ตําบลแพรกษาใหม่

ค้นหาสถานที่

ขอเส้นทาง

เครื่องมือ

ตัวอย่างการค้นหา
ชื่อสถานที่: บริษัท เมตามีเดีย เทคโนโลยี จำกัด
เขตปกครอง: แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
หมวดสถานที่: tag: ป้ายรถเมล์, tag: ภาพถ่ายทางอากาศ
พิกัด: 13.72264,100.52931 หรือ 665365,1517575,47N

ค้นด้วยไอคอน

สถานที่แก้ไขล่าสุด

  • แผนที่

ตําบลแพรกษาใหม่

อีเมล?

Fill in your email address to ensure that you receive our reply in time, otherwise, you will not receive any reminder of our reply. Please be assured that your email address will be kept private, and will not be used for other purposes.

If you would like to receive a reminder of our reply, please fill in your email address.

สำหรับความหมายอื่น ดูที่ แพรกษา

ตำบลแพรกษา

ตำบล

การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Phraekkasa
ประเทศไทย
จังหวัดสมุทรปราการ
อำเภอเมืองสมุทรปราการ
ประชากร

 (2563)

 • ทั้งหมด62,453[1][2] คน
รหัสไปรษณีย์ 10280
รหัสภูมิศาสตร์110110
ตําบลแพรกษาใหม่
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

แพรกษา [แพฺรก-กะ-สา][3] เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ สภาพพื้นที่เป็นที่ราบต่ำน้ำท่วมถึง เดิมเป็นพื้นที่ปลูกข้าว แต่ต่อมาน้ำเค็มท่วมสูงขึ้นทำให้สภาพดินเปลี่ยนไป ประชาชนจึงหันมาเลี้ยงปลาสลิดและกุ้งแทน[4] และในปัจจุบันพื้นที่บางส่วนได้แปรสภาพไปเป็นบ้านจัดสรรและโรงงานอุตสาหกรรม

ที่มาของชื่อ[แก้]

ตำบลแพรกษาได้ชื่อมาจากคลองแพรกษาซึ่งเป็นคลองที่แยกจากจุดบรรจบระหว่างคลองปากน้ำกับคลองบางปิ้ง ในอดีตชาวบ้านเรียกคลองสายนี้ว่า "คลองแพรกตาสา" ตามชื่อของนายสาซึ่งเป็นชาวบ้านคนหนึ่งในพื้นที่[4] (คำว่า แพรก แปลว่า "แยก" หรือ "ทางแยกของลำนํ้า") เมื่อมีการจัดตั้งตำบลก็เรียกว่า "ตำบลแพรกตาสา"[5] แต่ต่อมาเสียงได้เพี้ยนเป็น [แพฺรก-กะ-สา] ส่วนรูปเขียนก็เพี้ยนตามโดยมีการสะกดปนกันระหว่าง แพรกกะสา[6] กับ แพรกษา[7] และในที่สุดก็เหลือเพียงรูปเขียน แพรกษา ดังปัจจุบัน

ประวัติ[แก้]

ชนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่เป็นตำบลแพรกษาทุกวันนี้คือชาวมอญที่ย้ายมาจากปทุมธานีและปากลัด (พระประแดง) โดยได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลองแพรกษาบริเวณที่เป็นหมู่ที่ 2, 3 และ 4 ทุกวันนี้ ซึ่งขณะนั้นยังเป็นป่าแสม จาก และชะครามชายเลน[8] เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล บริเวณนี้ยังคงเป็นท้องที่หนึ่งของตำบลบางเมืองในช่วงแรก[4] จากนั้นจึงแยกพื้นที่ออกมาตั้งเป็นตำบลใหม่เรียกว่า ตำบลแพรกตาสา ซึ่งในเวลาต่อมาเพี้ยนเป็น ตำบลแพรกษา จนกระทั่งใน พ.ศ. 2538 กระทรวงมหาดไทยได้แยกพื้นที่หมู่บ้าน 5 หมู่ทางตอนเหนือและตะวันออกของตำบลนี้ออกไปตั้งเป็นตำบลแพรกษาใหม่[9]

ในด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องที่ตําบลแพรกษาอยู่ในความดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 องค์กร ได้แก่ เทศบาลเมืองแพรกษาและเทศบาลตำบลแพรกษา เทศบาลเมืองแพรกษาเดิมมีฐานะเป็นสภาตําบลแพรกษา ต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตําบลแพรกษาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2538[10] และได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลเมือง (โดยไม่ผ่านการเป็นเทศบาลตำบล) เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2563[11] ส่วนเทศบาลตำบลแพรกษาเดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลแพรกษา ได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542[12]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลแพรกษาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเมืองสมุทรปราการ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลบางเมืองและตำบลแพรกษาใหม่ (อำเภอเมืองสมุทรปราการ)
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลแพรกษาใหม่ (อำเภอเมืองสมุทรปราการ)
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบางปูใหม่ (อำเภอเมืองสมุทรปราการ)
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลท้ายบ้านใหม่ (อำเภอเมืองสมุทรปราการ)

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

ตำบลแพรกษาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 หมู่บ้าน ได้แก่[9][13]

  • หมู่ที่ 1 บ้านคลองนา อยู่ในเขตเทศบาลเมืองแพรกษาทั้งหมู่
  • หมู่ที่ 2 บ้านคลองเล้าหมู บางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลเมืองแพรกษาและบางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลตำบลแพรกษา
  • หมู่ที่ 3 บ้านพุทธรักษา อยู่ในเขตเทศบาลตำบลแพรกษาทั้งหมู่
  • หมู่ที่ 4 บ้านคลองหกส่วน หรือ บ้านแพรกจอมทอง บางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลเมืองแพรกษาและบางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลตำบลแพรกษา
  • หมู่ที่ 5 บ้านคลองขวาง อยู่ในเขตเทศบาลเมืองแพรกษาทั้งหมู่
  • หมู่ที่ 6 บ้านคลองสมประสงค์ หรือ บ้านคลองประสงค์ บางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลเมืองแพรกษาและบางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลตำบลแพรกษา
  • หมู่ที่ 7 บ้านสุดใจ บางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลเมืองแพรกษาและบางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลตำบลแพรกษา

การคมนาคม[แก้]

ถนนสายหลักในพื้นที่ตำบลแพรกษา ได้แก่

  • ถนนแพรกษา (ทางหลวงท้องถิ่น สป.ถ 16-001)

ถนนสายรองในพื้นที่ตำบล ได้แก่

  • ซอยแพรกษา 11 (มังกร-นาคดี) และถนนนาคดี-มังกร (ทางหลวงท้องถิ่น สป.ถ 43-001)
  • ซอยขจรวิทย์
  • ซอยแพรกษา 14 (นิคมฯ)

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 ท้องถิ่นเทศบาลนครสมุทรปราการ". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 อำเภอเมืองสมุทรปราการ". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสภา. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2561, หน้า 52.
  4. ↑ 4.0 4.1 4.2 ไทยตำบลดอทคอม. "ตำบลแพรกษา อำเภอเมือง สมุทรปราการ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaitambon.com/tambon/110110 เก็บถาวร 2020-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 11 มิถุนายน 2563.
  5. เช่นในประกาศบอกล่วงหน้าจะแจกโฉนดสำหรับที่ดิน ตำบลแพรกตาสา อำเภอเมือง แขวงเมืองสมุทปราการ พ.ศ. ๒๔๕๖
  6. เช่นในประกาศเก็บเงินอากรสวนจาก จังหวัดสมุทปราการ พ.ศ. ๒๔๖๒
  7. เช่นในประกาศกำหนดการเก็บเงินอากรสวนจาก พ.ศ. ๒๔๖๐
  8. เทศบาลตำบลแพรกษา. "ประวัติเทศบาลตำบลแพรกษา." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://praksa.go.th/praksa/content/ประวัติเทศบาล [ม.ป.ป.]. สืบค้น 11 มิถุนายน 2563.
  9. ↑ 9.0 9.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (90 ง): 27. 9 พฤศจิกายน 2538. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (พิเศษ 6 ง): 1–63. 3 มีนาคม 2538. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลแพรกษา อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นเทศบาลเมืองแพรกษา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 137 (พิเศษ 112 ง): 1. 13 พฤษภาคม 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  12. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  13. เทศบาลเมืองแพรกษา. "สภาพทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.preaksa-sao.go.th/general1.php[ลิงก์เสีย] [ม.ป.ป.]. สืบค้น 11 มิถุนายน 2563.

ตำบลในจังหวัดสมุทรปราการ

อำเภอบางบ่อ

  • คลองด่าน
  • คลองนิยมยาตรา
  • คลองสวน
  • บางบ่อ
  • บางพลีน้อย
  • บางเพรียง
  • บ้านระกาศ
  • เปร็ง

ตําบลแพรกษาใหม่

อำเภอบางพลี

  • บางแก้ว
  • บางโฉลง
  • บางปลา
  • บางพลีใหญ่
  • ราชาเทวะ
  • หนองปรือ

อำเภอบางเสาธง

  • บางเสาธง
  • ศีรษะจรเข้น้อย
  • ศีรษะจรเข้ใหญ่

อำเภอพระประแดง

  • ตลาด
  • ทรงคนอง
  • บางกระสอบ
  • บางกอบัว
  • บางกะเจ้า
  • บางครุ
  • บางจาก
  • บางน้ำผึ้ง
  • บางพึ่ง
  • บางยอ
  • บางหญ้าแพรก
  • บางหัวเสือ
  • สำโรง
  • สำโรงกลาง
  • สำโรงใต้

อำเภอพระสมุทรเจดีย์

  • นาเกลือ
  • ในคลองบางปลากด
  • บ้านคลองสวน
  • ปากคลองบางปลากด
  • แหลมฟ้าผ่า

อำเภอเมืองสมุทรปราการ

  • ท้ายบ้าน
  • ท้ายบ้านใหม่
  • เทพารักษ์
  • บางด้วน
  • บางปู
  • บางปูใหม่
  • บางโปรง
  • บางเมือง
  • บางเมืองใหม่
  • ปากน้ำ
  • แพรกษา
  • แพรกษาใหม่
  • สำโรงเหนือ

ตําบลแพรกษาใหม่
บทความเกี่ยวกับเขตการปกครองของประเทศไทยนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล
ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย