ข้อสอบ การจำนอง พร้อม เฉลย

ข้อสอบ การจำนอง พร้อม เฉลย

Powered by  GDPR Cookie Compliance

Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.

ข้อสอบ การจำนอง พร้อม เฉลย

ข้อสอบ การจำนอง พร้อม เฉลย

คอร์สเรียน

เกี่ยวกับเรา

OPENDURIAN

หน้าแรก

คอร์สเรียน

คลังข้อสอบ

คลังความรู้

เกี่ยวกับเรา

ล็อคอิน / สมัครสมาชิก

  • ม. ปลาย
  • /
  • 9 วิชาสังคมศึกษา
  • /
  • สังคมศึกษา 7 วิชาสามัญ มกราคม 2558

ข้อ 14

14 of 50

ฝึกทำโจทย์แบบชิลๆ

น้องๆ สามารถเลือกทำโจทย์ได้ตามต้องการ ไม่มีการจับเวลา ไม่มีการนับคะแนน ตอบผิดแล้ว สามารถตอบใหม่ได้ สิ่งสำคัญ ก็คือ ควรทำความเข้าใจกับวิธีทำในเฉลยละเอียด การเรียนคณิตศาสตร์ให้ได้คะแนนดี ต้องเรียนด้วยการลองทำโจทย์เยอะๆ

เคล็ดลับจากติวเตอร์

ระหว่างอ่านเฉลย อย่าลืมมองหา "เคล็ดลับจากติวเตอร์" กรอบสีเขียว เพื่อเรียนวิธีลัด ตีโจทย์แตก เร็ว แวร๊ง!

แนวข้อสอบเก่าพาณิชย์ 3
ข้อ1. ชาติกู้เงินศักดิ์ 100000 บาท โดยเอกทำสัญญาค้ำประกัน ต่อมาชาติได้ขอให้เชิญเข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้รายนี้อีกฉบับหนึ่ง เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ ชาติไม่ชำระ หนี้ให้ศักดิ์ ศักดิ์จึงมาทวงถามจากเอก เอกเกรงจะเสียชื่อเสียงจึงชำระเงินให้ทั้งหมด แล้วไปเรียกร้องเอาจากชาติ แต่ชาติไม่มีเงินชำระให้ ดังนี้เอกมีสิทธิเรียกร้องเงินดังกล่าวจากเชิญได้หรือไม่ เพียงใด
แนวตอบ
มาตรา 682 วรรค สอง มาตรา 693จากบทบัญญัติข้างต้น เมื่อเอกได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินให้แก่ศักดิ์เจ้าหนี้แล้ว เอกย่อมเข้ารับช่วงสิทธิ์ของศักดิ์ บรรดามีเหนือชาติลูกหนี้ และมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากชาติได้เต็มจำนวน แต่เมื่อปรากฏว่าชาติไม่มีเงินชำระให้เอกก็มีสิทธิไล่เบี้ยเอากับเชิญซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันอีกคนได้ แม้จะมิได้ทำสัญญาค้ำประกันร่วมกันกับเชิญก็ตาม แต่ทั้งเอกและเชิญต่างก้มีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมต่อศักดิ์เจ้าหนี้ตามม.682 วรรค 2 เมื่อเอกชำระหนี้ให้ศักดิ์แล้วเอกย่อมรับช่วงสิทธิจากศักดิ์มาไล่เบี้ยเอาจากเชิญได้ แต่มีสิทธิไล่เบี้ยได้เพียงกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่ได้ชำระไปเท่านั้น

ข้อ 2. นายสินกู้เงินนายพันธุ์ 6 แสนบาท โดยนายชาตินำที่ดินแปลงหนึ่งราคา3 แสน บาท มาจำนองเป็นประกันหนี้เมื่อหนี้ครบกำหนด นายสินไม่ชำระหนี้ นายพันธุ์จะบังคับจำนองที่ดิน นายชาติจึงชำระหนี้เงินกู้ 6 แสนบาทให้นายนายพันุ์ เพื่อมิให้มีการบังคับจำนอง แล้วนายชาติเรียกให้นายสินชำระเงิน 6 แสนบาทคืนตน นายสินปฏิเสธอ้างว่า ที่ดินจำนองมีราคาเพียง 3 แสนบาท จะขอชำระเงินเพียง 3 แสน บาท เท่าราคาที่ดิน นายชาติจึงนำเรื่องนี้มาปรึกษาท่าน ท่านจะให้คำแนะนำแก่นายชาติอย่างไร
แนวตอบ
มาตรา 724 วรรค หนึ่งจากข้อเท็จจริงในปัญหา นายชาติได้จำนองที่ดินของตนเป็นประกันหนี้ที่นายสินกู้เงินนายพันธุ์ 6 แสนบาทจึงเป็นเรื่องที่นายชาติจำนองทรัพย์เป็นประกันหนี้ที่ผู้อื่นเป็นลูกหนี้ เมื่อนายชาติเข้าชำระหนี้แทนนายสินลูกหนี้ 6แสนบาท เต็มจำนวนหนี้โดยมิได้มีการบังคับจำนองที่ดินของนายชาติ ดังนั้น นายชาติก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องนายสินให้ชำระหนี้คืนแก่ตนได้ 6 แสนบาท เท่าจำนวนที่ได้ชำระหนี้แทนไป แม้ที่ดินจำนองจะมีราคาเพียง 3 แสนบาทก็ตาม นายสินลูกหนี้จะขอชำระ เงิน 3 แสนบาทเท่าราคาที่ดินไม่ได้ข้าพเจ้าจะแนะนำให้นายชาติเรียกร้องให้นายสินชำระเงิน 6 แสนบาท เท่าที่ได้เข้าชำระหนี้แทนนายสิน

ข้อ 3. แสดออกตั๋วแลกเงิน สั่งให้ครามจ่ายเงินให้ส้มจำนวน 5 แสนบาทส้มสลักหลังโอนให้ฟ้า ฟ้าสลักหลังดอนให้เขียว ม่วงอาวัลฟ้า เขียวได้ยื่นตั๋วให้ครามรับรอง ตั๋วเงินถึงกำหนด เขียวเรียกให้ใครชำระเงินตามตั๋วได้บ้าง
แนวตอบ
ปพพ.มาตรา937 940 967 900 914ตามปัญหาครามรับผิดต่อเขียวในฐานะเป็นผู้จ่ายที่ได้ลงลายมือชื่อรับรองตั๋วแลกเงิน(มาตรา 967 900 )แสดรับผิดต่อเขียวในฐานะลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน (มาตรา 914 967 )ส้มและฟ้ารับผิดต่อเขียวในฐานะผู้สลักหลัง (มาตรา 914)ม่วงรับผิดต่อเขียวในฐานะผู้อาวัลฟ้า (มาตรา 940) ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับบุคคลซึ่งตนประกัน

ข้อ 4 . นายน้อย กู้เงินนายใหญ่ไป 2 หมื่นบาท โดยมีนายกลางเป็นผู้ค้ำประกัน เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระน้อยไม่มีเงินจึงส่งจดหมายถึงใหญ่ขอขยายกำหนดชำระหนี้ออกไปอีก 2 เดือน โดยรับรองว่าจะชำระหนี้ให้แน่นอนโดยกลางไม่ได้รู้เห็นเรื่องจดหมายดังกล่าวด้วย เมื่อครบกำหนด 2 เดือนแล้ว ใหญ่จึงทวงถามน้อยให้ชำระหนี้ แต่น้อยไม่ชำระหนี้ อีกเช่นนี้ใหญ่จะมีสิทธิเรียกร้องเอาจากกลางได้หรือไม่
แนวตอบ
ปพพ.ม.700การผ่อนเวลาในมาตราดังกล่าว หมายถึงกรณีที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงกันให้มีการขยายกำหนดเวลาชำระหนี้ออกไปอีกระยะหนึ่งและข้อตกลงดังกล่าวต้องมีผลผูกพันเจ้าหนี้ว่าถ้ายังไม่ถึงกำหนดที่ขยายออกไปนั้นเจ้าหนี้ยังไม่มีสิทธิจะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้สำหรับกรณีที่น้อยส่งจดหมายขอขยายกำหนดชำระหนี้ออกไปอีก 2เดือนนั้นเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวไม่
มีผลผูกพันตามกำหนดเวลานั้นจึงไม่ใช่กรณีที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้ตามม.700 ดังนั้นเมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว แม้ใหญ่จะเรียกร้องให้น้อยชำระหนี้หลังจากครบกำหนดไปแล้ว 2 เดือนและน้อยไม่ชำระหนี้ให้ ใหญ่ก็มีสิทธิเรียกร้องเอาจากกลางในฐานะผู้ค้ำประกันได้ กลางยังไม่หลุกพ้นจากความรับผิด.

ข้อ 5 นายสมกู้เงินนายสัก 4 แสนบาท โดยนายทรัพย์นำที่ดินแปลงหนึ่งราคา 7แสนบาท มาจำนองเป็นประกันเมื่อหนี้เงินกู้ครบกำหนด นายสมไม่ชำระหนี้ นายสักจึงบังคับจำนอง ขายทอดตลาดที่ดินของนายทรัพย์ ได้เงินสุทธิชำระหนี้ 3 แสนบาท นายทรัพย์เรียกให้นายสมชำระราคาที่ดิน 7 แสนบาท แต่นายสมปฏิเสธอ้างว่านายสักได้รับชำระหนี้จากการบังคับจำนองเพียง 3 แสนบาท นายทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกให้ตนชำระหนี้ได้ 3 แสนบาทเท่านั้น ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของนายสมหรือไม่
แนวตอบ
ปพพ.มาตรา 724 วรรคสองตามข้อเท็จจริง ในปัญหา นายทรัพย์นำที่ดินของตนราคา 7 แสนบาท มาจำนองประกันหนี้ที่นายสมกู้เงินนายศักสักไป 4 แสนบาท จึงเป็นเรื่องที่นายทรัพย์จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของผู้อื่น เมื่อนายทรัพย์มิได้เข้าชำระหนี้แทนนายสมลูกหนี้ แต่ให้นายสักเจ้าหนี้บังคับจำนองที่ดินของตนได้เงินชำระหนี้ 3 แสนบาท นายทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกให้นายสมชำระเงินคืนแก่ตนได้เพียง 3 แสนบาท เท่าจำนวนที่นายสักเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากการบังคับจำนองที่ดินนายทรัพย์จะไปเรียกร้องให้นายสมชำระเงินกู้แก่ตน 7 แสนบาท เท่าราคาที่ดินจำนองไม่ได้ด้วยเหตุผลดังกล่าว การที่นายสมลูกหนี้ยืนยัยขอชำระหนี้คืนแก่นายทรัพย์เพียง 3 แสนบาท จึงเป็นข้ออ้างที่ชอบด้วยกฏหมายทุกประการ ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับข้ออ้างของนายสม

ข้อ6. มกรา ออกตั๋วแลกเงินสั่งจ่ายเงินแก่ผู้ถือ กุมภาส่งมอบตั๋วแลกเงินให้มีนา มีนาสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินให้เมษา ตั๋วแลกเงินถึงกำหนดชำระ เมษาเรียกให้ใครชำระหนี้ตามตั๋วแลกเงินฉบับนี้ได้บ้าง
แนวตอบ
ปพพม. 900 921 967 940 914
ข้อเท็จจริงตามปัญหามีนารับผิดในฐานะอาวัลมกรา ตามม.921 การสลักหลังต๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายกุมภาไม่ต้องรับผิดเพราะมิได้ลงลายมือชื่อในตั๋วแลกเงิน (ม.900)

ข้อ 7.นายเฉลิมสั่งจ่ายเช็คจำนวนเงิน 100 ล้านบาท ให้แก่นายฉลาด นายฉลาดสลักหลังโอนให้แก่นายเฉลียว นายเฉลียวสลักหลังโอนให้แก่นายเฉลา โดยนายเฉลารู้อยู่ว่านายเฉลียวได้รับสลักหลังเช็คมาด้วยการข่มขู่นายฉลาดดังนี้ หากนายฉลาดมาปรึกษาท่านดพื่อจะเรียกเช็คคืนจากนายเฉลา ท่านจะให้คำปรึกษาแก่นายฉลาดอย่างไรจึงจะชอบด้วยกกหมาย
เฉลย
ปพพ.มาตรา 905 วรรคสอง
ตามกฏหมายลักษณะตั๋วเงินบัญญัติเป็นใจความว่า ถ้าบุคคลผู้หนึ่งผู้ใด ต้องปราศจากตั๋วเงินไปจากครอบครองท่านว่าผู้ทรงซึ่งแสดงให้ปรากกสิทธิของตนในตั๋วด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย ท่านให้ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย หาจำต้องสละตั๋วเงินไม่ เว้นแต่ได้มาโดยทุจริตหรือได้มาด้วยความประมาทเลิ่นเล่ออย่างร้ายแรง หมายความว่าในเรื่องตั๋วเงินนั้นผู้รับโอนอาจมีสิทธิดีกว่าผู้โอน คือ ผู้ทรงอาจมีสิทธิดีกว่าผู้สลักหลังแก่ตนได้ยกวันสองกรณีที่ผู้ทรงไม่มีสิทธิดีกว่าผู้สลักหลัง คือกรณีที่ผู้ทรงได้ตั๋วมาโดยทุจริตหรือได้มาด้วยความประมาทเลิ่นเล่ออย่างร้ายแรงตามอุทาหรณ์ นายเฉลาผู้ทรงซึ่งรับสลักหลังเช็คมาจากนายเฉลียวรู้อยู่ว่านายเฉลียวได้รับลักหลังเช็คมาด้วยการข่มขู่นายฉลาดแต่ทั้งๆรู้เช่นนั้นยังรับโอนเช็คนั้นมา ดังนี้นายเฉลาผู้ทรงได้เช็คมาโดยทุจริต มีสิทธิเท่ากับนายเฉลียว นายเฉลาผู้ทรงจึงจำต้องคืนเช็คให้แก่นายฉลาด หากนายฉลาดมาปรึกษา ข้าพเจ้าจะให้คำปรึกษาให้นายฉลาดเรียกเช็คคืนจากนายเฉลา...

ข้อ 8. นายดอด หยิบเช็คธนาคารนครทน จำกัด ของนายดีพี่ชาย เขียนสั่งจ่ายเงินจำนวน 1 แสนบาท ให้นายมากโดยลงลายมือชื่อเป็นนายดี ตามลายมือชื่อนายดีที่ตนเคยเห็นอยู่เสมอ ๆ นายมากสลักหลัง โอนเช็คให้นายมี นายมีนำเช็คไปยื่น ธนาคารนครทน จำกัด ให้ใช้เงิน สมุห์บัญชีของธนาคารได้จ่ายเงินให้นายมีไป 1 แสนบาท โดยไม่ได้ตรวจสอบลายมือชื่อของนายดีผู้สั่งจ่ายกับตัวอย่างลายมือที่นายดีให้ไว้กับธนาคาร เนื่องจากเห็นว่านายดีลูกค้าชั้นดีของธนาคาร ประกอบกับเป็นเงินจำนวนไม่มากนัก ต่อมานายดีตรวจสอบบัญชีของตนเห็นว่ารายการถอนเงิน 1 แสนบาทนั้นตนไม่ได้เขียนเช็คสั่งจ่ายแต่ประการใด จึงสอบถามนายดอดน้องชาย นายดอดรับว่าตนได้สั่งจ่ายเงินจำนวนนั้นไปโดยปลอมลายมือชื่อนายดี ดังนี้ นายดีจะฟ้องให้ธนาคารรับผิดใช้เงินจำนวน 1 แสนบาท ได้หรือไม่ เพียงใด.
เฉลย
ปพพ.ม.991 ม.1009
กรณีตามปัญหาเป็นเรื่องความรับผิดของธนาคารในการจ่ายเงินตามที่มีผู้นำตั๋วเงินชนิดจะพึงใช้เงินตามเขาสั่งเมื่อทวงถามมาเบิกต่อธนาคาร ตามปพพ.ม.1009 การที่นายดอด ได้นำ เช็คของนายดีมาเขียนสั่งจ่ายเงินจำนวน 1แสนบาท โดยลงลายมือชื่อนายดีเป็นการปลอมลายมือชื่อนายดีผู้สั่งจ่าย เมื่อนายมีนำเช็คมาทวงถามให้ธนาคารนครทนจำกัดใช้เงิน สมุห์บัญชีได้จ่ายเงินไปโดยไม่ได้ตรวจสอบลายมือชื่อนายดีผู้สั่งจ่ายจากตัวอย่างลายมือชื่อที่ให้ไว้กับธนาคาร ถือว่าสมุห์บัญชีประมาทเลินเล่อ แม้สมุห์บัญชีจ่ายเงินไปตามการค้าปกติ โดยสุจริตก็ตาม สมุห์บัญชีเป็นตัวแทนของธนาคารนครทน จำกัด มีหน้าที่ตรวจสอบลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายเมื่อมีผู้นำเช็คมาทวงถามให้ธนาคารใช้เงิน เนื่องจากมีนิติสัมพันธ์กับธนาคารตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด ปพพ.ม.1009 คุ้มครองกรณีที่ลายมือชื่อของผู้รับเงินหรือของผู้สลักหลังปลอมเท่านั้น ถือว่าธนาคาร ไม่มีหน้าที่ต้องไปตรวจสอบลายมือชื่อบุคคลเหล่านั้น เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงานของธนาคาร แต่ถ้าเป็นลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายปลอม ก็เท่ากับนายดีผู้สั่ง
จ่ายไม่ได้สั่งจ่ายเงินตามเช็คนั้น ธนาคารจึงไม่มีหน้าที่จ่ายเงินจากบัญชีของนายดีตาม ปพพ.ม.991..
เมื่อธนาคารจ่ายเงินไปกรณีลายมือชื่อปลอม ธนาคารต้องรับผิดต่อผู้จ่าย นายดีจึงมีสิทธิฟ้องให้ธนาคารรับผิดใช้เงินจำนวน 1 แสน บาท แก่ตน.
ข้อ9. เสถียร กู้เงินสถิตย์ จำนวน 6 หมื่นบาท โดยจดทะเบียนจำนองที่ดินของตนเป็นประกันจำนวน 6 หมื่นบาทและสาธร ค้ำประกันหนี้ดังกล่าว ต่อมาเสถียรผิดนัดไม่ชำระหนี้ และหนี้ตามสัญญาเงินกู้ยืมขาดอายุความ
1.สถิตย์จะฟ้องบังคับจำนองได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
2.สถิตย์จะฟ้องสาธรผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้จำนวน 6 หมื่นบาท ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
เฉลย
1. ใช้ปพพ.ม.744(1) ม.745
ตามปัญหานี้แม้หนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็นหนี้ประธานจะขาดอายุความฟ้องร้องแล้วก้ตาม แต่สัญญาจำนองไม่ระงับเพราะเหตุหนี้ที่จำนองเป็นประกันขาดอายุความ เสถียรเจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องบังคับจำนองได้
2. ปพพ.ม.694ตามปัญหาเมื่อสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเสถียรเป็นหนี้สถิตย์อันเป็นหนี้ประธานขาดอายุความทำให้เจ้าหนี้ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ สาธรผู้ค้ำประกันย่อมยกข้อต่อสู้ของเสถียรลูกหนี้ต่อสู้สถิตย์ได้ ดังนั้นหากสถิตย์จะฟ้องสาธรผู้ค้ำประกันสาธรสามารถยกข้อต่อสู้ของเสถียรเรื่องหนี้เงินกู้ยืมขาดอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ตนหลุดพ้นจากความรับผิดได้.

ข้อ 10. นายอาทิตย์ ออกตั๋วแลกเงินสั่งนายอังคารให้จ่ายเงินแก่นายพุธ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2545 ก่อนตั๋วถึงกำหนด นายพุธ สลักหลังตั๋ว ดอนให้แก่นายพฤหัส ครั้นถึง วันที่ 5 ธันวาคม 2545 นายอังคารขอผลัดไปชำระเงินให้ในวันที่ 24 ธันวาคม 2545 ดังนี้การกระทำของนายอังคาร ถือว่ามีการผ่อนวันใช้เงินหรือไม่ เพราะเหตุใด
เฉลย
ตั๋วแลกเงินต้องมีรายการอันหนึ่งคือ วันถึงกำหนดใช้เงิน และปพพ.ม.903 บัญญัติว่า ในการใช้เงินตามตั๋ว
ท่านห้ามมิให้ให้วันผ่อน ซึ่งหมายถึง ก่อนวันถึงกำหนดใช้เงิน ผู้ทรงตั๋วเงินตกลงยินยอมเลื่อนกำหนดเวลาใช้เงินออกไป แต่การที่ตั๋วเงินถึงกำหนดใช้เงินแล้ว ลูกหนี้คือผู้จ่ายขอผ่อนเวลาชำระเงินไปฝ่ายเดียว จึงไม่ใช่การผ่อนเวลาอันต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวตามอุทาหรณ์ ตั๋วแลกเงินถึงกำหนดชำระเงินวันที่ 5 ธันวาคม 2545 แล้วนายอังคารผู้จ่ายขอผ่อนเวลาชำระเงินตามตั๋วแลกเงินไปฝ่ายเดียว ซึ่งนายพฤหัสผู้ทรงไม่ได้ตกลงยินยอมด้วยการกระทำของนายอังคารจึงไม่ถือว่า
มีการผ่อนวันใช้เงิน อันต้องห้ามตามกฏหมาย..

ข้อ 11. ก.ทำสัญญากู้เงินข 6 แสนบาท กำหนดชำระหนี้ 1 ปี โดยแบ่งเป็น12 งวดๆละ 5 หมื่นบาท พร้อมดอกเบี้ย ถ้าผิดนัดไม่ชำระงวดใด ให้ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมด ให้ข. มีสิทธิฟ้อง ก.ได้ทันที ซึ่งในสัญญาดักล่าวค.ได้ลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกัน ถ้าปรากฏว่า ก.ชำระหนี้ได้เพียง 3 งวดก็ไม่ชำระอีก แม้ ข จะได้ทวงถามแล้วก็ตาม เช่นนี้ ข.มีสิทธิฟ้องให้ ค.ชำระหนี้ที่ค้างชำระทันทีก่อนถึงกำหนด1 ปี ได้หรือไม่
เฉลย
ตามปพพ.มาตรา 686
กรณีตามอุทาหรณ์ แม้หนี้ตามสัญญากู้ระหว่างกัญญากู้ระหว่าง ก.และข.จะมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนคือ 1ปี แต่เนื่องจากสัญญา มีข้อกำหนดให้แบ่งชำระหนี้เป็นงวดๆถ้าผิดนัดไม่ชำระงวดใด ให้ถือว่าผิดชำระหนี้ทั้งหมด เมื่อข้อสัญญาดังกล่าวมิได้มีวัตถุประสงค์ ขัดต่อกฏหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนข้อสัญญานี้จึงมีผลผลใช้บังคับได้เช่นนี้เมื่อกัญญาผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่งวดนี้ที่4 จึงต้องถือว่าก.ผิดนัดไม่ชำระหนี้ทั้งหมด มีผลให้วิชัยมีสิทธิฟ้องเรียกร้องให้ก.ชำระหนี้ที่ค้างชำระทั้งหมดได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้ถึงกำหนด 1 ปี ก็ได้เมื่อก.ผิดนัดลงเมื่อใด เจ้าหนี้ก็ชอบจะเรียกให้ ค.ในฐานะผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้แต่นั้น แม้หนี้รายนี้ยังไม่
ถึงกำหนด 1 ปีก็ตาม ดังนั้น ข.มีสิทธิฟ้อง ค.ให้ชำระหนี้ได้ทันที.

ข้อ 12. บุ้งนำที่ดินไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้เงินกู้เบี้ยวจำนวน 2 แสนบาท หลังจากที่จดทะเบียนจำนอง บุ้งได้ให้บูนเช่าที่ดินเพื่อปลูกบ้านโดยจดทะเบียนการเช่าต่อมาเบี้ยวจะฟ้องบังคับจำนองที่ดินดังกล่าวดังนี้เบี้ยวจะขอให้บุ้งลบสิทธิตามสัญญาเช่านั้นได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
แนวตอบ
ปพพ. มาตรา 722
ตามปัญหา การที่ผู้รับจำนองจะขอให้ลบสิทธิที่จดทะเบียนหลังการจำนองนั้น สิทธิที่จะขอให้ลบจะต้องเป็นภาระจำยอมหรือทรัพยสิทธิ กรณีนี้การที่บุ้งให้บูนเช่าที่ดินเพื่อปลูกบ้านเป็นเพียงบุคคลสิทธิ แม้ได้จดทะเบียนการเช่าก็เป็นสิทธิที่ไม่อาจขอให้มีการลบจากทะเบียนได้แม้สิทธิตามสัญญาเช่าจะได้จดทะเบียนภายหลังการจดทะเบียนจำนองก็ตาม ดังนี้เบี้ยวจะขอให้บุ้งลบสิทธิตามสัญญาเช่าไม่ได่เพราะเหตุผลดังกล่าว.

ข้อ 13. จิ๋วออกเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวน 4 หมื่นบาท ให้แจ๋วเพื่อชำระหนี้ แต่ต่อมาแจ๋วได้แก้ไขจำนวนเงินในเช็คเป็น 4 แสนบาทเพื่อฉ้อโกงจิ๋ว โดยจิ๋วมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย แจ๋วสลักหลังเช็คโอนไปให้จ๊อด จ๊อดสลักหลังโอนให้จ๋อย จ่อยนำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารธนาคาร ปฏิเสธการจ่ายเงินเนื่องจากไม่มีเงินพอในบัญชี ดังนี้ใครบ้างต้องรับผิดต่อจ๋อย
เฉลย
ปพพ.มาตรา 1007
ตามปัญหาเห็นว่า เมื่อแจ๋วแก้ไขจำนวนเงินในเช็คจาก 4 หมื่นบาท เป็น 4 แสนบาท เป็นการแก้ไขเปลี่ยน
แปลงในข้อสำคัญ โดยจิ๋วเป็นคู่สัญญาผู้ต้องรับผิดตามเช็คมิได้ยินยอมด้วยทำให้เช็คฉบับนั้นเสียไป แต่เช็คฉบับนั้นยังคงใช้ได้ต่อแจ๋วคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลง และจ๊อดผู้สลักหลัง ภายหลังเช็คที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแล้วดังนั้นแจ๋วและจ๊อดต้องรับผิดต่อจ๋อยผู้ทรงโดยชอบด้วยกฏหมาย
ข้อ 14 ปูนนำบ้านพร้อมที่ดินไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ปาน จำนวน 5 แสนบาท หลังจากนั้นปูนได้แอบไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินในที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ปุ๋ยมารดาจนตลอดชีวิตของมารดาต่อมาปูนมาใช้หนี้ปานจะบังคับจำนอง จึงขอให้ปูนลบสิทธิเก็บกินออกจากทะเบียน ดังนี้ปานจะทำได้หรือไม่ เพียงใด
เฉลย ปพพ.มาตรา 722
ตามปัญหา การที่ผู้รับจำนองจะขอให้ลบสิทธิที่จดทะเบียนหลังการจำนองนั้น สิทธิที่จะขอให้ลบจะต้องเป็นภารจำยอมหรือทรัพยสิทธิ กรณีนี้ปูนได้แอบจดทะเบียนสิทธิเก็บกินให้ปุ๋ยมารดาเป็นการจดทะเบียนทรัพยสิทธิโดยผู้รับจำนองมิได้ยินยอมด้วย สิทธิ จำนองย่อมเป็นใหญ่กว่าทรัพยสิทธิอย่างอื่น หากว่าเป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของปานผู้รับจำนอง ปานก็ให้ลบทรัพยสิทธินั้นได้ กรณีปูนได้จดทะเบียนสิทธิเก็บกินตลอดชีวิตปุ๋ยมารดาย่อมเป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของปานผู้รับจำนอง ปานย่อมมีสิทธิขอให้ปูนลบทะเบียนสิทธิเก็บกินนั้นได้.

ข้อ 15 เมษออกตั๋วแลกเงินสั่งให้พจน์จ่ายเงินให้ทิศจำนวน 3 แสนบาท ทิศสลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินให้กาด กาดสลักหลัง และส่งมอบตั๋วแลกเงินให้ใหญ่ โดยมีเงื่อนไข ในคำสลักหลังว่า ใหญ่จะมีสิทธิตามตั๋วแลกเงินต่อเมื่อใหญ่สอบเข้าทำงานในห้างสรรพสินค้าได้ดังนั้นเมื่อตั๋วแลกเงินครบกำหนดใหญ่จะไล่เบี้ยให้ใครใช้เงินตามตั๋วแลกเงินให้ตนได้หรือไม่ เพียงใด
เฉลย
ปพพ.มาตรา 904 914 920 922
ตามปัญหา การที่กาดสลักหลังโดยมีเงื่อนไขในคำสลักหลังว่าใหญ่จะมีสิทธิตามตั๋วแลกเงินต่อเมื่อใหญ่สอบเข้าทำงานในห้างสรรพสินค้าได้ ดังนี้เป็นเงื่อนไขในคำสลักหลังถือว่าเงื่อนไขนั้นไม่ได้เขียนไว้เลย และตั๋วโอนไปยังใหญ่โดยไม่มีเงื่อนไข ตาม ม.920 922 ใหญ่ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับสลักหลังตาม ม.904 ใหญ่มีสิทธิไล่เบี้ยจากเมษในฐานะผู้สั่งจ่าย ทิศและกาดในฐานะผู้สลักหลัง ตามม.914 ส่วนพจน์ ผู้จ่ายไม่ต้องรับผิดเนื่องจากยังไม่ได้รับรองตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าว.