ภูมิคุ้มกันก่อเอง ข้อดี ข้อเสีย

โรคภูมิแพ้  (Allergy)  หมายถึง  ปฏิกิริยาที่ผิดปกติของร่างกายในการสร้างแอนติบอดี  เพื่อตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมในสิ่งแวดล้อม  (แอนติเจน)  โรคนี้เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม  เช่น  การแพ้ละอองเกสร  หืด  แพ้อาหารบางอย่าง  (ช็อกโกแลต, อาหารทะเล)  แพ้ยา  และสารเคมี   พิษแมลงต่างๆ (ผึ้ง) สารเคมีการของ อาการแพ้  คือ  สารฮีสเตมีน  แม้จะไม่รุนแรงต่ออาการต่อเนื่องต้องให้การรักษาตลอดเวลาปีหนึ่งๆ ประเทศไทยเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคภูมิแพ้จำนวนมาก

เพื่อน ๆ ลองนึกภาพตอนไปสถานที่ใหม่ ๆ บางทีเรายังไม่ชินทาง เลยต้องใช้เวลาซักพักกว่าจะจำเส้นทางได้ เช่นเดียวกันกับภูมิคุ้มกันที่เพิ่งเจอสิ่งแปลกปลอม หรือแอนติเจนครั้งแรก (มันก็จะงง ๆ หน่อย) ดังนั้นการตอบสนองขั้นแรก (Primary immune response) ของภูมิคุ้มกันชนิดนี้เลยเกิดขึ้นช้า แต่อยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน เพราะต้องสร้างเซลล์ความจำที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อสิ่งแปลกปลอม แต่หลังจากนั้นถ้าได้รับเชื้อโรคเดิมอีกครั้ง จะเกิดการตอบสนองขั้นสอง (Secondary immune response) ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยการกระตุ้นเซลล์บีให้สร้างแอนติบอดี้ หรือกระตุ้นเซลล์ทีที่ทําลายสิ่งแปลกปลอมชนิดเดิม ซึ่งภูมิคุ้มกันแบบก่อเองสามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ 

1.1. ภูมิคุ้มกันก่อเองเกิดตามธรรมชาติ (Natural Active immunity)

จะเกิดขึ้นเมื่อได้รับแอนติเจน หรือเชื้อโรคที่ทำให้เราป่วย เช่น โรคคางทูม โรคอีสุกอีใส โดยร่างกายจะสร้างแอนติบอดี เพื่อจดจําและกระตุ้นให้เกิดการทำลาย หรือทำให้แอนติเจนเหล่านี้เป็นกลางและไม่เป็นพิษ ทำให้เราไม่ป่วยโรคเดิมซ้ำอีกครั้ง หรืออาการไม่รุนแรงเท่าครั้งแรกนั่นเอง

1.2. ภูมิคุ้มกันก่อเองที่สร้างขึ้น (Artificial active immunity)

ภูมิคุ้มกันนี้จะเกิดขึ้นหลังการให้วัคซีน การทา หรือการให้ยากระตุ้น การสร้างแอนติบอดี้เพื่อจดจำแอนติเจนเหล่านั้น และป้องกันล่วงหน้าเมื่อได้รับแอนติเจนเหล่านี้มาก็จะไม่เกิดอาการ เช่น การปลูกฝี การรักษาโรคฝีดาษ โรคคอตีบ บาดทะยัก วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ โรคมะเร็งปากมดลูก (HPV) วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ซึ่งมีหลากหลายชนิดด้วยกัน เราแนะนำให้เพื่อน ๆ ไปอ่านเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้ที่นี่เลย 

 

  • ภูมิคุ้มกันแบบรับมา (Passive immunity) 

จากที่เราพูดถึงไปในข้อที่แล้ว ร่างกายของเราสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองได้ แต่ใช้เวลานานสักหน่อย ต่างจากภูมิคุ้มกันอีกแบบหนึ่งที่ได้ผลทันทีแต่อยู่ได้แค่ชั่วคราว นั่นก็คือภูมิคุ้มกันแบบรับมา (Passive immunity) โดยเราสามารถให้แอนติบอดีที่สร้างมาจากสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ หรือจากมารดาในขณะตั้งครรภ์ โดยที่ร่างกายของเราไม่ได้สร้างขึ้นมาเองตามกระบวนการการเกิดภูมิคุ้มกัน เพื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรง สำหรับภูมิคุ้มกันแบบรับมานี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

2.1. ภูมิคุ้มกันรับมาตามธรรมชาติ (Natural passive immunity)

เป็นภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดตามธรรมชาติจากแม่สู่ทารกผ่านทางรกและนํ้านมแม่ โดยถ้าแม่มีภูมิคุ้มกัน หรือแอนติบอดีกับโรคก่อนการตั้งครรภ์ ลูกก็จะได้รับภูมิคุ้มกันไปด้วย แต่เมื่อคลอดออกมา ภูมิคุ้มกันโรคตามธรรมชาติคงอยู่ได้ประมาณ 3 เดือนหลังคลอดเท่านั้น จากนั้นทารกจะมีภูมิคุ้มกันโรคลดลง 

2.2. ภูมิคุ้มกันรับมาที่สร้างขึ้น (Artificial passive immunity)

โดยรับแอนติบอดีจากสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อย่างการฉีดเซรุ่มหรือซีรั่ม ซึ่งได้มาจากการฉีดแอนติเจนที่อ่อนกําลัง หรือที่ตายแล้วเข้าไปในสัตว์ เช่น หนูกระต่าย เพื่อกระตุ้นให้สร้างแอนติบอดี จากนั้นจะนําเลือดของสัตว์มาสกัดแอนติบอดี้ ก่อนจะนําไปฉีดเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ การฉีดเซรุ่มนี้ จะทําให้ร่างกายได้รับแอนติบอดีที่จําเพาะต่อแอนติเจนโดยตรง ทำให้สามารถกําจัดแอนติเจนชนิดนั้นได้ทันที โดยที่ระบบภูมิคุ้มกันไม่ต้องสร้างเอง เช่น คนถูกงูกัดต้องฉีดเซรุ่มเพื่อป้องกันพิษงูทันที (แต่อาจมีผู้ป่วยบางคนมีอาการต่อต้านหรือแพ้เซรุ่มจากสัตว์ได้)

เรารู้จักภูมิคุ้มกันไปแล้วเนาะ ถ้าเพื่อน ๆ อยากรู้ว่ามีอวัยวะไหนบ้างที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน ดูที่วิดีโอด้านล่างได้เลย

 

เรียนรู้เรื่องภูมิคุ้มกันทั้งสองประเภทกันไปแล้ว อย่าลืมโหลดแอปพลิเคชัน StartDee มาทบทวนเนื้อหา พร้อมทำแบบฝึกหัดเรื่องนี้ให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น แล้วมาเพิ่มสมาธิทำการบ้านอ่านหนังสือไปกับบทความจัดโต๊ะอ่านหนังสือในห้องนอนยังไง...ให้ไม่น่านอนหรือบทความเคล็ดลับดี ๆ กับวิธีอ่านหนังสือสอบให้เข้าสมอง เตรียมพร้อมสอบกันต่อเลย !

ส่วนใครที่ยังไหว เรียนชีววิทยาต่อได้แบบไม่มียั้ง คลิกอ่านบทเรียนที่เกี่ยวข้องอย่างระบบภูมิคุ้มกันและการอักเสบ หรือการแข็งตัวของเลือด

ขอบคุณข้อมูลจาก : ครูหฤษฎ์ ยวงมณี

 

Did you know ? ทำไมตอนเด็ก ๆ เราต้องฉีดวัคซีน

ตอนเด็ก ๆ เราเชื่อว่าเพื่อน ๆ เคยฉีดวัคซีนมาบ้างแล้ว ซึ่งเหตุผลที่เราต้องฉีดวัคซีน เพราะช่วงวัยแรกเกิดไปจนถึงหนึ่งปีนั้น เรายังไม่มีภูมิคุ้มกันมากพอจะต่อต้านเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ ซึ่งถ้าได้รับเชื้อเหล่านั้นก็อาจจะอันตรายกว่าผู้ใหญ่ และอาจเสียชีวิตได้เลยทีเดียว ดังนั้นวัคซีนเลยเป็นเหมือนบอดี้การ์ดส่วนตัวของวัยแบเบาะ ที่คอยจัดการกับเชื้อโรคต่าง ๆ โดยวัคซีนพื้นฐานที่เด็ก ๆ จะต้องฉีด เช่น วัคซีนโปลิโอ วัคซีนหัดเยอรมัน วัคซีนคางทูม เป็นต้น โดยหลังจากฉีดวัคซีน เด็กหลายคนอาจจะเกิดอาการไข้ขึ้นเป็นปกติ และจะหายไปภายใน 2-3 วัน โดยเฉพาะวัคซีนบาดทะยัก วัคซีนคอตีบ และวัคซีนไอกรน เพราะเชื้อที่ฉีดเข้าไปนั้น จะกระตุ้นให้ร่างกายมีการตอบสนองในการพยายามที่จะกำจัดเชื้อในวัคซีนออกไป และกระตุ้นการเกิดภูมิคุ้มกันนั่นเอง 

อย่างไรก็ตาม แม้วัคซ๊นจะมีประโยชน์มาก ๆ แต่ก็มีกลุ่มคนที่ต่อต้านการฉีดวัคซีนอยู่ทั่วโลกเลยนะ โดยเราจะเรียกคนกลุ่มนี้ว่า Anti-vaxxer ที่นอกจากจะไม่รับวัคซีนเองแล้ว ยังไม่พาลูกหลานไปฉีดวัคซีนอีกด้วย

Reference

โรงพยาบาลพญาไท. (n.d.). ความรู้ทางการแพทย์. Retrieved November 09, 2020, from https://www.phyathai-sriracha.com/pytsweb/index.php?page=modules%2Fknowledgepage

Hospital, P. (2020, January 17). สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่แรกคลอดด้วยการฉีด "วัคซีน". Retrieved November 09, 2020, from https://www.paolohospital.com/th-TH/center/Article/Details/โรคไต/สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่แรกคลอดด้วยการฉีด-วัคซีน 

ข้อดี ข้อเสียของภูมิคุ้มกันรับมามีอะไรบ้าง

ข้อดีของภูมิคุ้มกันรับมาคือ ทำปฏิกิริยาได้ทันทีโดยไม่ต้องรอการกระตุ้น ส่วนข้อเสียของภูมิคุ้มกันรับมาคือ มีอายุสั้น ร่างกายไม่สามารถจดจำสิ่งแปลกปลอมนั้นๆ ได้ และอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้

ข้อใดทำให้เกิดภูมิคุ้มกันก่อเอง

2.1 ภูมิคุ้มกันก่อเอง (active immunity) เป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดจากร่างกายได้รับแอนติเจน หรือเชื้อโรคที่อ่อนกำลังลงซึ่งไม่ทำอันตรายต่อสุขภาพ โดยนำมาฉีด กิน หรือทาที่ผิวหนัง กระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีหรือภูมิคุ้มกันขึ้น เช่น การฉีดวัคซีนไอกรน โปลิโอ วัณโรค ไทฟอยด์ เป็นต้น

ภูมิคุ้มกันรับมาแตกต่างจากภูมิคุ้มกันก่อเองอย่างไร

จากที่เราพูดถึงไปในข้อที่แล้ว ร่างกายของเราสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองได้ แต่ใช้เวลานานสักหน่อย ต่างจากภูมิคุ้มกันอีกแบบหนึ่งที่ได้ผลทันทีแต่อยู่ได้แค่ชั่วคราว นั่นก็คือภูมิคุ้มกันแบบรับมา (Passive immunity) โดยเราสามารถให้แอนติบอดีที่สร้างมาจากสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ หรือจากมารดาในขณะตั้งครรภ์ โดยที่ร่างกายของเราไม่ได้ ...

ภูมิคุ้มกันรับมาเป็นอย่างไร

ภูมิคุ้มกันรับมา (อังกฤษ: Passive immunity) เป็นการส่งต่อภูมิคุ้มกันแบบฮิวเมอร์ที่ถูกกระตุ้นแล้วที่ประกอบด้วยแอนทิบอดีที่สร้างมาพร้อมแล้ว ภูมิคุ้มกันรับมาสามารถเกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติ ในกรณีที่แอนทิบอดีของมารดาถูกส่งต่อไปยังตัวอ่อนผ่านทางรก และสามารถเกิดจากการถูกกระตุ้นทางเทียมด้วยระดับของ แอนทิบอดีที่เฉพาะต่อสารก่อโรค ...