สถิติการใช้ youtube ในประเทศไทย 2565

จากผลประกอบการ 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นตัวเลขเติบโต 84% (YoY) ของ YouTube ในไตรมาส 2 ของปี 2564 ที่ถูกนักวิเคราะห์นำไปเปรียบเทียบว่าใกล้เคียงกับ Netflix แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งยักษ์ใหญ่ หรือการเติบโตของ YouTube Shorts คู่แข่งตัวใหม่ของ TikTok ที่ปัจจุบันมียอดวิวมากกว่า 15,000 ล้านครั้งต่อวัน (จาก 6,500 ล้านครั้งต่อวันในเดือนมีนาคม) ปฏิเสธไม่ได้ว่านี่คือตัวเลขที่แบรนด์และนักโฆษณาให้ความสนใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับแพลตฟอร์มวิดีโอแห่งนี้

สถิติการใช้ youtube ในประเทศไทย 2565

สถิติการใช้ youtube ในประเทศไทย 2565
สถิติการใช้ youtube ในประเทศไทย 2565

2. คนไทยหันมาดู YouTube ผ่านสมาร์ททีวีเพิ่มขึ้น

คุณไมค์ จิตติวาณิชย์ หัวหน้าฝ่ายการตลาด Google ประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ความน่าสนใจในปีนี้ก็คือ พฤติกรรมคนไทยนิยมชม YouTube ผ่านหน้าจอทีวีเพิ่มขึ้น ทั้งนี้คุณไมค์ให้ความเห็นว่า ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะยอดขายสมาร์ททีวีที่เติบโตอย่างมาก ทำให้การเข้าถึงแอปพลิเคชัน YouTube บนสมาร์ททีวีทำได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

3. ศิลปินเปิดช่องบน YouTube เพิ่ม

นอกจากนี้ สิ่งที่ YouTube ประเทศไทยพบก็คือ มีศิลปินจากโลก Traditional หันมาทำช่องบน YouTube เพิ่มขึ้นสูงมาก โดยปัจจุบันมีแล้วกว่า 20,000 ราย

4. คนไทยสนใจ “คลิปด้านการเงิน” เพิ่ม

สำหรับพฤติกรรมการรับชมวิดีโอบน YouTube ของคนไทยพบว่า ในปี 2564 ที่ผ่านมาคนไทยรับชมวิดีโอบน YouTube มากขึ้นในหลากหลายหมวดหมู่ คนไทยใช้เวลาในการรับชมวิดีโอประเภทการเงินเพิ่มขึ้นกว่า 100% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ระหว่างเมษายน 2563 และ เมษายน 2564) ในขณะที่เวลาการรับชมวิดีโอประเภทคาราโอเกะ บน YouTube เพิ่มขึ้นกว่า 70%

สถิติการใช้ youtube ในประเทศไทย 2565

5. นักการตลาดชี้ YouTube กลายเป็นสื่อ Mass Reach ไปแล้ว

ในแง่ของนักการตลาดกับการใช้แพลตฟอร์ม YouTube นั้น ดร.อาภาภัทร บุญรอด ประธานกรรมการบริหาร Kantar ประเทศไทย เผยว่า พบอินไซท์ที่น่าสนใจที่นักการตลาดมองเห็น นั่นคือ นักการตลาดมองการใช้ YouTube เป็น Mass Reach หรือสื่อที่เข้าถึงคนได้เป็นจำนวนมากไปแล้วเรียบร้อย โดยเฉพาะในสถานการณ์โควิด ที่ Kantar มีการวิจัยและพบคนใช้ YouTube เพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษ อีกทั้งแคมเปญต่าง ๆ ในปัจจุบัน สามารถเข้าถึงคนได้หลากหลาย ทั้งในแง่พื้นที่ และช่วงอายุ ไม่จำกัดเฉพาะในหัวเมืองอย่างที่เคยเป็นมาในอดีตอีกต่อไปแล้ว

6. มีการใช้ YouTube เป็นทั้ง Storytelling และ Storyselling

ดร.อาภาภัทร กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน แคมเปญโฆษณาบน YouTube มีทั้ง Storytelling หรือการบอกเล่าเรื่องราว และ Storyselling ที่สามารถดันยอดขายทางธุรกิจผ่านฟีเจอร์ Call-to-action ต่าง ๆ ของแพลตฟอร์มด้วย

7. ใช้ YouTube เป็น Community

ในจุดนี้ ทาง Kantar พบว่า มีการใช้ YouTube สร้างเป็นคอมมูนิตี้ ดึงคนที่สนใจเรื่องเดียวกันเข้ามาได้ และแสดงออกในคอมมูนิตี้อย่างอิสระ โดยแบรนด์ก็สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในคอมมูนิตี้เหล่านั้น เช่น เข้าไปร่วมงานกับครีเอเตอร์ หรือดึงครีเอเตอร์เข้ามาช่วยในพื้นที่ของแบรนด์ได้เช่นกัน

8. นิยามครีเอเตอร์เปลี่ยน

สิ่งที่ Kantar พบใน YouTube พ.ศ. 2564 เพิ่มเติมก็คือ นิยามของครีเอเตอร์มีการเปลี่ยนไป จากเดิมที่เคยให้ความสำคัญกับคนที่มีผู้ติดตามเยอะ ๆ หรือคนที่มีชื่อเสียง ปัจจุบัน แบรนด์เปิดโอกาสให้ครีเอเตอร์หน้าใหม่ ๆ ที่อาจไม่ได้เป็นที่รู้จักในระดับประเทศมากขึ้น โดยความพิเศษของครีเอเตอร์กลุ่มนี้คือเขาสามารถเข้าถึงกลุ่มที่มีลักษณะเฉพาะได้ ซึ่งจะทำให้แบรนด์สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจงได้มากขึ้น

9. YouTube Premium เติบโตสูง

YouTube ประเทศไทยยังบอกด้วยว่า การเติบโตของ YouTube Premium บริการ Subscription (เสียค่าบริการรายเดือนเพื่อรับชม YouTube แบบไม่มีโฆษณา) นั้นเป็นที่น่าพอใจ (แต่ไม่มีการเปิดเผยตัวเลขให้ทราบแต่อย่างใด) โดยเป็นการเติบโตจากความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ต่าง ๆ ในไทย เช่น AIS

นอกจากนั้น เทรนด์ที่ YouTube ประเทศไทยพบเพิ่มเติมก็คือ คนไทยมีความสนใจในการจ่ายเงินเพื่อสมัครใช้บริการ YouTube แบบไม่มีโฆษณามากกว่าที่คาดการณ์ไว้ด้วย

10. โฆษณาไทยพบความคิดสร้างสรรค์มาแรง

สำหรับงานใหญ่ประจำปีของ YouTube อย่าง “Brandcast Delivered” ซึ่งในงานปีนี้ มีการประกาศผลรางวัล YouTube Works Awards เป็นครั้งแรกของประเทศไทยด้วยนั้น คุณไมค์ จิตติวาณิชย์ เผยว่า จุดเด่นที่พบในการสร้างสรรค์ผลงานโฆษณาบน YouTube ของประเทศไทย คือเรื่องความคิดสร้างสรรค์ เห็นได้จากรางวัลชนะเลิศของดัชมิลล์ นมตราหมี แกร็บฟู้ด และโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ขณะที่การใช้เทคโนโลยีหรือ Data เพื่อสร้างชิ้นงานให้น่าสนใจแบบที่เคยปรากฏในการประกาศผล YouTube Works Awards ในต่างประเทศอาจยังไม่พบได้มากนัก

ทั้งนี้ YouTube ประเทศไทย เปิดดำเนินการมาแล้ว 7 ปี โดยใน 7 ปีนี้ ได้มีการพัฒนา Ecosystem หลายด้าน เช่น การเปิดตัว YouTube Premium การเปิดการใช้งาน YouTube Shorts เครื่องมือสำหรับการสร้างวิดีโอแบบสั้นด้วยโทรศัพท์มือถือ รวมถึงโครงการประกวด YouTube Works Awards สำหรับนักโฆษณาที่เพิ่งจบไปนี้ด้วย


แชร์ :

      

Brandcast DeliverednetflixTikTokyoutubeYouTube PremiumYouTube Shortsyoutube works Awardsภาพรวมยูทูปยูทูปเบอร์