ทําประกันลดหย่อนภาษีได้กี่บาท

โค้งสุดท้ายของฤดูกาลยื่นภาษี ประจำปี 2564 แล้ว โดยกรมสรรพากรกำหนดให้วันสุดท้ายของการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 64 ผ่านช่องทางออนไลน์ ทำได้จนถึงวันที่ 8 เมษายน 2565

เนื่องจากระหว่างนี้ สำหรับใครที่ยังไม่ได้ยื่นภาษี ปี64 ก็ต้องจัดเตรียมเอกสารให้พร้อมก่อนทำการยื่น เพื่อให้สะดวกรวดเร็วในตอนกรอกข้อมูล โดยยิ่งเอกสารของเราพร้อมมากเท่าไร ก็มีโอกาสได้เงินคืนภาษีเร็วเท่านั้น

ในส่วนของการ "ลดหย่อนภาษี" นั้น เราสามารถลดหย่อนได้หลายรูปแบบวิธีการด้วยกัน (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษี คลิกที่นี่) โดยการซื้อประกัน ก็เป็นอีกทางเลือกยอดนิยมของผู้เสียภาษี เพราะนอกจากจะได้รับความคุ้มครองให้อุ่นใจแล้ว ยังใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

แต่ทั้งนี้ ก่อนจะซื้อประกันเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษี เราควรทราบก่อนว่า  "ประกัน" ที่เราซื้อหรือวางแผนจะซื้อนั้น ค่าเบี้ยประกัน แต่ละประเภท สามารถนำมาใช้ "ลดหย่อนภาษี" ได้ไม่เท่ากัน

ซื้อประกัน ลดหย่อนภาษี แบบไหน เงื่อนไขอย่างไร

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" ชวนทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของ "ประกัน" ในการจะใช้ยื่นภาษีเพื่อขอลดหย่อนภาษี ว่า รายละเอียดและหลักเกณฑ์เป็นอย่างไร

ข้อมูลจาก กรมสรรพากร ได้ให้รายละเอียดถึง ค่าเบี้ยประกัน ว่า สามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อน สำหรับยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ แต่ไม่ใช่ว่า เบี้ยประกันจากกรมธรรม์ทุกประเภท จะนำมาขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เสมอไป แต่จะต้องเป็นกรมธรรม์ตรงตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

สำหรับผู้เสียภาษีที่ต้องการใช้สิทธิในส่วนนี้ ต้องทำความเข้าใจถึงค่าเบี้ยประกันที่สามารถนำลดหย่อนภาษีได้ โดยแยกตามประเภทของเบี้ยประกัน ดังนี้ 

1. เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป

- ผู้มีเงินได้ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

- คู่สมรส (ไม่มีเงินได้) ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท

- อายุกรมธรรม์ 10 ปีขึ้นไป

- ทำประกันกับบริษัทประกันในประเทศไทย

- ได้รับเงินคืนไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันรายปี

- ห้ามเวนคืนก่อนครบกำหนด

2. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 

- ลดหย่อนไต้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

ทั้งนี้ ค่าลดหย่อนที่ใต้รับสิทธิเมื่อรวมกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และ RMF แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

- อายุกรมธรรม์ 10 ปีขึ้นไป

- ทำประกันกับบริษัทประกันในประเทศไทย

- ต้องจ่ายผลประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ ช่วงอายุการจ่าย 55 - 85 ปีหรือมากกว่านั้น

- ต้องจ่ายเบี้ยครบก่อนได้รับผลประโยชน์

3. เบี้ยประกันประกันสุขภาพ 

- ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท

- เมื่อรวมเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป ต้องไม่เกิน 100,000 บาท

4. เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา

- ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

- บิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรส ต้องมีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี

จะเห็นว่า ประกันแต่ละชนิดมีรายละเอียดและเงื่อนไขในการใช้เพื่อลดหย่อนภาษี เมื่อได้รู้เช่นนี้แล้ว ผู้เสียภาษีก็จะสามารถยื่นข้อมูลเพื่อขอคืนภาษีในครั้งต่อๆ ไปได้ถูกต้อง ไม่เสียเวลาส่งเอกสารเพิ่มเติมให้วุ่นวาย รวมถึงในการซื้อประกันเพื่อลดหย่อนภาษีในครั้งต่อๆ ไป ก็จะสามารถเลือกประกันที่เข้ากับเงื่อนไขของแต่ละคนได้เหมาะสมยิ่งขึ้นนั่นเอง

เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ใช้เป็นลดหย่อนภาษีได้ ตามที่จ่ายจริง สำหรับคนที่ทำประกันสุขภาพให้ตัวเอง แต่ต้องไม่เกิน ฿25,000 และเมื่อรวมกับ เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป และ เงินฝากแบบมีประกันชีวิต แล้วจะต้องไม่เกิน ฿100,000 ด้วย1

เบี้ยประกันชีวิตสุขภาพตนเอง เป็นสิทธิประโยชน์สำหรับ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งมีหลักเกณฑ์การลดหย่อนแตกต่างจากเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปแต่มีความเกี่ยวพันกันเนื่องจากต้องใช้เพดานสิทธิ์ลดหย่อน ฿100,000 ร่วมกัน


วิธีกรอกค่าลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพตนเองบนแอป iTAX

หากคุณต้องการใช้สิทธิค่าลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพตนเอง สามารถนำมาคำนวณบนแอป iTAX ได้ดังนี้

  1. ในหน้าแรก (Home) กดที่
    ทําประกันลดหย่อนภาษีได้กี่บาท
    »
    ทําประกันลดหย่อนภาษีได้กี่บาท
     ค่าลดหย่อน
  2. เลือก ‘ประกันชีวิตสุขภาพ – ตนเอง’
  3. กรอกจำนวนเบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ที่จ่ายตลอดทั้งปี
  4. กด Done

แอปจะพากลับไปที่หน้า Home และแสดงผลการคำนวณภาษีหลังใช้สิทธิค่าลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพตนเองแล้วให้อัตโนมัติ


สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ

เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ที่จ่ายไปตั้งแต่ 1 ม.ค. 2563 สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง ได้สูงสุดปีละไม่เกิน ฿25,000 และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปและเงินฝากแบบมีประกันชีวิต จะต้องไม่เกิน ฿100,000 ด้วย

เงื่อนไขการรับสิทธิ

เราจะสามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพตนเองมาหักลดหย่อนได้ ถ้าเป็นการคุ้มครองการประกันสุขภาพที่รับประกันโดยบริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในไทยที่คุ้มครองอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่2

  • การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะ เนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ
  • การประกันภัยอุบัติเหตุเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลการทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก
  • การประกันภัยโรคร้ายแรง (Critical Illnesses)
  • การประกันภัยการดูแลระยะยาว (Long Term Care)

ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป คุณต้องแจ้งความประสงค์กับบริษัทประกันด้วยว่าต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี3 เนื่องจากบริษัทประกันเองก็มีหน้าที่ต้องส่งข้อมูลการใช้สิทธิของคุณให้กรมสรรพากรภายในวันที่ 7 มกราคมของทุกปีด้วยเช่นกัน4 (ดูช่องทางแจ้งขอใช้สิทธิของแต่ละบริษัท)

สามารถดูรายชื่อประกันสุขภาพที่ลดหย่อนภาษีได้ที่ iTAX shop

หลักฐานที่ต้องใช้

  • ใบเสร็จหรือหนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกันสุขภาพจากบริษัทประกันที่ระบุข้อความต่อไปนี้
  • ชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวประชาชนของผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้มีเงินได้และจ่ายเบี้ยประกันจากเงินได้นั้น
  • ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของบริษัทประกัน
  • จำนวนเบี้ยประกันสำหรับการประกันสุขภาพ
  • จำนวนเงินที่มีสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้

เรื่องที่มักเข้าใจผิดบ่อย

  • บริษัทประกันบางแห่ง แจ้งกับลูกค้าว่าการขอหนังสือรับรองการชำระเบี้ยสุขภาพต้องขออนุมัติจากสำนักงาน คปภ. ก่อน จึงจะได้สิทธิลดหย่อนภาษี  ซึ่งเรื่องนี้สำนักงาน คปภ. ชี้แจงว่าไม่เป็นความจริง สำหรับปีภาษี 2560 นี้ เพียงแต่มีใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือรับรองจากบริษัทเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการยื่นภาษีก็เพียงพอแล้ว หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ สายด่วน คปภ. 11865
  • สำหรับการใช้สิทธิลดหย่อนปีภาษี 2561 เป็นต้นไป แม้กฎหมายจะกำหนดให้ต้องแจ้งความประสงค์การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีให้บริษัทประกันทราบเพื่อส่งข้อมูลเบี้ยประกันสุขภาพให้แก่กรมสรรพากรอีกที แต่กระบวนการมีเพียงแค่แจ้งความประสงค์ตามแบบฟอร์มที่ได้รับจากบริษัทประกันก็พอแล้ว ซึ่งจะช่วยให้เวลายื่นภาษีจริงไม่ต้องใช้หลักฐานประกอบการยื่นขอลดหย่อนภาษีอีก

หากคุณเป็นหนึ่งคนที่ต้องการซื้อประกันสุขภาพ และต้องการใช้ ประกันสุขภาพเพื่อการลดหย่อนภาษี อย่าลืมแจ้งบริษัทประกันว่าต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย และหากคุณไม่แน่ใจว่า ประกันสุขภาพจากบริษัทไหนดีที่สุด หรือ กำลังมองหาแผนประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี แต่ไม่รู้ว่าจะต้องเลือกแบบไหนดี? คุณสามารถค้นหาแผนประกันสุขภาพที่เหมาะกับคุณได้ที่ iTAX shop ที่ๆ จะทำให้คุณได้เจอแผนประกันที่ตรงความต้องการ และตัวแทนมืออาชีพอย่างแน่นอน เรารับประกัน!

ภาษี หัก ณ ที่ จ่าย ค่า เบี้ย ประกัน กี่ เปอร์เซ็นต์

เงินได้ประเภทใดที่ต้องถูกหัก ณ ที่จ่าย.

ลดหย่อนประกันชีวิตพ่อแม่ได้ไหม

คำตอบคือ สามารถทำได้ค่ะ โดยจะลดหย่อนได้ตามจริงไม่เกินคนละ 15,000 บาท ซึ่งแปลว่า จะสามารถลดหย่อนประกันของพ่อได้ไม่เกิน 15,000 บาท และของแม่ได้ไม่เกิน 15,000 บาท เช่นกัน นอกจากนี้ยังสามารถนำประกันของพ่อแม่คู่สมรสไปลดหย่อนภาษีได้ แต่เฉพาะในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้เท่านั้นนะคะ