แบบทดสอบ เรื่อง กาพย์ และโคลง พร้อม เฉลย

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

ข้อ 1)

เลือกตอบข้อ  ก. เย้า , เนื่อง

ผิด  เพราะคำว่า เย้า เป็นคำโท   ตำแหน่งนี้ต้อง

      เป็นคำเอก

เลือกตอบข้อ  ข. มัก,  เพราะ

 ถูก เพราะคำว่า มัก กับ คำว่า เพราะ เป็นคำตายใช้แทนคำเอกได้   ซึ่งถูกต้องตามฉันทลักษณ์ของโคลงสี่สุภาพ ที่กำหนดให้ตำแหน่งของคำที่ ๓ ของบาทที่ ๓  ต้องเป็นคำเอก และคำที่ ๖ ของบาทที่ ๔ ก็ต้องเป็นคำเอก เช่นเดียวกัน

เลือกตอบข้อ  ค. ดุจ , อัน

ผิด เพราะ คำว่า อัน ไม่ใช่คำเอก

เลือกตอบข้อ  . ได้ , เกิด

ผิด เพราะ คำว่า ได้ เป็นคำโท

ข้อ 2)

เลือกตอบข้อ  ก. นารายณ์บรรทมสินธุ์  นานตื่น

  ผิด  เพราะคำว่า บรร  ไม่ใช่คำเอก

       ตำแหน่งลักษณะบังคับของคำที่ ๓ บาทที่ ๓

      ในโคลงสี่สุภาพ  ต้องเป็นคำเอก

เลือกตอบข้อ . นารายณ์เจื่องเจ้านิทร     นานเนา  แล้วเฮย
   ผิด  เพราะคำว่า เนา  ไม่ใช่คำเอก

            ตำแหน่งลักษณะบังคับของคำที่ ๓ บาทที่ ๓

         ในโคลงสี่สุภาพ  ต้องเป็นคำเอก

เลือกตอบข้อ ค. นารายณ์เนื่องนิทรสินธุ์  นานตื่น

ถูก  เพราะบาทที่ ๓ ของโคลงสี่สุภาพมีลักษณะ

      บังคับ

เลือกตอบข้อ ง. นารายณ์เนาในสินธุ์  นานนับ  แลนา

  ผิด  เพราะคำว่า เนา  ไม่ใช่คำเอก

        ตำแหน่งลักษณะบังคับของคำที่ ๓ บาทที่ ๓

       ในโคลงสี่สุภาพ  ต้องเป็นคำเอก

ข้อ 3)

เลือกตอบข้อ   ก. กาพย์ยานี
ถูก เพราะจำนวนคำทั้งหมดมี ๒๒ คำ  เมื่อนำมาจัดวรรคในรูปแบบของกาพย์ยานี ๑๑ จะได้ ๑ บทพอดี

       เดินเที่ยวอยู่เดียวดาย    ใจมิวายคิดกังวล
     หากมีใครสักคน             มาเดินด้วยคงจะดี

เลือกตอบข้อ  ข. กาพย์ฉบัง

ผิด  เพราะกาพย์ฉบัง ๑ บทมี ๑๖ คำ  ถ้า 
  ๒ บทก็ต้องมี ๓๒ คำ แต่ข้อความนี้ มีจำนวนคำ

     ทั้งหมด ๒๒ คำ

เลือกตอบข้อ. กาพย์สุรางคนางค์

ผิด  เพราะกาพย์สุรางคนางค์ ๑ บทมี ๒๘  คำ

เลือกตอบข้อ ง. กลอนสุภาพผิด เพราะกลอนสุภาพ ๑ บท มี ๓๒ คำ

ข้อ 4)

เลือกตอบข้อ ก. กาพย์ฉบังผิด เพราะกาพย์ฉบัง ๑๖ ถ้าจัดรูปแบบ คำที่ ๖ ต้องส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๑๐

เลือกตอบข้อ. กาพย์สุรางคนางค์ ผิด เพราะกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ จะต้องแบ่งคำในวรรคเป็น ๔ คำ ๗ วรรค คำที่ ๔ ของวรรคที่ ๑ จะต้องส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๔ ของวรรคที่ ๒

เลือกตอบข้อ ค. โคลงสี่สุภาพผิด เพราะ โคลงสี่สุภาพ มีจำนวนคำทั้งหมด ๓๐ คำ ถ้ามีคำสร้อย อีก ๒ แห่ง ก็จะมีคำเพิ่มมาอีก ๔ คำ เป็น ๓๔ คำ แต่ข้อความนี้ มีจำนวนคำ ๔๔ คำ

เลือกตอบข้อ ง. กาพย์ยานี

ถูก  เพราะจำนวนคำทั้งหมดมี ๔๔ คำ ถ้านำมาจัดวรรคจะได้รูปแบบดังนี้
   โดยเสด็จเด็ดดวงสวาท  แรมนิราศคลาดพักตรา
 ป่านนี้แก้วพี่อา         นอนฤานั่งตั้งตาคอย
   อยู่เดียวเปลี่ยวใจเศร้า   คิดถึงเจ้าเปล่าใจถอย
 เสียดายวายรักร้อย        ชั่งเรียมเอยไม่เคยไกล

ข้อ 5)

เลือกตอบข้อ ก. ย้ำ

  ผิด  เพราะลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพกำหนดให้คำสุดท้ายของบาทที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๕ ของบาทที่ ๔  แต่คำว่า ย้ำ ไม่ส่งสัมผัสกับคำว่า เอื้อง

เลือกตอบข้อ ข. ย้าย

  ผิด  เพราะลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพกำหนดให้คำสุดท้ายของบาทที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๕ ของบาทที่ ๔  แต่คำว่า ย้ายไม่ส่งสัมผัสกับคำว่า เอื้อง

เลือกตอบข้อ . เยื้อง

  ถูก  เพราะคำสุดท้ายของบาทที่ ๒ ต้องส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๕ ของบาทที่ ๔ คำว่า เยื้อง เป็นเพียงคำเดียวในบรรดาตัวเลือกทั้งหมด ที่ส่งสัมผัสกับคำว่า เอื้อง

เลือกตอบข้อ ง. เย้า

 ผิด  เพราะลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพกำหนดให้คำสุดท้ายของบาทที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๕ ของบาทที่ ๔  แต่คำว่า เย้า ไม่ส่งสัมผัสกับคำว่า เอื้อง

ข้อ 6)

เลือกตอบข้อ ก. ฉันท์

 ผิด  เพราะข้อความนี้ไม่มีลักษณะของการใช้คำครุลหุซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการเล่นจังหวะของคำประพันธ์ประเภทฉันท์

เลือกตอบข้อ ข. โคลง
ถูก  เพราะข้อความนี้ เมื่อนำมาจัดวรรคตามระเบียบฉันทลักษณ์ จะได้รูปแบบเป็นโคลงสี่สุภาพ ดังนี้
    มหาโจรเที่ยวปล้นฆ่า  มหาชน
ด่าอุบาทว์ราชทัณฑ์ปรน  ปราบป้อง
มหาราชยาตรพหลผจญ  มหาราษฎร์   ละพ่อ
ชมฉกาจราชเดชก้อง  เกียรติกนั้นขันไหม

เลือกตอบข้อ ค. กาพย์
  ผิด  เพราะ ไม่สามารถนำข้อความไปจัดระเบียบให้ตรงกับฉันทลักษณ์ของกาพย์แต่ละประเภทได้

เลือกตอบข้อ ง. ร่าย
  ผิด  เพราะถ้าจัดคำลงวรรคได้ วรรคละ ๕ คำ อาจเป็น ร่ายสุภาพ แต่จะผิดสัมผัส เพราะ ร่ายสุภาพจะต้องส่งสัมผัสคำท้ายวรรค ไปยัง คำที่ ๑หรือ  ๒ หรือ ๓  ของวรรคถัดไป ทุกวรรค

ข้อ 7)

เลือกตอบข้อ .ยามเปรียบยิ่งดวงแก้ว  พ้นแล้วอุปมา

     ผิด  เพราะในบาทแรกมีคำเปรียบว่า ยิ่งแก้ว

    อยู่แล้ว ดังนั้นในบาทสุดท้ายก็ไม่น่าจะมีคำเปรียบ

    ที่ซ้ำซ้อนกันอีก

เลือกตอบข้อ ข. ยังแผ่นดินเลิศแล้ว  พร่างพ้นสุริย์ฉาย

     ผิด  เพราะในบาทแรกมีคำเปรียบ
ว่า สุริยกานต์ อยู่แล้ว ดังนั้นในบาทสุดท้ายก็ไม่น่าจะมีคำเปรียบที่ซ้ำซ้อนกันอีก

เลือกตอบข้อ ค. ยิ่งแสงสุริยะแคล้ว  เลิศล้ำแสงฉาย
 ผิด  เพราะในบาทแรกมีคำเปรียบ
 สุริยกานต์อยู่แล้ว ดังนั้นในบาทสุดท้ายก็ไม่น่าจะมีคำเปรียบที่ซ้ำซ้อนกันอีก

เลือกตอบข้อ ง. ฉาบแผ่นดินให้แผ้ว  พ่างพื้นพิมานสถาน

  ถูก เพราะใช้คำได้เหมาะสม สอดคล้องกับเนื้อความข้างต้น

ข้อ 8)

เลือกตอบข้อ ก. กาพย์ยานี

  ถูก เพราะถ้าอ่านเป็นกาพย์ยานี จะแบ่งวรรคได้ดังนี้
    เอ๊ ! ใครนะช่างคิด      ประดิษฐ์จรวดนำวิถี

  ชาติใดหากไม่มี      ไว้ใช้คงเสียเปรียบจัง

     ประเทศมหาอำนาจ      หลายชาติต่างอยากเด่นดัง

สร้างจรวดเก็บเข้าคลัง      อาวุธอย่างอเนกนับ

เลือกตอบข้อ ข. กลอน

  ผิด  เพราะข้อบังคับการส่งสัมผัสของกลอน

        กำหนดให้คำที่ ๘ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๑๑

        แต่ข้อความนี้ใช้จัดระเบียบของกลอนไม่ได้

เลือกตอบข้อ  ค. ร่าย

  ผิด  เพราะถ้าเป็นร่ายสุภาพ คำท้ายวรรค คือคำที่ ๕ จะต้องส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ ของ วรรคต่อไปทุกวรรค  ซึ่งข้อความนี้นำไปจัดระเบียบเป็นร่ายไม่ได้

เลือกตอบข้อ  ง. กาพย์ฉบัง

  ผิด  เพราะข้อบังคับของ กาพย์ฉบัง   คำที่ ๖ ต้อง  ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๑๐   ข้อความนี้จึงใช้จัดระเบียบเป็นกาพย์ฉบังไม่ได้

ข้อ 9)

เลือกตอบข้อ  ก.  ๕  คำ
 ผิด เพราะจำนวนคำไม่ครบตามตำแหน่งที่บังคับไว้ในฉันทลักษณ์

เลือกตอบข้อ  ข. ๖  คำ

  ถูก เพราะฉันทลักษณ์ของโคลงสี่สุภาพบังคับคำเอก

       ไว้ตรงตำแหน่งดังนี้
        ไทยยงคงศักดิ์ด้วย  ดวงดี  เด่นฤา

          ฤาปะเหมาะเคราะห์ปี  ศาจคุ้ม

          ลำพังชะตามี  ก็อาจ  อับนอ

          เพราะพิรัชภัยคลุ้ม  คลั่งล้อมรอบคาม

เลือกตอบข้อ  ค. ๔  คำ
คำตอบ ผิด เพราะจำนวนคำไม่ครบตามตำแหน่งที่บังคับไว้ในฉันทลักษณ์

เลือกตอบข้อ  ง. ๓  คำ
ผิด เพราะจำนวนคำไม่ครบตามตำแหน่งที่บังคับไว้ในฉันทลักษณ์

ข้อ 10)

เลือกตอบข้อ ก.ตาเสือเสือผาดผ้าย  หนีทาง

ผิด เพราะคำว่า ผาดผ้าย เป็นคำที่มีความหมายตรงกับเนื้อความ แปลว่า เคลื่อนที่ไปอย่างรวดเร็ว จึงไม่ใช่คำ โทโทษ ที่ เปลี่ยนรูปคำมาจากคำว่า พ่าย

เลือกตอบข้อ ข. พระครวญถึงอ่อนท้าว  หนักอุระราชร้าว

 ผิด เพราะคำว่า ท้าว ในข้อความนี้ เป็นคำที่หมายถึง

     นางผู้เป็นใหญ่ นางผู้มีสกุล จึงไม่ใช่คำโทโทษ ที่เกิดจากการเปลี่ยนรูปมาจากคำว่า ท่าว

เลือกตอบข้อ ค. อาจประกันกรุงถ้า  ทัพข้อยคืนถึง

 ถูก เพราะคำว่า ถ้า คำนี้อยู่ตรงตำแหน่งคำโท ซึ่งตามเนื้อความ น่าจะหมายถึงคำว่า ท่า ที่แปลว่า รอ

     ซึ่งเป็นลักษณะของการใช้คำ โทโทษ

เลือกตอบข้อ . มาแต่ตัวเข้าข้อง  ข่ายท้าวทั้งสอง

 ผิด  เพราะคำว่า ข้อง คำนี้ ตามเนื้อความ แปลว่า

       ติดอยู่ จึงไม่ใช่ลักษณะของการใช้คำโทโทษ