ใครเป็นผู้กอบกู้เอกราชจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1

วันเสาร์ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.

วันที่ 17 เมษายน คือ วันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี พระมหากษัตริย์ผู้ทรงกอบกู้เอกราชให้กรุงศรีอยุธยา ให้รอดพ้นจากการตกเป็นประเทศราชของพม่า เมื่อหลังจากทรงกอบกู้เอกราชได้สำเร็จแล้ว พระองค์ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นพระนครหลวงของไทย

ในโอกาสสำคัญนี้ แนวหน้าวาไรตี้ โดย ดร.เฉลิมชัย ยอดมาลัย ได้ไปสนทนากับอดีตผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือเอกประเจตน์ศิริเดช และ แพทย์หญิง คุณหญิงนงนุช ศิริเดช รองประธานกรรมการมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม โดยได้ไปสนทนากันที่ค่ายตากสิน จังหวัดจันทบุรี

l วันนี้เป็นโอกาสดี เพราะเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์ท่านทรงมีคุณูปการต่อแผ่นดินไทย และต่อพสกนิกรไทยอย่างหาที่สุดมิได้ พระองค์ทรงกอบกู้เอกราชให้ไทย จากการเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2ขอกราบเรียนถามท่านอดีต ผบ.ทร. ว่า ทหารเรือกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีความเกี่ยวพันกันในประการใดบ้างครับ

ในฐานะพสกนิกรไทย ผมขอกราบถวายบังคมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน เพราะพระองค์ท่านคือผู้ที่ทรงทำให้ประเทศไทยมีอิสรภาพจากพม่า และโดยส่วนตัวแล้ว ผมจำได้ดีว่าตั้งแต่ผมเป็นนักเรียนเตรียมนายเรือ ผมได้เรียนอยู่ในเขตพระราชวังเดิมบริเวณชั้นนอก ทุกเย็นผมและเพื่อนต้องเดินผ่านท้องพระโรง เพื่อลงไปที่ท่าน้ำหน้าวังเดิม แล้วลงไปว่ายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาผมได้เห็นพระราชวังเดิมมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก จวบจนผมได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ นับเป็นบุญตัวของผมที่ได้ร่ำเรียนและได้ทำงานอยู่ในเขตพระราชวังเดิม อันเป็นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทยของเรา ผมคิดว่าผมโชคดีมากครับ

l วันนี้ (วันที่ 17 เมษายน 2562) คณะของเรามาอยู่ที่เมืองจันทบุรี ที่ค่ายตากสิน นับได้ว่าบริเวณนี้เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ เพราะในสมัยเมื่อกว่า 200 กว่าปีมาแล้ว พระยาตากได้มารวบรวมไพร่พลเพื่อเตรียมการกอบกู้เอกราชให้ไทย ณ บริเวณแห่งนี้ ในวันนี้ได้มีพิธีบวงสรวงถวายราชสักการะดวงพระวิญญาณของพระองค์ท่าน ในฐานะที่ท่านอดีต ผบ.ทร. เป็นประธานการจัดงานในวันนี้ ท่านจะมีอะไรกล่าวกับผู้ชมรายการแนวหน้าวาไรตี้ และผู้อ่านแนวหน้าบ้างครับ

ผมมั่นใจว่าคนไทยทุกคนยังคงตระหนักดีว่าการที่เราได้มีเอกราชมาตราบจนทุกวันนี้ ก็เพราะพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ผมอยากให้คนไทยจดจำพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านไว้ตลอดไป และขอให้คนไทยระลึกไว้เสมอว่าชาติบ้านเมืองของเราดำรงอยู่ได้ตราบจนทุกวันนี้ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าทุกพระองค์ และด้วยความเสียสละของบรรพบุรุษของเราทุกคน เราต้องช่วยกันทำนุบำรุงบ้านเมืองของเราให้ดำรงคงอยู่ให้สมกับความเสียสละของพระองค์ท่านและของบรรพบุรุษของเรา

อาคารท้องพระโรง พระราชวังกรุงธนบุรี

l ขออนุญาตเรียนถามคุณหญิง ในฐานะรองประธานกรรมการมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม ขอความกรุณาช่วยเล่าให้ฟังถึงเรื่องราวของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับพระราชวังเดิม และเรื่องราวของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับเมืองจันท์ด้วยครับ

พระยาตาก หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงใช้สถานที่ในเมืองจันทบุรีเป็นที่ตั้งทัพเพื่อเตรียมการกอบกู้เอกราชให้ไทย เพื่อให้รอดพ้นจากการตกเป็นประเทศราชของพม่า หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เมื่อปี พ.ศ. 2310 สถานที่ที่เรายืนอยู่ตรงนี้คือที่ที่พระองค์ท่านเคยตั้งทัพแล้วยกเข้าตีเมืองจันท์เพื่อใช้เป็นชัยภูมิในการกอบกู้เอกราช เพราะฉะนั้นสถานที่แห่งนี้จึงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เริ่มต้นของการกอบกู้เอกราช ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุชัดว่า ในเขตจังหวัดจันทบุรีมีอู่ต่อเรือในสมัยเตรียมการกอบกู้เอกราชด้วย และมีค่าย โดยเฉพาะที่เนินวง ซึ่งบ่งบอกชัดเจนว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงใช้พื้นที่ในจังหวัดนี้เพื่อกอบกู้เอกราชให้กับบ้านเมืองของเรา เมื่อทรงจัดเตรียมกองเรือได้เพียงพอกับการกอบกู้เอกราชแล้วก็ทรงล่องเรือจากจันท์ไปตามลำน้ำแล้วไปยังป้อมวิไชยประสิทธิ์ ป้อมนี้อยู่ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งก็คือบริเวณหน้าพระราชวังเดิมในปัจจุบัน ป้อมนี้เป็นป้อมเก่าแก่ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แล้วจากป้อมแห่งนี้ พระองค์ท่านก็ทรงสั่งให้ล่องเรือไปทำการกอบกู้เอกราชต่อไป โดยมีการรบพุ่งกับข้าศึกในที่ต่างๆ มากมาย อาทิ ที่ค่ายโพธิ์สามต้น นี่นับเป็นแค่เพียงส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่งของการกอบกู้เอกราช เมื่อพูดถึงพระราชวังเดิมแล้ว คณะทำงานของเราก็ตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะบูรณะพระราชวังแห่งนี้ให้งดงามสมพระเกียรติต่อไปตามประวัติศาสตร์ระบุว่าหลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จสวรรคตแล้ว พระราชวังเดิมแห่งนี้ก็มิได้ถูกปล่อยทิ้งร้างแต่ประการใด เพราะยังมีเจ้านายชั้นสูงอีกหลายพระองค์ประทับในพระราชวังแห่งนี้ อย่างเช่น เจ้าฟ้าชายฉิม ซึ่งต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และยังมีเจ้านายชั้นสูงอีกหลายพระองค์ที่ประทับอยู่ในวังกรุงธนบุรี อาทิ เจ้าฟ้าชายทับ (ต่อมาคือรัชกาลที่ 3) รวมถึงรัชกาลที่ 4 ในช่วงก่อนจะขึ้นทรงราชย์และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย ประวัติศาสตร์ระบุว่ารัชกาลที่ 3,4 และพระปิ่นเกล้าทรงมีพระราชสมภพในพระราชวังกรุงธนบุรี จึงนับได้ว่าพระราชวังแห่งนี้มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับพระราชวงศ์จักรีด้วย สิ่งปลูกสร้างในเขตพระราชวังกรุงธนบุรีที่สำคัญคือ ท้องพระโรงโถง และยังมีสิ่งปลูกสร้างในยุคต่อๆ มา หลังจากพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว อาทิ พระตำหนักเก๋งจีนคู่ พระตำหนักสมเด็จพระปิ่นเกล้า เป็นสถาปัตยกรรมแบบอเมริกันผสมไทยคือเรือนปั้นหยาสองชั้น ศาลศีรษะปลาวาฬ เรือนเขียว คือ เรือนพยาบาลของโรงเรียนนายเรือในยุคเก่า เป็นต้น รัชกาลที่ 5 พระราชทานให้กองทัพเรือในยุคนั้นใช้สถานที่ของวังเดิมแห่งนี้เป็นที่ทำการของโรงเรียนนายเรือ มีการจดบันทึกว่ารัชกาลที่ 2ประทับอยู่ในวังแห่งนี้นานถึง 27 ปี และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ (ต้นราชสกุลจักรพันธุ์) พระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ 5 ประทับอยู่ในวังแห่งนี้เป็นพระองค์สุดท้าย ในฐานะคณะทำงานอนุรักษ์พระราชวังเดิม เราทุกคนพยายามจะอนุรักษ์และทำนุบำรุงรักษาโบราณสถานแห่งนี้ไว้ให้ดีที่สุด เพื่อเป็นสมบัติอันล้ำค่าของประเทศไทย ส่วนโบราณสถานในค่ายตากสิน จังหวัดจันทบุรี ที่เรากำลังอยู่ ณ ขณะนี้ ก็มีความสำคัญหลายประการ หนึ่งคือเป็นที่ตั้งค่ายของพระยาตาก แต่ยังมีความสำคัญในเรื่องอื่น ๆ อีก คือในยุคที่ฝรั่งเศสออกล่าอาณานิคม ซึ่งตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 สถานที่แห่งนี้คือที่ทำการของฝรั่งเศส มีอาคารเก่าหลายหลังที่สร้างมาตั้งแต่สมัยนั้น แต่ปัจจุบัน คณะทำงานของเราได้ปรับเปลี่ยนอาคารโบราณเหล่านั้นให้เป็นพิพิธภัณฑ์อันเกี่ยวเนื่องกับพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าหลายคนยังคงจำได้ดีว่าในยุคนั้นฝรั่งเศสพยายามจะยึดประเทศไทยให้จงได้ หลังจากที่ได้ดินแดนในอินโดจีนไปแล้ว ฝรั่งเศสส่งเรือรบเข้ามาปิดปากอ่าวของเราไว้ แล้วก็ส่งเรือรบรุกล้ำเข้ามาจนเกือบถึงเขตพระบรมมหาราชวัง ซึ่งในยุคนั้นไทยเสียเปรียบฝรั่งเศสมาก ในที่สุดเราก็ต้องยอมประนีประนอมตามคำเรียกร้องของฝรั่งเศส เพราะมิฉะนั้นความเสียหายอย่างหนักจะตกอยู่กับฝ่ายสยาม และอาจจะเสียเอกราชได้ในที่สุด ฝรั่งเศสยึดเมืองจันท์ไว้เพื่อใช้เป็นเครื่องต่อรองด้วย เหตุหนึ่งที่เขายึดเมืองจันท์ไว้ก็เพราะความอุดมสมบูรณ์ของที่นี่ มีทั้งแหล่งแร่พลอยอันล้ำค่า และยังเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญทางเรือด้วย เมืองจันท์เป็นจุดที่สะดวกในการแล่นเรือไปทางใต้ลงไปจนถึงเมืองมะละกา และสิงคโปร์ และถ้าจะแล่นเรือไปยังทิศตะวันออก ไปอินโดจีน เมืองจันท์ก็เป็นจุดเดินเรือที่สำคัญเช่นกัน เพราะฉะนั้นเมืองจันท์จึงเป็นพื้นที่ที่ฝรั่งเศสต้องการยึดไว้เพื่อต่อรองกับสยาม ช่วงที่เขามาอยู่นั้น เขาก็ได้สร้างอาคารหลายแห่งเช่น ตึกแดง ที่แหลมสิงห์ คุกขี้ไก่ ในเขตเมืองจันท์ จากนั้นก็ไปยึดเมืองตราดไว้อีกระยะหนึ่ง ดังนั้นจึงมีสิ่งปลูกสร้างในสมัยฝรั่งเศสล่าอาณานิคมในจันท์และตราดหลายแห่ง

เรือนเขียว ในพระราชวังกรุงธนบุรี

ที่นี้ขอกลับไปพูดถึงโบราณสถานต่างๆ ที่อยู่ในความดูแลของกองทัพเรือ ซึ่งกองทัพเรือพยายามจะอนุรักษ์เอาไว้ให้ดีที่สุด โดยพยายามหาเงินมาเพื่อบูรณะ หลังจากที่คณะทำงานได้บูรณะพระราชวังเดิมแล้ว ต่อมาก็พยายามจะบูรณะสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ในเขตของกองทัพเรือ ซึ่งรวมถึงในเขตบริเวณค่ายตากสินแห่งนี้ด้วย สำหรับในค่ายตากสินนี้มีอาคารในยุคฝรั่งเศสล่าอาณานิคมทั้งหมด 7 หลัง เช่น อาคารที่ใช้เป็นที่ทำการของยามรักษาการณ์ กองบัญชาการ เป็นต้น เราปรับปรุงอาคารเหล่านั้นแล้วทำเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อให้ประชาชนได้เข้าไปศึกษาและเรียนรู้เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ และพระราชกรณียกิจของรัชกาลที่ 5 โดยเฉพาะในช่วงที่พระองค์ท่านเสด็จฯยุโรปเพื่อแสวงหาพันธมิตร และทรงประกาศให้นานาชาติรู้ว่าประเทศสยามมิใช่ประเทศบ้านป่าเมืองเถื่อน ซึ่งสุดท้ายก็เป็นการช่วยทำให้สยามรอดพ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศตะวันตกที่กำลังแสวงหาอาณานิคม อันที่จริงไทยหรือสยามมีความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้วโดยเฉพาะในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่หลังจากรัชกาลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชาไม่ทรงปลื้มกับการที่จะให้มีฝรั่งมังค่าเข้ามาอยู่ในเขตพระนครศรีอยุธยามากจนเกินไป จึงรับสั่งให้เนรเทศต่างชาติกลับไป แล้วความสัมพันธ์ของฝรั่งเศสกับไทยก็กลับมารื้อฟื้นอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่สุดท้ายในยุครัชกาลที่ 5 ความสัมพันธ์สยามกับฝรั่งเศสก็เสื่อมทรามลงเพราะฝรั่งเศสแสดงความมีอำนาจจนเกินกว่าสยามจะรับได้ แต่ก็ต้องถือว่าการที่สยามรอดพ้นจากภัยของการล่าอาณานิคมก็ด้วยพระปรีชาญาณของสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า จากนั้นความสัมพันธ์กับสยามและฝรั่งเศสก็ลุ่มๆ ดอนๆ จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง และอีกครั้งหนึ่งคือยุทธนาวีที่เกาะช้าง ซึ่งไทยเสียเปรียบฝรั่งเศสมาก แต่นักรบของสยามก็รบจนสุดใจขาดดิ้นเพื่อรักษาเอกราชของเราเอาไว้ แม้ฝรั่งเศสจะมีความได้เปรียบเหนือกว่าเรามาก เพราะเขามีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยกว่าเราหลายเท่า ยุคนั้นเรือรบของไทยถูกฝรั่งเศสจมหมดทั้งสามลำ เหตุการณ์ประวัติศาสตร์เหล่านี้มีจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ในค่ายตากสินค่ะ อยากให้คนไทยได้ศึกษาไว้ด้วย แต่ศึกษาไว้เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจเท่านั้น มิใช่เพื่อให้โกรธแค้นฝรั่งเศส

กระดูกวาฬในศาลศีรษะปลาวาฬ ในพระราชวังกรุงธนบุรี

l ผมต้องกราบเรียนถาม ท่านอดีต ผบ.ทร. ว่าท่านอยากจะฝากข้อคิดเรื่องความเสียสละของบรรพบุรุษของเราให้คนรุ่นหลังได้รับรู้อย่างไรบ้างครับ โดยเฉพาะคนที่ไม่สนใจประวัติศาสตร์การต่อสู้ของเรา

ผมอยากให้คนไทยได้เห็นสถานที่แห่งนี้มาศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในพิพิธภัณฑ์ เพื่อจะได้รู้ว่ากว่าจะเป็นไทยได้อย่างเช่นทุกวันนี้ ประเทศชาติของเราต้องผ่านเหตุการณ์และความสูญเสียอะไรมาบ้าง อยากให้คนไทยรู้และเข้าใจว่าบ้านเมืองของเรามีความเป็นมา มีบรรพบุรุษที่เสียสละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อปกบ้านป้องเมืองไว้ให้เราทุกคน ผมอยากให้ทุกคนรักชาติบ้านเมืองให้มาก

สถานที่ซึ่งเคยเป็นอู่ต่อเรือที่จันทบุรีในสมัยพระยาตากกำลังรวบรวมพลพรรคไปกอบกู้เอกราช

l กราบเรียนถามคุณหญิงอยากจะฝากอะไรถึงคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะคนที่อ้างว่าเป็นเสรีชนแต่ไม่สนใจประวัติศาสตร์

ขอบอกว่า กว่าเราจะเป็นชาติบ้านเมืองได้เช่นทุกวันนี้ บ้านเมืองของเราได้ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ นานา มาจนนับครั้งไม่ถ้วน เราจึงต้องเรียนรู้และศึกษาประวัติศาสตร์ ศึกษาไว้เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจ เพื่อให้เรารู้ว่าบรรพบุรุษของเราผ่านความยากลำบากมาอย่างแสนสาหัสเพื่อรักษาบ้านเมืองไว้ให้กับเราทุกคน เราเป็นคนมีรากมีเหง้ามีความเป็นมา กว่าเราจะเป็นชาติไทยได้เช่นทุกวันนี้เราต้องสูญเสียอะไรต่างๆ นานา ไปอย่างมากมาย ประวัติศาสตร์จะช่วยให้เรามีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันได้ ช่วยให้เรารักใคร่กลมเกลียวกันไม่แตกแยกกัน การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไม่ใช่เรื่องเชยล้าสมัย ประวัติศาสตร์ทำให้เรารู้ถึงรากเหง้าของเราเอง ถ้าเราไม่รู้ประวัติศาสตร์ของเรา เราจะไม่ภูมิใจในตัวของเรา และเราจะไม่ผูกพัน ไม่รักชาติบ้านเมืองของเรา ขอให้เราทุกคนคิดถึงความเสียสละของบรรพบุรุษของเราให้มาก หากไม่มีพวกเขาแล้ว เราก็คงไม่มีแผ่นดินไทยอย่างเช่นทุกวันนี้

คุณสามารถพบกับรายการดีที่ครบครันด้วยสาระและความบันเทิง ในรายการแนวหน้าวาไรตี้ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา16.00-16.25 น. ทางโทรทัศน์ TNN2 ช่อง784 ดิจิทัลทีวีหรือ True Visions 8 และชมรายการย้อนหลังได้ที่ YouTube ผู้หญิงแนวหน้า By คุณแหน

ป้อมวิไชยประสิทธิ์ หน้าพระราชวังกรุงธนบุรี

ใครเป็นผู้กอบกู้เอกราชจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2

พระเจ้าตากสินใช้เวลาเพียง ๓ ปี ในการกอบกู้เอกราชและรวบรวมชนชาวไทยให้เป็นปึกแผ่นได้ดังเดิม โดยสาเหตุสำคัญที่พระเจ้าตากสินมหาราชประสบความสำเร็จในการกอบกู้เอกราชหรือการรวบรวมคนไทยได้อย่าแน่นแฟ้นนั้น ก็เป็นเหตุผลมาจากพระปรีชาสามารถในการรบ การมัดใจคน และการสร้างระเบียบวินัยหรือกล้าหาญให้แก่ทหารของพระองค์ แต่หลังจากที่ ...

ผู้กอบกู้เอกราชในการเสียกรุงครั้งที่ 1 คือใคร

อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยาได้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 ข่าวกรุงแตกได้แพร่กระจายออกไปขณะที่พระยาตากอยู่ที่เมืองระยอง พระยาตากจึงได้ประกาศตนเป็นผู้นำในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยาให้กลับรุ่งเรืองดังเดิม พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวถึงคำพูดของพระยาตากไว้ตอนหนึ่งว่า

ใครเป็นคนกู้เอกราชของกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ.2127

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกู้เอกราชคืนมาได้ใน พ.. 2127 และ เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราชได้ในปลายปีเดียวกันแล้วทรงสถาปนา กรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ โดยกวาดต้อนผู้คนจากกรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรีเพื่อสร้างเมืองใหม่ แต่กรุงศรีอยุธยาไม่ได้ กลายเป็นเมืองร้าง ยังคงมี ...

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 กอบกู้เอกราชได้อย่างไร

การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก นับเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งเป็นการรวบรวมกองกำลังของเจ้าตาก เพื่อขับไล่กองทัพพม่าที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในกรุงศรีอยุธยา ภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง อันส่งผลให้เกิดสภาพจลาจลโดยทั่วไป ราชอาณาจักรอยุธยาเดิมจึงถูกแบ่งออกเป็นชุมนุมต่าง ๆ เป็นอิสระต่อกัน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด