โครงสร้างหมายเหตุประกอบงบการเงิน

กิจการต้องแสดงรายการแต่ละรายการ  หัวข้อเรื่อง  และยอดรวมย่อยในงบแสดงฐานะการเงินเพิ่มเติม  ถ้าหากการแสดงรายการในลักษณะดังกล่าวช่วยให้เกิดความเข้าใจในฐานะการเงินของกิจการ

เมื่อกิจการแยกแสดงการจัดประเภทสินทรัพย์และหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงินเป็นรายงการหมุนเวียนและไม่หมุนเวียนกิจการต้องไม่จัดประเภทรายการสินทรัพย์ (หนี้สิน)  ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีเป็นสินทรัพย์(หนี้สิน)หมุนเวียน

การใช้ดุลพิจนิจว่ารายการไดต้องแยกแสดงเพิ่มเติมให้พิจารณาโดยถือเกณฑ์ดังนี้

  1. ลักษณะและสภาพคล่องของสินทรัยพ์
  2. การใช้งานของสินทรัพย์ภายในกิจการ
  3. จำนวนเงิน ลักษณะ และจังหวะเวลาของหนี้สิน

กิจการต้องแสดงสินทรัพย์และหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงิน

  1. แยกแสดงสินทรัพย์และหนี้สินเป็นรายการหมุนเวียนและไม่หมุนเวียน
  2. เว้นแต่การแสดงรายการโดยถือเกณฑ์ตามลำดับสภาพคล่องจะมีความน่าเชื่อถือและเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจมากกว่า เช่น สถาบันการเงิน

สินทรัพย์หมุนเวียน

  1. คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์  ตั้งใจจะใช้หรือจะขาย  ภายในรอบระยะเวลาดำเนินงานตามปรกติของกิจการ
  2. ถือไว้เพื่อค้า
  3. คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์ภายในระยะเวลา 12  เดือนนับจากรอบระยะเวลารายงานหรือ
  4. สินทรัพย์นั้นเป็นเงินสดหรือรายการเปรียบเทียบเท่าเงินสดและไม่มีข้อจำกัดในการแลกเปลี่ยนหรือการใช้ชำระหนี้สินภายในระยะเวลาอย่างน้อย  12  เดือนนับจากรอบระยะเวลารายงาน

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

  1. สินทรัพย์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดข้างต้นจัดเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

หนี้สินหมุนเวียน

  1. คาดว่าจะชำระหนี้สินนั้นภายในรอบระยะเวลาดำเนินงานตามปรกติของกิจการ
  2. มีไว้เพื่อค้า
  3. หนี้สินนั้นถึงกำหนดชำระภายใน 12  เดือน นับจากรอบระยะเวลารายงาน
  4. กิจการไม่มีสิทธิที่ไม่มีเงื่อนไขให้เลื่อนการชำระหนี้สินออกไปอีกอย่างน้อย  12  เดือนนับจากรอบระยะเวลารายงาน  หากคู่สัญญามีทางเลือกให้จ่ายชำระโดยตราสารทุน  ระยะเวลาการชำระหนี้ไม่มีผลกระทบต่อการจัดประเภทรายการ

หนี้สินไม่หมุนเวียน

  1. หนี้สินที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดข้างต้นจัดเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียน

 

โครงสร้างหมายเหตุประกอบงบการเงิน
โครงสร้างหมายเหตุประกอบงบการเงิน
โครงสร้างหมายเหตุประกอบงบการเงิน
โครงสร้างหมายเหตุประกอบงบการเงิน
โครงสร้างหมายเหตุประกอบงบการเงิน
Share

บัญชี, สอบบัญชี การนำเสนองบการเงิน, การนำเสนองบการเงิน โครงสร้าง เนื้อหา องค์ประกอบงบการงิน สอบบัญชี ทำบัญชี, จำนวนหลักที่ใช้แสดงงบการเงิน, ชื่อกิจการ, ทำบัญชี, วันสิ้นรอบระยะเวลางบการเงิน, สกุลเงินที่ใช้รายงาน, สอบบัญชี, สินทรัพย์หมุนเวียน, สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน, หนี้สินหมุนเวียน, หนี้สินไม่หมุนเวียน, องค์ประกอบงบการงิน, เนื้อหา, โครงสร้าง

งบการเงิน คือ รายงานทางการเงินและบัญชีที่มีแบบแผน เพื่อแสดงฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการในแต่ละงวดบัญชี

🟠โดยงบการเงินของกิจการประกอบด้วย 5 ส่วน คือ

1.งบแสดงฐานะทางการเงิน หรือ งบดุล

◾️งบการเงินที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินของกิจการ เพื่อให้ทราบว่ากิจการมีฐานะทางการเงินเป็นอย่างไร มีสินทรัพย์ หนี้สิน และทุน เท่าไหร่

(สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน)

2.งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ หรือ งบกำไรขาดทุน

◾️งบการเงินที่แสดงถึงผลการดำเนินงานของกิจการว่ามีรายได้และค่าใช้จ่ายเป็นเท่าไหร่ สำหรับรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง

3.งบกระแสเงินสด

◾️งบการเงินที่แสดงถึงการได้มาและการใช้ไปของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดในรอบระยะเวลาหนึ่ง มี 3 กิจกรรม คือ

3.1 กิจกรรมดำเนินงาน

3.2 กิจกรรมลงทุน

3.3 กิจกรรมจัดหาเงิน

4.งบแสดงการเปลี่ยนแปลงของเจ้าของ

◾️งบการเงินที่แสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของกิจการในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

5.หมายเหตุประกอบงบการเงิน

◾️รายงานที่แสดงรายละเอียดเพิ่มเติม เกณฑ์การจัดทำงบการเงินและนโยบายการบัญชี และข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่ได้แสดงอยู่ในงบการเงิน

นอกจากนี้ยังมีส่วนที่ต้องอ่านก่อนที่จะดูงบการเงินในการประกอบธุรกิจ คือ

📃รายงานความเห็นของผู้สอบบัญชี เพื่อดูว่าผู้สอบบัญชีรับรองงบการเงินหรือไม่ ซึ่งมีผลต่อความน่าเชื่อถือของงบการเงินนั้นๆ

📊สนใจผู้ช่วยวางแผนโครงสร้างธุรกิจ วางแผนภาษีและเครื่องมือจัดการธุรกิจดิจิทัลที่ตอบโจทย์ ติดต่อ AccRevo ได้เลยค่า

ประโยชน์ของหมายเหตุประกอบงบการเงิน
            -ใช้ดูจำนวนลูกหนี้การค้า หลายคนคงมีคำถามว่าทำไมต้องดูเพราะว่ามีลูกหนี้การค้ามากก็แสดงว่ากิจการขายสินค้าและบริการได้ดี แต่ก็ไม่เสมอไปลูกหนี้การค้าหากมีมากจนผิดสังเกตุอาจะเกิดจากกิจการมีลูกหนี้การค้าที่ขาดสภาพคล่องทำให้ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ ทำให้เกิดผลเสียต่อกิจการ ดังนั้นผู้ใช้งบการเงินควรสังเกตตรงจุดนี้ให้ดีว่า ลูกหนี้การค้าเป็นอย่างไร ขายสินค้าอะไร มีความสามารถในการจ่ายหนี้หรือไม่
         -ใช้ดูการตัดค่าเสื่อมราคา เพราะบางทีอาจมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการตัดค่าเสื่อมราคาทำให้กิจการมีกำไรโตขึ้นมากในรอบบัญชีนั้น ทำให้นักลงทุนเข้าใจผิดว่ากำไรที่ได้นั้นมาจากการดำเนินงาน
         -เมื่อผู้ใช้งบการเงินเปรียบเทียบอัตราการทำกำไรกับกิจการคู่แข่งแล้วพบว่า กิจการสามารถทำอัตรากำไรได้มากว่าหรือแตกต่างมากๆ อาจจะมีผลมาจากทั้งสองกิจการมีนโยบายการทำบัญชีที่แตกต่างกัน
         -เมื่อพบว่ากิจการมีรายได้โตขึ้นมากๆ ผู้ใช้งบการเงินต้องตรวจดูว่ากิจการมีนโยบายการรับรู้รายได้แบบใด
         -รายการอื่นๆ ที่ไม่ได้แสดงในงบการเงิน