ยื่น ภ งด 51 ปี 2565 วันสุดท้าย

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้

Show


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

ภงด 51 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (6 เดือน) หรือ อธิบายง่ายๆ ว่าการจ่ายภาษีนิติบุคคลให้แก่กรมสรรพากรก่อน สำหรับ กำไรในรอบ 6 เดือนแรก

ต้องยื่นเมื่อใด ?

ต้องยื่น ภายใน 2 เดือน นับตั้งแต่วันสุดท้ายของ ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี

(หากยื่นไม่ทันตามกำหนดนี้จะมี เบี้ยปรับ + เงินเพิ่ม ซึ่งอธิบายอยู่ด้านล่างนี้)

ยกตัวอย่างเช่น

กรณีรอบบัญชีปกติตามปีปฎิทิน (1 มกราคม และสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม)

ต้องจัดทำและยื่นแบบ ภงด 51 โดยมีวิธี การยื่นได้ 2 แบบ แบ่งเป็น


** ภายในวันพุทธที่ 31 สิงหาคม 2565

(สำหรับการยื่น -แบบกระดาษ )


หรือ


** ภายในวันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน 2565

(สำหรับการยื่น -แบบทางอินเตอร์เน็ต)

* หมายเหตุ : นิติบุคคลที่เพิ่ง จดทะเบียนบริษัท ปีแรก จะยังได้รับยกเว้น ไม่ต้องยื่น แบบ ภงด 51

ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 คือใครบ้าง ?

1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้องจัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ

2. บริษัทจดทะเบียน ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เสียภาษีจากกำไรสุทธิ(ขาดทุนสุทธิ) จริงในครึ่งปีแรก

วิธีการคำนวณภาษีเงินได้เพื่อยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 มีสองวิธี คือ

1. กึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี ใช้กับ บริษัทฯ ทั่วไป กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการบริการ

2. กำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชี 6 เดือนแรก ใช้กับบริษัทดังต่อไปนี้

• บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ไม่ต้องแนบงบแสดงสถานะทางการเงิน และหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

• บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามประกาศอธิบดีกรมกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฯ ตามมาตรา 67 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องมีการแนบงบแสดงสถานะทางการเงินและหนังสือของผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินด้วย

ค่าปรับ+เงินเพิ่ม กรณียื่นแบบ ช้ากว่าที่กำหนด ข้างต้น

ค่าปรับอาญา – กรณี


ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ปรับ 1,000 บาท ยื่นแบบพ้นกำหนด 7 วันไปแล้วจะต้องเสียค่าปรับ 2,000 บาท


เงินเพิ่ม – กรณีที่ผู้เสียภาษีมีภาษีที่ต้องชำระ จะมีภาระ

“เงินเพิ่ม” โดยมีวิธีการคำนวณดังนี้

1) หากยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าไม่เกิน 2 วัน

ให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 0.1% ของเงินภาษีที่ต้องชำระ

2) หากยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าเกินกว่า 2 วันแต่ไม่เกิน 7 วัน

ให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 0.5% ของเงินภาษีที่ต้องชำระ

3) หากยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าเกินกว่า 7 เป็นต้นไป

ให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือน ของเงินภาษีที่ต้องชำระ จนกว่าเงินเพิ่มจะครบ 20% ของภาษี

ข้อระวังสำหรับการยื่นแบบ ภงด 51

กรณียื่นแบบและชำระภาษีจากประมาณการกำไรสุทธิ แล้วแสดงประมาณการกำไรสุทธิ ขาดเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุผลอันควร (เหตุอันควรคือะไร Click เลย)

>> จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ชำระไว้ขาด <<

การแก้ไขกรณี ยื่นแบบ ภ.ง.ด 51 ขาดไปเกินกว่า 25% ให้ยื่นเพิ่มเติมก่อนยื่น ภ.ง.ด 50 ปี 2564

หากบริษัทได้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวน โดยตรงเป็นหนังสือ ให้ลดเงินเพิ่มได้ แต่ต้องเสียในอัตราและตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

(ก) ถ้าชำระภายใน 2 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียร้อยละ 0.10 ของเงินภาษี ที่ต้องชำระ

(ข) ถ้าชำระภายหลัง 2 วัน แต่ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้น กำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียร้อยละ 0.50 ของเงินภาษีที่ต้องชำระ