ประกันสังคมต้องจดทะเบียนสมรสไหม

เบิกค่าคลอดบุตรประกันสังคม ทำไง ? หากพ่อแม่ ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่จะ เบิกค่าคลอดบุตรประกันสังคม ของบิดา จะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง จากประสบการณ์เป็นคุณแม่คนหนึ่งที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และลูกใช้นามสกุลมารดา แต่เบิกค่าคลอดบุตรจากประกันสังคมของบิดา  และเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 400 บาท จากประกันสังคม ของบิดา จะต้องเตรียมการในการขอจดรับรองบุตร ดังต่อไปนี้

ประกันสังคมต้องจดทะเบียนสมรสไหม

เบิกค่าคลอดบุตรประกันสังคม ได้ไหม ถ้าพ่อแม่ ไม่ได้จดทะเบียนสมรส

วิธีเบิกค่าคลอดบุตรประกันสังคม

# เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนรับรองบุตร

(นำต้นฉบับเอกสารให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพร้อมสำเนา 2 ชุด)
1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง(บิดา)
2. ทะเบียนบ้านตัวจริงของผู้ร้อง มารดา และผู้เยาว์
3. สูติบัตรของผู้เยาว์ หรือบุตร
4. ใบมรณบัตรของมารดาผู้เยาว์ (กรณีมารดาผู้เยาว์เสียชีวิต)
5. ใบเปลี่ยนชื่อตัว / ชื่อสกุล (ถ้ามี) ของผู้ร้อง,ผู้เยาว์,มารดาของบุตร
6. หนังสือให้ความยินยอมของมารดาผู้เยาว์ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีมารดายังมีชีวิต)

# ค่าใช้จ่ายในการยื่นคำร้องเพื่อเบิกค่าคลอดบุตร

1. ค่าขึ้นศาล 200 บาท
2. ค่าประกาศหนังสือพิมพ์ 500 บาท

ค่าใช้จ่ายชำระที่ศาลเยาวชน และครอบครัว  พอดีบ้านอยู่ในเขตพื้นที่ศาลเยาวชน และครอบครัวกลาง (จตุจักร)
แล้วนัดวันขึ้นศาลศาลจะนัดไต่สวนคำร้องไม่น้อยกว่า 45 วันนับแต่วันยื่นคำร้อง และภายในเวลา 15 วัน และจะมีจนท.โทรมาแจ้งนัดวันให้บิดามารดา และบุตรไปให้ถ้อยคำ(ปากคำ)ที่สถานพินิจ (ไปที่บางนา) กับจนท. เพื่อประมวลข้อมูล และรายงานผลต่อศาลในการพิจารณาคำร้องขอจดทะเบียนบุตร
ในวันนัดไต่สวนคำร้อง บิดา มารดา และบุตรต้องมาศาล และนำเอกสารพยานหลักฐานต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในบัญชีพยานมาศาลเพื่อทำการไต่สวนคำร้อง (ใช้เวลาไม่นาน ต้องสาบานตนทั้งสามี และภรรยา)เมื่อพ้นกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง สามารถขอคัดถ่ายคำสั่งศาลโดยให้เจ้าหน้าที่รับรองสำเนา และขอหนังสือสำคัญแสดงคดีถึงที่สุด (เจอคิวยาว ต้องรอคัดลอก 1 สัปดาห์) แล้วนำเอกสารดังกล่าว ไปดำเนินการขอค่าสงเคราะห์บุตรได้ค่ะ

ประกันสังคมต้องจดทะเบียนสมรสไหม

เบิกค่าคลอดบุตรประกันสังคมได้ไหม ถ้าพ่อแม่ ไม่ได้จดทะเบียนสมรส

สนใจประกันสุขภาพเหมาจ่าย คลิกที่นี่

# หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร

แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร (สปส. 2-01) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของคู่สมรส สำเนาทะเบียนสมรส / ทะเบียนหย่าของผู้ประกันตน (กรณีจดทะเบียนหย่า) หรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร ซึ่งเกิดจากคำสั่งศาลพิพากษาให้เป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย สำเนาสูติบัตร พร้อมสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อ และเลขที่บัญชี ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)  เป็นต้น

มาถึงกรณี เบิกค่าประกันสังคมบิดา 13,000 บาท ให้ไปขอเอกสาร สปส.2-01 มากรอกให้เรียบร้อย (ขอที่ทำงาน,ที่ประกันสังคม,Download จาก website) กรอกข้อมูลตามความจริง และเตรียมพยานมา 2 คน เพื่อเซ็นต์ลายเซ็นต์ เอกสารที่ต้องเตรียม
– สำเนาบัตรประชาชนบิดา.มารดา และพยาน 2 คน
– สำเนาสูติบัตร
– สำเนาธนาคารหน้าแรกออมทรัพย์ของบิดา (ผู้ประกันตน)

ป.ล. สถานประกันสังคมบางที่จ่ายคืนให้เป็นเงินสด 13,000 บาท บางที่สั่งจ่ายทางธนาคารนะคะ (กรุณาเช็คกับที่ยื่นเอกสารนะคะ) และในการให้ปากคำแต่ละครั้ง ต้องล้วนเป็นความจริงทั้งสิ้น

สอบถามเพิ่มเติม

ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506

ประกันสังคมต้องจดทะเบียนสมรสไหม

เบิกค่าคลอดบุตรประกันสังคม ได้ไหม ถ้าพ่อแม่ ไม่ได้จดทะเบียนสมรส

_________________________________________________________________________________________

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด กับ เงินสงเคราะห์เด็ก ต่างกันยังไง ฉบับอัปเดต 2563

เช็คสิ สิทธิประกันสังคมคนท้อง 2563 คุณแม่มีสิทธิเบิกค่าอะไรได้บ้าง

เช็คด่วน เงินอุดหนุนบุตร เข้า 10 พ.ย. 2563 เช็คสิทธิ์เงินอุดหนุนบุตร

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

ย้ำเตือนพ่อแม่ที่เป็นผู้ประกันตน มีบุตรอายุไม่เกิน 6 ขวบ สามารถยื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาท

นางกนกนันท์ วีริยานันท์ หัวหน้าสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรปราการ สาขาพระประแดง กล่าวว่า เงินสงเคราะห์บุตรเป็นหนึ่งในสิทธิประโยชน์ที่สำนักงานประกันสังคมดูแลผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ที่มีบุตรแรกเกิด สามารถยื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตรได้จนถึงอายุ 6 ปี บริบูรณ์ ซึ่งสิทธิประโยชน์จะเกิดขึ้นได้เมื่อเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือมาตรา 39 ในระบบประกันสังคม จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือนก่อนใช้สิทธิ หรือภายใน 3 ปี ต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น พ่อแม่จดทะเบียนสมรส หรือหากไม่จดทะเบีบนสมรสสามารถยื่นจดทะเบียนรับรองบุตร หรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนกรณีจดทะเบียนหย่าสามารถยื่นสงเคราะห์บุตรได้เช่นกัน ยกเว้นบุตรบุญธรรม เมื่อเข้าเกณฑ์เงื่อนไขดังกล่าว

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรจำนวน 800 บาทต่อบุตร 1 คนต่อเดือน เบิกได้คราวละไม่เกิน 3 คน ตั้งแต่บุตรอายุแรกเกิดจนมีอายุถึง 6 ปีบริบูรณ์ โดยผู้ประกันตนที่เป็นพ่อหรือแม่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวได้เพียง 1 คนเท่านั้น ทั้งนี้ สามารถยื่นเบิกเงินสงเคราะห์บุตรย้อนหลังได้ภายใน 2 ปีนับแต่วันที่บุตรเกิด หลังการยื่นเรื่องและเอกสารครบถ้วนจะได้รับเงินโอนเข้าบัญชีภายใน 5 วันทำการ

สำหรับหลักฐานในการขอยื่นรับเงินสงเคราะห์บุตร กรณีผู้ประกันตนหญิงเป็นผู้ใช้สิทธิ ต้องแนบสำเนาสูติบัตรบุตรและสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ อย่างละ 1 ชุด หากเป็นผู้ชายใช้สิทธิ์ ต้องยื่นสำเนาสูติบัตรบุตร สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ ทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่า หรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย อย่างละ 1 ชุด โดยสามารถยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้านได้ทุกแห่ง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.1506 กด 1 ตลอด 24 ชั่วโมง

ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : นิตยา คุณสิม

ผู้เรียบเรียง : ธนพิชฌน์ แก้วกา

แหล่งที่มา : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย