อาการก่อนเป็นประจําเดือน ปวดหลัง

อาการปวดบริเวณท้องน้อย หรืออุ้งเชิงกรานในช่วงมีรอบเดือน (Menstrual Pain/ Dysmenorrhea) มักจะเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอก่อนรอบเดือนมาเพียงเล็กน้อย หรือเกิดขึ้นระหว่างที่มีรอบเดือน บางรายปวดรุนแรง และมีไข้ร่วมด้วย รู้สึกปวดตุบๆ หรือปวดบีบ โดยอาการอาจรุนแรง หรือไม่แตกต่างกันไป ส่วนใหญ่อาการดังกล่าวมักเกิดขึ้นเป็นเวลา 2-3 วัน

อาการก่อนเป็นประจําเดือน ปวดหลัง

Show

ใครที่เคยปวดท้องประจำเดือนคงรู้ซึ้งถึงความทรมานที่เกิดขึ้น ดังนั้น เราจึงขอแนะนำวิธีบรรเทาอาการปวดประจำเดือนให้คุณสาวๆ ได้นำไปใช้กัน โดยแบ่งเป็นวิธีดูแลด้วยตัวเอง และวิธีรักษาทางการแพทย์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

 
1.เริ่มต้นจากดูแล“ตัวเอง”
 

               ในช่วงวันนั้นของเดือน ผู้ที่รู้สึกปวดท้องประจำเดือนสามารถดูแลตัวเองเพื่อให้อาการดังกล่าวทุเลาลงได้ ด้วยการวางถุงน้ำร้อน หรือประคบร้อนที่บริเวณท้องน้อย หลายๆ ท่านอาจมีอาการปวดหลังร่วมด้วย แนะนำให้นวดคลึงบริเวณท้องน้อย และหลังของตัวเอง เลือกอาบน้ำอุ่นเพื่อช่วยให้ผ่อนคลาย รวมถึงพยายามดูแลร่างกายให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย และมีคุณค่าทางสารอาหาร ลดอาหารที่มีเกลือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน ก็จะช่วยให้อาการปวดในแต่ละเดือนค่อยๆ ดีขึ้น

อาการก่อนเป็นประจําเดือน ปวดหลัง

2.เพิ่มตัวช่วยด้วยอาหารเสริม                

    หากอาการปวดไม่ดีขึ้น อาจแก้ปัญหาด้วยการรับประทานยาแก้ปวด เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) โดยรับประทานก่อนที่ประจำเดือนจะมา ทั้งนี้ ยาไอบูโพรเฟน อาจเกิดผลข้างเคียงในบางราย ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนรับประทาน หรือรับประทานยาที่ยับยั้งสารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ซึ่งจะช่วยให้มดลูกไม่บีบตัวมากเกินไป นอกจากนี้ แนะนำให้รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 6 วิตามินบี 1 วิตามินอี แคลเซียม แมกนีเซียม และกรดโอเมกา- 3 อย่างที่เราทราบกันว่า โอเมกา-3 จัดเป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายเนื่องจากร่างกายสร้างเองไม่ได้ และพบในน้ำมันทั่วไปได้น้อย หากร่างกายขาดไป จะทำให้ร่างกายขาดความสมดุล อีกทั้งโอเมกา-3 ยังช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน และบรรเทาอาการปวดท้องจากการหดเกร็งของมดลูกในช่วงก่อน หรือระหว่างมีประจำเดือนได้ด้วย
    3.รักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ 
                 
    ในรายที่อาการปวดประจำเดือนค่อนข้างรุนแรง จนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ รวมทั้งอาการก็ไม่มีทีท่าว่าจะทุเลาลงหลังจากดูแลด้วยตัวเอง ก็อาจต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ ซึ่งวิธีการรักษาจะแตกต่างกันไปตามความรุนแรงและสาเหตุของอาการปวดประจำเดือน เช่น

    อาการก่อนเป็นประจําเดือน ปวดหลัง

      • การรักษาด้วยยา เช่น ยาแก้ปวดชนิดที่ไม่ผสมสารสเตียรอยด์ (Non Steroidal Anti-Inflammatory Drugs: NSAIDS) หรือยาแก้ปวดอื่นๆ รวมทั้งอาจใช้ยาคุมกำเนิดเพื่อปรับระดับฮอร์โมน โดยแพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
      • การรักษาด้วยการผ่าตัด สำหรับผู้ที่ปวดประจำเดือนที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกายเช่น เนื้องอกมดลูก ซีสต์ในรังไข่ หรือเยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญผิดที่ การรักษาอาจใช้วิธีการผ่าตัด ซึ่งเป็นวิธีสุดท้าย เพราะนอกจากหมดปัญหาอาการปวดประจำเดือนแล้ว ยังเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อวางแผนมีบุตรในอนาคตได้อีกด้วย

    ข้อมูลโดย นายแพทย์สุวันชัย ชัยรัชนีบูลย์ 

    สูติ-นรีแพทย์ เฉพาะทางด้านการส่องกล้องผ่าตัด

    โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
    โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน ศูนย์สุขภาพสตรี อาคาร 1 ชั้น 4
    โทร.0-2271-7000 ต่อ สุขภาพสตรี

    • ไทย
      • English
      • 中文 (中国)
    • ติดต่อเรา
      • @beyondivf
      • Facebook Messenger
      • โทร +66991090022
      • ขอเส้นทาง

    Skip to content

    • หน้าแรก
    • บริการของเรา
      • รักษาปัญหามีบุตรยาก
      • ปรึกษามีบุตรยาก ฟรี!!
      • เด็กหลอดแก้ว IVF
      • ทำอิ๊กซี่ ICSI (โอกาสสำเร็จสูง)
      • IUI การฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก
      • ฝากไข่
      • ตรวจอสุจิ
      • ตรวจและฝากครรภ์
      • ตรวจและป้องกันมะเร็งปากมดลูก
    • ทีมแพทย์
      • นายแพทย์พูนศักดิ์ สุชนวณิช (หมอต้น)
      • แพทย์หญิงกิตติยา ดีวงกิจ (หมอตาล)
    • เคสสำเร็จ
    • อาการก่อนเป็นประจําเดือน ปวดหลัง
    • โปรโมชั่น
      • อิ๊กซี่ ICSI ราคา
      • ฝากไข่ ราคา
      • IUI ราคา
      • ตรวจอสุจิ ราคา
    • ข่าวสารและกิจกรรม
      • ข่าวสาร
      • กิจกรรม
      • รวม VDO Youtube ให้ความรู้
    • เกี่ยวกับเรา

    อาการก่อนเป็นประจำเดือน (PMS) มีอะไรบ้าง ต่างกับอาการคนตั้งครรภ์อย่างไร

    อาการก่อนเป็นประจำเดือน (PMS) มีอะไรบ้าง ต่างกับอาการคนตั้งครรภ์อย่างไร

    อาการก่อนเป็นประจําเดือน ปวดหลัง

    ประจำเดือนถือว่าเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ทุกคน ซึ่งช่วงก่อนที่ประจำเดือนจะมา บางคนอาจมีอาการปวดท้องน้อย หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน เราเรียกอาการพวกนี้ว่า PMS (Premenstrual Syndrome)

    ซึ่งอาการพวกนี้จะหายไปเองหลังประจำเดือนมา 2-3 วัน แต่ในบางรายอาจจะมีอาการรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ และอาการก่อนเป็นประจำเดือนเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีการดูแลตัวเองอย่างไรมาดูกัน

    สารบัญบทความ

    • อาการก่อนเป็นประจำเดือน (Premenstrual Syndrome)
    • อาการก่อนเป็นประจำเดือนเกิดจากสาเหตุใด
      • ปัจจัยภายใน
      • ปัจจัยภายนอก
    • อาการก่อนเป็นประจำเดือน มีอะไรบ้าง
      • อาการทางด้านอารมณ์และจิตใจ
      • อาการทางด้านร่างกาย
    • เปรียบเทียบอาการก่อนเป็นประจำเดือนกับการตั้งครรภ์
    • อาการก่อนเป็นประจำเดือนขั้นรุนแรง (PMDD)
    • วิธีบรรเทาอาการก่อนเป็นประจำเดือน
    • คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการก่อนเป็นประจำเดือน
    • ข้อสรุป

    อาการก่อนเป็นประจำเดือน (Premenstrual Syndrome)

    PMS (Premenstrual Syndrome) คือ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือนประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ โดยสาเหตุของอาการมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงในช่วงก่อนมีประจำเดือน ซึ่งอาการ PMS นี้ เป็นตัวการที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของผู้หญิงหลายคนเป็นอย่างมาก เพราะส่งผลทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ

    อาการก่อนเป็นประจำเดือนเกิดจากสาเหตุใด

    อาการก่อนเป็นประจําเดือน ปวดหลัง

    สาเหตุ อาการก่อนเป็นประจำเดือน

    สาเหตุสำคัญของ PMS เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในช่วงระหว่างการตกไข่ในแต่ละรอบเดือน และยังมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่

    ปัจจัยภายใน

    • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างที่ไข่ตกในแต่ละรอบเดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ โดยอาการ PMS จะหายไปในช่วงที่ไม่มีการตกไข่ เช่น ขณะตั้งครรภ์ หรือเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน

    • การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง เมื่อระดับฮอร์โมนเซโรโทนิน (Serotonin) ลดต่ำลง จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และมีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการก่อนมีประจำเดือนได้

    ปัจจัยภายนอก

    • ตนเองหรือคนในครอบครัวมีโรคประจำตัวหรือภาวะผิดปกติทางอารมณ์ เช่น อาการปวดประจำเดือน (Dysmenorrhea) โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression) ภาวะซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder) ภาวะวิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder) โรคจิตเภท (Schizophrenia) และโรคไบโพลาร์ (Bipolar)
    • คนในครอบครัวมีประวัติของ PMS
    • ได้รับการกระทบกระเทือนทางร่างกายและจิตใจ เช่น การใช้ความรุนแรงในครอบครัว
    • พฤติกรรมเสี่ยงบางอย่าง เช่น การใช้สารเสพติด การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารรสจัดและอาหารแปรรูป ความเครียด การไม่ออกกำลังกาย และการพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้อาการ PMS รุนแรงขึ้น

    อาการก่อนเป็นประจําเดือน ปวดหลัง

    อาการก่อนเป็นประจำเดือน มีอะไรบ้าง

    อาการก่อนเป็นประจําเดือน ปวดหลัง

    อาการก่อนเป็นประจำเดือน

    อาการทางด้านอารมณ์และจิตใจ

    • มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
    • มีความรู้สึกเครียด
    • ไม่มีสมาธิ
    • รู้สึกเศร้า ร้องไห้กับเรื่องเล็ก ๆ
    • มีความวิตกกังวล
    • อยากกินอาหารมากกว่าปกติ
    • มีความรู้สึกนอนไม่หลับ

    อาการทางด้านร่างกาย

    • เจ็บเต้านม

    • ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ
    • ปวดศีรษะ
    • ปวดท้อง ท้องอืด
    • ท้องผูกหรือท้องเสีย
    • น้ำหนักตัวเพิ่ม
    • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
    • มีสิวขึ้น

    เปรียบเทียบอาการก่อนเป็นประจำเดือนกับการตั้งครรภ์

    อาการก่อนเป็นประจําเดือน ปวดหลัง

    ตั้งครรภ์ หรือ อาการก่อนเป็นประจำเดือน

    อาการก่อนเป็นประจำเดือนขั้นรุนแรง (PMDD)

    PMDD หรือ Premenstrual Dysphoric Disorder คือ อารมณ์ที่ผิดปกติก่อนมีประจำเดือน จะมีอาการรุนแรงมากกว่าปกติ เช่น หงุดหงิด เครียดอย่างรุนแรง ควบคุมอารมณ์ตนไม่ได้ ซึมเศร้าอย่างมาก ร้องไห้บ่อยๆ โมโหร้าย นอนไม่หลับ ไม่มีเรี่ยวแรง ไม่มีสมาธิหรือสมาธิสั้น บวมตามตัว บวมคัดหน้าอกอย่างมาก หรือปวดศีรษะมาก เป็นต้น ซึ่งอาการ PMDD จะพบเพียง 2-10% จากจำนวนหญิงที่มีประจำเดือนทั้งหมด

    **หากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาก่อนอาการจะรุนแรงไปมากกว่านี้

    อาการก่อนเป็นประจําเดือน ปวดหลัง

    วิธีบรรเทาอาการก่อนเป็นประจำเดือน

    อาการก่อนเป็นประจําเดือน ปวดหลัง

    วิธีบรรเทา อาการก่อนเป็นประจำเดือน

    วิธีที่ช่วยบรรเทาอาการก่อนเป็นประจำเดือนหรือ PMS ในกรณีที่ยังไม่เป็นถึงขั่นรุนแรงนัก การดูแลตัวเองจะช่วยบรรเทาอาการ PMS ได้ ซึ่งวิธีการดูแลตัวเองมีดังนี้

    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียมและใยอาหาร เช่น ธัญพืชขัดสีน้อย ผัก และผลไม้ นม และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือ น้ำตาล และไขมันสูง โดยแบ่งรับประทานเป็นมื้อย่อย ๆ ในแต่ละวัน เพื่อลดอาการท้องอืด
    • ดื่มน้ำให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์
    • ออกกำลังกายสัปดาห์ 3–5 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที เช่น เดินเร็ว ขี่จักรยาน หรือว่ายน้ำ ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยล้าและอาการซึมเศร้าได้
    • ควรพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง
    • จัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม เช่น การทำสมาธิ การเล่นโยคะ การนวดผ่อนคลาย และการอ่านหนังสือ
    • จดบันทึกระยะเวลาและอาการ PMS ที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน เพื่อเตรียมการรับมือกับอาการที่จะเกิดขึ้น

    คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการก่อนเป็นประจำเดือน

    ตกขาวสีน้ําตาล ก่อนเป็นประจำเดือน คืออะไร

    ตกขาวสีน้ำตาล เกิดจากประจำเดือนที่ตกค้าง ซึ่งไม่มีอันตรายใดๆ แต่ถ้ามีเลือดปนกับตกขาวพร้อมกับมีกลิ่นเหม็น อาจเกิดจากการติดเชื้อบริเวณช่องคลอด

    อาการประจําเดือนจะมา แต่ไม่มา เกิดจากอะไร

    อาการทั้งหมดอาจเป็นอาการที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆในร่างกาย ซึ่งอาจจะไม่ใช่อาการของประจำเดือนจะมา

    ข้อสรุป

    อาการก่อนเป็นประจำเดือนอาจเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน ไม่ว่าจะเป็นปวดท้อง หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน ยังถือว่าปกติ แต่ถ้าหากอยู่ในขั้นที่รุนแรงและส่งผลให้เกิดความเครียดมากๆ หรือประจำเดือนมามากกว่าปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อให้แพทย์ได้ตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุและวางแผนในการรักษาให้ได้อย่างเหมาะสม

    ปรึกษาปัญหาผู้มีบุตรยาก วางแผนครอบครัว กับ Beyond IVF ได้ผ่านทางไลน์ @beyondivf

    adminnerd2022-10-12T17:54:17+07:00

    นัดวันปรึกษาแพทย์

    © MKC IVF CO., LTD. 2020 All rights reserved.

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณเองได้โดยการคลิกตั้งค่า

    อาการก่อนเป็นประจําเดือน ปวดหลัง

    ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยการเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ยอมรับทั้งหมด

    จัดการความเป็นส่วนตัว

    • ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
      รายละเอียดคุกกี้

    • คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
      รายละเอียดคุกกี้

    • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

      คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
      รายละเอียดคุกกี้

    บันทึกการตั้งค่า

    เพื่อเก็บความยินยอมของ User

    ใช้สำหรับเก็บจำนวนผู้เข้าชมไปยัง Google Analytic

    คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    ใช้สำหรับเก็บข้อมูลไปยัง Facebook Pixel และ Google Ads