ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์

ปรากฏการณ์ธรรมชาติค้นพบใหม่ "สตอร์มเควก" ทำแผ่นดินไหวเมื่อพายุพัดรุนแรง

22 ตุลาคม 2019

ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์

ที่มาของภาพ, NASA EARTH OBSERVATORY

คำบรรยายภาพ,

ภาพถ่ายดาวเทียมของพายุเฮอริเคนบิลล์ในปี 2009 พายุลูกนี้ได้ทำให้เกิดปรากฎการณ์สตอร์มเควกมาแล้ว

พายุที่มีความรุนแรงระดับสูงอย่างไต้ฝุ่นหรือเฮอริเคน กับเหตุแผ่นดินไหวที่เป็นข่าวอยู่บ่อยครั้งนั้น ถือเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติสองแบบที่ไม่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน ทำให้ไม่มีผู้ใดคาดคิดมาก่อนว่า นักวิทยาศาสตร์จะได้ค้นพบปรากฏการณ์ทางธรณีฟิสิกส์แบบใหม่ ซึ่งรวมเอาพลังทำลายล้างของทั้งพายุและแผ่นดินไหว ให้เกิดขึ้นพร้อมกันได้ในคราวเดียว

ปรากฏการณ์ดังกล่าวเรียกว่า "สตอร์มเควก" (Stormquake) หรือเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นจากพายุกำลังแรง โดยการที่พายุถ่ายทอดพลังงานมหาศาลลงสู่มหาสมุทรในรูปของคลื่นใหญ่ ส่งผลให้เกิดการสั่นสะเทือนที่พื้นทะเล และเกิดธรณีพิโรธได้นานหลายชั่วโมงหรือหลายวันเลยทีเดียว

  • แผ่นดินไหวส่งแรงสั่นสะเทือนถึงอีกฝั่งของโลกได้ใน 3 วัน
  • ภูเขาไฟอะนัก กรากาตัว: ไขปริศนาสึนามิถล่มอินโดนีเซียครั้งล่าสุด
  • แผ่นดินไหว-สึนามิอินโดนีเซีย : อะไรคือปรากฏการณ์แผ่นดินเหลว

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟลอริดาสเตต (FSU) ของสหรัฐฯ รายงานการค้นพบข้างต้นในวารสาร Geophysical Research Letters โดยระบุว่าได้รวบรวมข้อมูลทางสมุทรศาสตร์และเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นนอกชายฝั่งของสหรัฐฯ แคนาดา และในอ่าวเม็กซิโก ระหว่างปี 2006-2019 ซึ่งเมื่อนำข้อมูลของทั้ง 12 ปีมาวิเคราะห์จึงพบว่า เคยมีปรากฏการณ์สตอร์มเควกเกิดขึ้นมาแล้วถึงกว่า 14,000 ครั้ง

ก่อนหน้านี้ไม่มีนักวิจัยคนใดจะสังเกตพบความเชื่อมโยงระหว่างพายุและแผ่นดินไหวในทะเลมาก่อน เนื่องจากพวกเขาไม่ให้ความสำคัญกับสัญญาณคลื่นสั่นสะเทือนที่สับสนไม่เป็นระเบียบ ซึ่งเกิดจากคลื่นในทะเลปะทะกับผืนแผ่นดิน โดยถือกันว่าเป็นเพียงสัญญาณพื้นหลังเท่านั้น

แต่ในครั้งนี้ ทีมวิจัยของ FSU มุ่งให้ความสนใจกับคลื่นแผ่นดินไหวความถี่ต่ำและสัญญาณพื้นหลังดังกล่าว จนพบว่าทั้งสองสิ่งมีความเกี่ยวข้องกันอย่างเป็นแบบแผนชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพายุกำลังแรงทำให้เกิดคลื่นที่มีคาบยาวขึ้นในมหาสมุทร ตรงบริเวณที่น้ำตื้นใกล้กับไหล่ทวีป

ที่มาของภาพ, EPA

คำบรรยายภาพ,

คลื่นสูงจากพายุไต้ฝุ่นฮากิบิสซัดเข้าชายฝั่งจังหวัดมิเอะของญี่ปุ่น

ผศ.ดร. ฟ่าน เหวินหยวน ผู้นำทีมวิจัยคาดว่า ศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวของปรากฏการณ์สตอร์มเควก สามารถจะเคลื่อนที่ไปพร้อมกับตัวพายุได้ โดยแรงสั่นสะเทือนอาจมีขนาดหรือแมกนิจูด 3.5 ขึ้นไป และปรากฏการณ์นี้น่าจะเกิดขึ้นได้ในเกือบทุกภูมิภาคของโลก

อย่างไรก็ตาม ผศ.ดร. ฟ่านชี้ว่า แรงสั่นสะเทือนจากสตอร์มเควกนั้นไม่น่าจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์มากนัก เพราะศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่นอกชายฝั่งและไม่สู้มีพลังรุนแรง แม้แผ่นดินไหวแบบนี้สามารถจะคงอยู่ได้เป็นเวลานานหลายวันก็ตาม

ทีมผู้วิจัยหวังว่า ในอนาคตเราสามารถจะใช้ประโยชน์จากปรากฏการณ์สตอร์มเควกได้ โดยให้คลื่นสั่นสะเทือนที่เกิดจากพายุเป็นสื่อนำสำรวจโครงสร้างภายในของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เป็นมหาสมุทร

ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของไฟฟ้า

เมื่อ :

วันอาทิตย์, 11 มิถุนายน 2560

ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของไฟฟ้า

ในชีวิตประจำวันเราได้พบเห็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าสถิต เช่น ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า ซึ่งในสมัยโบราณคนไทยเชื่อว่า เกิดจากนางเมขลาล่อแก้ว แล้วรามสูรขว้างขวานใส่ เมื่อขว้างพลาดก็เกิดปรากฏการฟ้าผ่าตามมา ซึ่งในภายหลังเราทราบว่าปรากฏการณ์ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า เกิดจากการถ่ายโอนประจุไฟฟ้าในบรรยากาศ

นอกจากนี้ในช่วงฤดูหนาว ในวันที่อากาศแห้ง เมื่อเราหวีผมนานๆ จะสังเกตเห็นว่าเส้นผมของเราจะไม่เรียบ แต่เหมือนกับหวีมีแรงดึงดูดเส้นผมของเรา อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ปลาไหลไฟฟ้า ชาวประมงจะคุ้นเคยดี เมื่อสัมผัสโดนตัวปลาไหล เราจะรู้สึกชา เป็นอันตรายต่อผู้สัมผัส ซึ่งชาวอียิบต์โบราณเรียกปลาไฟฟ้าที่พวกเขาพบว่า สายฟ้าแห่งแม่น้ำไนล์ (Thunderer of the Nile)

ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์
ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์

ปรากฏการณ์ฟ้าผ่าการถ่ายโอนประจุไฟฟ้าในบรรยากาศ

ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์

ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์

ปลาไหลไฟฟ้าไฟฟ้าสถิตในชีวิตประจำวัน

ประวัติการศึกษาไฟฟ้า

ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์

เธลีส แห่ง มิเลทัส(Thales of Miletus) 640-546 ปี ก่อนคริสต์ศักราช

ภาพจาก:http://en.wikipedia.org/

New layer...

การค้นพบไฟฟ้าสถิตเริ่มจาก เธลิส (Thales, 624-546 ปีก่อนคริสต์ศักราช) นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ และนักปรัชญาชาวกรีก ได้นำแท่งอำพันมาถูกับผ้าขนสัตว์ แล้วพบว่าแท่งอำพันดูดวัตถุเบาๆ ได้ โดยเธลิสเชื่อว่าการขัดถูแท่งอำพันจะทำให้แท่งอำพันแสดงความเป็นแม่เหล็กได้ ในขณะที่มีหินแร่ (minerals) บางชนิดที่แสดงความเป็นแม่เหล็กได้โดยไม่ต้องขัดถู แต่ความเชื่อของเธลิสนั้นผิด เนื่องจากการขัดถูอำพันไม่ได้แสดงความเป็นแม่เหล็กของอำพัน แต่เป็นการถ่ายโอนประจุไฟฟ้าระหว่างผ้าขนสัตว์กับอำพัน อย่างไรก็ตามในภายหลังนักวิทยาศาสตร์สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีความเชื่อมโยงกันระหว่างความเป็นแม่เหล็กกับความเป็นไฟฟ้า

ปี ค.ศ. 1936 มีการค้นพบแบตเตอรี่แบกแดด (Baghdad Battery) ในตะวันออกกลาง สมัยราชวงศ์ปาร์เธีย (Parthia) โดยใช้ความรู้ทางด้านแผ่นโลหะไฟฟ้า (Electroplating) ซึ่งคล้ายคลึงกับเซลล์ไฟฟ้าเคมี แต่ยังไม่แน่ชัดว่าเป็นการใช้ไฟฟ้าจากธรรมชาติหรือไม่

หลังจากนั้นความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของไฟฟ้าได้พัฒนาอีกเล็กน้อย จนกระทั่งประมาณปี ค.ศ. 1600 เมื่อ วิลเลี่ยม กิลเบิร์ต (William Gilbert) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ศึกษาแม่เหล็กและไฟฟ้าอย่างละเอียด โดยศึกษาผลกระทบของแท่งเหล็กจากไฟฟ้าสถิตที่เกิดจากการขัดถูของอำพัน เขาบัญญัติศัพท์จากการค้นพบใหม่เป็นภาษาละตินใหม่ว่า "electricus" (แปลว่าอำพันในภาษากรีก) ซึ่งหมายถึงคุณสมบัติของการดึงดูดวัตถุเล็กๆ หลังจากการขัดสี และตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "electric" และ "electricity" โดยปรากฏขึ้นครั้งแรกในงานเขียนเรื่อง Pseudodoia Epidemica ของโธมัส บราวน์ (Thomas Browne) เมื่อปี ค.ศ. 1646 และมีชิ้นงานที่ให้การสนับสนุนต่อๆ มานำโดยอ็อตโต ฟอน เกียริก (Otto von Guericke), โรเบิร์ต บอยล์ (Robert Boyle), สตีเฟน เกรย์ (Stephen Gray) และชาร์ล เอฟ. ดู เฟย์ (C. F. du Fay)

ในคริตศตวรรษที่ 18 เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับไฟฟ้าอย่างจริงจัง เขาขายทรัพย์สมบัติที่มีเพื่อเป็นทุนวิจัยของเขา ลือกันว่าเขาทำการทดลองในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1752 โดยติดลูกกุญแจโลหะไว้ที่ด้านล่างของเชือกว่าวที่เปียกน้ำ แล้วปล่อยว่าวลอยขึ้นฟ้าในวันที่ท้องฟ้ามีลมพายุรุนแรง เขาสังเกตเห็นประกายไฟที่ประโดดจากลูกกุญแจโลหะสู่หลังมือของเขา มันมีแสงเหมือนฟ้าแลบ ซึ่งก็คือไฟฟ้าในธรรมชาตินั่นเอง

ในปี ค.ศ. 1791 ลุยจิ กัลวานี (Luigi Galvani) นักฟิสิกส์ชาวอิตาลี ได้ตีพิมพ์การค้นพบไฟฟ้าชีวภาพ พิสูจน์ให้เห็นว่าไฟฟ้าเป็นตัวกลางของการส่งสัญญาณจากเซลล์ประสาทปสู่กล้ามเนื้อ

อเล็กซานโดร โวลต้า (Alessandro Volta) ได้ประดิษฐ์แบตเตอรี่ที่ทำมาจากแผ่นเซลล์ที่ซ้อนทับกันของสังกะสีและทองแดง นับว่าเป็นความสำเร็จของนักวิทยาศาสตร์ที่สามารถพัฒนาแหล่งจ่ายไฟฟ้า ที่ดีกว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Generator) ที่เคยใช้กันมาก่อนหน้านี้

ประมาณปี ค.ศ. 1819 – 1820 ได้มีการนำเสนอทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetism) เป็นทฤษฎีที่ศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ไฟฟ้าและแม่เหล็ก โดยฮันส์ คริสเตียน เออสเตด (Hans Christian Orsted) และอังเดร มารี แอมแปร์ (Andre-Marie Ampere)

ปี ค.ศ. 1821 ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday) ได้ประดิษฐ์มอเตอร์ไฟฟ้า (ไดนาโม)

ปี ค.ศ. 1827 จอร์จ ไซมอน โอห์ม (Georg Simon Ohm) ได้ใช้คณิตศาสตร์วิเคราะห์วงจรไฟฟ้า หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ "กฎของโอห์ม (Ohm’s law)"

ปี ค.ศ. 1861 และ 1862 เจมส์ คลาร์ก แมกซ์เวลล์ (James Clerk Mawell) ได้นำเสนอทฤฎีแม่เหล็กไฟฟ้า อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า ในงานเขียนของเขา ชื่อ “On Physical Lines of Force” และ “Treatise on Electricity and Magnetism”

ในศตววรษต่อมาวิทยาศาสตร์ด้านไฟฟ้าเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเห็นความก้าวหน้าของวิศวกรรมไฟฟ้าอย่างมาก บุคคลสำคัญที่ร่วมกันพัฒนาความรู้เกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้า ได้แก่ นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla), โทมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas Edison), อ็อตโต บราธี (Otto Blathy), เอินสท์ เวอเทอ ฟอน ซีเมนส์ (Ernst Werner von Siemens), อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (Aleander Graham Bell) และวิลเลียม ทอมสัน บารอนเคลวินที่ 1 (Lord Kelvin) ไฟฟ้าได้แปลงโฉมหน้าวิถีชีวิตของคนสมัยใหม่ มีความจำเป็นและสมควรกับการเป็นแรงขับเคลื่อนในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2

เรียบเรียงจาก

Electricity.http://en.wikipedia.org/wiki/Electricity

ไฟฟ้า.http://th.wikipedia.org/wiki

ไฟฟ้าสถิต: ปรากฏการณ์ทางไฟฟ้าhttps://www.myfirstbrain.com

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

ปรากฏการณ์ธรรมชาติ,ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของไฟฟ้า,ปลาไหลไฟฟ้า ,สายฟ้าแห่งแม่น้ำไนล์

รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.

สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

วันที่เสร็จ

วันอาทิตย์, 11 มิถุนายน 2560

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

ฟิสิกส์

ช่วงชั้น

มัธยมศึกษาตอนปลาย

ดูเพิ่มเติม

ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ มีอะไรบ้าง

ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เป็นปรากฏการณ์ที่มนุษย์ไม่ได้สร้างขึ้นเอง และมีผลกระทบกับมนุษย์ ตัวอย่างเช่นเหตุการณ์ที่พบเห็นทั่วไป ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า พายุ และเหตุการณ์ที่ไม่พบบ่อยนัก เช่น โลกร้อน สุริยุปราคา ฝนดาวตก

ปรากฏการทางวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้าง

Ten Science trips 10 ปรากฏการณ์วิทยาศาสตร์ที่คุณควรเห็นก่อนตาย.
1. สำรวจถ้ำคริสตัลยักษ์ในหุบน้ำแข็ง – ไอซ์แลนด์ ... .
2. ชะโงกไปดูนรกบนดิน – เติร์กเมนิสถาน ... .
3. ฟ้าคะนองที่ไม่มีวันจบสิ้น – เวเนซูเอล่า ... .
4. สุดยอดฝนดาวตก – แอริโซน่า สหรัฐอเมริกา ... .
5. ชมยานอวกาศปล่อยตัวจากฐาน – ฟลอริด้า สหรัฐอเมริกา.

ออโรร่าเกิดขึ้นได้อย่างไร

ปรากฏการณ์ออโรรานั้น จึงเกิดจากอนุภาคมีพลังงานเคลื่อนที่ตามเส้นสนามแม่เหล็กมาจากเมกนีโตเทล (Magnetotail) มาสู่บรรยากาศชั้นบน อนุภาคส่วนใหญ่ คือ อิเล็กตรอน แต่โปรตอนและไอออนอื่น ก็อาจพบได้ เมื่ออนุภาคมีประจุ (Charged Particles) พุ่งมาจาก แมกนีโทสเฟียร์ (Magnetosphere) มาสู่บรรยากาศชั้นบนจะเกิดการชนกับก๊าซ การชนดังกล่าว ...

Red Rainbow เกิดที่ไหน

3. Red rainbow รุ้งกินน้ำสีแดงเป็นปรากฏการณ์ทางอุตุนิยมวิทยา ซึ่งเหมือนกับรุ้งกินน้ำทั่วๆ ไปที่เกิดจากการหักเหของแสงในหยดน้ำ แต่การจะเกิดรุ้งแดงนั้น แสงแดดจะต้องอยู่ใกล้กับเส้นขอบฟ้า และเนื่องจากเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสภาพแสงน้อย สีของรุ้งจึงออกมาเร้าอารมณ์อย่างที่เห็น