ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคกลาง โอ่งมังกร

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคกลาง โอ่งมังกร

           สมัยก่อน โอ่งได้เป็นที่ต้องการอย่างแพร่หลาย เพราะ แต่ละบ้าน จำเป็นที่จะต้องมีภาชนะบรรจุน้ำ ซึ่งภาชนะส่วนใหญ่ก็จะเป็น โอ่งหรือถังไม้ พอมีการตั้งโรงงาน โอ่งก็กลายเป็นธุรกิจการค้า โดยเฉพาะสมัยสงครามโลก โอ่งที่นำเข้าจากเมืองจีนเริ่มขลาดแคลน โรงงานจึงต้องผลิตส่ง โดยโรงโอ่งสมัยนั้นจะตั้งอยู่ริมแม่น้ำ เพื่อง่ายต่อการขนส่งมังกรเป็นเทพเจ้าแห่งพลังความดีงาม และชีวิต ถือเป็นสัตว์มงคลตามเทพนิยายจีน ช่างปั้นจึงเลือกนำมาปั้นเป็นลวดลายบนโอ่ง จนกลายเป็นที่มาของโอ่งมังกร ราชบุรี   การปั้นโอ่งและการวาดลายบนโอ่งนั้น มีมีบันทึกไว้เป็นตำรา อาศัยโดยการสืบทอดฝีมือผ่านการลงมือทำด้วยตนเอง อาศัยความชำนาญ           ในอดีตโอ่งมังกรเป็นมากกว่าภาชนะบรรจุน้ำ แต่ยังเป็นเครื่องบ่งบอกฐานะอันมั่งคั่งของผู้ที่ครอบครอง ด้วยระยะทางที่ไกลจากแหล่งผลิตทำให้ราคาของโอ่งสูงขึ้นเป็นเท่าตัว โอ่งจึงเป็นเครื่องชี้สถานภาพทางสังคมของคนสมัยก่อน ปัจจุบันมีการใช้ถังพลาสติกแทนโอ่งความต้องการใช้โอ่งจึงลดน้อยลง เถ้าฮงไถ่จึงได้มีการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง รับงานเฉพาะทางมากขึ้น โดยเฉพาะกระถางบอนไซ บอนไซต้องการกระถางเฉพาะที่เหมาะกับขนาด เน้นคุณภาพและฐานเฉพาะ ราคาก็จะแตกต่างกัน จึงทำให้เถ้าฮงไถ่อยู่ได้ ซึงในปัจจุบันได้หยุดผลิตโอ่งไปแล้ว โอ่งมีลักษณะคงทน ไม่มีสารเคมี ปัจจุบันจึงใช้ถนอมอาหาร เช่น ดองผักกาด ดองหน่อไม้ แทนการใส่น้ำเช่นในอดีต จึงเป็นที่ต้องการมาก โดยเฉพาะเกาหลี ได้สั่งโอ่งไปหมักกิมจิ หมักเหล้า เพราะโอ่งปลอดสารเคมี โอ่งยิ่งเป็นขอขึ้นชื่อมากของจังหวัดราชบุรีดังที่ปรากฏอยู่ในคำขวัญของจังหวัดราชบุรี 

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคกลาง โอ่งมังกร

"โอ่งมังกร"สัญญาลักษณ์โดดเด่นอย่างหนึ่งของชาวจังหวัดราชบุรี  ซึ่งนับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น หรืออุตสาหกรรมพื้นบ้านที่คนราชบุรีภาคภูมิใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ในคำขวัญ"เมืองโอ่งมังกร"

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคกลาง โอ่งมังกร

ตั้งแต่ตอนเราเด็กๆยังจำได้ว่า มีโอ่งมังกรไว้รองรับน้ำฝนกันทุกบ้าน บางบ้านใช้ใบเล็กเก็บข้าวสาร เป็นไหน้ำปลา หรือไหดองผัก ถือเป็นภาชนะหลักในการเก็บน้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่ม  หรือน้ำใช้  ในห้องน้ำบ้านเราเราก็มีโอ่งน้ำไว้ตักอาบ ยังไม่มีฝักบัว หรือถังพลาสติกเหมือนในปัจจุบัน

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคกลาง โอ่งมังกร

 "โอ่งมังกร"อุตสาหกรรมพื้นบ้านที่สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดราชบุรีจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ ท่านว่าสมัยก่อนโอ่งที่ใช้กักเก็บน้ำชั้นดี  ต้องนำเข้ามาจากประเทศจีนทั้งนั้น  แต่เนื่อจากภาวะสงครามโลกคร้งที่ 2 เป็นต้นมา สินค้าจากต่างประเทศหลายอย่างไม่สามารถนำเข้าประเทศได้จึงจำเป็นต้องผลิตกันเอง

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคกลาง โอ่งมังกร

"โอ่งราชบุรี ทำไมต้องมีลายมังกร"แต่เดิมที่ทำกันเป็นโอ่งที่ไม่มีลวดลายใดๆ เรียกว่า "โอ่งเลี่ยน" จากการที่ต้นกำเนิดโอ่งมาจากชายจีน 2 ท่านดังกล่าว เมื่อครึ่งศตวรรษมาแล้วลูกหลานจึงได้คัดเลือกลวดลายที่เป็นมงคลขึ้น  เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อผู้ใช้  นอกเหนือจากการพัฒนาคิดหาความงดงามเพียงอย่างเดียว  แน่นอน ในที่สุดก็เลือกสรรลวดลาย"มังกร"ขึ้น  ตามคติความเชื่อในวัฒนธรรมของจีน

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคกลาง โอ่งมังกร

มังกร(Dragon) เป็นสัตว์ชั้นสูง ในแต่ละประเทศก็จะมีตำนานของตัวเอง  แล้วแต่ความเชื่อบ้านเราเรียกว่า "พญานาค"  จะผิดแผกแตกต่างกันไปบ้างก็คงเป็นที่รูปร่าง หน้าตา ชื่อ และความเชื่อ  มีหนังสือตำราพิชัยสงครามกล่าวถึง มังกร ในการจัดขบวนทัพข้ามน้ำเรียกว่า "มังกรพยุหะ"  มีการเขียนรูปมังกร คล้ายพญานาค  เพียงแต่เพิ่มเขาและเท้าเข้าไป  บางตัวมีเกล็ด บางตัวมีลายแบบงู

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคกลาง โอ่งมังกร

จีนแบ่งมังกรออกเป็น 3 ชนิด คือ   1.หลง        เป็นพวกที่มีอำนาจมากที่สุด ชอบอยู่บนฟ้า2.หลี         เป็นพวกไม่มีเขา   ชอบอยู่ในมหาสมุทร3.เจียว      เป็นพวกมีเกล็ด  อยู่ตามแม่น้ำ ลุ่มหนอง คลองหรือถ้ำมังกรของจีน  จัดให้มีระดับ  และหน้าที่แตกต่างกันไปด้วย คือ1. มังกรฟ้า หรือ มังกรสวรรค์ (เทียนหลง) เป็นมังกรชั้นสูง มีหน้าที่คุ้มครอง ดูแลสวรรค์2. มังกรเทพเจ้า หรือมังกรจิตวิณญาณ (เซินหลง) มีหน้าที่ทำให้เกิด ลม ฝน แก่มวลมนุษย์3.มังกรพิภพ (ตี้หลง) มีหน้าที่กำหนดเส้นทาง ดูแล แม่น้ำ ลำธาร ห้วยหนอง คลองบึง4.มังกรเฝ้าทรัพย์ (ฝู ซาง หลง) มีหน้าที่เฝ้าขุมทรัพย์ของแผ่นดิน

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคกลาง โอ่งมังกร

ลักษณะของมังกรโดยทั่วไปในลวดลายของโอ่งลายมังกร จะมีเพียง 3 เล็บ หรือ 4 เล็บ  แต่ถ้าเป็นมังกร สัญญลักษณ์ชั้นสูง ของกษัตริย์ หรือ ฮองเต้ จะมี 5 เล็บ เมื่อกล่าวถึง"มังกร"ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่เป็นมงคล  เป็นความยิ่งใหญ่ จึงได้มีการวาดโอ่งลวดลายมังกร  เพื่อเป็นศิริมงคล ความชื่นชมชื่นชอบของผู้ใช้

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคกลาง โอ่งมังกร

แหล่งอ้างอิง
https://photha62.wordpress.com/2013/02/26/wellcome/
http://www.oknation.net/blog/thipjt/2007/10/19/entry-1

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคกลาง โอ่งมังกร

จัดทำโดย

น.ส. เอื้ออารี  ศิริคุณ  ม.6/6  เลขที่ 24

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคกลาง โอ่งมังกร