งานวิจัย เกี่ยวกับอากาศยานไร้คนขับ

  • หน้าหลัก
  • โครงการวิจัย
  • [ข้อมูลทั่วไป] 2562 : การพัฒนาระบบประมวลผลภาพจากอ...ารตรวจจับศัตรูทางการเกษตร

รายละเอียดข้อมูลโครงการวิจัย

รหัสโครงการวิจัย

PCRU_2562_AC002

ปีงบประมาณ

2562

ประเภทโครงการ

โครงการวิจัยเดี่ยว

ประเภททุน

สนับสนุนการขอผลงานทางวิชาการ

ชื่อโครงการวิจัย

การพัฒนาระบบประมวลผลภาพจากอากาศยานไร้คนขับ เพื่อการตรวจจับศัตรูทางการเกษตร

ชื่อโครงการวิจัย (EN)

Development of Image Processing System from Unmanned Aerial Vehicle for Detection of Agricultural Pests.

นักวิจัย

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฏิ์พนธ์ พรรณรัตนชัย (หัวหน้าโครงการ, ร้อยละการทำวิจัย 100 )

สาขาวิชา/กลุ่มงาน

เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์

หลักสูตร

เทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)

คณะ/หน่วยงาน

คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

บทคัดย่อ

จังหวัดเพชรบูรณ์ก็เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปีมากจังหวัดหนึ่งมีจำนวนมากถึง 1,374,400 ไร่ จำนวนของผลผลิต 806,577 ตัน (สำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์, 2556) กระแสการปลูกข้าวคุณภาพมีมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันมีเกษตรปรับเปลี่ยนการปลูกข้าวแบบเคมีมาปลูกข้าวอินทรีย์หรือข้าวคุณภาพ ปี 2557 นี้มากถึง 1,721 ราย หนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้น คือ ศัตรูพืชอย่างเช่นหอยเชอรี่นั่นเองเพื่อไม่ให้ใช้สารเคมีและนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในภาคการผลิตนั้น จึงมีการทำวิจัย เรื่องการพัฒนาระบบประมวลผลภาพจากอากาศยานไร้คนขับเพื่อการตรวจจับศัตรูทางการเกษตร

  การพัฒนาระบบประมวลผลภาพจากอากาศยานไร้คนขับเพื่อการตรวจจับศัตรูทางการเกษตรดำเนินการโดยใช้โดรน DGI PHANTOM4 เก็บภาพจากนั้นทำการประมวลผลภาพศัตรูพืชด้วยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น ผลการศึกษาและพัฒนาต้นแบบระบบการพัฒนาระบบประมวลผลภาพจากอากาศยานไร้คนขับเพื่อการตรวจจับศัตรูทางการเกษตร การทำงานจะเริ่มจากการใช้ยานบิน Quad rotor บินสำรวจพื้นที่ในแปลงทดลองนาข้าว เพื่อตรวจจับไข่หอยเชอรี่ เพราะเมื่อไหร่ที่มีไข่ระบาดอยู่ใต้พื้นน้ำก็จะมีตัวไข่หอยเชอรี่อยู่ โดยเมื่อบินสำรวจเจอก็จะทำการประมวลผลต่อเพื่อส่งผ่านระบบเครือข่ายไร้สายมายังจอมอนิเตอร์ และทำการส่งข้อมูลต่อไปยัง Motor Pump ทำงานและทำการพ่นสารกำจัดหอยเชอรี่ การบังคับทิศทางการบินอากาศยานไร้คนขับจะเริ่มต้นบังคับโดยใช้รีโมทในโหมดการทำงานแบบ Manual เมื่ออากาศยานสามารถทรงตัวในอากาศได้แล้ว ก็จะทำการล็อกตำแหน่งความสูงเพื่อจะทำการบินตรวจจับไข่หอยเชอรี่ และทำการประมวลผลต่อไปผลการทดลองผู้วิจัยได้ทำการแบ่งออกเป็น 3 ประเภทสถานที่ด้วยกัน คือ ภายในห้อง LAB สถานที่กลางแจ้ง และในแปลงทดลองจริง โดยผลที่ได้สำหรับแปลงทดลองจริงมีค่าความถูกต้องอยู่ใน ระดับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ คือ มีความถูกต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70

Phetchabun Province is a province with a large area of paddy rice growing up to 1,374,400 rai. The total output of 121,598 tons (Phetchabun office, 2556). increase At present, there are 1,721 rice cultivators for organic rice production or quality rice.

  The development of unmanned aircraft image processing system for agricultural pest detection was carried out using the DGI PHANTOM4 drones. The images were then processed using the developed program. The results of the study and development of the prototype of the system for developing image processing systems from unmanned aircraft for detecting agricultural enemies The work will start with the use of Quad rotor aircraft to fly to explore the area in the rice field experiment. To detect the shellfish eggs Because when there is an epidemic egg under the water surface, there will be a shellfish egg When flying, the survey will continue to be processed to send via the wireless network to the monitor. And sending the data to the Motor Pump working and spraying the snail shells Flight direction Unmanned aircraft will begin to force by using the remote in the manual operation mode when the aircraft is able to stabilize the air. Will lock the height position in order to fly to catch the shellfish eggs And continue processing. The results of the research were divided into 3 types of locations together: within the LAB room, outdoor location And in the actual experiment With the results obtained for the actual experimental plot having the correct value in The hypothesis level is set to be at least 70 percent correct.

คำสำคัญ

อากาศยานไร้คนขับ,โดรน,ข้าวคุณภาพ,Drone,Rice Quality,vacuum rice

สถานะโครงการ

ดำเนินการเสร็จสิ้น

บทคัดย่อ

PDF ดาวน์โหลด เปิด : 416 ครั้ง

เล่มรายงาน

PDF ดาวน์โหลด เปิด : 937 ครั้ง / ดาวน์โหลด : 15 ครั้ง
(จำกัดจำนวน 8 หน้า เข้าสู่ระบบสำหรับเอกสารฉบับเต็ม)

เปิดดู

1,256 ครั้ง

หมายเหตุ

เอกสารเพิ่มเติม

แสดง 1 ถึง 1 จาก 1 ผลลัพธ์