ทํา บัตรประชาชน อายุ 15 ต้องมีผู้ปกครอง ไหม

  • ทํา บัตรประชาชน อายุ 15 ต้องมีผู้ปกครอง ไหม
DetailsDetails

การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก

  บุคคลดังต่อไปนี้ให้ยื่นคำขอมีบัตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดหกสิบวัน หากพ้นกำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท

  1. ผู้ที่มีอายุครบเจ็ดปีบริบูรณ์ 
  2. ผู้ที่ได้สัญชาติไทย หรือได้รับอนุมัติให้มีสัญชาติไทย  หรือได้กลับคืนสัญชาติไทย ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ หรือตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาล
  3. ผู้ที่ได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน (ทร.14) กรณีตกสำรวจหรือแจ้งเกิดเกินกำหนด
  4. ผู้ที่พ้นจากสภาพการได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน

 หลักฐานเอกสารที่ต้องนำไปแสดง

  1. สูติบัตร หากไม่มีให้ใช้หลักฐานเอกสารอื่นที่ทางราชการอออกให้อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สำเนาทะเบียนนักเรียน ใบสุทธิ ประกาศนียบัตร หนังสือเดินทาง เป็นต้น ในกรณีผู้ที่มีอายุครบเจ็ดปีบริบูรณ์ 
  2. หลักฐานใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดา มารดา และให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือไปรับรอง กรณีผู้ที่ได้สัญชาติไทย  หรือได้รับอนุมัติให้มีสัญชาติไทย หรือได้กลับคืนสัญชาติไทย
  3. สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้นั้นเคยมีชื่ออยู่ก่อน หรือหลักฐานเอกสารที่ทำงานราชการออกให้อย่างใดอย่งหนึ่งและให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือไปรับรอง กรณีผู้ที่ได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านโดยตกสำรวจ
  4. สูติบัติ และให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือไปรับรอง กรณีผู้ที่ได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านโดยการแจ้งเกิดเกินกำหนด
  5. หลักฐานแสดงการพ้นจากสภาพได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร  กรณีผู้ซึ่งพ้นสภาพได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร

"ทำไมเด็ก 7 ปี ต้องมีบัตรประชาชนด้วย" จึงเป็นคำถามที่เกิดขึ้นในใจใครหลายคน รวมทั้ง ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานอยู่ในวัยนี้ จักรี ชื่นอุระ ผู้อำนวยการสำนักทะเบียน กรมการปกครอง ไขข้อข้องใจในเรื่องนี้ว่า จริงๆ แล้วประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องที่มีการพูดคุยหารือกันมานานแล้ว โดยเป็นความต้องการของสังคมมากกว่าที่ต้องการให้คนที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี มีบัตรประชาชนเหมือนกับผู้ใหญ่เพื่อแสดงตน โดยเฉพาะในการเข้ารับบริการสาธารณะของรัฐ จึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการออกบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อให้สอดคล้องกับการที่รัฐจะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริการประชาชนในด้านต่างๆ ผ่านทางบัตรประจำตัวประชาชน

"แต่เดิมมีสวัสดิการต่างๆ ที่ได้จากรัฐ เช่น โครงการประกันด้านสุขภาพ ซึ่งจะใช้บัตรทองในการเข้ารับบริการ โดยคนที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ก็มีบัตรทองใช้ เมื่อโครงการดังกล่าวยกเลิกไป เปลี่ยนมาใช้บัตรประชาชนแทน ตรงนี้จะทำให้เกิดปัญหากับกลุ่มที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี เพราะไม่มีหลักฐานแสดงตัว

โดยปัจจุบันที่ใช้อยู่ คือ สูติบัตรและทะเบียนบ้าน ซึ่งมีปัญหาอีกที่ว่ามีแต่เฉพาะข้อความ ชื่อ นามสกุล วัน เดือน ปี เกิด แต่ไม่มีรูปถ่าย จึงทำให้มีปัญหาตามมาว่า เอกสารที่นำมายืนยันกับตัวเด็กเป็นของคนเดียวกันหรือไม่ เพราะบางครั้งเกิดเหตุการณ์ เด็กชาย ก.มายื่นเอกสารเข้ารับบริการทุกวัน แต่หน้าตาของเด็กชาย ก. ไม่เหมือนกันสักวันเลย ซึ่งตรงนี้รัฐเองก็ต้องการตรวจสอบให้แน่ชัดว่าผู้ที่เข้ารับบริการเป็นใคร เป็นคนไทยหรือไม่ มีสิทธิในสวัสดิการนั้นจริงหรือเปล่า เพื่อให้เกิดความชัดเจน จึงควรขยายการทำบัตรประชาชนมายังกลุ่มที่มีปัญหาในเรื่องการแสดงตน"

ส่วนเรื่องที่กำหนดให้เด็กอายุ 7 ปีขึ้นไปนั้น เป็นเรื่องที่มีการพูดคุยกันในรัฐสภาแล้ว ซึ่งมีบางคนเสนอให้มีการทำบัตรตั้งแต่อายุ 1 ปี แต่ก็มาสรุปที่ 7 ปี เพราะเป็นช่วงที่เด็กเริ่มเข้าระบบการศึกษาแล้ว มีโอกาสที่จะได้ใช้เพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่พึงมีพึงได้ เช่น สิทธิในการรักษาพยาบาล ซึ่งเด็กจะสามารถแสดงตัวได้ง่ายขึ้นอีกทั้ง การลักลอบสวมสิทธิก็ทำได้ยากขึ้น

นอกจากนั้น ยังเกิดความสะดวกในการใช้งาน แทนที่จะต้องพกทะเบียนบ้าน สูติบัตร ก็พกบัตรประชาชนเพียงใบเดียวก็สามารถแสดงตนในเจ้าของสิทธินั้นได้ทันที รวมทั้ง หน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานต่างๆ ก็จะสามารถแยกแยะกลุ่มคนได้ชัดเจน เพราะกลุ่มการบริการมีหลายหน่วยงานด้วยกัน ทั้งประกันสังคม ประกันสุขภาพ สวัสดิการจากราชการ ฯลฯ

ตลอดจนในอนาคตสามารถที่จะตรวจสอบประวัติได้ด้วย เพราะเมื่อเข้าสู่ระบบการทำบัตรประชาชนแล้ว จะมีการจัดเก็บข้อมูลของประชาชนเพิ่มขึ้น คือ นอกเหนือจาก ชื่อ ที่อยู่ วัน เดือน ปี เกิด บิดา มารดาแล้ว จะมีการเก็บรูปถ่ายของเด็ก ลายนิ้วมือของเด็กเพิ่มเข้าไป อีกทั้ง เมื่อเด็กได้ทำบัตรครั้งแรกแล้ว ครั้งต่อไปก็จะไม่มีใครมาสวมสิทธิของเด็กได้ เพราะมีการตรวจสอบเกิดขึ้นโดยเริ่มตั้งแต่คนที่มีอายุ 7 ปี ขึ้นไป

ผลจากกฎหมายดังกล่าว จะทำให้เด็กที่อยู่ในช่วงอายุ 7-14 ปี ต้องทำบัตรประชาชน ซึ่งในขณะนี้ทั่วประเทศมีอยู่ประมาณ 8 ล้านคนในกลุ่มของคนไทยที่สามารถทำบัตรประชาชนได้ โดยในช่วง 60 วันนี้จึงต้องมีการออกระเบียบ ออกกฎกระทรวงเพื่อรองรับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เพราะกฎหมายเดิมไม่ได้เขียนวิธีการทำบัตรเด็กอายุ 7 ปีเอาไว้

ผู้อำนวยการสำนักทะเบียน กล่าวถึงการดำเนินงานในเรื่องนี้ว่า สำหรับขั้นตอนในการทำบัตรประชาชนให้กับเด็กที่มีอายุ 7-14 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ แม้กฎหมายจะไม่ได้บังคับให้เด็กกลุ่มนี้ต้องทำบัตรพร้อมกัน เพราะระบุไว้ว่า ให้เด็กมาทำได้ในช่วง 1 ปี และสามารถขยายเวลาออกไปได้ตามความเหมาะสม แต่กรมการปกครองก็ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมา เพื่อดำเนินการให้บริการกับเด็กๆ โดยในช่วงนี้จะเป็นช่วงเวลาของการกำหนดวิธีการต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้เด็กมาเข้ารับบริการในส่วนของการยื่นเอกสารต่างๆ โดยที่ไม่ต้องยุ่งยากกับตัวเด็กและผู้ปกครองมากนัก

"สำหรับขั้นตอนในการทำบัตรจะเน้นให้บริการเป็นกลุ่ม เพราะเด็กที่มีอายุ 7- 14 ปี จะเป็นกลุ่มเด็กที่อยู่ในโรงเรียนเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ มีหลักฐานในการเข้าโรงเรียนซึ่งเป็นการตรวจสอบในระดับหนึ่งอยู่แล้ว จึงอาจจะต้องจัดให้มีบริการในวันธรรมดาและวันหยุด เพื่อจะให้มีแผนในการนัดหมายกัน อาทิ ในวันธรรมดาวันที่นี้ สำหรับโรงเรียนนี้ เด็กชั้นนี้ หรือในวันหยุด ช่วงเช้า ตั้งแต่กี่โมงถึงกี่โมงสำหรับโรงเรียนนี้ ชั้นนี้มาทำบัตร โดยมีคุณครูพานักเรียนมาที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ตรงนี้คงต้องประสานขอความร่วมมือกับโรงเรียนต่างๆ เพื่อจะได้ให้ครูช่วยดูแลเด็กด้วย ก็จะมากันเป็นกลุ่มๆ ซึ่งตรงนี้ก็จะเกิดความสะดวกและรวดเร็วทั้ง 2 ฝ่าย คือ ทั้งในการให้บริการและเข้ารับบริการ ผู้ปกครองก็จะได้เกิดความสะดวกไม่ต้องมาดูแลหรือเสียเวลาพาเด็กมาทำบัตรด้วยตนเอง"

กรณีที่ 2 จะเป็นการจัดชุดเจ้าหน้าที่พร้อมอุปกรณ์เข้าไปทำบัตรประชาชนให้กับเด็กที่โรงเรียน ที่เรียกว่า ชุดเคลื่อนที่ หรือ่ชุดโมบายก็จะมีส่วนหนึ่ง ซึ่งจะดำเนิน

การทั้งในวันธรรมดาและวันหยุดเช่นกัน แต่ชุดนี้จะมีไม่มากนักถ้าเทียบกับจำนวนโรงเรียน และจำนวนอำเภอในท้องที่ต่างๆ ในอนาคตอาจจะมีการขยายจำนวนให้มากขึ้นหากมีความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดยประสานกับทางโรงเรียนในการจัดเรียงตามความเหมาะสมในแต่ละชั้นปีของเด็กที่จะเข้ารับบริการ ซึ่งทางโรงเรียนก็จะมีข้อมูลเหมือนกับที่ทางหน่วยงานมีข้อมูล ตรงนี้จะเป็นการตรวจสอบไปในตัวว่าตรงกันหรือไม่ ก็จะเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสะดวกในการดำเนินการรวมทั้ง ในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือในสถานสงเคราะห์เด็กกำพร้า ก็จะมีเจ้าหน้าที่เข้าไปทำบัตรประชาชนให้ด้วยเช่นกัน ซึ่งตรงนี้คงต้องดูความพร้อมและความเหมาะสมด้วย

สุดท้าย บริการทั่วไปจะเหมือนกับที่บุคคลอื่นๆ มาทำบัตรประชาชนกัน คือ ถ้าผู้ปกครองสะดวกที่จะพาบุตรหลานมาทำบัตรประชาชนก็สามารถมาทำได้ที่สำนักงานเขตและที่ว่าการอำเภอทั่วประเทศ ซึ่งก็จะมีขั้นตอนตามปกติทั่วไปของการทำบัตรประชาชน โดยขั้นตอนทั้งหมดหลังจากวันที่ 9 ก.ค. ระเบียบเหล่านี้จะชัดเจน เพราะจะต้องพร้อมที่จะดำเนินการโดยลักษณะบัตรประชาชนของเด็กจะเหมือนกับของผู้ใหญ่ทุกประการ และมีอายุ 8 ปี นับแต่วันเกิดของผู้ถือบัตรที่ถึงกำหนดภายหลังจากวันออกบัตร

ทำบัตรประชาชนอายุ 15 ต้องใช้อะไรบ้าง

หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง - สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ทุกกรณี) - ใบสูติบัตร (กรณีอายุ 15 ปี ถ้ามี).
พิมพ์ บ.ป.1 พิมพ์ลายนิ้วมือ (3 นาที).
ถ่ายรูปด้วยระบบ VDO (3 นาที).
พิมพ์บัตรฯด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (2 นาที).
ออกใบเสร็จ ค่าธรรมเนียมส่งมอบบัตรฯ (2 นาที).

ทําบัตรประชาชนต้องพาผู้ปกครองไปไหม

คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองที่ต้องการทำบัตรประชาชนให้ลูกหากมีคุณสมบัติครบตรงตามเงื่อนไขก็สามารถพาบุตรหลานไปทำบัตรประชาชนได้ ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอทั่วประเทศทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องกลับไปที่ภูมิลำเนาที่เด็กมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแต่อย่างใด โดยสำนักงานเขตจะเปิดให้บริการวันจันทร์ – วันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น.

15 ปีทําบัตรประชาชนได้ไหม

บัตรประชาชน ประชาชนให้ยื่นคำร้องขอมีบัตรประจำตัวประชาชนที่สำนักทะเบียน ท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ภายในทะเบียนบ้านปัจจุบัน ซึ่งผู้ร้องขอมีบัตรประจำตัวประชาชนจะต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย มีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ ถึง 70 ปี ต้องยื่น คำร้องขอมีบัตรประชาชนภายในระยะเวลา ดังนี้ - 60 วัน นับตั้งแต่วันที่อายุครบ 15 ปีบริบูรณ์

คนที่มีอายุเท่าไร ไม่ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน

บัตรใช้ได้ตั้งแต่วันออกบัตร และมีอายุแปดปีนับแต่วันเกิดของผู้ถือบัตรที่ถึงกำหนดภายหลังจากวันออกบัตร บัตรที่ยังไม่หมดอายุในวันที่ผู้ถือบัตรมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ ให้ใช้ต่อไปได้ตลอดชีวิต เมื่อบัตรเดิมหมดอายุ ต้องยื่นคำขอมีบัตรใหม่ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ หากพ้นกำหนดต้องระวาง ...