ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ด้านการเกษตร

ปักกิ่ง, 19 พ.ย. (ซินหัว) -- จีนเปิดเผยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การเกษตรที่สำคัญที่สุด 10 รายการของปี 2020 ในการประชุมเพื่อให้ข้อมูลด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภาคการเกษตรและชนบทของประเทศ ที่จัดขึ้น ณ กรุงปักกิ่ง เมื่อวันศุกร์ (19 พ.ย.)

ความก้าวหน้าข้างต้นประกอบด้วยหลากหลายสาขา เช่น กลไกการควบคุมระดับโมเลกุลของพืชผลที่ให้ผลผลิตสูง กลไกการต้านทานโรคของพืช และภูมิไวรับ (susceptibility) ของสัตว์เคี้ยวเอื้องและสัตว์ปีกในประเทศต่อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (Sars-CoV-2) เป็นต้น

นักวิจัยจีนได้จำแนกยีนเอ็นจีอาร์5 (NGR5) และพบว่าระดับเอ็นจีอาร์5 ที่เพิ่มขึ้นสามารถเพิ่มการแตกกอและผลผลิตของข้าวได้โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยที่อุดมด้วยไนโตรเจนมากขึ้น

ในการศึกษาอีกชิ้น คณะนักวิจัยได้ตรวจสอบภูมิไวรับของเฟอร์เร็ตและสัตว์อื่นๆ ที่สัมผัสใกล้ชิดกับมนุษย์ที่มีเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ โดยพวกเขาพบว่าไวรัสฯ แพร่เชื้อได้ไม่ดีในสุนัข สุกร ไก่ และเป็ด แต่ในเฟอร์เร็ตและแมวนั้นสามารถรับเชื้อไวรัสฯ ได้ง่ายกว่า

คณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซานตงได้โคลนยีนเอฟเอชบี7 (Fhb7) ที่มีความต้านทานในระดับสูงและคงที่ต่อโรคฟูซาเรียม เฮด ไบลท์ (fusarium head blight) หรือโรคจากเชื้อรา ที่ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงและก่อให้เกิดสารพิษในพืช

คณะนักวิจัยได้เปิดเผยกลไกการต่อต้านและวิวัฒนาการของยีนเอฟเอชบี7 โดยการใช้ยีนเอฟเอชบี7 กับพันธุ์ข้าวสาลีเชิงพาณิชย์ สามารถบรรเทาการสูญเสียผลผลิตและความกังวลด้านความปลอดภัยของอาหารได้

นอกเหนือจากนั้น ความก้าวหน้าอื่นๆ ที่ได้รับการคัดเลือก ได้แก่ การศึกษาการปลูกพืชแซม (intercropping) การปลูกพืชผลหลายชนิดพร้อมกันในพื้นที่เดียวกัน การวิเคราะห์จีโนมที่แก้ไขแฮพโพลไทป์ (Haplotype-resolved genome ) ในมันฝรั่งดิพลอยด์เฮเทอโรไซกัส (heterozygous diploid potato) การสร้างจีโนมถั่วเหลืองคุณภาพสูงตามกราฟ และสาเหตุของการเอื้อประโยชน์ซึ่งกันของพืชตระกูลถั่วกับแบคทีเรียไรโซเบียมที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้

ทั้งนี้ ยังมีการเผยแพร่รายงานเกี่ยวกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภาคการเกษตรและชนบทของประเทศ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปี ฉบับที่ 13 (2016-2020) ณ งานประชุมดังกล่าวด้วย

ประเทศที่มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ล้วนตื่นตัวเรื่อง เทคโนโลยีเกษตร ทั้งนั้นครับ ... ทั้งอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้...

Posted by เกษตรอัจฉริยะ - Smart Farm on Thursday, September 17, 2015

ซึ่งเป็นที่กล่าวถึงกันมาก คือ ความสำเร็จของโครงการจีโนมของมนุษย์ ซึ่งได้ประกาศให้ชาวโลกทราบเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2543 ว่าคณะทำงานได้ลงนามเสร็จสิ้น พร้อมทั้งร่างรายละเอียดของยีนส์ทั้งหมดของมนุษย์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาโรคพันธุกรรมของมนุษย์ ทำให้รักษาโรคอย่าเจาะจง พัฒนาเวชภัณฑ์ เช่น ยา และวัคซีนให้มีความจำเพาะมากขึ้น นอกจากนี้ความก้าวหน้าทางอิเล็กทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์จะถูกนำมาประยุกต์ กับความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ โดยเฉพาะเรื่องยีนส์ อันจะนำไปสู่วิทยาการใหม่ที่เรียกว่า สารสนเทศชีวภาพ (Bio informatics) ก่อให้เกิดความสามารถทำแบบ จำลองของโมเลกุลขนาดใหญ่ โดยคอมพิวเตอร์ (Computer modeling) วิทยาศาสตร์ชีวภาพจะเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้ประโยชน์โมเลกุลในการทำนาโนเทคโนโลยี (Nano Technology) และการทำชิพชีวภาพ (Bio Chip) ที่จะใช้งานได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จะประกอบหรือฝังไว้กับร่างกายของสิ่งมีชีวิต ช่วยแก้ไขปัญหาการทำงานของระบบประสาทและระบบควบคุมฮอร์โมนต่างๆได้ความก้าวหน้าเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ความรู้ความชำนาญของนักวิทยาศาสตร์ หลายสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพจะเป็นการศึกษาในระดับโมเลกุล (Molocular Bioscienes) และจะประยุกต์ร่วมกับวิทยาศาสตร์กายภาพและเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิคส์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์และสังคมมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยยังเป็นประเทศเกษตรกรรมต้องเร่งการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพการเกษตรของไทย ขณะเดียวกันก็ต้องเร่งรัดการผลิต การอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษ มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ดังนั้นในอนาคตวิทยาศาสตร์ชีวภาพจะยังมีบทบาทสำคัญต่อการเกษตรและการแพทย์ทั้งการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม การค้นคว้าวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งถูกเร่งรัดโดยกติกาและข้อตกลงต่างๆ ก่อให้เกิดการนำวัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Biodegradable material) มาใช้งาน เทคโนโลยีสะอาด (Clean technology)การบำบัดทางชีวภาพ (Bioremediation) การทำเกษตรอินทรีย์ (Organic farming) ยาสมุนไพร (Herbal medicine) และโรงงานชีวภาพ Biofactory เป็นต้น ดังนั้นในอนาคตไทยจะต้องมีนักวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่มีเป้าหมายที่จะใช้ความรู้ 4 ด้าน คือ การเกษตร การแพทย์ การอุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม สังคมไทยในอนาคตจะต้องการคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นกว่าเดิม เพื่อทดแทนสิ่งแวดล้อมที่สูญเสียไปเนื่องจากการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การศึกษาตลอดชีวิตจะมีความสำคัญต่อสังคมมากยิ่งขึ้น (ประภา นรพัลลภ. 2546 : 180-182)


แหล่งข้อมูล : https://sites.google.com/site/kikkok1501/

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

                 ซึ่งเป็นที่กล่าวถึงกันมาก คือ  ความสำเร็จของโครงการจีโนมของมนุษย์  ซึ่งได้ประกาศให้ชาวโลกทราบเมื่อวันที่  26  มิถุนายน  2543  ว่าคณะทำงานได้ลงนามเสร็จสิ้น  พร้อมทั้งร่างรายละเอียดของยีนส์ทั้งหมดของมนุษย์  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาโรคพันธุกรรมของมนุษย์  ทำให้รักษาโรคอย่าเจาะจง  พัฒนาเวชภัณฑ์  เช่น  ยา  และวัคซีนให้มีความจำเพาะมากขึ้น นอกจากนี้ความก้าวหน้าทางอิเล็กทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์จะถูกนำมาประยุกต์ กับความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ  โดยเฉพาะเรื่องยีนส์  อันจะนำไปสู่วิทยาการใหม่ที่เรียกว่า สารสนเทศชีวภาพ (Bio informatics) ก่อให้เกิดความสามารถทำแบบ จำลองของโมเลกุลขนาดใหญ่  โดยคอมพิวเตอร์  (Computer  modeling)  วิทยาศาสตร์ชีวภาพจะเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้ประโยชน์โมเลกุลในการทำนาโนเทคโนโลยี (Nano  Technology)  และการทำชิพชีวภาพ  (Bio  Chip)  ที่จะใช้งานได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จะประกอบหรือฝังไว้กับร่างกายของสิ่งมีชีวิต  ช่วยแก้ไขปัญหาการทำงานของระบบประสาทและระบบควบคุมฮอร์โมนต่างๆได้ความก้าวหน้าเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ความรู้ความชำนาญของนักวิทยาศาสตร์ หลายสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพจะเป็นการศึกษาในระดับโมเลกุล (Molocular  Bioscienes) และจะประยุกต์ร่วมกับวิทยาศาสตร์กายภาพและเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิคส์  เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์และสังคมมากขึ้น  เนื่องจากประเทศไทยยังเป็นประเทศเกษตรกรรมต้องเร่งการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพการเกษตรของไทย ขณะเดียวกันก็ต้องเร่งรัดการผลิต การอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการเกษตร  ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษ มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ดังนั้นในอนาคตวิทยาศาสตร์ชีวภาพจะยังมีบทบาทสำคัญต่อการเกษตรและการแพทย์ทั้งการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม การค้นคว้าวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพเพื่อสิ่งแวดล้อม  ซึ่งถูกเร่งรัดโดยกติกาและข้อตกลงต่างๆ  ก่อให้เกิดการนำวัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Biodegradable  material)  มาใช้งาน  เทคโนโลยีสะอาด  (Clean  technology)การบำบัดทางชีวภาพ  (Bioremediation)  การทำเกษตรอินทรีย์ (Organic  farming)  ยาสมุนไพร  (Herbal  medicine)  และโรงงานชีวภาพ  Biofactory  เป็นต้น  ดังนั้นในอนาคตไทยจะต้องมีนักวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่มีเป้าหมายที่จะใช้ความรู้  4 ด้าน  คือ  การเกษตร  การแพทย์    การอุตสาหกรรม  และสิ่งแวดล้อม สังคมไทยในอนาคตจะต้องการคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นกว่าเดิม เพื่อทดแทนสิ่งแวดล้อมที่สูญเสียไปเนื่องจากการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว  นอกจากนี้การศึกษาตลอดชีวิตจะมีความสำคัญต่อสังคมมากยิ่งขึ้น (ประภา  นรพัลลภ.   2546 : 180-182)