กําไรจากการขายหุ้น เสียภาษี บุคคลธรรมดา

ภาษีขายหุ้น Financial Transaction tax คืออะไร ต่างกับ Capital gain tax อย่างไร ใครบ้างเข้าข่ายต้องจ่ายภาษี หากสรรพากรเรียกเก็บ หาคำตอบได้ที่นี่

กรณีกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง มีแผนเรียกเก็บภาษีจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หรือ Financial Transaction tax โดยนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร ระบุว่า ภาษีดังกล่าวได้รับการยกเว้นมากกว่า 30 ปี โดยกระทรวงการคลัง อยู่ระหว่างพิจารณาการเรียกเก็บ แต่จะต้องดูหลายปัจจัยประกอบ โดยเฉพาะเงื่อนไขเวลาที่เหมาะสม

 

กระทรวงการคลังและกรมสรรพากร ยืนยันว่า การเรียกเก็บภาษีดังกล่าวนั้น นักลงทุนรายย่อยที่มีอยู่ 85% จะไม่ได้รับผลกระทบแน่นอน 

การจัดเก็บภาษีหุ้นในตลาดหลักทรัพย์มี 2 รูปแบบ 

  • Capital Gain Tax ภาษีกำไรจากเงินลงทุน หรือภาษีเงินได้จากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ที่เกิดจากส่วนต่างของราคาหุ้น  ซึ่งในหลายประเทศมีการเรียกเก็บภาษี  Capital Gains Tax แต่ประเทศไทยยังไม่มีการเรียกเก็บภาษีในส่วนนี้ แต่ถ้าเป็นการขายหรือโอนหลักทรัพย์นอกตลาด ผู้ลงทุนประเภทบุคคลธรรมดาที่อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันในปีภาษีจะต้องเสียภาษีโดยถูกหัก ณ ที่จ่ายตามอัตราภาษีก้าวหน้า และต้องนำเงินได้ไปรวมคำนวณตอนสิ้นปีด้วย ส่วน Capital Gain จากการลงทุนในกองทุนรวม ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี
  • Financial Transaction tax หรือภาษีขายหุ้น คือการเก็บภาษีจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์  ซึ่งในกฎหมายกำหนดไว้ว่าการขายหุ้นในตลาดฯ 1 ล้านบาทขึ้นไปจะต้องเสียภาษีในอัตรา 0.1% ของมูลค่าขาย แต่ภาษีดังกล่าวได้รับการยกเว้นมาตั้งแต่ปี 2534 

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหุ้น สำหรับผู้ลงทุนไทยและผู้ลงทุนต่างประเทศ ที่ประกอบกิจการในประเทศไทย

1. กำไรจากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ /ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Capital gain) 

  • บุคคลธรรมดา เงินกำไรที่ได้จากการขายหุ้น ได้รับการยกเว้นภาษี
  • นิติบุคคล ไม่มีภาษีหัก ณ ที่จ่าย แต่ต้องนำไปรวมเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล

2. เงินปันผล (Dividend)

  • บุคคลธรรมดา ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% แต่จะได้รับการยกเว้นภาษี ในกรณีได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
  • นิติบุคคล ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% แต่จะได้รับการยกเว้นภาษี ในกรณี
  1. ผู้ได้รับเงินเป็นบริษัทจดทะเบียน โดยถือหุ้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อน และ 3 เดือนหลังวันที่ได้รับเงินปันผล
  2. ผู้ได้รับเงินได้ถือหุ้นในบริษัทผู้จ่ายเงินปันผล ไม่น้อยกว่า 25% ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง โดยถือหุ้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อน และ 3 เดือนหลังวันที่ได้รับเงินปันผล และบริษัทผู้จ่ายเงินปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทผู้ได้รับเงิน
  3. ได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI)

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ผู้ลงทุนจะถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัทหลักทรัพย์ที่ให้การบริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ / สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในอัตราร้อยละ 7 ของค่าธรรมเนียมหรือค่านายหน้าในการซื้อขายตามที่บริษัทหลักทรัพย์นั้นเรียกเก็บ 
  • อย่างไรก็ตามการขายหุ้น ไม่ถือว่าเป็นการขายสินค้า จึงไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • หมายเหตุ: อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามนโยบายของภาครัฐ ผู้ลงทุนสามารถติดตามข้อมูลอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มได้ที่ www.rd.go.th

กําไรจากการขายหุ้น เสียภาษี บุคคลธรรมดา

ใครบ้างเข้าข่ายต้องจ่ายภาษีหุ้นจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หรือ Financial Transaction tax? 
กระทรวงการคลังกำลังศึกษามี 3 แนวทาง 

  1. การขายหุ้นในตลาดฯ 1 ล้านบาทต่อเดือน 
  2. การขายหุ้นในตลาดฯ 1.5 ล้านบาทต่อเดือน 
  3. การขายหุ้นในตลาดตั้งแต่ 2 ล้านบาทต่อเดือนขึ้นไป 

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงว่า ปัจจุบันกระทรวงการคลังยกเว้นภาษีจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงยกเว้น Capital gains tax ซึ่งในหลายประเทศมีการจัดเก็บภาษีทั้ง 2 ตัวนี้ บางประเทศก็เก็บตัวใดตัวหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่มีการเก็บ Financial Transaction Tax

ตามกฏหมาย ประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีรายรับจากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้วในอัตรา 0.1% เพียงแต่มีการยกเว้นมาตั้งแต่ 2534 จนถึงปัจจุบัน ดังนั้น หากภาครัฐหากต้องการขยายฐานภาษี การพิจารณากลับมาเก็บภาษีชนิดนี้ก็เป็นหนึ่งในช่องทางที่เป็นไปได้

หากมีการเก็บภาษีกำไรจากการขายหลักทรัพย์ หรือ Capital gains tax จะต้องตรากฎหมายขึ้นมาใหม่ หรือแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติม แต่สำหรับการเก็บภาษีการขายหุ้น นั้นมีประมวลรัษฎากรสามารถดำเนินการได้ทันที

เลขที่หนังสือ: กค 0706/2168 วันที่: 4 มีนาคม 2546 เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินค่าซื้อหุ้นสามัญ ข้อกฎหมาย: มาตรา 42(9), มาตรา 50(2) ข้อหารือ: ลูกค้าของบริษัท ก. มีความประสงค์จะซื้อหุ้นสามัญจากผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นหุ้น
ของบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยปรากฏข้อเท็จจริงว่าเจ้ามรดกระบุไว้ในพินัยกรรมให้
ผู้จัดการมรดกจัดตั้งบริษัท (ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์)โดยให้นำเอาที่ดินมรดกไปเป็นทุนของ
บริษัท ตีมูลค่าชำระเป็นทุนของบริษัทเท่ากับราคาตลาดของที่ดินในขณะนั้น แล้วมอบให้แก่บุตรทุกคนเข้าไป
เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าว โดยในพินัยกรรมได้ระบุห้ามไม่ให้มีการซื้อขายหุ้นดังกล่าวกับบุคคลภายนอกที่
ไม่ใช่บุตรของเจ้ามรดก หนึ่งในผู้ถือหุ้น (บุตรของเจ้ามรดก) ต้องการขายหุ้นที่ได้รับมาจากบริษัทซึ่ง
ก่อตั้งตามพินัยกรรมของเจ้ามรดกให้กับผู้ถือหุ้นรายอื่น (บุตรของเจ้ามรดกเช่นเดียวกัน)
บริษัทฯ ขอหารือดังนี้
1. กรณีดังกล่าวถือเป็นการขายสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร
ตามมาตรา 42(9) แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่ ทั้งนี้ หากกำไรจากการขายหุ้นดังกล่าวได้รับการ
ยกเว้นตามมาตรา 42(9) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินค่าซื้อหุ้นก็ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
(จากกำไรของการโอนหุ้น) ไว้ตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร แต่หากเงินได้ดังกล่าวผู้ขายหุ้น
ไม่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา 42(9) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ซื้อหุ้น (บุคคลธรรมดา) ก็มีหน้าที่ต้องหัก
ภาษี ณ ที่จ่ายจากส่วนของกำไรที่เกิดจากการโอนหุ้นดังกล่าว แล้วนำส่งกรมสรรพากร
2. จากข้อเท็จจริงตามข้อ 1. การคำนวณหากำไรจากการขายหุ้นดังกล่าว ผู้ขายจะนำเอา
ต้นทุนของหุ้นดังกล่าว คือ ราคาพาร์ ณ วันแรกที่ก่อตั้งบริษัทมาหักออกจากรายได้จากการขายหุ้นได้
ใช่หรือไม่ ทั้งนี้ เนื่องจากเจ้ามรดกให้นำเอาที่ดินของเจ้ามรดก โอนเข้าเป็นหุ้นของบริษัทดังกล่าว และ
ให้ทายาทเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าว โดยวิธีปฏิบัติในการลงทุนของผู้ถือหุ้นนั้น ในทางปฏิบัติได้ทำการ
โอนลัดขั้นตอนแทนที่จะโอนที่ดินมรดกจากเจ้ามรดกไปให้ทายาท แล้วทายาทโอนเข้าไปเป็นทุนของบริษัท
ตามส่วนของผู้ถือหุ้นแต่ละคน กรณีนี้ใช้วิธีโอนจากกองมรดกเข้าไปเป็นทุนของบริษัทและมีชื่อบริษัทเป็น
เจ้าของที่ดินเลย สำหรับการกำหนดทุนก่อตั้งของบริษัท ได้ใช้วิธีการตีราคาที่ดินตามราคาตลาด ณ วันที่
โอนเข้าบริษัทเพื่อเป็นทุนในการจัดตั้ง
กรณีดังกล่าวจะถือว่ามูลค่าของต้นทุนของหุ้นที่ขายเป็นราคาเท่ากับมูลค่าหุ้นราคาพาร์ ณ
วันก่อตั้งบริษัท ถูกต้องหรือไม่
3. ในการจ่ายชำระค่าหุ้นที่ซื้อตามข้อ 1. ผู้ซื้อกับผู้ขายได้ตกลงแบ่งจ่ายชำระค่าหุ้นออกเป็น
งวด ๆ เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 12 ปี 8 เดือน ในการหักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้จ่ายเงินจึงมีหน้าที่หักภาษี ณ
ที่จ่ายไว้ทุกครั้งที่มีการจ่ายเงิน กรณีผู้ขายมีกำไรจากการขายหุ้น ผู้จ่ายเงินได้มีการแบ่งจ่ายเงินค่าหุ้น
ออกเป็นงวด ๆ ดังนั้น ทุกครั้งที่จ่ายเงิน ก็จะเฉลี่ยในส่วนของต้นทุนและรายได้จากการขายหุ้น เพื่อหา
กำไรที่เกิดจากการขายหุ้นในแต่ละครั้ง และนำกำไรที่ได้มาคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2)
แห่งประมวลรัษฎากร วิธีปฏิบัติดังกล่าวถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ แนววินิจฉัย: 1. เงินได้ที่เป็นผลประโยชน์จากการโอนหุ้น เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน ซึ่ง
เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ช) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ผู้มีเงินได้ได้รับจากการขายหุ้นที่
ได้ซื้อไว้ตามมาตรา 1106 และมาตรา 1107 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ถึงแม้บริษัทดังกล่าว
จะได้ตั้งขึ้นตามเงื่อนไขของพินัยกรรม ผู้ขายมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48 แห่ง
ประมวลรัษฎากร กรณีไม่เข้าลักษณะที่จะได้รับยกเว้นตามมาตรา 42(9) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น
ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2) แห่ง
ประมวลรัษฎากร
ในการคำนวณหาประโยชน์จากการโอนหุ้น เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
ตามมาตรา 40(4)(ช) แห่งประมวลรัษฎากร ให้คำนวณจากมูลค่าหุ้นที่ขาย หักด้วยมูลค่าหุ้นตามราคาที่
กำหนดต่อหุ้น (ราคาพาร์) ณ วันที่ซื้อหุ้น
2. การตกลงแบ่งจ่ายชำระค่าหุ้นเป็นงวด ๆ ให้คำนวณหาประโยชน์จากการโอนหุ้นเฉพาะซึ่ง
ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน โดยคำนวณตามสัดส่วนของการแบ่งจ่ายชำระค่าหุ้นเป็นงวด ๆ ตาม
สัญญา เลขตู้: 66/32294

กําไรจากขายหุ้น เสียภาษีไหม

เป็นภาษีจากธุรกรรมการขายหุ้น (Transaction Tax) ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งคำนวณจากรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น โดยจะต้องเสียภาษีในอัตรา 0.10% (อัตราตามมาตรา 91/6(1)) ของมูลค่าที่ขาย แต่ภาษีดังกล่าวได้รับการยกเว้นมาตั้งแต่ปี 2534 ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 240) พ.ศ.2534 จนถึงปัจจุบัน

การ ขาย หุ้น เสีย ภาษี อย่างไร

การขายหุ้น ไม่ถือว่าเป็นการขายสินค้า จึงไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ขายหุ้นโดนหักกี่เปอร์เซ็น

เรื่องที่ 5 คือ เมื่อนักลงทุนมีการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะต้องเสียภาษี (Financial Transaction tax) หรือเรียกว่า “ภาษีธุรกิจเฉพาะ”ซึ่งเดิมทีกฎหมายได้กำหนดไว้ว่าหากมีการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ 1 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องเสียภาษี 0.1% ของมูลค่าขายก่อนหักรายจ่ายใดๆแต่ก็ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะไม่ต้องเก็บมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2534.

บุคคลธรรมดาเมื่อมีกำไรจากการขายหลักทรัพย์จะเสียภาษีเงินได้อย่างไร

โดยปกติแล้ว ถ้าผู้ขายหุ้นที่เป็นบุคคลธรรมดาได้ขายหุ้นในราคาเท่าทุน ผู้ขายหุ้นย่อมสบายใจได้เพราะในทางภาษีถือว่าไม่มีผลกำไรจากการขายหุ้นเกิดขึ้น จึงไม่มีเงินได้ที่ต้องนำไปเสียภาษี แต่ถ้าขายหุ้นแล้วมีผลกำไร ผู้ขายหุ้นมีหน้าที่ต้องนำเงินได้ที่เกิดขึ้นไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้