ขั้นตอนการช่วยเหลือภัยธรรมชาติ

บันทึก

การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น

ยอมรับทั้งหมด

ปฏิเสธทั้งหมด

Essential

คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน

คุกกี้ที่มีความจำเป็น

คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้

ยอมรับ

Functional

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้

คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน

คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้

ยอมรับ

ปฏิเสธ

คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ

คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น

ยอมรับ

ปฏิเสธ

คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย

คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น

ยอมรับ

ปฏิเสธ

การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินพ.ศ. 2562

ขั้นตอนการช่วยเหลือภัยธรรมชาติ

คุณสมบัติของเกษตรกร

     เกษตรกรที่จะได้รับการช่วยเหลือต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนด้านประมงกับหน่วยงานของกรมประมง ก่อนเกิดภัยพิบัติแล้วเท่านั้น

ขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือ

     1. จังหวัดดำเนินการประกาศให้ท้องที่นั้นเป็นเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน

     2. เกษตรกรแจ้งขอรับการช่วยเหลือตามแบบยื่นความจำนงขอรับการช่วยเหลือ (แบบ กษ 01) ซึ่งมีผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน/อบต. หรือนายกเทศมนตรีประจำท้องที่ตรวจสอบรับรอง และยื่นขอรับความช่วยเหลือกับประมงอำเภอหรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

     3. ประมงอำเภอ ดำเนินการสำรวจ และตรวจสอบความเสียหายของเกษตรกรเป็นรายบุคคล และตรวจสอบกับทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของกรมประมง

     4. ประมงอำเภอ นำรายชื่อเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายและผ่านการตรวจสอบแล้ว นำมาประมวลรวบรวม และคำนวณมูลค่าความช่วยเหลือพร้อมลงนามรับรองตามแบบประมวลรวบรวมการช่วยเหลือรายหมู่บ้าน (แบบ กษ 02)

     5. ประมงอำเภอ นำรายชื่อเกษตรกรตามแบบประมวลรวบรวมการช่วยเหลือรายหมู่บ้าน (แบบ กษ 02) นำไปติดประกาศในสถานที่ราชการเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 วัน เพื่อให้เกษตรกรตรวจสอบข้อมูล หรือดำเนินการประชาคมหมู่บ้าน กรณีมีผู้คัดค้านให้ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องใหม่ทั้งหมด 

     6. นำรายชื่อเกษตรกรที่ได้รับความเสียหาย ที่ผ่านการติดประกาศ หรือประชาคมหมู่บ้านแล้วเสนอคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (ก.ช.ภ.อ.) เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ โดยใช้เงินทดรองราชการในอำนาจอำเภอ

     7. หากวงเงินในอำนาจของอำเภอมีไม่เพียงพอให้นำเสนอคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.) เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือโดยใช้เงินทดรองราชการในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด 20 ล้านบาท

     8. หากวงเงินในอำนาจของจังหวัดมีไม่เพียงพอสามารถขอใช้เงินทดรองราชการในอำนาจของปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (50 ล้านบาท)

อัตราการให้ความช่วยเหลือ ดังนี้

     1. กุ้งก้ามกราม กุ้งทะเล หรือหอยทะเล ไร่ละ 11,780 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่

     2. ปลาหรือสัตว์น้ำอื่นนอกจากข้อ 1. ที่เลี้ยงในบ่อดิน นาข้าวหรือร่องสวน (คิดเฉพาะพื้นที่เลี้ยง) ไร่ละ 4,682  บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่

     3. สัตว์น้ำตามข้อ 1. และข้อ 2. ที่เลี้ยงในกระชัง บ่อซีเมนต์ หรือที่เลี้ยงในลักษณะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ตารางเมตรละ 368 บาท รายละไม่เกิน 80 ตารางเมตร

     ทั้งนี้ หากคิดคำนวณพื้นที่เลี้ยงแล้ว ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ประสบภัยพิบัติรายใดจะได้รับการช่วยเหลือเป็นเงินต่ำกว่า 368 บาท ให้ช่วยเหลือในอัตรารายละ 368 บาท

ดาวน์โหลดเอกสาร :

 คู่มือ การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ด้านการเกษตร

 คู่มือ หลักเกณฑ์ การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ด้านการเกษตร

 - ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดลองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562

 - หลักเกณฑ์การใช้จ้ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563

 - หลักเกณฑ์วิธีปฎิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการใช้จ้ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564

แบบฟอร์มรายงานความเสียหาย :

 บันทึกข้อความรายงานสถานการณ์อุทกภัย

 ตารางรายงานความเสียหายเบื้องต้นเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย

 แบบรายงานความก้าวหน้าการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ

แบบประมวลรวบรวมความเสียหายด้านประมง และการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัย

 แบบ กษ 01 / แบบ กษ 02 / แบบ กษ 03