ราชมงคลขอนแก่น ปวช มีสาขาอะไรบ้าง

Show

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
โทรศัพท์ 033-136-099 ต่อ 1031, 1032, 1021
Email :

Copyright © 2018 สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน All rights reserved.

ประวัติวิทยาลัยเทคโนโลยีขอนแก่น

โรงเรียนเทคโนโลยีขอนแก่น เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พุทธศักราช 2525 ตามใบอนุญาตเลขที่ 524/2525 โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนเทคนิคศิลปะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” เปิดทำการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 2 สาขาวิชาคือ ประเภทช่างอุตสาหกรรมสาขา วิชาช่างก่อสร้างและประเภทวิชาศิลปหัตถกรรมสาขาวิจิตรกรรมโดยใช้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ณ เลขที่ 123 หมู่ 14 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น บนพื้นที่ 5 ไร่ 3 งาน 53 ตารางวา โดย นายไพบูลย์ ม่วงคร้าม เป็นผู้รับใบอนุญาต เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2525 ได้ขออนุญาตเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเทคนิคศิลปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็น โรงเรียนเทคโนโลยีขอนแก่น และในปีการศึกษาเดียวกัน เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2525 ได้ขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนอาชีวศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ขึ้นโดยใช้ชื่อว่า “ โรงเรียนเทคโนโลยีขอนแก่นแผนก ปวส. ” เปิดทำการสอน 2 สาขาวิชา คือประเภทวิชาช่างโยธาแผนกวิชาก่อสร้างและประเภทวิชาวิจิตรศิลปกรรมแผนกวิชาจิตรกรรมสากล หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ

  • ปีพุทธศักราช 2526 โรงเรียนได้ขอเปิดเพิ่มหลักสูตรประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม คือสาขาวิชาช่างสำรวจ และสาขาวิชาช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

  • ปีพุทธศักราช 2529 โรงเรียนได้ขอเปิดเพิ่มหลักสูตรประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างกลโรงงาน และสาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

  • ปีพุทธศักราช 2538 โรงเรียนเทคโนโลยีขอนแก่นแผนก ปวส. ได้ขอเปิดเพิ่มหลักสูตร ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล สายวิชาช่างกลโรงงาน

  • ปีพุทธศักราช 2539 โรงเรียนได้ขอเพิ่มหลักสูตรประเภทพาณิชยกรรม สายวิชาการบัญชีและวิชาการขาย ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

  • ปีพุทธศักราช 2540 โรงเรียนเทคโนโลยีขอนแก่นได้ใช้ชื่อย่อของโรงเรียนว่า “P.TECH ” ซึ่งย่อมาจาก Progress Technology

  • ปีพุทธศักราช 2542 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2542 นายไพบูลย์ ม่วงคร้าม ผู้รับใบอนุญาตได้ขอรวมโรงเรียนเทคโนโลยีขอนแก่น กับ โรงเรียนเทคโนโลยีขอนแก่นแผนก ปวส. เข้าเป็นโรงเรียนเดียวกัน โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนเทคโนโลยีขอนแก่น”

  • ปีพุทธศักราช 2543 โรงเรียนขอใช้แผนการเรียนระดับ ปวส. แผนการเรียน 6 ภาคเรียนหลักสูตรสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล สายวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างกลโรงงานสำหรับผู้เรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6

  • ปีพุทธศักราช 2544 โรงเรียนได้ขอเปิดเพิ่มหลักสูตรระดับ ปวส. ประเภทวิชาบริหาร ธุรกิจสาขาวิชาการบัญชีและสาขาวิชาการตลาด หลักสูตรกรมอาชีวศึกษา

  • ปีพุทธศักราช 2545 นายไพบูลย์ ม่วงคร้าม ผู้รับใบอนุญาตได้ลาออกจากตำแหน่ง ผู้จัดการและครูใหญ่ โดยได้บรรจุแต่งตั้ง นางวราภรณ์ ม่วงคร้ามเป็นผู้จัดการ และนายชัชวาล พลคะชา เป็นครูใหญ่

  • ปีพุทธศักราช 2548 นายชัชวาลย์ พลคะชา ได้ลาออกจากตำแหน่งครูใหญ่ ผู้รับใบอนุญาตนายไพบูลย์ ม่วงคร้าม ได้บรรจุแต่งตั้ง นางสาวพรรณนา ม่วงคร้าม เป็นครูใหญ่

  • ปีพุทธศักราช 2550 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2550 นายไพบูลย์ ม่วงคร้าม ผู้รับใบอนุญาตได้แต่งตั้งให้นางวราภรณ์ ม่วงคร้าม ทำการแทนผู้รับใบอนุญาต

  • ปีพุทธศักราช 2551 โรงเรียนได้ขอเปิดเพิ่มหลักสูตรระดับ ปวช.และปวส. ประเภทพานิชยกรรมและบริหารธุรกิจสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หลักสูตรกรมอาชีวศึกษา

  • ปีพุทธศักราช 2555 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2555 โรงเรียนได้ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงตราสารจัดตั้งโรงเรียน หมวด 1 ชื่อ ประเภท ระดับการศึกษา จากเดิม โรงเรียนเทคโนโลยีขอนแก่น เปลี่ยนเป็น วิทยาลัยเทคโนโลยีขอนแก่น ตามใบอนุญาตเลขที่ ขก 07/2555

ปัจจุบัน วิทยาลัยเทคโนโลยีขอนแก่น เป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอน 2 ประเภทวิชา คือประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม แยกเป็น 2 สาขางาน คือสาขากลโรงงาน และสาขาไฟฟ้ากำลัง ประเภทวิชาพาณิชยกรรม แยกเป็น 3 สาขางาน คือ สาขาการบัญชี สาขาการตลาด และสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) กรมอาชีวศึกษา พุทธศักราช 2556 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) กรมอาชีวศึกษา พุทธศักราช 2557 เปิดสอน 2 ประเภทวิชา คือ อุตสาหกรรมและบริหารธุรกิจ ได้แก่ สาขาวิชาเทคนิคการผลิต สาขาการบัญชี สาขาการตลาดและสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2557

วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการศึกษาทางด้านอาชีวศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้เจริญก้าวหน้า และเพื่อให้นักเรียนในภูมิภาคนี้ได้มีสถานศึกษาด้านอาชีวศึกษาในภูมิภาคของตนเอง อย่างเพียงพอ โดยไม่ต้องเดินทางไปศึกษาในภูมิภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนกลางซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากและเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาล ในการจัดการศึกษาด้านวิชาชีพ

คณะบริหารธุรกิจ

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.)  เปิดรับ 2 แขนงวิชา คือ

  • สาขาการบัญชี-การบัญชีการเงิน  : บริหารธุรกิจบัณฑิต (บัญชีบัณฑิต)
    • หลักสูตร 4 ปี ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  หรือระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า การศึกษาตลอดหลักสูตร 140 หน่วยกิตเรียนวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 8.00 – 16.00 น. ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (โดยประมาณ) 70,000 บาท
    • หลักสูตร เทียบโอน  ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาการบัญชี แขนงวิชา การบัญชีการเงิน และการบัญชีบริหารเรียนวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8.00 – 16.00 น. และภาคสมทบ เรียนวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 18.00-21.00 น. ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (โดยประมาณ) ภาคปกติ 55,000 บาท ภาคสมทบ 90,000 บาท
  • สาขาการบัญชี-การบัญชีบริหาร  : บริหารธุรกิจบัณฑิต (บัญชีบัณฑิต)
    • หลักสูตร 4 ปี   ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  หรือระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า การศึกษาตลอดหลักสูตร 140 หน่วยกิต เรียนวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 8.00 – 16.00 น. ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (โดยประมาณ) 70,000 บาท
    • หลักสูตร เทียบโอน  ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาการบัญชี แขนงวิชา การบัญชีการเงิน และการบัญชีบริหารเรียนวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8.00 – 16.00 น. และภาคสมทบ เรียนวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 17.00-21.00 น. ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (โดยประมาณ) ภาคปกติ 55,000 บาท ภาคสมทบ 90,000 บาท

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) เปิดรับ ดังนี้

  • สาขาการเงิน : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การเงิน)
    • หลักสูตร 4 ปี   ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  หรือระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า การศึกษาตลอดหลักสูตร  137 หน่วยกิต เรียนวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 8.00 – 16.00 น. ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (โดยประมาณ) 70,000 บาท
    • หลักสูตร เทียบโอน ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)  สายบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน สาขาการบัญชี  เรียนวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8.00 – 16.00 น. และภาคสมทบ เรียนวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 18.00-21.00 น. ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (โดยประมาณ) ภาคปกติ 40,000 บาท ภาคสมทบ 90,000 บาท
  • สาขาการตลาด-การบริหารการตลาด  : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การตลาด)
  • สาขาการตลาด-การสื่อสารการตลาด  : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การตลาด)
    • หลักสูตร 4 ปี   ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  หรือระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า การศึกษาตลอดหลักสูตร  134 หน่วยกิต เรียนวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 8.00 – 16.00 น. ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (โดยประมาณ) 70,000 บาท
    • หลักสูตร เทียบโอน ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สายบริหารธุรกิจ ในสาขาที่เกี่ยวข้อง  เรียนวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8.00 – 16.00 น. และภาคสมทบ เรียนวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 17.00-21.00 น. ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (โดยประมาณ) ภาคปกติ 40,000 บาท ภาคสมทบ 90,000 บาท
  • สาขาการจัดการ-การจัดการทรัพยากรมนุษย์ : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ)
  • สาขาการจัดการ-การจัดการทั่วไป : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ)
    • หลักสูตร 4 ปี   ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  หรือระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า การศึกษาตลอดหลักสูตร  134 หน่วยกิต เรียนวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 8.00 – 16.00 น. ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (โดยประมาณ) 70,000 บาท
    • หลักสูตร เทียบโอน ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)  สายบริหารธุรกิจ  เรียนวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8.00 – 16.00 น. และภาคสมทบ เรียนวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 17.00-21.00 น. ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (โดยประมาณ) ภาคปกติ 40,000 บาท ภาคสมทบ 90,000 บาท
  • สาขาระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์-คอมพิวเตอร์ธุรกิจ : บริหารธุรกิจบัณฑิต (ระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์)
  • สาขาระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์-พัฒนาซอฟแวร์ : บริหารธุรกิจบัณฑิต (ระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์)
  • สาขาระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์-การจัดการระบบสารสนเทศ : บริหารธุรกิจบัณฑิต (ระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์)
    • หลักสูตร 4 ปี   ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  หรือระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า การศึกษาตลอดหลักสูตร  140 หน่วยกิต เรียนวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 8.00 – 16.00 น. ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (โดยประมาณ) 70,000 บาท
    • หลักสูตร เทียบโอน  ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ หรือที่เกี่ยวข้อง เรียนวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8.00 – 16.00 น. และภาคสมทบ เรียนวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 17.00-21.00 น. ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (โดยประมาณ) ภาคปกติ 40,000 บาท ภาคสมทบ 90,000 บาท
  • สาขาภาษาอังกฤษธุรกิจ  : บริหารธุรกิจบัณฑิต (ภาษาอังกฤษธุรกิจ)
    • หลักสูตร 4 ปี  ภาคปกติ  รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  หรือระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า การศึกษาตลอดหลักสูตร  134 หน่วยกิต เรียนวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 8.00 – 16.00 น. ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (โดยประมาณ) 70,000 บาท
  • สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ (B.B.A. : ภาคภาษาอังกฤษ)  : บริหารธุรกิจบัณฑิต (ธุรกิจระหว่างประเทศ)
    • หลักสูตร 4 ปี  ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  หรือระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า การศึกษาตลอดหลักสูตร  134 หน่วยกิต  เรียนวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 8.00 – 16.00 น. ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (โดยประมาณ) 120,000 บาท
_________________________________________________________________________________

คณะศิลปศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) เปิดรับใน 4 สาขาดังนี้

  • สาขาการท่องเที่ยว 
    • หลักสูตร 4 ปี  ภาคปกติ  รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขาวิชา หรือระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าทุกแผนการเรียน เรียนวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 8.00 – 16.00 น. ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (โดยประมาณ) 70,000 บาท
    • มีแนวทางการประกอบอาชีพ เช่น มัคคุเทศก์ ธุรกิจนำเที่ยว เจ้าของบริษัทนำเที่ยว และการบริการในธุรกิจการบิน เป็นต้น
  • สาขาการโรงแรม 
    • หลักสูตร 4 ปี  ภาคปกติ  รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขาวิชา หรือระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าทุกแผนการเรียน เรียนวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 8.00 – 16.00 น. ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (โดยประมาณ) 70,000 บาท
    • มีแนวทางการประกอบอาชีพ เช่น พนักงานต้อนรับส่วนหน้า เชฟ ผู้จัดการห้องอาหาร ฝ่ายบุคคลของโรงแรม ผู้จัดการฝ่ายเครื่องดื่ม พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ธุรกิจส่วนตัวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริการ
  • สาขาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล
    • หลักสูตร 4 ปี  ภาคปกติ  รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาภาษาอังกฤษ หรือระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าทุกแผนการเรียน เรียนวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 8.00 – 16.00 น. ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (โดยประมาณ) 70,000 บาท
    • มีแนวทางประกอบอาชีพ เช่น  มัคคุเทศก์ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน พนักงานโรงแรม นักแปล เลขานุการ อาจารย์สอนภาษาอังกฤษ เจ้าหน้าที่สำนักงาน นักประชาสัมพันธ์ และอาชีพอื่น ๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษ
  • สาขาภาษาไทยประยุกต์(หลักสูตรพิเศษ สำหรับนักศึกษาต่างชาติ)
    • หลักสูตร 2 ปี ต่อเนื่อง ภาคปกติ รับนักศึกษาจีนในโครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศจีน จำนวนหน่วยกิตที่ต้องเรียน 125 หน่วยกิต และฝึกงานในสถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน เรียนเวลา 8.00 – 16.00 น.
    • มีแนวทางประกอบอาชีพ เช่น มัคคุเทศก์หรืองานบริการอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการโรงแรม พนักงานธุรกิจในประเทศและระหว่งประเทศ ล่ามหรือนักแปลภาษาไทย เจ้าพนักงานของรัฐต่างชาติผู้ทำหน้าที่ในด่านตรวจคนเข้าเมือง

กำหนดการรับสมัครนักศึกษา

  1. รอบโควตา ประมาณช่วงเดือน กรกฎาคม – ตุลาคม ของทุกปี  โดยคุณสมบัติของผู้สมัครต้องมีคะแนนเฉลี่ย 5 ภาคการศึกษาไม่ต่ำกว่า 2.5
  2. รองรับตรง ประมาณช่วงเดือน พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ ของทุกปี จำหน่ายใบสมัครที่ กองคลัง สำนักงานอธิการบดี เทเวศร์ หรือที่คณะวิศวกรรมศาสตร์

วิธีการสมัคร

  1. สมัครผ่านเว็ปไซต์ http://admis.rmutp.ac.th/2009/index.php  ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน – 28 กุมภาพันธ์ ของทุกปี
  2. สมัครด้วยตนเอง ณ ศูนย์เทเวศร์ เท่านั้น

_________________________________________________________________________________

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) เปิดรับ 2 สาขา ดังนี้

  • สาขาวิทยาการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ  : วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ)
    • หลักสูตร 4 ปี ภาคปกติ รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6.) แผนการเรียนวิทย์-คณิต หรือเทียบเท่า ใช้เวลาเรียน 4 ปี เรียนวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา  8.00 น. – 16.00 น. ค่าใช้จ่าย ภาคปกติ 9,500 บาท ต่อภาคการศึกษา
    • แนวทางประกอบอาชีพ เช่น งานด้านการดูแลสภาพแวดล้อมภายในโรงงาน พัฒนางานอุตสาหกรรมสิ่งแวดล้อม หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัทห้างร้าน หน่วยงานโรงงานอุตสาหกรรม การบำบัด และกำจัดของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
  • สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์  : วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
    • หลักสูตร 4 ปี  ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) แผนการเรียนวิทย์-คณิต และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ช่างอุตสาหกรรม หรือเทียบเท่า ใช้เวลาเรียน 4 ปี เรียนวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.00 – 16.00 น. ค่าใช้จ่าย 9,500 บาท ต่อภาคการศึกษา และภาคสมทบ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือเทียบเท่า เข้าศึกษาโดยการเทียบโอนหน่วยกิต จากหลักสูตร 4 ปี เรียนวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 17.00 น. – 21.00 น. และเรียนวันอาทิตย์ เวลา 8.00 น. – 21.00 น. ค่าใช้จ่าย 16,000 บาทต่อภาคการศึกษา
    • แนวทางประกอบอาชีพ เช่น ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ และบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์ ผู้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ หรือโปรแกรมระบบงาน ผู้ออกแบบสร้างและบำรุงรักษาระบบฐานข้อมูล ผู้ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ออกแบบโปรแกรมกราฟฟิก
_________________________________________________________________________________

คณะวิศวกรรมศาสตร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)   เปิดรับในสาขาดังนี้

  • สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
    • หลักสูตร 4 ปี ภาคปกติ  รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือ ระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 สายวิทย์-คณิต หรือเที่ยบเท่า เรียนวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา  8.00 น. – 17.00 น. และ ภาคสมทบ เรียนวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 13.00 – 21.00 น.
  • สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
    • หลักสูตร 4 ปี ภาคปกติ  รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือ ระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 สายวิทย์-คณิต หรือเที่ยบเท่า เรียนวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา  8.00 น. – 17.00 น. และ ภาคสมทบ เรียนวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 13.00 – 21.00 น.
  • สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
    • หลักสูตร 4 ปี ภาคปกติ  รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือ ระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 สายวิทย์-คณิต หรือเที่ยบเท่า เรียนวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา  8.00 น. – 17.00 น. และ ภาคสมทบ เรียนวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 13.00 – 21.00 น.
  • สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
    • หลักสูตร 4 ปี ภาคปกติ  รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือ ระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 สายวิทย์-คณิต หรือเที่ยบเท่า เรียนวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา  8.00 น. – 17.00 น. และ ภาคสมทบ เรียนวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 13.00 – 21.00 น.
  • สาขาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์
    • หลักสูตร 4 ปี  ภาคปกติ  รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือ ระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 สายวิทย์-คณิต หรือเที่ยบเท่า เรียนวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา  8.00 น. – 17.00 น. และ ภาคสมทบ เรียนวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 13.00 – 21.00 น.
  • สาขาวิศวกรรมโยธา
    • หลักสูตร 4 ปี  ภาคปกติ  รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือ ระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 สายวิทย์-คณิต หรือเที่ยบเท่า เรียนวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา  8.00 น. – 17.00 น. และ ภาคสมทบ เรียนวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 13.00 – 21.00 น.
  • สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
    • หลักสูตร 4 ปี ภาคปกติ  รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือ ระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 สายวิทย์-คณิต หรือเที่ยบเท่า
    • หลักสูตรเทียบโอน  ภาคปกติ  รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาช่างกลโรงงาน ช่างกลโลหะ ช่างเชื่อมโลหะแผ่น ช่างท่อประสาน ช่างโลหะ ช่างเขียนแบบเครื่องกล เทคนิคการผลิต เทคนิคอุตสาหกรรม หรือเทียบเท่า

หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.) 

หลักสูตร 4 ปี ภาคปกติ  รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือ ระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 สายวิทย์-คณิต หรือเที่ยบเท่า เรียนวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา  8.00 น. – 17.00 น. เปิดรับ 2 สาขา ดังนี้

  • สาขาเทคโนโลยีแม่พิมพ์เครื่องประดับ
  • สาขาเทคโนโลยีการผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์

กำหนดการรับสมัครนักศึกษา

  1. รอบโควตา ประมาณช่วงเดือน 15 สิงหาคม – 13 ตุลาคม ของทุกปี
  2. รองรับตรง ประมาณช่วงเดือน พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ ของทุกปี จำหน่ายใบสมัครที่ กองคลัง สำนักงานอธิการบดี เทเวศร์ หรือที่คณะวิศวกรรมศาสตร์

วิธีการสมัคร

  1. สมัครผ่านเว็ปไซต์  http://admis.rmutp.ac.th/2009/index.php  ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน – 28 กุมภาพันธ์ ของทุกปี
  2. สมัครด้วยตนเอง ณ ศูนย์เทเวศร์ เท่านั้น

_________________________________________________________________________________

คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) เปิดรับ 4 สาขา ดังนี้

  • สาขาเทคโนโลยีเสื้อผ้า
    • หลักสูตร 4 ปี ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขา และระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทุกแผนการเรียนหรือเทียบเท่า
  • สาขาเทคโนโลยีเคมีสิ่งทอ
    • หลักสูตร 4 ปี ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สายช่างอุตสาหกรรม  และระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 แผนวิทย์-คณิต, ศิลป์-คำนวณ, ศิลป์-ภาษา หรือเทียบเท่า
  • สาขาออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ
    • หลักสูตร 4 ปี  ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขา และระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทุกแผนการเรียนหรือเทียบเท่า
  • สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอ
    • หลักสูตร 4 ปี  ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขา และระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทุกแผนการเรียนหรือเทียบเท่า
_________________________________________________________________________________

คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์

หลักสูตรคหกรรมศาสตรบัณฑิต (คศ.บ.) เปิดรับ 4 สาขาดังนี้

  • สาขาออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย
    • หลักสูตร 4 ปี  ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขา และระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทุกแผนการเรียนหรือเทียบเท่า
    • หลักสูตร เทียบโอน ภาคปกติ  รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง มีผลการเรียนระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00
  • สาขาอาหารและโภชนาการ
    • หลักสูตร 4 ปี  ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขา และระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทุกแผนการเรียนหรือเทียบเท่า
    • หลักสูตร เทียบโอน ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาอาหารและโภชนาการ มีผลการเรียนระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00
  • สาขาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร
    • หลักสูตร 4 ปี  ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขา และระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทุกแผนการเรียนหรือเทียบเท่า
    • หลักสูตร เทียบโอน ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาบริหารธุรกิจโรงแรม, การจัดการธุรกิจค้าปลีก, อาหารและโภชนาการ  มีผลการเรียนระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00
  • สาขาการบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตร์
    • หลักสูตร 4 ปี  ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขา และระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทุกแผนการเรียนหรือเทียบเท่า
    • หลักสูตร เทียบโอน ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาคหกรรมศาสตร์ มีผลการเรียนระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) เปิดรับสาขาเดียว คือ

  • สาขาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ 
    • หลักสูตร 4 ปี  ภาคปกติ  รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 แผนวิทย์-คณิต เท่านั้น

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) เปิดรับสาขาเดียว คือ

  • สาขาเทคโนโลยีการจัดการสินค้าแฟชั่น  
    • หลักสูตร 4 ปี  ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขา และระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทุกแผนการเรียนหรือเทียบเท่า

การรับสมัคร  ทางเว็ปไซต์ http://admis.rmutp.ac.th, http://regis.rmutp.ac.th  และชำระเงินผ่านธนาคาร (อ่านรายละเอียดในเว็ปไซต์)  ระหว่างเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์

_________________________________________________________________________________

คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) เปิดรับ 3 สาขา ดังนี้

  • สาขาเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
    • หลักสูตร 4 ปี  ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ทุกแผนการเรียน และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า
    • เพื่อพัฒนาเป็นนักสื่อสารมวลชนมืออาชีพที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์ และผลิตรายการผ่านสื่อแพร่ภาพและกระจายเสียง
  • สาขาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง
    • หลักสูตร 4 ปี  ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ทุกแผนการเรียน และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า
    • เพื่อพัฒนาเป็นนักโฆษณาและประชาสัมพันธ์มืออาชีพที่รอบรู้การกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารและสามารถนำแผนไปสู่การปฏิบัติที่สอดรับกับโลกในยุคเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
  • สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย 
    • หลักสูตร 4 ปี  ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ทุกแผนการเรียน และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า
    • เพื่อพัฒนานักปฏิบัติการมัลติมิเดีย และแอนิเมชั่นมืออาชีพที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานให้เป็นที่สอดรับกับสื่อยุคดิจิตอลคอนเทนต์

การรับนักศึกษาโควตา

  • โควตาพิเศษ พิจารณาจากผู้ที่มีผลการเรียน 4 ภาคการศึกษาไม่น้อยกว่า 2.75
  • โควตานักกีฬา พิจารณาจากความสามารถพิเศษทางด้านกีฬา และมีเกียรติบัตรรับรองว่าเป็นนักกีฬาในระดับจังหวัด จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
  • โควตาผู้มีประสบการณ์ด้านกิจกรรมนักเรียน พิจารณาจากผู้มีประสบการณ์ด้านกิจกรรมนักเรียนในสถานศึกษา และมีเกียรติบัตรรับรอง หรือเอกสารรับรองจากหัวหน้าสถานศึกษา (ผลการเรียน 4 ภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า 2.00)

กำหนดการรับสมัคร สอบตรง

  • มหาวิทยาลัยจะเปิดรับสมัครประมาณเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ และสอบคัดเลือกประมาณเดือนมีนาคม

_________________________________________________________________________________

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)  เปิดรับ 2 สาขา ดังนี้

  • สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
    • หลักสูตร 4 ปี ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาออกแบบทุกแขนงงาน หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ทุกแผนการเรียน
  • สาขาการออกแบบบรรจุภัณฑ์
    • หลักสูตร 4 ปี ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาออกแบบทุกแขนงงาน หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ทุกแผนการเรียน

หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.)  เปิดรับสาขาเดียว คือ

  • สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ 
    • หลักสูตร 5 ปี ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) แผนวิทย์-คณิต

_________________________________________________________________________________

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

หลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี  เปิดรับ 5 สาขาวิชา ภาคปกติ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือ มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า ศึกษาในหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.) มีจำนวนหน่วยกิตรวมในแต่ละสาขาวิชาไม่น้อยกว่า 150 หน่วยกิต ศึกษาเต็มเวลาใช้เวลาศึกษา 5 ปีการศึกษา แต่ไม่เกิน 10 ปีการศึกษา

หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.) เปิดรับ 5 สาขา ดังนี้

  • สาขาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง
  • สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
  • สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • สาขาวิศวกรรมเครื่องกล