โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ หมอ

5 อาชีพที่สุ่มเสี่ยงต่อการเสื่อมสุขภาพในอนาคต [caption id="attachment_31214" align="aligncenter" width="1201"]

โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ หมอ
5 อาชีพที่สุ่มเสี่ยงต่อการเสื่อมสุขภาพในอนาคต[/caption]

5 อาชีพที่สุ่มเสี่ยงต่อการเสื่อมสุขภาพในอนาคต

1.ทันตแพทย์ อาชีพหมอฟันหรือทันตแพทย์ เป็นน่าสนใจในปัจจุบันเพราะว่ามีโอกาสก้าวหน้าในชีวิตรวมถึงรายได้ที่สูงถึง 7 หลักต่อเดือน แต่รู้ไหมว่า อาชีพหมอฟันเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพสูงที่สุดเป็นอันดับที่1 โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 65.4 % ซึ่งหน้าที่หลักของหมอฟันคือ การวินิจฉัยตวรจสอบโรค รักษาโรค ทำศัลยกรรม ให้ยารักษา กับสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่องปากของผู้ป่วย และนี่คือสาเหตุต่างๆที่มำให้อาชีพหมอฟันนั้นมีความเสี่ยงต่อการเสื่อมเสียด้านสุขภาพมากที่สุด

1. การสัมผัสสารปนเปื้อนต่างๆ ที่มีความเสี่ยงสูงถึง 84 %

2. การสัมผัสเชื้อโรคภายในช่องปากของคนไข้

3. ใช้ระยะเวลานั่งในการทำงานตลอดทั้งวัน

2.พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน หรือ อาชีพ แอร์โฮสเตสและสจ็วต เป็นอาชีพที่ใครหลายๆคนนั้นใฝ่ฝันอยากจะเป็น เพราะด้วยรายได้ที่ค่อนข้างสูง กับเครื่องแบบที่สวยงามรวมถึงขณะทำงานก็สามารถได้ท่องเที่ยวไปในเมืองต่างๆได้อีกด้วย แต่เมื่อพิจารณาจากการปฏิบัติงานจริงแล้วจะพบว่า อาชีพแอร์โฮสเตสและสจ๊วดมีความเสี่ยงด้านสุขภาพค่อนข้างสูงเป็นอันดับ 2 รองจากทันตแพทย์ ที่ถึงร้อยละ 62.3 % ซึ่งหน้าที่ อาชีพ แอร์โฮสเตสและสจ็วต คือ ทักทายผู้โดยสารตอนขึ้นเครื่องตรวจสอบตั๋วและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารตลอดการเดินทาง รวมถึงสาธิตวิธีการใช้อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย เหตุฉุกเฉินต่างๆ และสุดท้ายคือการให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม อาชีพ แอร์โฮสเตสและสจ็วต มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคภัยต่างๆที่สุขผลต่อสุขภาพได้แก่

1.สามารถที่จะติดเชื้อเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินหายใจมากผู้โดยสารที่มาจากที่อื่นได้

2.ร่ายกายต้องคอยปรับสภาพตามอากาศและเวลาของแต่ละประเทศที่บินไป

3.มีความเสี่ยงที่เป็นโรคกระดูกสันหลังคดจากการยกของหรือยกกระเป๋าที่หนักๆเป็นประจำ
4.มีความเสี่ยงที่เป็น โรคมะเร็งผิวหนัง สูงถึง 2 เท่าสาเหตุจากการรับรังสีอัลตราไวโอเลตที่แทรกซึมอยู่ภายในเครื่องบิน

3.วิสัญญีแพทย์ หรือ ชื่อเต็มๆเรียกกว่า อาชีพ 'แพทย์ผู้ชำนาญการวางยาสลบหรือยาชา' หรือ ผู้คนส่วนใหญ่รู้จักกันในชื่อว่า 'หมอดมยา' ซึ่งหมอดมยามักทำงานร่วมกับแพทย์ผ่าตัดเสมอ เพื่อที่ต้องการให้ระงับความรู้สึกเจ็บปวดของคนไข้ก่อนทำการผ่าตัดเพียงชั่วคราว โดยจะประเมินผู้ป่วยก่อนเพื่อเตรียมการทำวิสัญญีอย่างถูกต้องและปลอดภัย รวมถึงแนะนำผู้ป่วยในเรื่องการปฏิบัติตนที่จำเป็นสำหรับการกลับคืนสู่สภาพปกติหลังเข้ารับการผ่าตัด สำหรับอาชีพแพทย์ผู้ชำนาญการวางยาสลบหรือยาชา นั้นก็มีความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอยู่เหมือนกันอยู่ที่ร้อยละ 62.3 % เท่ากับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ซึ่งการทำอาชีพหมอดมยานี้จะมีความเสี่ยงต่อโรคได้แก่

1. เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่างๆ ถึงร้อยละ 94 %

2. การสัมผัสสารปนเปื้อนโดยตรงเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ถึงร้อยละ 80 %

3. การสัมผัสกับรังสีในห้องผ่าตัดโดยตรง ถึงร้อยละ 74 %

4.สัตวแพทย์ ,ผู้ช่วยสัตวแพทย์ และ นักเทคนิคการสัตวแพทย์ อาชีพ สัตว์แพทย์ เป็นมีหน้าที่ในการวินิจฉัยตรวจสอบโรคภัยต่างๆ และรักษาโรคหรืออาการบาดเจ็บของ สำหรับการใช้งานในการรักษาและ การวินิจฉัยโรคในสัตว์ อาชีพนี้มีค่าเฉลี่ยโดยรวมความเสี่ยงด้านสุขภาพร้อยละ 60.3 %

1.เสี่ยงต่อการติดโรคและติดเชื้อร้อยละ 81 % จากการบาดเจ็บที่เกิดจากเครื่องมือทางการแพทย์

2.การสัมผัสกับสารปนเปื้อนร้อยละ 74 % จาก น้ำยาฆ่าเชื้อ แก๊สนำสลบ ยาสลบแบบฉีด ยาฆ่าแมลง ยาแก้ปวด ฮอร์โมน สารทำละลาย เป็นประจำ

3.อาการบาดเจ็บที่เกิดจากการถูกกัด ต่อย ข่วน กระแทกและอื่นๆ ร้อยละ 75 % และเสี่ยงต่อการได้รับสารก่อภูมิแพ้ จากการสัมผัส ขนของสัตว์ สะเก็ดผิวหนังสัตว์ ปัสสาวะสัตว์ หรือสารคัดหลั่งอื่นๆ และโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน อีกด้วย

5.วิศวกรควบคุมและอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ อาชีพวิศวกรนี้เป็นวิศวกรคอยที่เป็นผู้ควบคุม ประจำหม้อไอน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวหรือก๊าซเป็นสื่อนำความร้อน เพื่อให้เป็นสาธารณูปโภคสำหรับอาคารหรือเพื่อการอุตสาหกรรม ด้วยความที่ทำงานแวดล้อมไปด้วยเครื่องจักร ซึ่งการทำงานในสภาพแวดล้อมที่เต็มเป็นด้วยเครื่องจักรนั้น จึงเป็นสาเหตุที่อาชีพวิศวกรควบคุมอำนวยการใช้หมอไอน้ำ มีความเสื่ยงด้านสุขภาพที่ร้อยละ 57.7 % ด้วยเหตุจากการสัมผัสและเผชิญกับสารปนเปื้อนหลายๆชนิดถึง 99 % จึง สาเหตุที่ทำให้ผู้ทำอาชีพนี้ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดภายในโรงงาน

แพทย์

ผู้ที่ทำหน้าที่ วินิจฉัยโรค สั่งยา และให้การรักษาทางอายุรกรรม และศัลยกรรมในความผิดปกติในร่างกายและจิตใจของมนุษย์ ทำการวิจัยปัญหาทางแพทย์ และปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมถึงการตรวจร่างกาย การวินิจฉัยโรค การสั่งยา การผ่าตัด และการรักษาอาการบาดเจ็บ โรค และความผิดปกติต่างๆ อาจทำงานเฉพาะการให้คำแนะนำและรักษาทางยาหรือทางผ่าตัดเกี่ยวกับโรคหรือความผิดปกติเฉพาะอย่าง ตรวจค้นโรคและความผิดปกติต่างๆ ของมนุษย์ เพื่อให้ทราบลักษณะแก่นแท้สมติฐาน อาการแสดงและผลของโรค และความผิดปกตินั้นๆ ช่วยกำหนดวิธีการรักษา ตรวจร่างกายมนุษย์หรือวัตถุจากร่างกายมนุษย์ หรือวัตถุพยานอื่นๆ ที่เกี่ยวกับทางการแพทย์ เพื่อค้นหาและชันสูตรเหตุของความผิดปกติในร่างกาย

ลักษณะของงานที่ทำ

1.ตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรค สั่งยา ผ่าตัดเล็ก รักษาอาการบาดเจ็บ โรค และอาการผิดปกติต่างๆ ของผู้ป่วย 

2.ตรวจผู้ป่วยและตรวจหรือสั่งตรวจทางเอ็กซเรย์หรือการทดสอบพิเศษ ถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม 

3. พิจารณาผลการตรวจและผลการทดสอบ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางหรือแพทย์อื่นตามความจำเป็น และวินิจฉัยความผิดปกติ 

4.สั่งยา ทำการผ่าตัดเล็กหรือการรักษาอย่างอื่น และแนะนำผู้ป่วยในเรื่องการปฏิบัติตนที่จำเป็นสำหรับการทะนุถนอมสุขภาพหรือการกลับคืนสู่สภาพปกติ บริหารยาและยาสลบตามต้องการ 

5.ทำการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในระยะก่อนคลอด ทำการคลอด และให้การดูแลรักษามารดา และทารก หลังคลอด 

6. เก็บรักษาบันทึกเกี่ยวกับผู้ป่วยที่ได้ตรวจโรคที่เป็นและการรักษาที่ได้ให้หรือสั่ง 

7.อาจผสมยา อาจรับผิดชอบและสั่งงานสำหรับพยาบาลในโรงพยาบาลหรือสถาบันอื่น

สภาพการจ้างงาน

อาชีพแพทย์ถือว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติ และเป็นอาชีพที่มีการเสียสละสูง สามารถรับราชการโดยทำงานในโรงพยาบาล สถานพยาบาล สถานีอนามัยหรือหน่วยงานการแพทย์ของกระทรวง ทบวง กรมที่ จัดขึ้นเพื่อบริการประชาชนและเจ้าหน้าที่ หรือทำงานในโรงพยาบาลเอกชนนอกจากนี้ ยังสามารถทำรายได้พิเศษด้วยการเปิดคลินิกส่วนตัวเพื่อรับรักษาคนไข้นอกเวลาทำงานประจำได้อีก แนวโน้มของตลาดแรงงานสำหรับแพทย์ทั่วไปยังคงมีอยู่ ดังนั้นแพทย์สามารถหางานทำได้ง่าย เนื่องจากประเทศไทยยังขาดแคลนแพทย์อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในต่างจังหวัด และชนบทที่ห่างไกลจากความเจริญในตัวเมือง

ผู้ประกอบอาชีพนี้ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจต้องมาทำงานวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด อาจจะต้องมีการจัดเวรอยู่ประจำโรงพยาบาล นอกจากผลตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้วในภาครัฐวิสาหกิจและเอกชนอาจได้รับผลตอบแทนในรูปอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่างๆ เงินโบนัส เป็นต้น สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาแพทย์สามารถประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยรายได้ที่ได้รับขึ้นอยู่กับความสามารถ และความอุตสาหะ

สภาพการทำงาน

สภาพการทำงานของคุณหมอในโรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลรัฐบาล และโรงพยาบาลต่างจังหวัด จะมีสภาพการทำงานที่แตกต่างกัน  

1. โรงพยาบาลรัฐบาล คนไข้ค่อนข้างเยอะทำให้มีเวลาในการรักษา ดูแลคนไข้ในแต่ละรายค่อนข้างน้อยเพื่อให้การรักษามีความทั่วถึง จึงเห็นได้ว่าแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐบาลจะมีภาระหน้าที่รับผิดชอบเยอะ และได้แสดงศักยภาพทางการทำงานอย่างเต็มที่ มีการแบ่งหน้าที่ในการรักษาอย่างชัดเจนตามแผนกต่างๆ  งบประมาณการทำงานต่างๆจะขึ้นอยู่กับรัฐบาล 

2. โรงพยาบาลเอกชน มีเวลาอยู่กันคนไข้ค่อนข้างมาก เพราะคนไข้น้อยกว่าเนื่องจากค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้งค่อนข้างสูง มีการแบ่งหน้าที่ในการรักษาอย่างชัดเจนเช่นกัน  จะมีเรื่องงานบริการเข้ามาเกี่ยวข้องเพราะต้องดูแลคนไข้แต่ละรายอย่างใกล้ชิด จึงต้องมีจิตวิทยาในการพูดคุยกับคนไข้และญาติ 

3. โรงพยาบาลต่างจังหวัด ส่วนใหญ่มีหมอรักษาการน้อย โดยเฉพาะต่างจังหวัดในอำเภอเล็กๆหรือห่างไกล คุณหมอหนึ่งท่านจะต้องรักษาคนไข้ได้ในหลากหลายอาการ และอาจมีหน้าที่นอกเหนือจากการเป็นหมอคือดูแลสิ่งที่ขาดเหลือในโรงพยาบาล การทำงานจะมีความท้าทายและต้องสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างดี เพราะจะมีปัญหาในเรื่องของเครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ไม่เพียงพอ คนไข้ที่อาการหนักเกินกว่าจะรักษาในโรงพยาบาลได้ ซึ่งถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดี 

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

สำเร็จการศึกษาทางสาขาวิชาแพทย์ศาสตร์ 

ขยันสนใจในการศึกษาหาความรู้ทางวิทยาการแพทย์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี 

มีสุขภาพสมบูรณ์ ทั้งร่างกาย และจิตใจไม่พิการหรือทุพพลภาพ ปราศจากโรค 

สามารถอุทิศตนยอมเสียสละเวลา และความสุขส่วนตัว เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นที่เดือดร้อนจากการ เจ็บป่วย มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่รังเกียจผู้เจ็บป่วย มีความเมตตา และมีความรักในเพื่อนมนุษย์มีความเสียสละที่จะเดินทางไปรักษาพยาบาลผู้คนในชุมชนทั่วประเทศ 

มีมารยาทดี สามารถเข้ากับบุคคลอื่นได้ทุกระดับมีความอดทน อดกลั้น และมีความกล้าหาญ 

มีความซื่อสัตย์ในวิชาชีพของตน มีคุณธรรมและจริยธรรมทางการแพทย์ ไม่ใช้ความรู้ทางวิชาการของตนไปหลอกลวงหรือทำลายผู้อื่น 

การเตรียมความพร้อมสู่อาชีพ 

ผู้ที่สำเร็จหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่าและสามารถสอบผ่านวิชาต่างๆ ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา และความถนัดทางการแพทย์ หรือเคยช่วยปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของรัฐครบตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ ประมาณ อย่างน้อย 10 วัน ตลอดจนการสอบสัมภาษณ์และการตรวจร่างกาย เมื่อผ่านการทดสอบจึงมีสิทธิเข้าศึกษาแพทย์โดยมีสถาบันที่เปิดสอนวิชาการแพทย์ระดับปริญญาหลายแห่งในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น ผู้ที่จะเรียนแพทย์จะต้องมีฐานะทางการเงินพอสมควร เพราะค่าใช้จ่ายในการเรียนวิชาแพทย์ค่อนข้างสูงและใช้เวลานานกว่าการเรียนวิชาชีพอื่นๆ รวมทั้งต้องเสียค่าบำรุงการศึกษา ค่าตำราวิชาการแพทย์และ ค่าอุปกรณ์ต่างๆ 

หลักสูตรวิชาการแพทย์ระดับปริญญาตรีตามปกติใช้เวลาเรียน 6 ปี ในสองปีหลักสูตร การเรียนจะเน้นหนักด้านวิทยาศาสตร์ทั่วไปที่เป็นพื้นฐานสำคัญ ต่อจากนั้นจึงเรียนต่อวิชาการแพทย์โดยเฉพาะอีก 4 ปี เมื่อสำเร็จได้รับใบอนุญาตประกอบเวชกรรมของ   แพทยสภา มีสิทธิประกอบอาชีพแพทย์ได้ตามกฎหมาย 

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ

ผู้ประกอบอาชีพแพทย์ ที่มีความชำนาญ และประสบการณ์ จะได้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง จนถึงระดับผู้บริหาร หากมีความสามารถในการบริหาร หรืออาจประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยเปิดคลินิกรับรักษาคนไข้ทั่วไป นอกเวลาทำงานเป็นรายได้พิเศษ สำหรับผู้ที่มีความชำนาญและมีทีมงานที่มีความสามารถรวมทั้งมีเงินทุนจำนวนมากก็สามารถ เปิดโรงพยาบาลได้ แพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง อาจได้รับการว่าจ้างให้ไปทำงานในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลหลายแห่ง ทำให้ได้รับรายได้มากขึ้น

ตัวอย่างมหาวิทยาลัยและคณะที่เกี่ยวข้อง

1.มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

2.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ 

3.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ 

4.มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 

5.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์

6.มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะแพทยศาสตร์

7. วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

8.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะแพทยศาสตร์

9.มหาวิทยาลัยรังสิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์

10.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์

11.มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล

12.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สำนักวิชาแพทยศาสตร์

13.มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทยศาสตร์

14.มหาวิทยาลัยบูรพา คณะแพทยศาสตร์

15.มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข

16.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะแพทยศาสตร์

17.มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์

18.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สำนักวิชาแพทยศาสตร์

19.มหาวิทยาลัยพะเยา คณะแพทยศาสตร์

20.มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สำนักวิชาแพทยศาสตร์

21.มหาวิทยาลัยสยาม คณะแพทยศาสตร์

ที่มา: กองส่งเสริมการมีงานทำ