มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กาฬสินธุ์

The 3-star Phaiboonplace Hotel offers comfort and convenience whether you're on business or holiday in Kalasin. Featuring a complete list of amenities, guests will find their stay at the property a comfortable one. Free Wi-Fi in all rooms, 24-hour room service, Wi-Fi in public areas, car park, meeting facilities are on the list of things guests can enjoy. All rooms are designed and decorated to make guests feel right at home, and some rooms come with internet access – wireless, internet access – wireless (complimentary), non smoking rooms, air conditioning, desk. Enjoy the hotel's recreational facilities, including garden, before retiring to your room for a well-deserved rest. Discover all Kalasin has to offer by making Phaiboonplace Hotel your base.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กาฬสินธุ์
ชื่อย่อมมร / MBU [1]
คติพจน์ระเบียบ สามัคคี บำเพ็ญประโยชน์
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
สถาปนา1 ตุลาคม พ.ศ. 2436
อธิการบดีพระเทพวัชรเมธี (สมคิด จินฺตามโย)
นายกสภาฯสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)
ที่ตั้ง

ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

สัญลักษณ์ต้นโพธิ์
สี     สีส้ม
เว็บไซต์www.mbu.ac.th

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาของสงฆ์ ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ของประเทศไทย ที่จัดการศึกษาในรูปแบบมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา เป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่เริ่มประยุกต์หลักพระพุทธศาสนาให้เข้ากับสังคมสมัยใหม่ โดยมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของประเทศไทยและเป็นหนึ่งในสองแห่งของประเทศไทย[2]

ประวัติ[แก้]

[3]สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งเป็นพระน้องยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระดำริจัดตั้ง "มหามกุฏราชวิทยาลัย" เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นภายใน วัดบวรนิเวศวิหาร โดยวิธีจัดการศึกษาแบบสมัยใหม่ มีลักษณะแตกต่างจากการเล่าเรียนภาษาบาลีตามประเพณีแบบเดิม ในขณะเดียวกัน ก็นำเอาวิธีวัดผลแบบข้อเขียนมาใช้เป็นแห่งแรกของประเทศไทยด้วย

หลังจากที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงก่อตั้งสถาบันการศึกษานี้ขึ้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีพระราชดำรัสให้พระองค์ทรงช่วยปรับปรุงโรงเรียนสอนภาษาบาลี ชื่อ "มหาธาตุวิทยาลัย" ภายในวัดมหาธาตุ ขึ้นเป็น "มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย" เพื่อจัดการให้คณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกายได้มีสถาบันการศึกษาชั้นสูงในลักษณะเดียวกัน ควบคู่ไปกับมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งสมัยนั้นเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูง และส่วนมากยังจำกัดอยู่แต่คณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต ต่อมา ทั้ง มหามกุฏราชวิทยาลัยและมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ปิดตายลงเพราะประสบปัญหาหลายประการด้วยกัน นับเป็นเวลาหลายสิบปี

จนกระทั่ง ท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพได้พยายามรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ จนประสบผลสำเร็จ เมื่อ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์และคณะสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ให้การอุปถัมภ์ โดยได้ทำการประกาศรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่เมื่อ พ.ศ. 2488 ตามมาด้วย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งประกาศรื้อฟื้นกิจการในปี พ.ศ. 2490 อาจารย์สุชีพ ได้แถลงว่า สาเหตุที่ต้องมีมหาวิทยาลัยสงฆ์ก็เพราะคณะสงฆ์จำเป็นต้องผลิตบุคลากรที่รู้ทันวิชาการสมัยใหม่ มิฉะนั้น คณะสงฆ์จะไม่สามารถสั่งสอนแนะนำชาวบ้านได้ และการสื่อสารกันก็จะเกิดความไม่เข้าใจ เพราะชาวบ้านศึกษาด้านคดีโลก ส่วนพระสงฆ์ศึกษาด้านคดีธรรม ท่านจึงต่อสู้เพื่อให้ได้มหาวิทยาลัยสงฆ์มาอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุด มหามกุฏราชวิทยาลัย และ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยก็ได้รับการรื้อฟื้นมาอีกครั้งหนึ่ง จนได้รับการยกฐานะให้เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในปี พ.ศ. 2540 ในสมัยนายสุขวิช รังสิตพลเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เสนอให้รัฐสภาตรา ตามความในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 อันเป็นผลพวงมาจากการทุ่มเทและความมุ่งมั่นอย่างไม่หยุดยั้งของท่านฯ อย่างแท้จริง เหตุผลนี้ ทำให้คนรุ่นหลังกล่าวยกย่อง "อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ" ว่าเป็น บิดาแห่งมหาวิทยาลัยสงฆ์ไทย

เพื่อรำลึกถึงคุณูปการของท่านและสืบสานเจตนารมณ์ของท่าน คณะศิษยานุศิษย์ได้ร่วมกันก่อตั้งมูลนิธิปุญญานุภาพ ขึ้นโดยความเห็นชอบของท่านเพื่อให้ทุนสนับสนุนนักศึกษาหรือครูอาจารย์ผู้ค้นคว้าวิจัยทางพระพุทธศาสนา ณ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และดำเนินกิจการต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน


ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้ย้ายที่ตั้งของมหาวิทยาลัยไปยังตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐมแล้ว

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

  • ตรามหามกุฏราชวิทยาลัย[4]

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กาฬสินธุ์

  • พระมหามงกุฏ และอุณาโลม หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระผู้ทรงเป็นที่มาแห่งนาม “มหามกุฏราชวิทยาลัย”
  • พระเกี้ยวประดิษฐานบนหมอนรอง หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระผู้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง “มหามกุฏราชวิทยาลัย”
  • หนังสือ หมายถึง คัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา เพื่อการศึกษาค้นคว้า และเผยแผ่พระพุทธศาสนา
  • ปากกาปากไก่ ดินสอ และม้วนกระดาษ หมายถึง อุปกรณ์ในการศึกษาเล่าเรียน การพิมพ์เผยแพร่คัมภีร์และการผลิตตำราทางพระพุทธศาสนา เพราะมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นทั้งสถาบันศึกษา และแหล่งผลิตตำรับตำราทางพระพุทธศาสนา
  • ช่อดอกไม้แย้มกลีบ หมายถึง ความเบ่งบานแห่งสติปัญญา และวิทยาการในทางพระพุทธศาสนา และหมายถึง กิตติศัพท์กิตติคุณที่ฟุ้งขจรไป ดุจกลิ่นหอมแห่งดอกไม้
  • ธงชาติไทย หมายถึง อุดมการณ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่มุ่งพิทักษ์สถาบันหลักทั้ง ๓ คือ ชาติไทย พระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์
  • พานรองรับหนังสือหรือคัมภีร์ หมายความว่า มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นสถาบันเพื่อความมั่นคง และแพร่หลายของพระพุทธศาสนา
  • วงรัศมี หมายถึง แสงสว่างแห่งปัญญา วิสุทธิ สันติ และกรุณา ที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยมุ่งสาดส่องไปทั่วโลก
  • มหามกุฏราชวิทยาลัย หมายถึง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย อันเป็นสถาบันการศึกษาทางพระพุทธศาสนาระดับอุดมศึกษา
  • สุภาษิตประจำมหาวิทยาลัย
  • "วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ" เทวมานุเส หมายถึง "ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติที่ดีประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและหมู่มนุษย์" หมายความว่าเป้าหมายในการสร้างคนจะต้องให้สมบูรณ์ครบทั้งความรู้และความประพฤติที่ดี (ความรู้คู่คุณธรรม) ในเวลาเดียวกัน
  • สีประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่      สีส้ม
  • ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ ต้นโพธิ์ ซึ่งเป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าใช้ประทับอาศัยเป็นร่มเงาเมื่อตรัสรู้ ต้นโพธิ์จึงเป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้น้อมรำลึกถึงพระพุทธเจ้า

คณะ[แก้]

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแบ่งออกเป็น 5 คณะ[5]

  • คณะศาสนาและปรัชญา
  • คณะมนุษยศาสตร์ (เดิมชื่อ คณะศิลปศาสตร์)
  • คณะสังคมศาสตร์
  • คณะศึกษาศาสตร์
  • บัณฑิตวิทยาลัย

วิทยาเขต[แก้]

  • มหามกุฏราชวิทยาลัย ส่วนกลาง ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
  • วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    • โรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
  • วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์ จังหวัดนครปฐม
  • วิทยาเขตอีสาน จังหวัดขอนแก่น
  • วิทยาเขตล้านนา จังหวัดเชียงใหม่
  • วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • วิทยาเขตร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
  • วิทยาเขตศรีล้านช้าง จังหวัดเลย

วิทยาลัย[แก้]

  • มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย จังหวัดนครราชสีมา รับเฉพาะนักศึกษาหญิงและแม่ชีโดยเฉพาะ
  • วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร จังหวัดยโสธร
  • วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

พิธีประทานปริญญาบัตร[แก้]

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยจะจัดพิธีประทานปริญญาบัตรทุกปี โดยผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยจะได้รับประทานปริญญาบัตรกับสมเด็จพระสังฆราช ณ อาคารสุชีพ ปุญญานุภาพ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

ทำเนียบอธิการบดี[แก้]

ลำดับ รูป รายชื่อ[6] เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ วัด
1
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กาฬสินธุ์
พระศรีวิสุทธิญาณ (สุชีพ สุชีโว) พ.ศ. 2488 พ.ศ. 2495 วัดกันมาตุยาราม
2
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กาฬสินธุ์
สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร) พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2544 วัดเทพศิรินทราวาส
3
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กาฬสินธุ์
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร) พ.ศ. 2544 พ.ศ. 2550 วัดมกุฏกษัตริยาราม
4
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กาฬสินธุ์
พระธรรมวิสุทธาจารย์ (แสวง ธมฺเมสโก) 25 ตุลาคม พ.ศ. 2550 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554 วัดบวรนิเวศวิหาร
5
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กาฬสินธุ์
พระเทพบัณฑิต (ธรณิศ ชาคโร) 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 วัดเฉลิมกาญจนาภิเษก
6

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กาฬสินธุ์

พระเทพวัชรเมธี (สมคิด จินฺตามโย) 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ปัจจุบัน วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

ทำเนียบนายกสภา[แก้]

ลำดับ รูป รายนาม/สมณศักดิ์ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ วัด
1
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กาฬสินธุ์
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร พ.ศ. 2531 9 กันยายน พ.ศ. 2554 วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
2
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กาฬสินธุ์
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) 9 กันยายน พ.ศ. 2554 ปัจจุบัน วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

ความร่วมมือกับนานาชาติ[แก้]

ปัจจุบัน มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่ตกลงในความร่วมมือเพื่อพัฒนา ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ใน อังกฤษ เพื่อเผยแผ่หลักพุทธธรรมให้กว้างขวางไปสู่นานาประเทศ นอกจากนั้น ยังร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศอินโดนีเซียเพื่อพัฒนาการศึกษาพุทธศาสน์ศึกษาด้วย

เกียรติภูมิของชาวมหามกุฏราชวิทยาลัย[แก้]

สิ่งที่ชาวมหามกุฏราชวิทยาลัยภาคภูมิใจที่สุดก็คือการเป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาหรือมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของประเทศ หลังจากที่มีการเปิดการเรียนการสอนระดับมหาวิทยาลัย นักศึกษาและครูอาจารย์มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งนี้มีเป้าประสงค์ยิ่งใหญ่ตามเจตนารมณ์ของ อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ คือพยายามขยายการอบรมจริยธรรมหรือศีลธรรมทางพระพุทธศาสนาไปทั่วประเทศในรูปแบบต่างๆ กล่าวได้ว่าในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่ประเทศได้รับอิทธิพลวัตถุนิยมจากตะวันตก นักศึกษาและครูอาจารย์มหามกุฏราชวิทยาลัยได้มีบทบาทสำคัญในการชี้นำให้เห็นความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติที่เป็นรากฐานของสังคมไทยมาช้านาน พระสงฆ์สามเณรที่เป็นพระนักศึกษาหลายรูปได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมเผยแผ่พระพุทธศาสนาเหล่านี้จนกระทั่งสำเร็จการศึกษา

กิจกรรมที่คณาจารย์และนักศึกษาได้กระทำกันมาเพื่อปลูกฝังศีลธรรมในประเทศไทยมีจำนวนมาก อาทิ

  • บรรยายธรรมทางสถานีวิทยุหลายสถานี
  • ส่งพระนักศึกษาและครูอาจารย์ไปสอนนักโทษเรือนจำในที่ต่างๆ ของประเทศ
  • ส่งพระนักศึกษาและครูอาจารย์ไปสอนศีลธรรมตามโรงเรียนต่างๆ ที่ขาดแคลน
  • เปิดสอนศีลธรรมแก่ประชาชนและนิสิตนักศึกษาทั่วไปเป็นกรณีพิเศษในวันอาทิตย์
  • จัดอภิปราย บรรยายหรือเสวนาธรรมเป็นประจำเพื่อกระตุ้นหรือเร่งเร้าให้ประชาชนเห็นคุณค่าของธรรมะ
  • ส่งพระนักศึกษาไปอบรมกรรมฐานเป็นเวลา 1 เดือนในสำนักพระกัมมัฏฐานก่อนจะรับปริญญา
  • จัดส่งนักศึกษาที่เรียนครบตามหลักสูตรไปปฏิบัติหน้าที่สอนศีลธรรมในท้องถิ่นต่างๆ ของประเทศเป็นระยะเวลา 1 ปีก่อนจะมีพิธีประสาธน์ปริญญา
  • คณาจารย์ได้เข้าไปมีบทบาทในการแสดงความเห็นเพื่อแก้ปัญหาการขาดศีลธรรมของชนในชาติระดับต่างๆ
  • เป็นผู้นำในการตอบโต้ภัยคุกคามจากลัทธิศาสนาอื่นที่มีพฤติกรรมบ่อนทำลายพระพุทธศาสนา
  • ชี้นำสังคมให้พัฒนาบัณฑิตเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม หรือมีความรู้คู่คุณธรรม

ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของมหาวิทยาลัยสงฆ์มหามกุฏราชวิทยาลัยหลักๆ ที่เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ประชาชนทั่วไปที่ติดตามผลงานของมหามกุฏราชวิทยาลัยมาโดยตลอดจึงอยู่ที่ความสามารถในการผลิตบุคลากรทางพระพุทธศาสนาเพื่อพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาและเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เข้าถึงประชาชนทุกระดับชั้น

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

คณาจารย์[แก้]

  • พระพุทธิสารโสภณ (เดช กตปุญฺโญ นธ.เอก,ปธ.๓) รศ.ดร. อดีตรองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ
  • ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
  • สุชีพ ปุญญานุภาพ (สุชีโว ภิกฺขุ)
  • หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย
  • หม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย
  • ศิริ พุทธศุกร์
  • ศ.เกียรติคุณ แสง จันทร์งาม
  • เสถียร โพธินันทะ
  • สมัคร บุราวาส
  • กีรติ บุญเจือ

ศิษย์เก่า[แก้]

  • สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตจาโร) ( ป.ธ.๕, ศน.บ, M.A., Ph.D.) อดีตเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัติยาราม อดีตกรรรมการมหาเถรสามคม อดีตรักษาการเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)
  • พระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ) วัดบวรนิเวศวิหาร
  • พระราชญาณกวี (สุวิทย์ ปิยวิชฺโช) M.A. London
  • พระราชญาณปรีชา (ถวิล กนฺตสิริ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาส
  • พระพุทธิสารโสภณ (เดช กตปุญฺโญ) รศ.ดร. เจ้าอาวาสวัดมัชฌันติการาม
  • พระสุนทรธรรมเมธี (สุเทพ อาสโภ) ,ดร. รองเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (มหานิกาย)
  • พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย) M.A. (Cantab) , Ph.D. (Brunel)
  • พระเมธาวินัยรส (สุเทพ ปสิวิโก) ผศ.ดร.
  • ศ. เกียรติคุณ แสง จันทร์งาม (ธรรมโฆษ)
  • ศ.พิเศษ ดร.สุนทร ณ รังษี ราชบัณฑิต
  • ศ.ดร.สิทธิ์ บุตรอินทร์
  • รศ. สุเชาวน์ พลอยชุม
  • ไว ตาทิพย์ (อดีตนักหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ)
  • วศิน อินทสระ นักเขียน
  • เสกสรร สิทธาคม (นักเขียนในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ)
  • สร้อยรวงข้าว (อ.อุทัย บุญเย็น นักเขียนในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ)
  • บานเย็น ลิ้มสวัสดิ์ นักเขียนบทกวี
  • ไพวรินทร์ ขาวงาม กวีซีไรต์
  • ลภัสวัฒน์ วรทัพพ์ศิริ youtuber ช่อง สยองขวัญตอนเช้า
  • ศรีนวล บุญลือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร จังหวัดเชียงใหม่

อ้างอิง[แก้]

  1. "การกำหนดรหัสตัวพยัญชนะประจำกระทรวงและเลขที่หนังสือออก ของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-04. สืบค้นเมื่อ 2019-05-04.
  2. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์มหานิกาย
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-11. สืบค้นเมื่อ 2017-05-16.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-21. สืบค้นเมื่อ 2017-05-16.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-27. สืบค้นเมื่อ 2017-05-16.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-12. สืบค้นเมื่อ 2017-05-16.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เก็บถาวร 2019-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

หน่วยงานในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คณะ

ศาสนาและปรัชญา • มนุษยศาสตร์ • สังคมศาสตร์ • ศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กาฬสินธุ์

วิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย • มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย • วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร • วิทยาลัยศาสนศาสตร์กาฬสินธุ์

วิทยาเขต

มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย วัดชูจิตธรรมาราม • สิรินธรราชวิทยาลัย • อีสาน • ล้านนา • ศรีธรรมาโศกราช • ร้อยเอ็ด • ศรีล้านช้าง • ศาลายา

หมวดหมู่ • โครงการ • สถานีย่อย

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กาฬสินธุ์
รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ

มหาวิทยาลัย

  • กาฬสินธุ์
  • นครพนม
  • นราธิวาสราชนครินทร์
  • นเรศวร
  • มหาสารคาม
  • รามคำแหง
  • สุโขทัยธรรมาธิราช
  • อุบลราชธานี

สถาบัน

  • ปทุมวัน

มหาวิทยาลัยราชภัฏ

  • กาญจนบุรี
  • กำแพงเพชร
  • จันทรเกษม
  • ชัยภูมิ
  • เชียงราย
  • เชียงใหม่
  • เทพสตรี
  • ธนบุรี
  • นครปฐม
  • นครราชสีมา
  • นครศรีธรรมราช
  • นครสวรรค์
  • บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • บุรีรัมย์
  • พระนคร
  • พระนครศรีอยุธยา
  • พิบูลสงคราม
  • เพชรบุรี
  • เพชรบูรณ์
  • ภูเก็ต
  • มหาสารคาม
  • ยะลา
  • ร้อยเอ็ด
  • ราชนครินทร์
  • รำไพพรรณี
  • ลำปาง
  • เลย
  • วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ศรีสะเกษ
  • สกลนคร
  • สงขลา
  • สวนสุนันทา
  • สุราษฎร์ธานี
  • สุรินทร์
  • หมู่บ้านจอมบึง
  • อุดรธานี
  • อุตรดิตถ์
  • อุบลราชธานี

มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคล

  • กรุงเทพ
  • ตะวันออก
  • ธัญบุรี
  • พระนคร
  • รัตนโกสินทร์
  • ล้านนา
  • ศรีวิชัย
  • สุวรรณภูมิ
  • อีสาน

สถาบันวิทยาลัยชุมชน

  • ตราด
  • ตาก
  • นราธิวาส
  • น่าน
  • บุรีรัมย์
  • ปัตตานี
  • พังงา
  • พิจิตร
  • แพร่
  • มุกดาหาร
  • แม่ฮ่องสอน
  • ยโสธร
  • ยะลา
  • ระนอง
  • สงขลา
  • สตูล
  • สมุทรสาคร
  • สระแก้ว
  • หนองบัวลำภู
  • อุทัยธานี

สถาบันการอาชีวศึกษา

  • เกษตรภาคเหนือ
  • เกษตรภาคใต้
  • เกษตรภาคกลาง
  • เกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • กรุงเทพมหานคร
  • ภาคเหนือ ๑
  • ภาคเหนือ ๒
  • ภาคเหนือ ๓
  • ภาคเหนือ ๔
  • ภาคใต้ ๑
  • ภาคใต้ ๒
  • ภาคใต้ ๓
  • ภาคกลาง ๑
  • ภาคกลาง ๒
  • ภาคกลาง ๓
  • ภาคกลาง ๔
  • ภาคกลาง ๕
  • ภาคตะวันออก
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๔
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๕

สถาบันการศึกษา
ของทหารและตำรวจ

  • นายร้อยตำรวจ
  • นายร้อยพระจุลจอมเกล้า
  • นายเรือ
  • นายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
  • พยาบาลกองทัพบก
  • พยาบาลกองทัพเรือ
  • พยาบาลตำรวจ
  • พยาบาลทหารอากาศ
  • แพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

สถาบันการศึกษานอกสังกัด
กระทรวงการอุดมศึกษาฯ

  • การชลประทาน
  • การบินพลเรือน
  • การกีฬาแห่งชาติ
  • บัณฑิตพัฒนศิลป์
  • พระบรมราชชนก
  • ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี

สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ

มหาวิทยาลัย

  • เกษตรศาสตร์
  • ขอนแก่น
  • จุฬาลงกรณ์
  • เชียงใหม่
  • ทักษิณ
  • ธรรมศาสตร์
  • นวมินทราธิราช
  • บูรพา
  • พระจอมเกล้าธนบุรี
  • พระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • พะเยา
  • มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • มหามกุฏราชวิทยาลัย
  • มหิดล
  • แม่โจ้
  • แม่ฟ้าหลวง
  • วลัยลักษณ์
  • ศรีนครินทรวิโรฒ
  • ศิลปากร
  • สงขลานครินทร์
  • สวนดุสิต
  • สุรนารี

สถาบัน

  • การพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
  • ดนตรีกัลยาณิวัฒนา
  • เทคโนโลยีจิตรลดา
  • บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • บัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์
  • เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

วิทยาลัย

  • วิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์

สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

มหาวิทยาลัย

  • กรุงเทพ
  • กรุงเทพธนบุรี
  • กรุงเทพสุวรรณภูมิ
  • การจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
  • เกริก
  • เกษมบัณฑิต
  • คริสเตียน
  • เฉลิมกาญจนา
  • ตาปี
  • เจ้าพระยา
  • ชินวัตร
  • เซนต์จอห์น
  • มหานคร
  • ธนบุรี
  • ธุรกิจบัณฑิตย์
  • นอร์ทกรุงเทพ
  • นอร์ท-เชียงใหม่
  • นานาชาติแสตมฟอร์ด
  • นานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก
  • เนชั่น
  • ปทุมธานี
  • พายัพ
  • พิษณุโลก
  • ฟาฏอนี
  • ฟาร์อีสเทอร์น
  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • รังสิต
  • รัตนบัณฑิต
  • ราชธานี
  • ราชพฤกษ์
  • วงษ์ชวลิตกุล
  • เว็บสเตอร์
  • เวสเทิร์น
  • ศรีปทุม
  • สยาม
  • หอการค้าไทย
  • หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • หาดใหญ่
  • อัสสัมชัญ
  • อีสเทิร์นเอเชีย
  • เอเชียอาคเนย์

สถาบัน

  • กันตนา
  • การจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • การเรียนรู้เพื่อปวงชน
  • วิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
  • ไทย-ญี่ปุ่น
  • มหาชัย
  • สุวรรณภูมิ
  • รัชต์ภาคย์
  • วิทยาการประกอบการแห่งอโยธยา
  • วิทยสิริเมธี
  • อาศรมศิลป์

วิทยาลัย

  • เฉลิมกาญจนาระยอง
  • เชียงราย
  • เซนต์หลุยส์
  • เซาธ์อีสท์บางกอก
  • ดุสิตธานี
  • ทองสุข
  • เทคโนโลยีพนมวันท์
  • เทคโนโลยีภาคใต้
  • เทคโนโลยีสยาม
  • นครราชสีมา
  • นอร์ทเทิร์น
  • นานาชาติเซนต์เทเรซา
  • นานาชาติราฟเฟิลส์
  • บัณฑิตเอเซีย
  • พิชญบัณฑิต
  • พุทธศาสนานานาชาติ
  • สันตพล
  • แสงธรรม
  • อินเตอร์เทคลำปาง

สถาบันอุดมศึกษาอิสระ

มหาวิทยาลัย

  • ซีเอ็มเคแอล
  • อมตะ

สถาบัน

  • เอไอที

ดูเพิ่ม

  • สกอ.
  • สทศ.
  • มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
  • TCAS
  • อันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย (สกอ.
  • สกว.)

  • รายชื่อ
  • หมวดหมู่
  • โครงการ
  • สถานีย่อย

การควบคุมรายการหลักฐาน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กาฬสินธุ์

ทั่วไป

  • ISNI
    • 1
  • VIAF
    • 1
  • เวิลด์แคต

หอสมุดแห่งชาติ

  • สหรัฐ
  • ออสเตรเลีย

อื่น ๆ

  • SUDOC (France)
    • 1