ข้อสอบการเรียงประโยค พร้อมเฉลย pdf

  • ข่าวการศึกษา
แนวข้อสอบ ก.พ. 65 ภาค ก พร้อมเฉลยไฟล์ PDF

21/05/2022 วันที่แก้ไข: 21/05/2022

805

0

Facebook

Twitter

Email

พิมพ์

LINE

Copy URL

แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก พร้อมเฉลย

การเรียงประโยค
ความเข้าใจภาษา
อุปมาอุปไมย
การสรุปความจากภาษา
การสรุปความจากสัญลักษณ์
อนุกรม
โจทย์คณิตศาสตร์
การวิเคราะห์ข้อมูล
Conversation
Vocabulary
Structure
Reading
ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี

แนวข้อสอบ ก.พ. 65 ภาค ก พร้อมเฉลยไฟล์ PDF 

ข้อสอบการเรียงประโยค พร้อมเฉลย pdf

ดาวน์โหลดไฟล์จาก ลิงก์หัวข้อด้านล่างได้เลย

ดาวน์โหลด แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก เล่ม 1

ดาวน์โหลด แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก เล่ม 2

ดาวน์โหลด แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก เล่ม 3

อ้างอิง
https://www.ocsc.go.th/

คลิกให้คะแนนโพสต์นี้!

[รวม: 1 เฉลี่ย: % เฉลี่ย%]

  • แท็ก
  • Conversation
  • Reading
  • Structure
  • Vocabulary
  • การวิเคราะห์ข้อมูล
  • การสรุปความจากภาษา
  • การสรุปความจากสัญลักษณ์
  • การเรียงประโยค
  • ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี
  • ความเข้าใจภาษา
  • อนุกรม
  • อุปมาอุปไมย
  • โจทย์คณิตศาสตร์

Facebook

Twitter

Email

พิมพ์

LINE

Copy URL

บทความก่อนหน้านี้สมัครสอบราชการ65 ตำแหน่ง มาตรา 38 ค.(2) กระทรวงศึกษาธิการ ที่นี่

บทความถัดไปฐานในการคำนวณและช่วงเงินเดือนสำหรับการเลื่อนเงินเดือน

การศึกษาไทย

สำนักงาน ก.พ. นำรูปแบบที่ 1. แบบถาม ข้อความใดเป็นลำดับที่ … มาออกข้อสอบ ภาค ก. ทุกระดับ ดังนั้นการเตรียมตัวควรดู ชุดติว/อ่านหนังสือ เฉพาะรูปแบบนี้เท่านั้น

ข้อสอบการเรียงประโยค พร้อมเฉลย pdf

3. หลักการทำข้อสอบการเรียงประโยค

การเรียงคำหรือประโยคพอที่จะแยกประเภทของการเรียงได้ 3 ประเภท ได้แก่

3.1 เรียงแบบ ประธาน + กริยา + กรรม (ถ้ามี)

  • เป็นการเรียงข้อความตามหลักทั่วไปของการเขียนบทความ เช่น นายแดงกำลังเดินทางไปสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไปที่ ศูนย์สอบจังหวัดอุบลราชธานี

3.2 เรียงแบบ ทั่วไป + เจาะจง

  • ข้อความประเภทนี้มักถูกตัดออกมาจากกลางบทความแล้วนำมาเป็นข้อสอบ โดยข้อความส่วนแรกจะกล่าวถึงเรื่องทั่วๆ ไป แล้วเจาะจงตอนท้ายของประโยค เช่น ส่วนแรกกล่าวถึงผลไม้ ซึ่งกว้างมากไม่รู้ว่าเป็นผลไม้ชนิดใด ส่วนตอนท้ายของข้อความจะเจาะจงว่าเป็นผลไม้ชนิดใด เช่น เงาะ กล้วย หรือข้อความที่กล่าวถึงข้าราชการ ข้าราชการในประเทศไทยก็ไม่หลายตำแหน่งมาก และตอนท้ายของบทความก็เจาะจงประเภทของข้าราชการว่าเป็น ตำรวจ ทหาร เป็นต้น

3.3 เรียงแบบ ย่อย + รวม

  • ข้อความส่วนแรกจะกล่าวถึงเรื่องย่อยๆ ของข้อความก่อน เช่น กล่าวถึงอิฐ หิน ปูน ทราย และตอนท้ายก็จะกล่าวถึงทั้งหมดว่านำมาผสมกันเพื่อเป็นคอนกรีต หรือส่วนของธาตุหรืออะตอมต่างๆ เมื่อนำมารวมกันแล้วจะเป็นสารชนิดใด

4. ขั้นตอนการเรียงข้อความ

  • ขั้นตอนที่ 1 ให้หาคำขึ้นต้นประโยค หรือประธาน
  • ขั้นตอนที่ 2 ให้หาคำลงท้ายประโยค
  • ขั้นต้อนที่ 3 ให้หาข้อความในลำดับที่ 2 และ 3 หรือคำที่อยู่กลางประโยค โดยมากมักเป็นคำสันธาน

4.1 ขั้นตอนที่ 1 ให้หาคำขึ้นต้นประโยค หรือประธาน

การหาข้อความในลำดับที่ 1 (ถ้ามีในบทความ)

  • คำนามแท้ + เป็น, นับเป็น, ถือเป็น, หมายถึง, คือ
  • การ + คำนาม, การ + คำวิเศษณ์, ความ
  • ด้วย + หน่วยงาน
  • เวลา + คำนาม
  • นามเฉพาะที่อยู่ในเครื่องหมาย “……………………”
  • แม้แต่ + คำนาม, แม้ว่า + คำนาม
  • นามเฉพาะ + กริยา
  • ตามที่ + ให้
  • ใน + คำนาม, เมื่อ + คำนาม
  • เพื่อ (บางครั้งขึ้นต้นประโยคได้)

4.2 ขั้นตอนที่ 2 ให้หาคำลงท้ายประโยค

การหาข้อความในลำดับที่ 4 (ถ้ามีในบทความ)

  • ………..เป็นต้น
  • ………..ทั้งหมด, ……………..ทั้งสิ้น, รวมทั้ง………….
  • ………..อีกด้วย, …………..ด้วย, อีกทั้งเป็น…………..
  • ………..ต่อไป
  • ตลอดจน…………
  • ได้แก่, เช่น

4.3 ขั้นต้อนที่ 3 ให้หาข้อความในลำดับที่ 2 และ 3 หรือคำที่อยู่กลางประโยค โดยมากมักเป็นคำสันธาน

ข้อความในลำดับที่ 2 และ 3 จะเป็นคำที่อยู่กลางข้อความส่วนมากจะเป็นคำสันธาน หรือไม่ก็เป็นข้อความที่คล้อยตามหรือขัดแย้งกับข้อความอยู่ก่อนหน้า

เฉลยข้อสอบเรื่องการเรียงประโยคค่ะ มีคนตอบถูกด้วย👏👏👏 #สอบกพ #สอบกพ63 #แนวข้อสอบกพ

Posted by ติว กพ ออนไลน์ by ดร.หญิง on Saturday, April 4, 2020

การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge planning)โดย ฐานิกา บุษมงคล


ความหมาย  

  ดวงมณี เลาหประสิทธิพร ให้ความหมายของการวางแผนจำหน่ายว่า หมายถึง การวางแผนและจัดสรรบริการในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ต้องการ การดูแลต่อเนื่องหลังการจำหน่ายอย่างเป็นระบบ องค์รวม มีการ ประสานงานของ สหสาขาวิชาชีพ ในการสนับสนุน และเสริมพลัง ผู้ป่วยและครอบครัวเป็นรายกรณี รวมทั้งมีการส่งเสริมการใช้ทรัพยากร สุขภาพที่เหมาะสม เพื่อเตรียมการให้ผู้ป่วยและญาติ/ชุมชนสามารถ ดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเอง อย่างมั่นใจ ปลอดภัย และพึงพอใจ

   McKeeHan (1981 อ้างถึงใน วันเพ็ญ พิชิตพรชัยและอุษาวดี อัศดรวิเศษ, 2546) ให้ความหมายของการวางแผนจำหน่ายว่า หมายถึง  กระบวนการของการประสานงานกันระหว่างบุคลากรหลายๆ ด้านเพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลที่ต่อเนื่อง รวมถึงการประเมินความต้องการการดูแลต่อที่บ้านตลอดจนการทำงานร่วมกันกับผู้รับบริการและญาติเพื่อวางแผนในการปฏิบัติตัวภายหลังออกจากโรงพยาบาล


  Armitage  (1995 อ้างใน จันทร์ทิรา เจียรณัย  ) ให้ความหมายของการวางแผนจำหน่ายว่า หมายถึง การส่งเสริมการดูแลที่ต่อเนื่องแก่ผู้รับบริการจากสถานที่หรือสถานบริการจากแห่งหนึ่งไปอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งรวมถึงการพัฒนาศักยภาพของผู้รับบริการจากสภาวะหนึ่งไปสู่อีกสภาวะหนึ่งในทางที่ดีขึ้น การสนับสนุนด้านจิตใจ การให้ความรู้แก่ผู้รับบริการและผู้ดูแล การสนับสนุนให้คำปรึกษาและจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อการดูแลอย่างต่อเนื่อง และอำนวยความสะดวกต่อการย้ายหรือส่งต่อผู้รับบริการจากสถานบริการหนึ่งไปสู่สถานบริการอื่นหรือจากสถานบริการไปยังบ้านของผู้รับบริการ 



ความสำคัญของการวางแผนจำหน่าย(ดวงมณี เลาหประสิทธิพร)
  •เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย :
   –ผู้ป่วย & ครอบครัว
   –ทีมสุขภาพ
   –โรงพยาบาล
  •อยู่ในมาตรฐานที่กำหนดของ พรพ. และ JCIA


กลยุทธ์การดำเนินงานให้การวางแผนจำหน่ายของโรงพยาบาลศิริราช(ดวงมณี เลาหประสิทธิพร)
  1.นโยบาย/ทิศทาง/การสนับสนุน
  2.ระบบการช่วยเหลือของโรงพยาบาล : ข้อมูล / แนวทาง ปฏิบัติ / ผู้ประสานงาน / หน่วยงาน & สิ่งสนับสนุน
  3.ประชาสัมพันธ์
   - ความสำคัญในการทำ & ประโยชน์ที่ได้รับ
   - ความรู้ & ความเข้าใจ & วิธีการ & สิ่งสนับสนุน
   - ข้อมูล/ผลลัพธ์
  4.ติดตาม/ประเมินผล


ตัวชี้วัดความสำเร็จ(ดวงมณี เลาหประสิทธิพร)
1. ทีมสุขภาพ
  􀁹readmission, unplanned admission ด้วยปัญหาเดิมภายใน 30 วัน
  􀁹ระยะวันนอนในโรงพยาบาล (length of stay)
  􀁹ค่าใช้จ่ายในการอยู่โรงพยาบาล (ผู้ป่วยและโรงพยาบาล)
  􀁹คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว
  􀁹ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ
2. คณะทำงาน / โรงพยาบาล
  􀁹ร้อยละผู้ป่วยที่ได้รับการประเมินความต้องการวางแผนจำหน่าย
  􀁹จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการปรึกษาและสามารถบริหาร จัดการให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้
  􀁹ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
  􀁹ค่าใช้จ่ายที่เป็นภาระของโรงพยาบาล
  􀁹ระยะวันนอนในโรงพยาบาล


ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย(ดวงมณี เลาหประสิทธิพร)
  􀁹แพทย์ / พยาบาล (ทีมสุขภาพ)
  􀁹ผู้ป่วย / ครอบครัว / ผู้ดูแล
  􀁹หน่วยงานสนับสนุน : กายภาพบำบัด / เวชศาสตร์ฟื้นฟู สังคมสงเคราะห์ โภชนากร ทีมเยี่ยมบ้าน (PCU) หน่วยส่งต่อ CLT ผู้ประสานงานโรงพยาบาล ผู้บริหารโรงพยาบาล เป็นต้น


คำถามที่ต้องตอบเสมอในการดูแลผู้ป่วยทุกราย (ดวงมณี เลาหประสิทธิพร)
  􀁹
อยู่โรงพยาบาลให้สั้น (เท่าไร?) ดี (หาย ทุเลา ไม่เป็นกลับซ้ำ) และคุ้มค่า อย่างไร?
  􀁹สามารถใช้ชีวิตที่บ้านโดยทุกคนมีความสุขตามอัตภาพ ดูแลตนเองได้ ไม่มีการ readmit ที่ไม่ได้นัดหมาย อย่างไร?
  􀁹จะต้องวางแผน/เตรียมอะไร? อย่างไร? โดยใคร? แต่เนิ่นๆ
  􀁹
ประเมินผลการวางแผน/ดูแล อย่างไร? เมื่อไร โดยใคร?



วิธีการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย(ดวงมณี เลาหประสิทธิพร)
  1.
พิจารณาจากเกณฑ์ที่กำหนด (กลุ่มผู้ป่วย) ในแต่ละ CLT
  2.ทุกๆ ครั้งที่ดูแลผู้ป่วย ให้ตั้งคำถามว่า ผู้ป่วยพร้อมที่จะกลับบ้าน อย่างปลอดภัย รวดเร็ว สามารถดูแลตนเองได้ และมีความต่อเนื่อง โดยไม่ readmit ด้วยเรื่องเดิม ได้หรือไม่? เมื่อไร? อย่างไร?
  3.ทีมต้องทำอะไร? อย่างไร? เมื่อไร? โดยใคร?
  4.
ติดต่อใครบ้าง? อย่างไร? เมื่อไร?
  5.
ผู้ป่วย/ครอบครัวต้องเตรียมอะไร? อย่างไร? เมื่อไร?



รูปแบบที่ใช้ในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย

1. 4C (ดวงมณี เลาหประสิทธิพร)
  􀁹
แลกเปลี่ยนข้อมูล (communication) ระหว่างทีมสุขภาพ ผู้ป่วย และครอบครัว
  􀁹ประสานงานระหว่างทีมสุขภาพ (collaboration)
  􀁹ร่วมมือในการเตรียมความพร้อม (co-operation)
  􀁹
ดูแลต่อเนื่อง (continuation)



2. METHOD  (ดวงมณี เลาหประสิทธิพร)
  􀁹
Medication
  􀁹Environment& Economic & Equipment / Emotion
  􀁹Treatment
  􀁹
Health promotion / prevention / rehabilitation / Home (self family) care
  􀁹
Outpatient / referral / Occupation / Outcome of life (quality of life)
  􀁹
Diet



M-E-T-H-O-D Model  (โรงพยาบาลสงขลา)  
M (Medication) ผู้ป่วยได้รับความรู้เกี่ยวกับยาที่ตนเองได้รับ   
E (Environment & Economic) ผู้ป่วยได้รับความรู้ในการจัดการกับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับสภาวะสุขภาพ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในชุมชน การจัดการเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจและสังคม   
T (Treatment) ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าใจเป้าหมายของการรักษา สามารถสังเกตอาการของตนเอง และรายงานอาการที่สำคัญให้แพทย์/พยาบาลทราบ มีความรู้พอที่จะจัดการกับภาวะฉุกเฉินด้วยตนเอง อย่างเหมาะสมก่อนมาถึงสถานพยาบาล  
H (Health) ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าใจภาวะสุขภาพของตน เช่น ข้อจำกัด ผลกระทบจากการเจ็บป่วย และสามารถปรับวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน ให้เหมาะสมกับข้อจำกัดด้านสุขภาพ เอื้อต่อการฟื้นฟูสภาพและป้องกันภาวะแทรกซ้อน   
O (Outpatient Referral) ผู้ป่วยเข้าใจและทราบความสำคัญของการมาตรวจตามนัด การติดต่อขอความช่วยเหลือ เมื่อเกิดกรณีฉุกเฉิน รวมทั้งการส่งต่อสรุปผลการรักษาและแผนการดูแลผู้ป่วยให้กับหน่วยงานอื่น ที่จะรับช่วงดูแลต่อ