ปริมาณเงินใน ความ หมาย กว้าง ได้ รับ ผล กระทบ จากการ ดำเนิน ธุรกิจ ของ สถาบัน การเงิน ใด มาก ที่สุด

นโยบายการเงิน คือ

ผู้ดูแลเศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่ง นอกจากรัฐบาลแล้วยังมีธนาคารกลาง(แบงก์ชาติ) ของประเทศนั้นๆ อีกด้วย ฉะนั้นแล้วเราจะได้ยิน "นโยบายการคลัง" รัฐบาลเป็นผู้ควบคุม หรือ "นโยบายการเงิน" ธนาคารกลางเป็นผู้ควบคุมจากในข่าวบ่อยๆ ซึ่งวันนี้จะมาพูดถึง นโยบายการเงินกันครับ

นโยบายการเงิน คือ มาตรการทางการเงินชนิดหนึ่งที่ธนาคารกลาง(แบงก์ชาติ) เป็นผู้ควบคุมเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินภายในประเทศ ตัวอย่างเช่น หากเศรษฐกิจภายในประเทศกำลังเข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝืดนั้น ธนาคารกลางจะประกาศนโยบายทางการเงินออกมา เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เงินฝืดหรือเงินเฟ้อมากเกินไป โดยนโยบายการเงินหลักๆแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ

  1. นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
  2. นโยบายการเงินแบบเข้มงวด

โดยทั้ง 2 นโยบายต่างใช้ในเวลาที่ต่างกัน ยกตัวอย่างในช่วงเศรษฐกิจซบเซา ธนาคารกลางจะใช้ "นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย" เพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจในประเทศไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืด หรือกล่าวคือเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ตัวอย่าง การใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย 

  1. การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เปรียบเสมือนการลดดอกเบี้ยอ้างอิง ซึ่งเมื่อดอกเบี้ยอ้างอิงปรับตัวลดลงอาจนำมาสู่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ รวมถึงปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากด้วยเช่นกัน ฉะนั้นหากเมื่ออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง จะส่งผลให้สนับสนุนภาคการลงทุนมากขึ้น เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น เมื่อเกิดการจ้างงานมากขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น ผู้คนมีรายได้เพิ่มขึ้น 
  2. การซื้อพันธบัตรจากภาคเอกชนหรือรัฐบาลเมื่อปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีการหมุนเวียนน้อยจนเกินไปหรือเกิดภาวะเงินฝืด ซึ่งจะส่งผลให้การผลิตและการบริโภคลดลง ฉะนั้นธนาคารกลางจะรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยการนำเงินเข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้น ผ่านการซื้อพันธบัตรจากภาคเอกชนหรือรัฐบาล ซึ่งจะทำให้เอกชนหรือรัฐบาลได้รับเงินจากการขายพันธบัตรให้กับธนาคารกลาง ทำให้เอกชนหรือรัฐบาลสามารถนำเงินมาใช้ตามจุดประสงค์ที่ต้องการได้ และจะส่งผลให้เกิดการสนับสนุนการลงทุนและบริโภคตามลำดับ
  3. การปรับลดอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ เมื่อธนาคารพาณิชย์ได้รับเงินฝากจากประชาชนเข้ามา ธนาคารพาณิชย์ต้องสำรองเงินส่วนหนึ่งไว้ตามกฎหมาย ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งจะนำไปปล่อยสินเชื่อเพื่อให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจต่อไป ตัวอย่างเช่น หากอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ 10% หมายความว่า ทุกๆ การฝากเงิน 100 บาท ธนาคารพาณิชย์จะต้องเก็บสำรองไว้ 10 บาท ในขณะที่อีก 90 บาท ธนาคารสามารถนำไปปล่อยสินเชื่อเพื่อให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้ ฉะนั้น หากมีการประกาศลดอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ จะทำให้มีปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น

กลับกันหากประเทศกำลังเติบโตอย่างร้อนแรง ธนาคารกลางจะใช้ "นโยบายการเงินแบบเข้มงวด" ซึ่งการดำเนินการจะตรงข้ามกับตัวอย่างด้านบน ตัวอย่างเช่น ปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบาย, ขายพันธบัตรเพื่อดึงออกจากระบบเศรษฐกิจ หรือเพิ่มอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น

จากตัวอย่างดังกล่าว เป็นเพียงเครื่องมือส่วนหนึ่งที่ธนาคารกลางสามารถควบคุมได้ อีกทั้งยังมีอัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารกลางสามารถเข้ามาแทรกแซงได้ ขึ้นอยู่กับประเทศนั้นใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบใด ซึ่งการใช้นโยบายเหล่านี้ใช้เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืดหรือเงินเฟ้อมากเกินไป จะเห็นได้ว่า นโยบายการเงิน เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในระบบเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางต้องพิจารณาการใช้นโยบายให้ดี เพราะจะกระทบเศรษฐกิจออกเป็นวงกว้าง

ปริมาณเงินใน ความ หมาย กว้าง ได้ รับ ผล กระทบ จากการ ดำเนิน ธุรกิจ ของ สถาบัน การเงิน ใด มาก ที่สุด

เงิน คือ สิ่งใดๆ ก็ตามที่สังคมยอมรับโดยทั่วไปในขณะใดขณะหนึ่ง และในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในฐานะเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ทั้งนี้สิ่งนั้นจะต้องถูกกำหนดค่าขึ้นเป็นหน่วยเงินตราและเป็นหน่วยวัดค่าที่แน่นอน

วิวัฒนาการของเงิน

–          เงินที่เป็นสิ่งของหรือสินค้า (Commodity Money)

–          โลหะและเหรียญ (Coins)

–          ธนบัตร (Paper Money)

–          เงินฝากกระแสรายวัน (Demand Deposits)

คุณสมบัติของเงินที่ดี

–          เป็นสิ่งที่หายาก

–          มีมูลค่าคงที่

–          มีปริมาณที่ยืดหยุ่นได้

–          นำติดตัวไปได้สะดวก

–          สามารถแบ่งเป็นหน่วยย่อยได้

–          มีความคงทน

การแลกเปลี่ยน

–          ระบบการแลกเปลี่ยนสิ่งของต่อสิ่งของ (Barter System)

–          ระบบที่มีการใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Money)

–          ระบบที่ใช้เครดิตเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Credit)

หน้าที่ของเงิน

–          เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Medium of Exchange)

–          เป็นเครื่องวัดมูลค่า (Standard of Value)

–          เป็นมาตรฐานการชำระหนี้ในอนาคต (Standard of Deferred Payment)

–          เป็นเครื่องรักษามูลค่า (Store of Value)

ปริมาณเงิน (Money Supply)

     ปริมาณเงินตามความหมายแคบ (M1) หมายถึง สินทรัพย์ทางการเงินที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งประกอบด้วยเหรียญกษาปณ์ ธนบัตร และเงินฝากกระแสรายวันทั้งหมดที่อยู่ในมือของประชาชน บริษัท ห้างร้าน และองค์กรธุรกิจอื่นๆ ในขณะใดขณะหนึ่ง

M1 = เหรียญกษาปณ์ + ธนบัตร + เงินฝากกระแสรายวัน

*** ไม่รวมธนาคาร ไม่รวมธนาคารกลาง และกระทรวงการคลัง

ปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (M2) หมายถึง ปริมาณเงินตามความหมายแคบ (M1) บวกด้วยสินทรัพย์ทางการเงินที่ให้ผลตอบแทนและสามารถเปลี่ยนเป็นเงินที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนโดยง่าย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลย หรือเสียค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย

M2 = M1 + เงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำ

ปริมาณเงินตามความหมายกว้างมาก (M3) หมายถึงปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (M2) บวกด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนที่ถือโดยเอกชน

M3 = M2 + ตั๋วสัญญาใช้เงิน

ตลาดการเงิน (Financial Market) คือตลาดที่อำนวยความสะดวกในการโอนเงินจากหน่วยเศรษฐกิจที่มีเงินออมไปยังหน่วยเศรษฐกิจที่ต้องการเงินออม (เพื่อนำไปลงทุน)

โดยจะจำแนกตามระยะเวลาของเงินทุนหรือตราสารทางการเงินได้เป็นต้น

ตลาดเงิน เป็นแหล่งระดมเงินออมระยะสั้น (ไม่เกิน 1 ปี) แล้วจัดสรรให้กู้ยืมแก่ผู้ที่ต้องการเงินทุน ซึ่งตราสารทางการเงินที่ใช้ในตลาดเงิน คือ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน และตั๋วเงินคลัง เป็นต้น โดยตลาดเงินสามารถแบ่งออกได้เป็น

ตลาดเงินในระบบ คือ สถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ธนาคาพาณิชย์ บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ เป็นต้น

ตลาดเงินนอกระบบ คือ แหล่งที่มีการกู้ยืมเงินโดยไม่มีกฎหมายรองรับ การดำเนินการขึ้นอยู่กับข้อตกลงและความพอใจของผู้ให้กู้และผู้กู้ เช่น การเล่นแชร์ การให้กู้ การฝากขาย เป็นต้น

ตลาดทุน เป็นแหล่งระดมเงินออมระยะยาว (เกิน 1 ปี) เพื่อจัดสรรให้กับผู้ที่ต้องการเงินทุนระยะยาว ซึ่งตราสารทางการเงินที่ใช้ในตลาดทุน ได้แก่ การกู้ระยะยาว หุ้นกู้ หุ้นสามัญ พันธบัตร ทั้งของรัฐบาลและเอกชน เป็นต้น โดยตลาดทุนอาจแบ่งเป็นตลาดสินเชื่อทั่วไปซึ่งประกอบด้วยธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนและตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งแบ่งออกเป็นตลาดแรกและตลาดรอง

ตลาดแรก (Primary Market) คือตลาดที่ซื้อขายหลักทรัพย์ออกใหม่

ตลาดรอง (Secondary Market) คือตลาดที่ซื้อหลักทรัพย์เก่า (ที่เคยซื้อขายเปลี่ยนมือกันมาก่อน)

ธนาคารพาณิชย์ (Commercial Bank) หมายถึง การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ และใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น ให้กู้ยืมเงินซื้อขายหรือเก็บเงินตามตั๋วเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น ทั้งนี้จะประกอบธุรกิจประเภทอื่นอันเป็นประเพณีที่ธนาคารพาณิชย์พึงกระทำหรือไม่ก็ตาม

หน้าที่ของธนาคารพาณิชย์

o  ให้บริการทางการเงินทั้งในและต่างประเทศ เช่น รับฝากเงิน โอนเงิน ให้กู้เงิน รับเก็บรักษาของมีค่า

สร้างและทำลายเงินฝากซึ่งเป็นหน้าที่พิเศษโดยเฉพาะของธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินประเภทอื่นไม่มีอำนาจและหน้าที่เช่นนี้ ซึ่งทำให้ธนาคารพาณิชย์แตกต่างจากสถาบันการเงินประเภทอื่น

อัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย (Legal Reserve Ratio) เป็นอัตราที่ธนาคารกลางกำหนดขึ้นคิดเป็นร้อยละของเงินฝาก โดยธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งที่มีเงินฝากจะต้องดำรงเงินสดสำรองโดยฝากไว้ที่ธนาคารกลางอย่างน้อยที่สุดไม่ต่ำกว่าอัตราที่กำหนดนี้เงินสดสำรองตามกฎหมายหรือเงินสดสำรองที่ต้องดำรง (Legal Reserve or Reserve Requirement) คือ จำนวนเงินสดที่ธนาคาพาณิชย์ต้องดำรงเมื่อเทียบกับจำนวนเงินฝาก ซึ่งปัจจุบัน ธนาคารกลางได้กำหนดอัตราเงินสดสำรองไว้ที่ 6% หมายความว่ากู้เงิน 100 บาท จากธนาคาร เราจะได้เงิน 94 บาท ส่วนอีก 6 บาทก็จะนำไปเก็บที่ธนาคารกลาง

ปริมาณเงินจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ

          การฝากเงิน / การถอนเงิน

          ฝากเงิน = ปริมาณเงินเพิ่ม

ถอนเงิน =    ปริมาณเงินลด

ธนาคารกลาง (Central Bank) คือ สถาบันการเงินที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐบาลให้ควบคุมดูแลระบบการเงินและเครดิตของประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจและสังคมส่วนรวม

ข้อแตกต่างระหว่างธนาคารกลางและธนาคารพาณิชย์

–          ธนาคารกลางทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก ไม่ใช่แสวงหากำไรเหมือนธนาคารพาณิชย์

–          ธนาคารกลางไม่ดำเนินธุรกิจแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์

–          ลูกค้าของธนาคารกลางและธนาคารพาณิชย์เป็นคนละประเภทกัน

หน้าที่ของธนาคารกลาง

–          ออกธนบัตร

–          เป็นนายธนาคารของรัฐบาล

o  รักษาบัญชีเงินฝากของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ

o  ให้รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจกู้ยืมเงิน

o  เป็นที่ปรึกษาทางการเงินของรัฐบาล

o  เป็นตัวแทนทางการเงินของรัฐบาลในการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ การชำระเงินกู้ การโอนเงินระหว่างประเทศ และภายในประเทศให้รัฐบาล

–          เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์

o  รักษาเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ

o  เป็นสำนักงานกลางในการหักบัญชี

o  ให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืมเงิน

o  เป็นศูนย์กลางการโอนเงินระหว่างธนาคาร

–          เป็นผู้รักษาเงินสำรองระหว่างประเทศ

–          เป็นผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้าย

–          เป็นผู้ควบคุมปริมาณเงินและเครดิต

–          เป็นผู้ควบคุมธนาคารพาณิชย์

นโยบายการเงิน (Monetary Policy) คือ การดูแลปริมาณเงินและสินเชื่อโดยธนาคารกลาง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจประการใดประการหนึ่งหรือหลายประการ

ประเภทของนโยบายการเงิน

–          นโยบายการเงินแบบเข้มงวด (Restrictive Monetary Policy) คือ การใช้เครื่องมือต่างๆทางการเงินเพื่อให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจลดลง

–          นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (Easy Monetary Policy) คือ การใช้เครื่องมือต่างๆ ทางการเงินเพื่อให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

เครื่องมือของนโยบายการเงิน

–          การควบคุมทางปริมาณหรือโดยทั่วไป (Quantitative or General Control) โดยเครื่องมีอที่ใช้ในการควบคุมทางปริมาณ ได้แก่

o  การซื้อขายหลักทรัพย์ (Open-Market Operation)

o  อัตรารับช่วงซื้อลด (Rediscount Rate)

o  อัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Bank Rate)

o  เงินสดสำรองที่ต้องดำรง (Reserve Requirement)

–          การควบคุมทางคุณภาพหรือโดยวิธีเลือกสรร (Qualitative or Selective Credit Control) เป็นการควบคุมชนิดของเครดิตซึ่งใช้ในกรณีที่ธนาคารจำเป็นต้องจำกัดเฉพาะเครดิตบางชนิดเท่านั้น โดยชนิดของเครดิตที่ธนาคารกลางมักจะเลือกควบคุม ได้แก่

o  การควบคุมเครดิตเพื่อการซื้อหลักทรัพย์

o  การควบคุมเครดิตเพื่อการอุปโภคบริโภค

o  การควบคุมเครดิตเพื่อการซื้อบ้านและที่ดิน

–          การชักชวนธนาคารพาณิชย์ให้ปฏิบัติตาม

การคลังสาธารณะ

          รายได้ของรัฐบาล จะได้มาจากการเก็บภาษีอากร และรายได้ที่มิใช่ภาษีอากร

ภาษีอากร เป็นรายได้ของรัฐบาบที่บังคับเก็บจากประชาชน เพื่อประโยชน์ของคนในประเทศ โดยผู้จ่ายไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทนตามส่วนของเงินที่จ่าย โดยรายได้ของรัฐบาลไทยมากกว่าร้อยละ 80 เป็นรายได้จากภาษีอากร

รายจ่ายของรัฐบาล การใช้จ่ายของรัฐบาล เป็นการใช้จ่ายในสิ่งที่รัฐบาลต้องทำ เพื่อประโยชน์ของคนทั้งประเทศ ซึ่งได้แก่ การรักษาความสงบภายในประเทศ การป้องกันประเทศและการลงทุนในสาธารณูปโภค

หนี้สาธารณะ หนี้ของรัฐบาลที่เกิดจากการกู้ยืมและการคำประกันเงินกู้โดยรัฐบาล จะเรียกว่าหนี้สาธารณะ เพราะหนี้เหล่านี้จะต้องช้ำระด้วยภาษีอากร ที่เรียกเก็บจากประชาชนทั้งประเทศ หนี้ของรัฐบาลที่เกิดจากการกู้ยืมโดยรัฐบาล เกิดจากรัฐบาลมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย

งบประมาณแผ่นดิน เป็นแผนในการจัดหารายรับและรายจ่ายของรัฐบาลในช่วง 1 ปี ซึ่งเรียกว่า ปีงบประมาณ แต่ละประเทศจะมีวันเริ่มต้นไม่ตรงกัน สำหรับประเทศไทย จะเริ่มต้นวันที่ 1 ตุลาคม และสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน เช่น งบประมาณประจำปี 2554 จะเริ่มในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2553 และสิ้นสุดใน วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2554 เป็นต้น

นโยบายการคลัง เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ด้วยการใช้มาตรการทางการคลัง ซึ่งได้แก่ มาตรการทางภาษี การใช้จ่ายของรัฐบาล และการก่อหนี้สาธารณะ ซึ่งนโยบายการคลังมี 2 แบบที่สำคัญ คือ

–          นโยบายการคลังแบบผ่อนคลาย จะดำเนินการด้วยมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล ลดการเก็บภาษี

–          นโยบายการคลังแบบเข้มงวด จะดำเนินการด้วยมาตรการลดการใช้จ่ายของรัฐบาลและเพิ่มการเก็บภาษี

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หมายถึง ราคาของเงินสกุลหนึ่งที่คิดเทียบกับเงินสกุลอื่น อัตราแลกเปลี่ยนในระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวจะถูกกำหนดโดยอุปสงค์ ต่อเงินตราต่างประเทศ และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ เช่น เงิน 30 บาท = 1 ดอลลาร์ เปลี่ยนเป็น 33 บาท = 1 ดอลลาร์ หมายถึง เงินบาทอ่อนค่า และ 27 บาท = 1 ดอลลาร์ หมายถึง เงินบาทแข็งค่า

ดุลการชำระเงิน เป็นการบันทึกจำนวนเงินตราต่างประเทศที่ประเทศได้รับและจ่ายในช่วงเวลาหนึ่ง ประกอบด้วยบัญชีใหญ่ 3บัญชี คือ

–          บัญชีเงินเดินสะพัด เป็นบัญชีที่แสดงถึงรายได้และรายจ่ายของประเทศ

–          บัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย เป็นบัญชีที่แสดงถึงจำนวนเงินลงทุน เงินกู้ยืม และเงินฝากทั้งระยะสั้นและระยะยาว ของชาวต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศ

–          บัญชีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ เป็นทรัพย์สินที่สามารถใช้ชำระหนี้ระหว่างประเทศได้

ข้อใดคือ ปริมาณเงินตามความหมายอย่างกว้าง

2.3 ปริมาณเงินในความหมายอย่างกว้างมาก (M3) หมายถึง ปริมาณเงิน M2 รวมกับ ตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนที่ถือโดยภาคเอกชนและเงินฝากในสถาบันการเงินทุกประเภท เงินฝากที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ซึ่งปริมาณเงินในประเภทนี้จะเกิดขึ้นในเฉพาะในประเทศที่ พัฒนาที่สถาบันการเงินที่มั่นคงเท่านั้น

ปริมาณเงินตามความหมายแคบ หมายถึงข้อใด

ปริมาณเงิน (M1) คือ ปริมาณเงินตามความหมายแคบ หมายถึง ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในมือของประชาชน ประกอบด้วยธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ในมือของประชาชน และเงินฝากเผื่อเรียกของธุรกิจและครัวเรือนที่ระบบธนาคารพาณิชย์

ปริมาณเงินตามความหมายแศบประกอบด้วยอะไรบ้าง

1. ปริมาณเงิน M1 หรือปริมาณเงินตามความหมายแคบ (Narrow Money) หมายถึง ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในมือประชาชน ประกอบด้วยธนบัตรและเหรียญ กษาปณ์ในมือประชาชนและเงินฝากเผื่อเรียกของประชาชนที่ระบบธนาคาร

การเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินตามความหมายอย่างแคบ (M1) เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินประเภทใด

M1 และ M2 เป็นปริมาณเงินตามความหมายแคบและกว้างในสมัยที่ระบบการเงินของประเทศมีเพียง ธนาคารพาณิชย์ท าหน้าเป็นสถาบันหลักที่เป็นตัวกลางทางการเงินในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งหมายความว่าการ จัดท าปริมาณเงินในยุคนี้นับเฉพาะธปท. และธนาคารพาณิชย์เท่านั้นที่เป็น money issuerในขณะที่ภาค เศรษฐกิจอื่นๆ (ยกเว้นรัฐบาลกลาง) จัดเป็น money ...