พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560

ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน แห่งราชอาณาจักรไทยผู้แต่งตั้งวาระผู้ประเดิมตำแหน่งสถาปนา

ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต

ตั้งแต่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินตั้งแต่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561[1] - ปัจจุบัน)

พระมหากษัตริย์ไทย
7 ปี
พิเชต สุนทรพิพิธ
พ.ศ. 2543

“ผู้ตรวจการแผ่นดิน” (Ombudsman)[แก้]

คำว่า “Ombudsman” หรือ “ออมบุดสแมน” ในภาษาสวีดิช หมายถึง “ผู้แทน” หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจในการตรวจการ หรือกระทำการต่างๆ ในประเทศอังกฤษเรียกว่า “Parliamentary Commissioner of Administration” เป็นบุคลากรหรือองค์กรทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติงานของฝ่ายปกครอง สำหรับประเทศไทย “ผู้ตรวจการ” ดัดแปลงมาจากคำว่า “ผู้ตรวจราชการ” (Inspector) ซึ่งในวิชาบริหารถือว่าเป็นผู้ช่วยผู้บริหารชั้นสูงคอยตรวจแนะนำ (ไม่ใช่สืบสวนเพื่อเอาผิด) แล้วรายงานให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งการเอง

ตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดิน มีกำเนิดเริ่มต้นมาจากประเทศสวีเดน นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1809

(พ.ศ. 2352) โดยผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับการแต่งตั้งจากรัฐสภา ทำหน้าที่เป็นผู้แทนของฝ่ายรัฐสภา ดูแลควบคุมการปฏิบัติงานของข้าราชการประจำหรือฝ่ายบริหาร ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามภาระหน้าที่ของแต่ละฝ่าย รับฟังและตรวจสอบข้อกล่าวหาของพลเรือนที่มีต่อรัฐบาล หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล รวมทั้งมีอำนาจที่จะดำเนินการสอบสวนหรือไกล่เกลี่ย รวบรวมข้อเท็จจริงและเสนอให้รัฐสภาพิจารณา ตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดินนี้ เรียกเป็นทางการว่า Justitie-Ombudsman หรือผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อความยุติธรรม (Ombudsman for Justice) โดยทั่วไปเรียกเป็นคำย่อว่า JO หมายถึงผู้ตรวจการแผ่นดินฝ่ายตุลาการทำหน้าที่ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมและความถูกต้องตามข้อเท็จจริงซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินของสวีเดนคนแรกชื่อ

Mr. Baron Lars Augustin Mannerheim และถือเป็นคนแรกของโลก โดยดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1810 (พ.ศ. 2353)

ออมบุดสแมนของสวีเดนเป็นแบบอย่างที่ประเทศต่างๆ นำไปใช้อย่างแพร่หลายไปตามภูมิภาคต่างๆ ของโลก เริ่มต้นจากประเทศฟินแลนด์  ค.ศ. 1919(พ.ศ. 2462), ประเทศเดนมาร์ก

ค.ศ. 1954 (พ.ศ. 2497), ประเทศเยอรมนีตะวันตก ค.ศ. 1957 (พ.ศ. 2500), ประเทศนิวซีแลนด์

ค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505), ประเทศนอร์เวย์ ค.ศ. 1963 (พ.ศ. 2506), สหราชอาณาจักร ค.ศ. 1967

(พ.ศ. 2510), ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยมลรัฐฮาวายเป็นมลรัฐแรกที่จัดตั้งออมบุดสแมน ในปี ค.ศ. 1967 (พ.ศ.2510) และต่อมาก็มีการจัดตั้งในมลรัฐโอเรกอน (Oregon)  มลรัฐไอโอวา (Iowa)  มลรัฐเนบราสกา (Nebraska) และมลรัฐเซาท์คาโรไลน่า (South Carolina) สำหรับในประเทศแคนาดาโดยมลรัฐอัลเบอร์ตา (Alberta) เป็นมลรัฐแรกที่จัดตั้งออมบุดสแมนและได้กระจายไปภูมิภาคอื่นทั่วโลก

ความเป็นมาของผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรไทย[แก้]

ในการบริหารประเทศนั้น การปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐอาจกระทบกระเทือนสิทธิของประชาชน จึงจำเป็นต้องมีผู้ทำหน้าที่คอยตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชน “ผู้ตรวจการแผ่นดิน” จึงเป็นเสมือนที่พึ่งและกลไกที่ลดความเหลื่อมล้ำจากการใช้อำนาจของรัฐ พร้อมทั้งเสริมสร้างสังคมให้มีคุณธรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนมากที่สุด

- สุโขทัย หลักฐานจากศิลาจารึกสมัยสุโขทัยได้กล่าวถึงศาลาร้องทุกข์ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่ให้ไพร่ฟ้าสามารถลั่นกระดิ่งร้องทุกข์ ร้องเรียนต่อพระมหากษัตริย์เพื่อให้ตัดสินคดีความให้ความยุติธรรมแก่ประชาชน และเมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชผู้เป็นเจ้าเมืองได้ยินก็จะเรียกมาถาม และพิจารณาตัดสินหาความชอบธรรมให้ด้วยพระองค์เอง และนับตั้งแต่นั้นมาก็ได้กลายมาเป็นที่มาของประเพณีที่ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อน ทุกข์ร้อน มีสิทธิที่จะทำฎีการ้องทุกข์มาทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์

- รัตนโกสินทร์ จวบจนสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงริเริ่มให้ราษฎรตีกลองวินิจฉัยเภรีเพื่อยื่นฎีกา เมื่อผู้ถวายฎีกาตีกลองแล้ว ตำรวจเวรไปรับเอาตัวมาและนำความขึ้นกราบบังคมทูลให้ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ถ้ามีพระราชโองการสั่งให้ผู้ใดชำระ พนักงานเจ้าหน้าที่จัดส่งฎีกาที่ราษฎรร้องทุกข์ ไปตามพระราชโองการทุกครั้งไป จึงเป็นที่มาของสำนวน “ตีกลองร้องทุกข์” เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณา

โปรดเกล้าฯ ให้เลิกตีกลองเสีย แล้วเสด็จออกรับฎีกา ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ในวันขึ้น 7 ค่ำ แรม 7 ค่ำ และแรม 13 ค่ำ ในเดือนขาด และแรม 14 ค่ำ ในเดือนเต็ม เมื่อเวลาจะเสด็จออกให้ตีกลองวินิจฉัยเภรีเรียก ผู้ที่จะถวายฎีกามาชุมนุมกันหน้าพระที่นั่ง เมื่อราษฎรได้ทราบวันและเวลาเสด็จออกทั่วกันแล้ว ทรงเห็นว่าไม่จำเป็นต้องใช้กลองอีกต่อไป

- หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อปี พ.ศ. 2475 รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง จึงมีหน้าที่ดูแลและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิอันชอบธรรมอย่างเท่าเทียมกัน

- ก่อนปี พ.ศ. 2516 สำหรับประเทศไทย ก่อนหน้าปี พ.ศ. 2516 ความคิดเกี่ยวกับการควบคุมตรวจสอบฝ่ายบริหารยังไม่เป็นที่กล่าวกันแพร่หลายนัก โดยเฉพาะในเรื่องผู้ตรวจการแผ่นดิน มีเพียงบทความที่เสนอโดย นายกมล สนธิเกษตริน เรื่อง ออมบุดสแมนในประเทศไทย ตีพิมพ์ในวารสารบทบัญฑิตย์ ในปี พ.ศ.2509 เท่านั้น

- ปี พ.ศ. 2516 ศาสตราจารย์ชัยอนันต์ สมุทรวณิช ได้เสนอบทความเกี่ยวกับผู้ตรวจการรัฐสภาอันเป็นผลจากการพบปะแลกเปลี่ยนความเห็นกับ Ombudsman ของมลรัฐ ฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยลงตีพิมพ์ในวารสารพาราสาวัตถี อีกทั้งได้เสนอความเห็นในเวลาต่อมาว่าควรมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์จากราษฎรที่สังกัดฝ่ายนิติบัญญัติ โดยพยายามเสนอให้มีการบัญญัติสถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่าความพยายามในครั้งนั้น เป็นก้าวแรกของความสำเร็จในการจัดตั้งสถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินในประเทศไทย

- ปี พ.ศ. 2519 - 2521 ภายหลังจากที่ไม่ประสบความสำเร็จในการผลักดันให้มีบทบัญญัติว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 และต่อมาประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญอีก 3 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2520 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ซึ่งรัฐธรรมนูญทั้งสามฉบับมิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้ตรวจการแผ่นดินแต่ประการใด อีกทั้งความเคลื่อนไหวในการผลักดันให้มีการจัดตั้งสถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินก็มีน้อยมาก

- ปี พ.ศ. 2532 – 2539 ต่อมาในสมัยรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ

เป็นนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2532 - 2522) รัฐบาลได้ผลักดันให้มีการจัดตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยเรียกว่า “ผู้ตรวจการรัฐสภา” ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากฝ่ายนิติบัญญัติ โดยมีการจัดสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องผู้ตรวจการรัฐสภา เพื่อศึกษาและทำร่างพระราชบัญญัติผู้ตรวจการรัฐสภาเพื่อเสนอต่อรัฐสภา ในระหว่างนี้ได้มีกระแสความสนใจในเรื่องผู้ตรวจการรัฐสภาก่อตัวขึ้นพอสมควร แต่ก่อนที่ความพยายามดังกล่าวจะสัมฤทธิ์ผล ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และประกาศใช้รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 แทน และได้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ โดยมีนายอานันท์ ปัณยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้น เพื่อทำหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติต่าง ๆ และพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2534 เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2534 ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยกรรมาธิการจำนวน 20 คน เพื่อร่างรัฐธรรมนูญเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ในการยกร่างของคณะกรรมาธิการได้มีการพิจารณาว่าสมควรให้มีร่างบทบัญญัติว่าด้วยผู้ตรวจการรัฐสภาอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่เนื่องจากที่ประชุมเห็นว่าเรื่องนี้เป็นแนวคิดที่ได้มีการศึกษาเดิมอยู่บ้างแล้ว และเป็นแนวคิดที่ได้นำกลับมาพิจารณาใหม่แต่ยังไม่ได้ข้อยุติ จึงมอบหมายให้ประธานคณะกรรมาธิการไปพิจารณายกร่างในส่วนนี้ขึ้น รวม 7 มาตรา โดยที่ประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาเรื่องนี้ได้มีการอภิปรายและแก้ไขเพิ่มเติมร่างดังกล่าวในหลายประเด็นด้วยกัน จนได้ข้อสรุปที่คณะกรรมาธิการมีมติเห็นชอบเป็นร่างรัฐธรรมนูญ หมวด 11 ว่าด้วยผู้ตรวจการรัฐสภา เพื่อเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในวาระหนึ่งของที่ประชุมสภานิติบัญญัติ คราวประชุมครั้งที่ 24/2534 (เป็นพิเศษ) ที่ประชุมได้พิจารณาหลักการในเรื่องผู้ตรวจการรัฐสภาตามร่างที่คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำขึ้น และได้มีมติรับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยไว้พิจารณา โดยตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญได้พิจารณาตัดความในหมวดผู้ตรวจการรัฐสภา ออกจากร่างรัฐธรรมนูญเสียทั้งหมด ด้วยเหตุผลที่ว่าผู้ตรวจการรัฐสภาจะทำงานซ้ำซ้อนกับหน่วยงานบางหน่วยงานของฝ่ายบริหารที่มีอยู่แล้ว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2535 รวม 4 ฉบับ และต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 5 ในปี พ.ศ. 2538 อีกครั้งหนึ่ง โดยในการแก้ไขในครั้งหลังนี้ได้เพิ่มบทบัญญัติว่าด้วยผู้ตรวจการรัฐสภาไว้เป็นมาตรา 162 ทวิ แต่ตลอดรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็ไม่ได้มีการแต่งตั้งผู้ตรวจการรัฐสภาแต่อย่างใด ต่อมาได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ฉบับที่ 6 แก้ไขพุทธศักราช 2539 โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 211 ในเรื่องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยการตั้งคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้น บัญญัติหลักการในเรื่องนี้โดยใช้ชื่อว่า “ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา” โดยมีการบัญญัติให้มีผู้ตรวจการรัฐสภา 5 คน แต่ก็ยังไม่มีการสรรหาแต่งตั้ง จนกระทั้งรัฐธรรมนูญฉบับนั้นได้ถูกยกเลิกไป

ปี พ.ศ. 2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติเกี่ยวกับ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาไว้ในมาตรา 196 มาตรา 197  และมาตรา 198 และกำหนดให้มีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เพื่อรองรับและกำหนดรายละเอียดในการปฏิบัติ ซึ่งรัฐสภาก็ได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว และประกาศใช้เป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ. 2542 ขึ้น ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2542 เล่ม 116 ตอนที่ 81ก และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2542 โดยมีบทเฉพาะกาลให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทำหน้าที่เป็นหน่วยธุรการ และเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทำหน้าที่เป็นเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาในระยะเริ่มแรก และให้ดำเนินการจัดตั้งสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาให้แล้วเสร็จภายในกำหนดหนึ่งปี

- ปี พ.ศ. 2549 ต่อมาเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้เกิดการปฏิวัติรัฐประหาร โดยคณะบุคคลที่เรียกว่า “คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)” และได้มีการประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งโดยหลักการแล้วพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญย่อมต้องถูกยกเลิกไปด้วย แต่ คปค.ได้มีประกาศฉบับที่ 14 ลงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2549 ให้องค์กรผู้ตรวจการแผ่นดินมีอยู่ต่อไป โดยให้เหตุผลว่า “เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการรับเรื่องร้องเรียนและการบริหารราชการแผ่นดินและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นไปอย่างต่อเนื่อง คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ. 2542 มีผลบังคับใช้ต่อไปจนกว่าจะมีประกาศเป็นอย่างอื่น” ซึ่งทำให้องค์กรผู้ตรวจการแผ่นดิน ยังคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพื่อแก้ไขความทุกข์ร้อนให้แก่ประชาชน หลังจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ถูกยกเลิก ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 โดยบัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ทั้งฉบับสำหรับเป็นแนวทางในการปกครองประเทศ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางทุกขั้นตอน เมื่อการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ ได้จัดให้มีการออกเสียงประชามติ ซึ่งผลปรากฏว่าประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้นำร่างรัฐธรรมนูญมาใช้บังคับ

- ปี พ.ศ. 2550 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 โดยผู้ตรวจการแผ่นดินยังคงได้รับการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญให้เป็นองค์กรหนึ่งเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐต่อไป แต่ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงและมอบภารกิจอำนาจหน้าที่เพิ่มเติมให้อีกหลายประการ และได้เปลี่ยนชื่อจาก “ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา” เป็น “ผู้ตรวจการแผ่นดิน” โดยเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ พิจารณาและสอบสวนข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนในกรณีการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ไม่รวมถึงการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของศาล การดำเนินการด้านจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ การติดตามประเมินผลและจัดทำข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ตลอดจนการเสนอข้อพิจารณาเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในกรณีที่เห็นว่ามีความจำเป็น

- ปี พ.ศ. 2560 ในปัจจุบัน เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 230 ได้กำหนดหน้าที่และอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดินให้มีความชัดเจนเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นการแก้ไขปัญหาเชิงระบบมากขึ้น เสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่ง หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใดๆ ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน แสวงหาข้อเท็จจริงเมื่อเห็นว่ามีผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรม อันเนื่องมาจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัตินอกเหนือหน้าที่และอำนาจ เพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ขจัดหรือระงับความเดือดร้อนหรือไม่เป็นธรรมนั้น เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ทราบถึงการที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน ตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ

ที่มา : หนังสือ คำถาม 108 เกี่ยวกับผู้ตรวจการแผ่นดิน


กล่าวโดยสรุป คือ ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีแนวคิดมาจากประเทศแถบสแกนดิเนเวียที่ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ มีตำแหน่งที่เรียกว่า "ออมบุดสแมน" (Ombudsman) เพื่อทำหน้าที่ดูแลปัดเป่าเรื่องทุกข์ร้อนของประชาชนแทนพระมหากษัตริย์ และมีการพัฒนามาสู่ระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในประเทศไทยเริ่มมีการจัดตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 โดยใช้ชื่อว่า "ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา"[2]

ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หมวด 11 ส่วนที่ 1 มาตรา 242 - 244 ประกอบบทเฉพาะกาลมาตรา 299 วรรคหนึ่ง กำหนดให้มี "ผู้ตรวจการแผ่นดิน" จำนวน 3 คน และให้ "ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา" ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ (24 สิงหาคม พ.ศ. 2550) ดำรงตำแหน่งเป็น "ผู้ตรวจการแผ่นดิน"

ผู้ตรวจการแผ่นดิน (เดิมเรียกว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา) คือ บุคคลที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชน มีความรอบรู้และมีประสบการณ์ในการบริหารราชการแผ่นดิน วิสาหกิจ หรือกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ร่วมกันของสาธารณะ และมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์

ผู้ตรวจการแผ่นดินมีจำนวนสามคนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งได้รับการสรรหาโดยคณะกรรมการสรรหาผู้ซึ่งได้รับการสรรหาต้องเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และมีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่าหรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่ากรมตามที่คณะกรรมการสรรหาประกาศกำหนด โดยต้องดำรงตำแหน่งดังกล่าวเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 2 คน และเป็นผู้มีประสบการณ์ในการดำเนินกิจการอันเป็นสาธารณะมาแล้วไม่น้อยกว่า 20 ปี จำนวน 1 คน

ผู้ตรวจการแผ่นดินมีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว[3]

หน้าที่และอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน[แก้]

หน้าที่และอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

หน้าที่และอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดินในปัจจุบัน ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้        

(1) เสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่ง หรือขั้นตอนการปฏิบัติใด ๆ บรรดาที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน หรือความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน หรือเป็นภาระแก่ประชาชนโดยไม่จำเป็นหรือเกินสมควรแก่เหตุ         

(2) แสวงหาข้อเท็จจริงเมื่อเห็นว่ามีผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนือหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ขจัดหรือระงับความเดือดร้อนหรือไม่เป็นธรรมนั้น                        

(3) เสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ทราบถึงการที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน ตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญ     

(4) หน้าที่และอำนาจอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ หรือกฎหมายอื่น

การดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจข้างต้น ต้องมุ่งหมายที่จะส่งเสริมสนับสนุน และให้คำแนะนำ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ขจัดความเหลื่อมล้ำ อำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนอย่างทัดเทียมกัน และลดภาระที่เกิดขึ้นกับประชาชนโดยไม่จำเป็นหรือเกินสมควรแก่เหตุ รวมทั้งขจัดหรือระงับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมที่หน่วยงานของรัฐปฏิบัติต่อประชาชน        

ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องไม่ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดินตาม (1) และ (2) โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินแจ้งให้คณะรัฐมนตรีทราบเพื่อพิจารณาสั่งการตามที่เห็นสมควรต่อไป อนึ่ง ในกรณีการดำเนินการตามหน้าที่ข้างต้น พบว่า เป็นกรณีที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติดำเนินการต่อไป

นอกจากนี้ ในการปฏิบัติหน้าที่สามประการข้างต้น ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองได้เมื่อเห็นว่า

(1) บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ และให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ     

(2) กฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครองและให้ศาลปกครองพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

หน้าที่และอำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560

มาตรา 22 ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้     

(1) เสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎ หรือคำสั่ง หรือ ขั้นตอนการปฏิบัติใด ๆ บรรดาที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน หรือเป็นภาระแก่ประชาชนโดยไม่จำเป็นหรือเกินสมควรแก่เหตุ       

(2) แสวงหาข้อเท็จจริงเมื่อเห็นว่ามีผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัตินอกเหนือหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ขจัดหรือระงับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมนั้น

(3) เสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ทราบถึงการที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน ตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญ     

(4) หน้าที่และอำนาจอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายอื่น การดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจตามวรรคหนึ่ง ต้องมุ่งหมายที่จะส่งเสริมสนับสนุนและให้คำแนะนำ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ขจัดความเหลื่อมล้ำ อำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนอย่างทัดเทียมกัน และลดภาระที่เกิดขึ้นกับประชาชนโดยไม่จำเป็นหรือเกินสมควรแก่เหตุ รวมทั้งขจัดหรือระงับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมที่หน่วยงานของรัฐปฏิบัติต่อประชาชน  ในการดำเนินการตาม (1) หรือ (2) หากเป็นกรณีที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติดำเนินการต่อไป และเพื่อขจัดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติหน้าที่ ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติร่วมกันหารือและวางหลักเกณฑ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการต่อไปด้วย             

มาตรา 23 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 22 (1) (2) หรือ (3) ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองเมื่อเห็นว่ามีกรณี ดังต่อไปนี้        

(1) บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ และให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ     

(2) กฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครอง และให้ศาลปกครองพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

การดำเนินการกรณีเป็นเรื่องเฉพาะตัว หรือเรื่องที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของหน่วยงานของรัฐ

ในการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจ ถ้าผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาแล้วเห็นว่าความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมเรื่องใดเป็นเรื่องเฉพาะตัวเป็นรายกรณี หรือเป็นเรื่องที่อยู่ในหน้าที่ และอำนาจของหน่วยงานของรัฐที่จะขจัดความเดือดร้อนหรืออำนวยความเป็นธรรมได้ตามหน้าที่และอำนาจของหน่วยงานของรัฐนั้นอยู่แล้ว ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) ในกรณีที่การดำเนินการในเรื่องนั้นมีกฎหมายกำหนดให้มีการร้องทุกข์หรืออุทธรณ์ไว้แล้ว ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องดังกล่าวให้หน่วยงานของรัฐนั้นพิจารณาดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป

(2) ในกรณีที่เป็นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลหรือการดำเนินการทางวินัยของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้ผู้มีอำนาจดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลหรือการดำเนินการทางวินัยในกรณีนั้นดำเนินการต่อไป แต่ทั้งนี้ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจแสวงหาข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น เพื่อประโยชน์ในการเสนอแนะให้มีการแก้ไขกฎหมาย กฎ หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นระบบได้

(3) ในกรณีที่การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัตินอกเหนือหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทุจริต ให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ หรือคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินพิจารณาดำเนินการต่อไปแล้วแต่กรณี

เรื่องที่ไม่อยู่ในอำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560[แก้]

เรื่องที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560     

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560 มาตรา 37 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ตรวจการแผ่นดินรับเรื่องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาแล้วเห็นว่ามีลักษณะดังต่อไปนี้ไว้พิจารณา       

(1) เรื่องที่เป็นนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนด เว้นแต่นโยบายนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือมีผลให้มีการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐตามรัฐธรรมนูญ  

(2) เรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาลหรือเรื่องที่ศาลมีคำพิพากษา คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดแล้ว เว้นแต่เป็นการศึกษาเพื่อประโยชน์ในการเสนอแนะให้มีการปรับปรุงกฎหมายหรือกฎที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม         

(3) เรื่องที่ไม่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน        

(4) เรื่องที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจขององค์กรอิสระอื่น หรือที่องค์กรอิสระอื่นรับไว้ดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจขององค์กรอิสระนั้นแล้ว แต่ไม่ตัดอำนาจในการที่จะขอรับทราบผลการพิจารณาขององค์กรอิสระที่รับเรื่องไว้ดำเนินการ    

(5) เป็นการร้องเรียนโดยใช้สิทธิไม่สุจริตและการพิจารณาจะไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยส่วนรวม

(6) เรื่องที่ผู้ร้องเรียนได้รับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมอย่างเหมาะสมแล้ว   

(7) เรื่องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเคยสรุปผลการพิจารณาแล้ว เว้นแต่จะปรากฏพยานหลักฐานหรือข้อเท็จจริงใหม่อันอาจทำให้ผลการพิจารณาเปลี่ยนแปลงไป          

(8) เรื่องอื่นตามมติที่ผู้ตรวจการแผ่นดินกำหนด

ในกรณีที่มีความปรากฏในภายหลังว่าเป็นเรื่องที่มีลักษณะตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินสั่งยุติเรื่อง    

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งประธานผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรไทย

รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นายพิเชต สุนทรพิพิธ 1 เมษายน พ.ศ. 2543 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา)
2. พลเอก ธีรเดช มีเพียร 24 ธันวาคม พ.ศ. 2546 - 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 (ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา)
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 - 21 มีนาคม พ.ศ. 2552
3. นายปราโมทย์ โชติมงคล 5 เมษายน พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2554
4. นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 26 มกราคม พ.ศ. 2556
5. ศาสตราจารย์ศรีราชา วงศารยางกูร 24 มีนาคม พ.ศ. 2558 - 18 กันยายน พ.ศ. 2559
6. พลเอก วิทวัส รชตะนันทน์ 18 กันยายน พ.ศ. 2559 - 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 (ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน)
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 - 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
7. นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน

รายนามผู้ตรวจการแผ่นดิน[แก้]

ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดินในปัจจุบัน[แก้]

  • นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต (ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2564[4] - ปัจจุบัน) (เป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน ตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561)
  • นายอิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ (ผู้ตรวจการแผ่นดิน ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2564[4] - ปัจจุบัน)
  • นายทรงศัก สายเชื้อ (ผู้ตรวจการแผ่นดิน ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564[5] - ปัจจุบัน)

อดีตผู้ตรวจการแผ่นดิน[แก้]

  • นายพิเชต สุนทรพิพิธ (1 เมษายน พ.ศ. 2543[6] -23 ธันวาคม พ.ศ. 2546)
  • นายพูลทรัพย์ ปิยะอนันต์ (28 มิถุนายน พ.ศ. 2545[7] - 12 ตุลาคม พ.ศ. 2551)
  • พล.อ.ธีรเดช มีเพียร (24 ธันวาคม พ.ศ. 2546[8] - 21 มีนาคม - พ.ศ. 2552) ดำรงตำแหน่งประธานฯ พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2552[9]
  • นายปราโมทย์ โชติมงคล (13 สิงหาคม พ.ศ. 2548[10] - พ.ศ. 2554) ดำรงตำแหน่งประธานฯ พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2554[11]
  • นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ(13 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 26 มกราคม พ.ศ. 2556) ดำรงตำแหน่งประธานฯ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 26 มกราคม พ.ศ. 2556
  • นายประวิช รัตนเพียร (26 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 24 กันยายน พ.ศ. 2556)[12]
  • ศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย (8 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557)[12]
  • ศาสตราจารย์ ดร.ศรีราชา วงศารยางกูร (5 เมษายน พ.ศ. 2553 - 18 กันยายน พ.ศ. 2559)[13] ดำรงตำแหน่งประธานฯ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558 - 18 กันยายน พ.ศ. 2559)
  • นายบูรณ์ ฐาปนดุลย์ (24 มีนาคม พ.ศ. 2558 – 27 พฤษภาคม 2563)
  • พลเอกวิทวัส รชตะนันทน์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน (18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564)[14] เคยเป็นรักษาการประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน (18 กันยายน พ.ศ. 2559 - 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561) [15] และประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน(18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561-24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564)[16]

ตัวอย่างผลการดำเนินงานของผู้ตรวจการแผ่นดิน[แก้]

(อยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูล)

ตัวอย่างผลการดำเนินงานของผู้ตรวจการแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564[แก้]

  • แสวงหาข้อเท็จจริงกรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ

1. เสนอรายงานการแสวงหาข้อเท็จจริงกรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ พร้อมข้อเสนอแนะ ต่อคณะรัฐมนตรี กรณีการให้ข้อเสนอแนะปัญหาขยะพลาสติกในทะเลไทย

2. การบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาและระดับก่อนประถมศึกษา กรณีหน่วยงานที่รับผิดชอบ ยังไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควร ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงได้อาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๓๐ (๓) เสนอรายงานการแสวงหาข้อเท็จจริงการที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด ๕ หน้าที่ของรัฐพร้อมข้อเสนอแนะ เรื่อง การบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันเด็กต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา

3. กรณีกระทรวงพลังงาน กำหนดนโยบายและแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า โดยลดสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าของรัฐซึ่งเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานลงต่ำกว่าร้อยละ ๕๑ และให้เอกชนเข้ามามีบทบาทในการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ มาตรา ๕๖ วรรคสอง

4. กรณีขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีข้อเสนอแนะให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้รัฐมีหน้าที่ดำเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายจนถึงระดับอุดมศึกษา ปัจจุบันผู้ร้องเรียนกำลังศึกษาอยู่ในระดับ อุดมศึกษา และมีความประสงค์ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า “รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” โดยผู้ร้องเรียนเห็นว่า ควรแก้ไขเป็นให้รัฐมีหน้าที่ดำเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายจนถึงระดับอุดมศึกษา

5. กรณีการจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรในพื้นที่ตำบลกรุงหยัน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองสังข์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามที่ราษฎรในพื้นที่หมู่ที่ ๕ ตำบลกรุงหยัน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ร้องเรียนขอให้เร่งรัดจังหวัดนครศรีธรรมราชดำเนินการจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองสังข์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริโดยเร็วนั้น

6. กรณีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดำเนินโครงการเพิ่มสภาพคล่องผู้ประกอบการค้าผลไม้ปีการผลิต ๒๕๕๓(กรณีใช้ Packing Stock เป็นหลักประกัน) เป็นเหตุให้เกษตรกรขาดทุนและเป็นหนี้และสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม

  • กรณีเสนอต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการปรับรุงกฎหมาย กฎ หรือคำสั่ง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560 มาตรา 22 (1)

1. กรณีเสนอแนะให้มีการปรับปรุงกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ พ.ศ. ๒๕๕๐ ในประเด็นสิทธิในการรับเงินบำเหน็จชราภาพของบุคคลซึ่งเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓

2. กรณีเสนอแนะให้มีการปรับปรุงระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๓๒ การพิมพ์ลายนิ้วมือ พ.ศ. ๒๕๕๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือเป็นภาระแก่ประชาชนโดยไม่จำเป็นหรือเกินสมควรแก่เหตุ

3. กรณีเสนอแนะให้มีการแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ การบริหารงบประมาณรายจ่าย การควบคุมงบประมาณ การประเมินผลและการรายงานการใช้งบประมาณรายจ่าย ตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งส่งผลกระทบต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว

  • กรณีบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561

1. กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกำหนดเขตอุทยานแห่งชาติทับลานทับซ้อนกับที่อยู่อาศัยและทำกินของประชาชนในพื้นที่รอบเขตอุทยาน และกระทำการอันเป็นการละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้ร้องเรียนและประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองและคุ้มครองไว้

2. วุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบผู้ร้องเรียนให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปกครองสูงสุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๕ วรรคสาม ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๑๙๘ และเป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพอันเป็นผลจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

3. มติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด เรื่อง ปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาฟ้องคดี ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓ วรรคสอง มาตรา ๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๕ วรรคสาม มาตรา ๑๘๘ และมาตรา ๑๙๗ อันเป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้

  • กรณ๊แก้ไขปัญหาความทุกข์ร้อนของประชาชนตามคำร้องเรียน

1. ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากเหตุการณ์ระเบิดและเพลิงไหม้โรงงานผลิตเม็ดโฟมและพลาสติก และแนวทางการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ

2. กรณีองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งหนึ่งไม่ดำเนินการทางกฎหมายเพื่อบังคับให้โครงการก่อสร้างปฏิบัติตามรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นเหตุให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน

3. กรณีหน่วยงานผู้ถูกร้องเรียนไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเรื่องกลิ่นเหม็นของมูลแพะ และฝุ่นควันที่เกิดจากการเผาเศษอาหารของแพะ อันเกิดจากคอกเลี้ยงแพะซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณใกล้ชุมชน

4. หน่วยงานของรัฐก่อสร้างฝายทดน้ำกั้นแม่น้ำบริเวณใกล้สถานีสูบน้ำโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแห่งหนึ่งทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม การทำประมง และกีดขวางการเดินเรือและทางน้ำธรรมชาติ

5. การแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้างอาคารที่พักข้าราชการกองบัญชาการกองทัพไทย

6. การทวงคืนที่ดินทำกินที่หายไปของผู้ร้องเรียนซึ่งเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

7. การแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค และการเกษตรจากการดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยดู่ล่าช้า ในพื้นที่ตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

8. กรณีการบริหารจัดการโรงพยาบาลสนามของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)    

ตัวอย่างผลการดำเนินงานของผู้ตรวจการแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563[แก้]

  • แสวงหาข้อเท็จจริงกรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ

1.       การจัดทำรายงานการแสวงหาข้อเท็จจริงพร้อมข้อเสนอแนะ เรื่อง โครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนครอบครัวยากจนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับ

2.       โครงการศึกษา เรื่อง ระบบสุขภาพปฐมภูมิ เพื่อจัดทำรายงานการแสวงหาข้อเท็จจริงพร้อมข้อเสนอแนะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560มาตรา 230 (3)

3.       โครงการศึกษาเรื่องสิทธิของมารดาระหว่างก่อนและหลังคลอดบุตรกรณีการบริโภควิตามินโฟลิก เอซิด (วิตามิน B9)

4.       รายงานของผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอต่อคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 230 (3) เรื่อง หน้าที่ของรัฐในการเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานของรัฐและต้องจัดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะ

  • กรณีบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561

1.       พระราชบัญญัติคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2554  มาตรา 5 มาตรา 8 และมาตรา 13 มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 129

2.       คณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตัดสิทธิผู้ร้องเรียนทั้งสองในการเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ การกระทำนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 25 และมาตรา 27 ประกอบมาตรา 213

  • กรณีการพิจารณาแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนตามคำร้องเรียน

1.       กรณีขอให้ประสานงานไปยังการไฟฟ้านครหลวงแก้ไขปัญหาไฟฟ้าส่องสว่างดับในซอยนาคนิวาส 48 แยก 14 - 4 ถนนนาคนิวาส แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร ทำให้ผู้ร้องเรียนและประชาชนในบริเวณดังกล่าวได้รับความเดือดร้อน

2.       กรณีการประปาส่วนภูมิภาค ดำเนินการคืนเงินค่าน้ำประปาจากเหตุมาตรวัดน้ำชำรุดให้กับผู้ร้องเรียนล่าช้า

3.       แก้ไขปัญหามาตรการเยียวยาโครงการ "เราไม่ทิ้งกัน" เพื่อให้ประชาชนได้รับการช่วยเหลืออย่างทั่วถึง

4.       กรณีมาตรการป้องกันโรคสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

5.       ปัญหาความเดือดร้อนจากการที่หน่วยงานของรัฐไม่ดำเนินการซ่อมแซมสะพานไม้ข้ามคลองบริเวณหลังที่ทำการประตูน้ำบางนกแขวก ทำให้ประชาชนที่ใช้สะพานดังกล่าวในการสัญจรเดือดร้อนเป็นอย่างมาก

6.       ปัญหาการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดล่าช้า

7.       เทศบาลตำบลละเลยไม่ดำเนินการกับผู้ประกอบการร้านอาหาร ซึ่งสถานที่ตั้งใกล้เคียงกับบ้านเรือนและโรงเรียน โดยปล่อยให้มีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และแสดงดนตรีสดส่งเสียงดังรบกวนเป็นเหตุให้ประชาชนบริเวณใกล้เคียงเดือดร้อน

8.       สำนักงานเขตไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหากลิ่นเหม็นจากโรงงานอุตสาหกรรมใกล้หมู่บ้าน ทำให้ประชาชนที่อาศัยในบริเวณดังกล่าวได้รับความเดือดร้อน

9.       กรณีเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด...ไม่พิจารณาดำเนินการต่ออายุการตรวจลงตราในหนังสือเดินทางให้เป็นไปตาม คำพิพากษาตามยอมสัญญาประนีประนอมยอมความของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสมุทรปราการ

10.  กรณีการรถไฟแห่งประเทศไทยจะดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ ซึ่งจะมีผลกระทบในวงกว้าง ทำให้ประชาชนและผู้อาศัยในบริเวณดังกล่าวไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน(นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต)
  2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ . 2542
  3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
  4. ↑ 4.0 4.1 พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานผู้ตรวจการแผ่นดินและผู้ตรวจการแผ่นดิน (จำนวน ๒ ราย ๑. นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ๒. นายอิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดิน (นายทรงศัก สายเชื้อ)
  6. ประกาศแต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 35ง วันที่ 12 เมษายน 2543
  7. ประกาศแต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนพิเศษ 63ง วันที่ 10 กรกฎาคม 2545
  8. ประกาศแต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 1ง วันที่ 8 มกราคม 2547
  9. ประกาศแต่งตั้งประธานผู้ตรวจการแผ่นดินราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนพิเศษ 185ง วันที่ 28 พฤศจิกายน 2550
  10. ประกาศแต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ 76ง วันที่ 5 กันยายน 2548
  11. ประกาศแต่งตั้งประธานผู้ตรวจการแผ่นดินและผู้ตรวจการแผ่นดินราชการกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอนพิเศษ 52ง วันที่ 26 เมษายน 2553
  12. ↑ 12.0 12.1 ประกาศแต่งตั้งประธานผู้ตรวจการแผ่นดินและผู้ตรวจการแผ่นดินราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษ 138ง วันที่ 17 พฤศจิกายน 2554
  13. ประกาศสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่แทนประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอน ๒๒๐ ง พิเศษ หน้า ๘ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๙
  14. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดิน (พลเอก วิทวัส รชตะนันทน์)
  15. ประกาศสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่แทนประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอน ๒๒๐ ง พิเศษ หน้า ๘ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๙
  16. พระราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานผู้ตรวจการแผ่นดินและผู้ตรวจการแผ่นดิน [๑. พลเอก วิทวัส รชตะนันทน์ ๒. นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
  • สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินศึกษา

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด