รายชื่อนักจัดรายการวิทยุ รุ่นเก่า

แม้ว่ากระแสสังคมในปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงไปมาก วิทยุกลายเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมน้อยลงแต่ก็ยังมีนักจัดรายการวิทยุหรือที่เราเรียกกันติดปากว่า ดีเจ จำนวนไม่น้อยที่ยังคงชื่นชอบและรักในการทำอาชีพนี้อยู่ ดังนั้นรายการทางวิทยุจึงยังจำเป็นต้องมีดีเจเพื่อคอยให้ความบันเทิงต่อไปไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปขนาดไหนก็ตาม ตราบใดที่รายการวิทยุยังอยู่ก็ต้องคู่กับดีเจ ซึ่งดีเจในเมืองไทยทุกวันนี้ที่มีชื่อเสียงก็เยอะมากๆ

ดีเจคลื่นวิทยุชื่อดังของไทย

  1. กพล ทองพลับ – หากนึกถึงเจ้าพ่อเรื่องผีคงไม่มีใครนอกไปจาก “ป๋อง” กพล ทองพลับ ดีเจคลื่นวิทยุรายการผีชื่อดังที่ปัจจุบันยังคงได้รับความนิยมอยู่ รวมไปถึงทุกวันนี้ยังรับหน้าที่จัดรายการวิทยุประเภทกีฬาอีกด้วย
  2. เชาวลิต ศรีมั่นคงธรรม – หรือที่รู้จักกันดีในนาม “ดีเจเชาเชา” เป็นดีเจที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือชอบการใส่หมวก มีลีลาการจัดรายการและคำพูดที่มักเล่นมุกจีบสาวหรือมุกตลกได้โดนใจวัยรุ่นสุดๆ เป็นดีเจที่ออกแนวตลกเฮฮาจนมีชื่อเสียงโด่งดังอย่างมาก
  3. สมพล ปิยะพงศ์สิริ – “พี่ไก่ สมพล” คือชื่อที่แฟนเพลงในยุคก่อนหน้านี้ไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะนี่คือดีเจเบอร์ต้นๆ ของเมืองไทยเมื่อย้อนกลับไปประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว แม้ปัจจุบันการจัดรายการวิทยุจะน้อยลงแต่ก็ยังคงถือเป็นดีเจขวัญใจเหมือนเดิม
  4. สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา – หรือ “ดีเจพี่ฉอด” ที่ทุกคนรู้จักกันดีในฐานะของ เจ้าแม่เอไทม์ บริษัทในเครือแกรมมี่ที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการทำรายการวิทยุโดยเฉพาะ ถือเป็นดีเจรุ่นใหญ่ที่มักมีมุมมองความรักน่าสนใจและยังเป็นผู้บริหารคนเก่งอีกด้วย
  5. ยุทธนา บุญอ้อม – “ป๋าเต็ด” จัดเป็นดีเจรุ่นบุกเบิกที่เป็นผู้เปลี่ยนแปลงวงการวิทยุของไทยเลยก็ว่าได้ เขาคือผู้คิดค้นการยิงสปอตโฆษณาด้วยการใช้เกมมาเล่นกับคนฟังจนกลายเป็นที่ยอมรับและใช้กันมาจนปัจจุบันนี้
  6. วิศวะ กิจตันขจร – “ดีเจเป้” ที่อยู่ในวงการวิทยุมาอย่างยาวนาน เอกลักษณ์ของเขาคือเมื่อ 20 ปีที่แล้วหน้าตาและน้ำเสียงเป็นอย่างไร ทุกวันนี้ก็ยังเหมือนเดิม ที่สำคัญยังเป็นคนที่เน้นการพูดคุยแบบสบายๆ จนคนฟังทั้งหลายเคลิ้มไปตามๆ กัน
  7. สุนิสา สุขบุญสังข์ – “ดีเจอ้อม” อีกหนึ่งดีเจสาวที่ยืนยงคงกระพันในวงการดีเจมาอย่างยาวนานกระทั่งปัจจุบันที่ถือว่าเป็นคนมีสไตล์การจัดรายการสนุก น่าฟัง ออกแนวห้าวๆ แต่มีเสน่ห์เกินบรรยายจริงๆสำหรับเธอคนนี้

แม้แต่คนฟัง จะฟังเพลงแต่ละทีก็ต้องมีสมาธิในการฟังเพลง มีความตั้งใจว่าจะฟังเพลงถึงขนาดบอกตัวเองว่า ผมจะมานั่งฟังเพลงในห้องนี้ตอนบ่ายสอง ฟังผ่านลำโพงสูงกี่นิ้วเพื่อให้เสียงออกมาอย่างที่ต้องการ แต่ทุกวันนี้ คนฟังเพลงเขาไม่ต้องการอย่างนั้นอีกแล้ว เขาฟังจากมือถือขนาดเล็กๆ หรือหยิบไอ้นี่ขึ้นมาก็ฟังได้แล้ว (เขาหยิบเครื่องอัดเสียงที่กำลังบันทึกบทสนทนาของพวกเราเอาไว้ ขึ้นมาให้ดูชัดๆ)



ซัดดีเจรุ่นใหม่แบบจัดเต็ม!
M-Lite: จะบอกว่า โลกของคนฟังเพลงเปลี่ยนไป ทุกอย่างดูฉาบฉวยไปหมด แม้แต่ตัวดีเจ ก็ไม่ค่อยมีใครรู้ลึกรู้จริง?
มาโนช: มันไม่ใช่เรื่องรู้จริงหรือรู้ไม่จริง ไอ้คำว่า “จริง” เรายังไม่รู้เลยว่าจริงๆ มันเป็นยังไงด้วยซ้ำ แต่ผมคิดว่ายุคปัจจุบันเป็นการทำงานแบบเป็นทีมใหญ่ มีการตลาด ต้องวางแผน มีคนเยอะแยะไปหมด คนที่มาเป็นดีเจ บางทีก็เลยกลายเป็นเครื่องจักรชิ้นเล็กๆ ที่ทำหน้าที่ตามที่ระบบมันถูกวางเอาไว้ แต่อย่างสมัยก่อน ถ้าผมจะฟังเพลงที่ทันสมัย ผมจะเลือกฟังรายการที่จัดโดย วาสนา วีระชาติพลี ถ้าผมอยากฟังเฮฟวีเมทอล ผมจะฟัง วิฑูร วทัญญู ถ้าผมอยากฟังเพลงป็อปๆ หน่อย ผมอาจจะฟัง เล็ก วงศ์สว่าง อะไรอย่างนี้ มันจะมีบุคลิกของแต่ละคนอยู่ แต่สมัยนี้ คุณลองเปิดคลื่นแต่ละคลื่นที่เขาออกรายการวิทยุดู มันเหมือนกันไปหมดเลย แยกไม่ออก
  

M-Lite: เป็นเพราะแต่ละคลื่นจะมีเพลย์ลิสต์เพลงกำหนดเอาไว้แล้วว่าต้องเปิดแบบนี้ๆ เท่านั้น เป็นกฎตายตัวเอาไว้เลย?
วรพจน์: จริงๆ แล้วคำว่า “เพลย์ลิสต์” นี่มันไม่ใช่คำที่ผิดนะ แต่ประเทศไทยเราเอาคำเขามาใช้แล้วเราก็ทำตามกันหมด จิ้มไปคลื่นไหนก็เหมือนๆ กัน สุดท้ายความแตกต่างจึงไปอยู่ที่ตัวดีเจ แค่คลื่นนี้หล่อกว่า-สวยกว่าอีกคลื่นนึงหรือเปล่า (หัวเราะ) เท่าที่ได้คุยกับดีเจรุ่นปัจจุบัน มันไม่ใช่ว่าทุกวันนี้มีเพลย์ลิสต์เฉพาะเพลงอย่างเดียวแล้วนะ ต้องบอกว่ามีเพลย์ลิสต์แม้กระทั่งต้องพูดว่าอะไร
  

มธุรส: ใน 15 นาทีคุณต้องพูดอะไรบ้าง มีสคริปต์มาให้เลย ห้ามพูดนอกบทเด็ดขาด ดีเจวันนี้ก็เลยกลายเป็นเครื่องจักรอย่างหนึ่งในตัวสถานีแค่นั้นเองค่ะ
  

มาโนช: สุดท้ายพวกเขาก็จะไม่เป็นที่จดจำ ไม่มีใครจำใครได้เลยว่าคุณคือดีเจชื่ออะไร คลื่นไหน
  

M-Lite: ถ้าดีเจสมัยนี้อยากเป็นที่จดจำ อยากมีเอกลักษณ์ชัดๆ อย่างคุณวาสนาบ้าง จะทำยังไงดี? แม้แต่คุณมาโนชยังยกให้เป็นเบอร์หนึ่งเลย
 

วาสนา: เป็นเพราะพี่แก่ที่สุดในนี้แล้วต่างหาก (หัวเราะ) น้องต้องเข้าใจว่า 37 ปีที่แล้วมันเหมือนการเริ่มต้นทุกอย่างหมด เราเป็นดีเจรุ่นแรกเลย คนฟังยังไม่มีความรู้เรื่องดนตรีอะไรเลย เลยทำให้เราต้องพูดต้องอธิบายเยอะ ตั้งแต่เรื่องเบส กลอง โซโล่ ของแต่ละเพลงว่าเป็นยังไง ดีเจรุ่นแรกดูจะมีเรื่องเล่าเยอะ เหมือนเป็นปราชญ์ แต่จริงๆ แล้วเปล่าหรอก มันเป็นความจำเป็น ก็คุณจะไม่เล่าได้ไง แล้วใครจะไปรู้เรื่องล่ะคะ
เมื่อก่อนตั้งแต่น้องอาจจะยังไม่เกิด เราให้ข้อมูลอย่างกับเป็นวิกีพีเดีย คนจัดรายการเป็นเหมือนกูเกิลให้คนฟังเลยแหละ แต่สมัยนี้คนฟังเขากูเกิลเองได้หมดแล้ว ทุกอย่างเปลี่ยนหมด แล้วสมัยนั้นมีดีเจ 20 คนทั้งประเทศ ไม่เหมือนสมัยนี้มีเป็นพันๆ มันก็อาจจะยากกว่า
 

ส่วนเรื่องโอกาสของดีเจสมัยนี้ พี่ว่าบางทีถ้ามีพื้นที่ให้เขาพูด เขาอาจจะพูดไม่รู้เรื่องก็ได้นะคะ (ยิ้มมุมปาก) ดีเจสมัยนี้เนี่ย พี่ว่าบางทีเขาก็ไม่ควรจะพูดมาก เพราะภาษาไทยเขาก็เลว ภาษาอังกฤษเขาก็ห่วย เราเป็นคนรุ่นโบราณ เป็นคนพูดภาษาไทยชัด แล้วก็ดีเจรุ่นเก่าอย่าง หมึก-โรจ ควันธรรม, ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ หรือว่า นิมิตร ลักษมีพงษ์ พวกนี้จะเป็นผู้ชายไทยรุ่นสุดท้ายที่พูดภาษาไทย
แต่คนสมัยนี้ไม่พูดภาษาไทยกันแล้ว สำเนียงเหมือนคนพม่าไปหมด ภาษาไทยไม่ชัด ไม่แตกฉาน เว้นวรรคประโยคก็ผิด ควบกล้ำมั่วไปหมด แถมพูดก็ไม่รู้เรื่อง เล่าวกวน คือเวลาจะพูดอะไรเนี่ย คุณต้องมีจุดยืน ต้องตั้งประเด็นมาก่อนว่าจะพูดเรื่องอะไร แต่จะมีสักกี่คนที่ทำแบบนั้น ดีเจสมัยนี้ มาถึงก็อ่าน อ่านแล้วก็แบ่งวรรคผิดเพราะมันไม่ได้เขียนเอง

มาโนช: ใช่ๆ แล้วฟังดีเจสมัยนี้เปิดเพลงทีไรทำให้ผมเครียดมากนะ ได้ยินปุ๊บ ผมต้องบอกให้ลูกรีบปิด เพราะผมทนฟังไม่ได้ ฟังแล้วมันจะหลั่งสารกระตุ้นให้เราหงุดหงิด อารมณ์เสีย ฟังเพลงแบบนี้แล้วมันป่วยนะ ฟังเข้าไปได้ยังไง ปวดหัว (กุมขมับ) แต่ก็เข้าใจว่าดีเจสมัยนี้ไม่เหมือนสมัยก่อน
แต่ก่อน อยากจัดรายการ หาเงินมาได้ 6-7 พันก็ไปเช่าเวลาสถานี หาสปอนเซอร์ให้ได้สักหมื่นนึง ก็จัดรายการได้แล้ว แต่สมัยนี้บริษัทใหญ่ๆ ไปกว้านซื้อเวลามาทั้งหมด จ่ายเงินลงทุนเป็นร้อยล้าน พอค่าใช้จ่ายเป็นร้อยล้านปุ๊บ เขาก็ไม่สามารถทำรายการที่เป็นอิสรเสรีได้อีกต่อไปแล้ว ดีเจที่ทำงานในนั้นก็ต้องทำตามระบบ ถ้าไม่ทำอย่างนี้ คลื่นก็อยู่ไม่ได้ ก็ต้องเจ๊ง สุดท้ายคนที่ได้กำไรจริงๆ ก็คือทหาร คือบอร์ดผู้บริหาร เมียของนายทหารที่เป็นนายหน้านั่นแหละ กลายเป็นเสือนอนกิน (หัวเราะในลำคอ)

มธุรส: จริงๆ แล้วดีเจรุ่นใหม่เขาอาจจะอยากนำเสนองานเพลงของศิลปินที่เขาชอบมากๆ เหมือนกันก็ได้ แต่เขาไม่มีโอกาส หรือถ้าเขาทำจริงๆ เขาจะได้โอกาสอีกอย่างอื่นแทน โอกาสได้ออกจากงาน (ยิ้ม) เพราะเขาทำผิดระเบียบของบริษัทกำหนด มันเสียเวลาเยอะไป ผู้บริหารสั่งมาให้คุณต้องขายอีเวนต์ ขายสปอนเซอร์ จะมามัวแต่จะมานั่งปั้นศิลปิน เชียร์เพลงที่ชอบมากๆ เนี่ย มันเกินหน้าที่ของเขา สุดท้ายดีเจคนนั้นก็จะไม่มีที่ยืนอยู่ในวิทยุทุกวันนี้



อยากฟังเพลง ให้ฟังเรา
วาสนา: ถ้าเป็นเมื่อก่อน ถ้าคุณชอบ ลินเนิร์ด สกินเนิร์ด วงร็อกทางใต้ คนที่เป็นดีเจสามารถปั้นเขาให้เป็นพระเจ้าขึ้นมาได้ ด้วยความรักและกำลังใจทั้งหมดที่มี เราสามารถป้อนเพลงของวงวงนี้ให้คนฟัง ป้อนเข้าไปๆ เปิดมันอยู่นั่นแหละ จนคนฟังชอบ เราสามารถปั้นให้ใครใหญ่ให้ดังขึ้นมาก็ได้ เพราะเราเป็นคนเลือกเปิดเพลงเอง เราไม่มี Program Director มาตั้งเพลย์ลิสต์เอาไว้ให้เหมือนอย่างสมัยนี้ คุณอยากพูดอะไรคุณก็พูดไป ไม่มีใครมาว่าอะไรคุณได้เพราะเราเป็นนายของเราเอง รุ่นเราเนี่ย วงอะไรเราอยากจะให้ดังก็ดังระเบิดเถิดเทิง แต่ทุกวันนี้เหรอ ไม่มีทาง (ลากเสียงยาว หางเสียงกวนๆ ตามสไตล์) ท้าพิสูจน์ได้เลย วิทยุไม่มีอิทธิพลขนาดนั้นแล้ว เดี๋ยวนี้คนเขาสนใจศิลปินกันที่ไหนกันล่ะ โด่เอ๊ย!
 

วรพจน์: ดีเจสมัยนี้เขาไม่ได้คิดว่าหน้าที่ของเขาคือต้องทำให้ศิลปินดัง ต้องให้คนได้ฟังเยอะๆ แล้ว แต่หน้าที่ของเขาคือพูดไปตามสคริปต์ ว่าไปตามระบบ มันเปลี่ยนไปแล้ว ยกตัวอย่างง่ายๆ ในวันนี้ คุณตื่นขึ้นมาเห็นเพื่อนคุณแชร์เพลงในเฟซบุ๊กเพลงนึง แต่แชร์มาเพลงเดียว พรุ่งนี้ก็เปลี่ยนเพลงไป เปลี่ยนศิลปินไป มันก็ไม่มีความต่อเนื่องแล้วไงครับ แต่อย่างพี่ซัน ถ้าเขาเล่นเฟซบุ๊กแล้วอยากแชร์เพลง อาจจะคิดว่าฉันชอบวงนี้ ฉันแชร์ของวงนี้ทุกวันเลย เชียร์ด้วยความรักความชอบจริงๆ แชร์ให้เห็นว่าพวกคุณต้องฟัง พวกมึงต้องฟัง (หัวเราะ) ศิลปินหลายคนเกิดได้ก็เพราะแรงเชียร์นี่แหละ
 

M-Lite: แล้วทุกวันนี้ คุณมาโนชแชร์เพลงแบบไหนบนเฟซบุ๊กบ้าง แอบอยากรู้?
มาโนช: ผมไม่มี ไม่เล่นเฟซบุ๊ก ผมไม่เปิดคอมพิวเตอร์ ที่ผมทำรายการทุกวันนี้ ผมอัดใส่ซีดีแล้วให้คุณวรพจน์จัดการให้ ผมไม่ยุ่งเลย ผมไม่ interactive กับใครด้วย ผมเกลียดเฟซบุ๊ก เกลียดกูเกิล เกลียดทุกอย่างที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นผู้ก่อการร้ายได้ สามารถระเบิดเครือข่ายให้ล่มสลายไป ผมจะทำทันที (เรียกเสียงหัวเราะได้ทั้งวงสนทนา) ผมมองไม่เห็นข้อดีของมันเลยครับ ผมเป็นผู้ต่อต้านครับ

M-Lite: มันแย่ขนาดนั้นเลยหรือ มองไม่เห็นข้อดีของโซเชียลมีเดียเลย?
วาสนา: ข้อดีน่ะมันก็มี การที่พี่เริ่มใช้โซเชียลมีเดียก็เริ่มมาจากการทำ YeSindie.com (คลิกเพื่อไปยังหน้าเว็บ) นี่แหละค่ะ มันเป็น Internet Radio เราก็เลยต้องเล่นกับเด็ก จัดเพลงให้วัยรุ่นฟัง ก็เลยต้องเล่นเฟซบุ๊ก แต่ส่วนใหญ่ก็โพสต์โฆษณารายการนะ ไม่ใช่เข้าไปเพื่อตั้งสเตตัสว่า “แดดออกแล้ว” (ยิ้มมุมปาก) มันทำให้เกิดพวกเลอะเทอะเยอะมาก
 

M-Lite: แล้วต้องโพสต์ ต้องแชร์เพลงแบบไหนถึงจะไม่เลอะเทอะ?
วาสนา: ถ้าเป็นเฟซบุ๊กของพี่เอง พี่ไม่ค่อยแชร์หรอกค่ะ นานๆ แชร์ที ถึงเราจะบ้าศิลปินคนนี้ แต่เราก็ไม่ได้คิดว่าต้องแชร์อะไรมากมาย เราดูแล้วเราก็เก็บไว้เฉยๆ เรารู้ว่าเราชอบก็พอแล้ว แต่วัยรุ่นสมัยนี้ วันหนึ่งมาละ ประโยคนึง “เฮ้ย! อะไรนักวะ” ขึ้นมาแบบไม่รู้เรื่อง ไม่บอกข้อมูลอะไรเลย รอให้คนมาคอมเมนต์ต่อ แล้วก็มีคนมาตอบนะ สามารถมาตอบกันได้เป็น 50 คอมเมนต์ ไม่รู้มันเรื่องอะไร บานกันไปเรื่อย นี่ไงคะคนสมัยใหม่ มันเลอะเทอะ
 

บางคนก็คิดว่าตัวเองเจ๋ง จะมีประโยคที่ขึ้นมาแล้วรู้สึกว่าเก๋ามาก โคตรเกรียนเลย เขาว่าเขาเท่ที่สุดแล้ว (พูดไปยิ้มไปอย่างรู้ทัน) เราแก่ขนาดนี้แล้ว เราดูก็รู้แล้ว เดี๋ยวพอไอ้นี่ตั้งสเตตัส เดี๋ยวยัยนี่ก็ตามมาตอบ เป็นพวกว่างงาน ไม่มีอะไรทำ นี่แหละค่ะคือเฟซบุ๊ก มันไร้สาระ พี่ไม่ชอบเลย แต่ที่เห็นที่มาเล่นนี่ก็เพราะวิทยุ เราอยากโฆษณา เท่านั้นแหละค่ะ ไม่งั้นไม่มีทางเล่นเลย
 

M-Lite: อยากจะเตือนวัยรุ่นให้เล่นแต่พอดีบ้างไหม?
วาสนา: จะให้พูดไปทำไมล่ะคะ เตือนไปก็ไม่มีใครมาฟังเราหรอก มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ขนาดนั้น ฝันไปเถอะ
 

มาโนช: เวลาผมอยู่บ้าน ตากผ้าอยู่ชั้นล่าง ผมจะตะโกนบอกลูกว่า ไพลินลงมาช่วยพ่อตากผ้าหน่อย แต่คนสมัยนี้ แม่ต้องเฟซบุ๊กเรียกลูกมากินข้าวนะ! ทั้งๆ ที่อยู่บ้านเดียวกัน ลูกเล่นเฟซบุ๊กอยู่ แม่ก็เล่นด้วย ต้องเฟซบุ๊กเรียกลูกให้มาช่วยงาน เรียกให้มากินข้าว เป็นผม ผมจะตัดญาติขาดมิตรกับคนพวกนี้เลย อย่ามาใกล้ผมนะ ผมจะเลิกคบให้หมด อยากคบกับผมก็ตะโกนเรียกเอา ก็ไม่รู้ว่าผิดหรือถูกนะ แต่ผมเลือกจะเป็นแบบนี้
  

วรพจน์: อันนี้จริง แค่คนในออฟฟิศเดียวกัน นั่งอยู่ใกล้ๆ กัน จะชวนไปกินข้าว ยังต้องส่ง msn ส่งแชตในเฟซบุ๊ก หรืออีเมลชวนเลย
วาสนา: แต่ BandOn Radio เราก็ยังต้องตอบคนฟังในเฟซบุ๊กนะ เพราะส่วนหนึ่งคนที่อยากฟังเพลงก็เพราะเขาอยากจะแชตด้วย มันกลายเป็นอย่างนั้นไปแล้ว

วรพจน์: ช่วงที่มีละครดังๆ อย่างแรงเงา คุณจะเห็นเลยว่าในเฟซบุ๊กจะมีคนมาเล่าตลอด “มันจะตบกันแล้ว เอาแล้ว” หรือดูบอลก็มาโพสต์บอกในเพจก็มี
มธุรส: เราก็ยังแอบสงสัยอยู่เหมือนกันว่า สรุปแล้วฟังรายการเราอยู่จริงๆ หรือเปล่าหว่า (หัวเราะ)

M-Lite: รู้สึกขัดหูขัดตากันขนาดนี้ แต่ก็ยังยอมจัดวิทยุบนเฟซบุ๊ก?
มาโนช: เพราะผมอยากเปิดเพลง อยากนำเสนอเพลง มันเป็นช่องทางหนึ่ง มันไม่สำคัญเลยว่าจะต้องไปจัดที่ไหน แค่ได้นำเสนอเพลง ผมพอแล้ว


M-Lite: สรุปแล้ว เวลาคนฟังวิทยุ อยากให้เขาฟังแบบไหน?
วาสนา: ฟังวิทยุก็ต้องฟังเพลงสิคะ จุดประสงค์ของรายการเพลงก็คือเพลง เพลงมันคือหัวใจนะ ต้องใช้หูฟัง แต่เด็กสมัยนี้อาจจะไม่ถนัดเท่าไหร่ มิน่าล่ะเพลงเกาหลีเข้ามา ฟังไม่ออกเลย ก็ยังดังก็ยังชอบกันได้ แสดงว่าหูพวกเรามันแย่แล้ว ถึงว่าคำว่ารสนิยมของคนฟังเพลงมันถึงไม่มีแล้ว

อย่างน้อยพี่อึ่ง (มธุรส) พี่ซัน (มาโนช) เขากลับมาจัดแล้ว ในเมื่อคุณไปฟังคลื่นอื่นแล้วไม่มีเพลงแบบนี้ให้ฟัง พอมีคนมาเปิดให้ฟังแล้วก็ฟังเพลงเขาหน่อยเถอะ ง่ายๆ เลย ถ้าอยากจะฟังเพลง ฟังพวกเรา เพราะเราคือเพลง เราเอาเพลงมาแล้ว พูดไปเลยเข้ามา BandOn Radio แล้วเนี่ย กรุณาฟังเพลงด้วย! ที่อื่นอาจจะเป็นดีเจโชว์อะไรก็ว่าไป เพราะมันไม่มีเพลงดีๆ จะให้โชว์
แต่สำหรับพี่ จะเลือกเปิดเพลงไหนขึ้นมา มันต้องมาจากความชอบจริงๆ เป็นแรงบันดาลใจอันดับหนึ่งเลย ไม่งั้นเปิดไม่ได้ บ้าเหรอ จะให้มาเปิดเพลงที่ไม่ชอบ