โครงงาน สมุนไพรไล่ยุง บทที่ 4

วิธีดำเนินการศึกษา

จากการศึกษาค้นคว้าเรื่อง การกำจัดยุงลายโดยใช้สมุนไพร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการกำจัดยุงลายโดยใช้สมุนไพรและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของมะกรูดและตะไคร้ในการกำจัดยุงลายโดยมีการศึกษาค้นคว้าดังนี้

1.      กลุ่มตัวอย่าง

จากกลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถาม มีจำนวนทั้งหมด 58 คน โดยจำแนกเป็น 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านแม่ห่าง จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 44.82 หมู่บ้านสันขี้เหล็ก จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 29.31 และหมู่บ้านแม่ขะจาน จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 25.86

2.      เครื่องมือ

ในการทดลองประสิทธิภาพของสมุนไพรทั้ง 2 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้และมะกรูด ได้มีการนำมะกรูดและตะไคร้มาสกัดเป็นสเปรย์กำจัดยุงแบบฉีด นำไปให้ชาวบ้านในหมู่บ้าน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านแม่ห่างจำนวน 26 คน หมู่บ้านสันขี้เหล็กจำนวน 17 คน หมู่บ้านแม่ขะจาน จำนวน 15 คน และได้ทำแบบสอบถามประสิทธิภาพของสเปรย์กำจัดยุงจากมะกรูดและตะไคร้นำไปให้ชาวบ้านในหมู่บ้านได้ตอบความคิดเห็น

3.    วิธีการรวบรวมข้อมูล

1.1   กำหนดประเด็นปัญหาและตั้งสมมติฐาน เลือกหัวข้อปัญหาที่จะแก้ไขโดยวิธีระดมความคิด

1.2 กำหนดขอบเขตการศึกษา

1.3 วิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ ผลกระทบ หาแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยศึกษาแหล่งข้อมูลวิธีแก้ปัญหา และแบ่งหน้าที่ในการศึกษาแต่ละหัวข้อ

1.4 ศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น อินเตอร์เน็ต และหนังสือ

1.5 เขียนจัดทำโครงร่าง เสนอครูที่ปรึกษา

1.6 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบสรรพคุณระหว่างตะไคร้และมะกรูดเพื่อแสดงให้เห็นว่าสมุนไพรทั้ง  2 ชนิด ชนิดใดกำจัดยุงลายได้ดีกว่ากัน

1.7 สรุปและอภิปรายผล

1.8 จัดทำรูปเล่มรายงานวิชาการ

1.9 นำเสนอรายงานวิชาการแก่คุณครู

1.10 ตรวจสอบและแก้ไข จัดทำรูปเล่มรายงายวิชาการฉบับจริง

บทที่ 4

สรุปผลการศึกษาค้นคว้า

ในการศึกษาค้นคว้าเรื่อง  ตะไคร้หอมไล่ยุง  ผู้ศึกษาค้นคว้าได้กำหนดวัตถุประสงค์และสมมติฐาน ไว้ดังนี้

วัตถุประสงค์ของปัญหา

-           เพื่อศึกษาประโยชน์ของตะไคร้

-           เพื่อศึกษาโรคที่ยุงเป็นพาหะ

-           เพื่อศึกษาว่าตะไคร้หอมไล่ยุงได้จริงหรือไม่

-           เพื่อศึกษาลักษณะของตะไคร้

สมมติฐาน

น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมสามารถไล่ยุงได้จริงหรือไม่

            สรุปผลการศึกษา  ดังนี้

             1.ประโยชน์ของตะไคร้ มีดังนี้

1.        มีส่วนช่วยในการขับเหงื่อ

2.        เป็นยาบำรุงธาตุไฟให้เจริญ (ต้นตะไคร้)

3.        มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร

4.        ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (ต้น)

5.        สารสกัดจากตะไคร้มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคเมะเร็งลำไส้ใหญ่

6.        แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ

7.        ช่วยรักษาอาการไข้ (ใบสด)

8.        ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ (ราก)

9.        น้ำมันหอมระเหยของใบตะไคร้ สามารถบรรเทาอาการปวดได้

10.      ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ

11.      ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ใบสด)

12.      ใช้เป็นยาแก้อาเจียน หากนำไปใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ (หัวตะไคร้)

13.      ช่่วยแก้อาการกษัยเส้นและแก้ลมใบ (หัวตะไคร้)

14.      รักษาโรคหอบหืด ด้วยการใช้ต้นตะไคร้

15.      ช่วยแก้อาการเสียดแน่นแสบบริเวณหน้าอก (ราก)

16.      ใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้องและอาการท้องเสีย (ราก)

17.      ช่วยแก้และบรรเทาอาการปวดท้อง

18.      ช่วยรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ (หัวตะไคร้)

19.      ช่วยในการขับน้ำดีมาช่วยในการย่อยอาหาร

20.      น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ มีส่วนช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ได้

21.      มีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะ

22.      ช่วยแก้อาการปัสสาวะพิการ และรักษาโรคนิ่ว (หัวตะไคร้)

23.      ช่วยแก้อาการขัดเบา (หัวตะไคร้)

24.      ใช้เป็นยาแก้ขับลม (ต้น)

25.      ช่วยรักษาอหิวาตกโรค

26.      ช่วยแก้ลมอัมพาต (หัวตะไคร้)

27.      ใช้เป็นยารักษาเกลื้อน (หัวตะไคร้)

28.      น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ สามารถช่วยต่อต้านเชื้อราบนผิวหนังได้เป็นอย่างดี

29.      ช่วยแก้โรคหนองใน หากนำไปผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ

30.      นำมาใช้ทำเป็นน้ำตะไคร้หอม น้ำตะไคร้ใบเตย ช่วยดับร้อนแก้กระหายได้เป็นอย่างดี

31.      ช่วยในการบำรุงและรักษาสายตา

32.      มีส่วนช่วยในการบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง

33.      มีส่วนช่วยในการบำรุงสมองและเพิ่มสมาธิ

34.      สามารถนำมาใช้ทำเป็นยานวดได้

35.      ช่วยแก้ปัญหาผมแตกปลาย (ต้น)

36.      มีฤทธิ์เป็นยาช่วยในการนอนหลับ

37.      การปลูกตะไคร้ร่วมกับผักชนิดอื่นๆจะช่วยป้องกันแมลงได้เป็นยังดี เพราะนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของสารระงับกลิ่นต่างๆ

38.      ต้นตะไคร้ช่วยดับกลิ่นคาวหรือกลิ่นคาวของปลาได้เป็นอย่างดี

39.      กลิ่นหอมของตะไคร้สามารถช่วยไล่ยุงและกำจัดยุงได้เป็นอย่างดี

40.      เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์จำพวกยากันยุงชนิดต่างๆ เช่น ยากันยุงตะไคร้หอม

     สรุปผลการศึกษา  ตะไคร้มีกลิ่นฉุน  ช่วยดับกลิ่นต่างๆและเมื่อปลูกรวมกับผักชนิดอื่นๆจะช่วยป้องกันแมลงได้ ดังนั้น ตะไคร้หอมจึงสามารถใช้ในการไล่ยุงและแมลงได้