาติไม่เพียงแต่ประเทศหรือภูมิภาค แต่เป็นแหล่งมรดกของโลก ในปัจจุบัน (พ.ศ.2561) ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแหล่งมรดกทั้งหมด 38 แห่ง แบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 25 แห่ง ทางธรรมชาติ 12 แห่ง และแบบผสมผสาน 1 แห่ง ซึ่งเป็นหน้าที่ของทุกคนไม่เพียงแต่ในภูมิภาคนี้ แต่ทุกคนในโลกจะต้องช่วยอนุรักษ์มรดกโลกต่าง ๆ ให้คงอยู่คู่โลกนี้ตลอดไป

อารยธรรมโบราณในดินแดนประเทศไทยมีอิทธิพลต่อการพัฒนาของสังคมไทยในปัจจุบันอย่างไร

อารยธรรมโบราณในดินแดนประเทศไทยมีอิทธิพลต่อการพัฒนาของสังคมไทยในปัจจุบันอย่างไร