รัชกาลที่8 เหตุการณ์สําคัญ

    หนังสือเล่มนี้ได้รวมเรื่องราวและเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของกรุงรัตนโกสินทร์ยุคพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทหิดล รัชกาลที่ 8 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้พาดผ่านมาถึงประเทศไทย เป็นเรื่องราวของกษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี ติดตามเรื่องราวของพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ของแต่ละพระองค์ได้ในการ์ตูนความรู้ประวัติศาสตร์ ชุด 9 รัชกาล

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 ถือเป็นวันสวรรคตของ ‘พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล’ หลังทรงครองราชย์เป็นเวลา 12 ปี กับอีก 99 วัน ซึ่งต่อมาภายหลัง เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ปวงชนชาวไทยจึงมีการยึดถือวันดังกล่าวของทุกปีเป็น ‘วันอานันทมหิดล’

วันที่ 2 มีนาคม 2478 ในหลวงรัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติ โดยมิได้มีการสมมติเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งเป็นรัชทายาท จึงทำให้ พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พร้อมคณะรัฐมนตรี ได้ทำจดหมายพิจารณาลงความเห็นชอบต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่ออัญเชิญ ในหลวงรัชกาลที่ 8 ที่ขณะนั้นมีพระชนมายุ 9 พรรษา เสด็จขึ้นครองราชย์ เนื่องจากทรงมีฐานะเป็นเจ้านายเชื้อพระบรมวงศ์พระองค์ที่ 1 ในลำดับพระราชสันตติวงศ์ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบพระราชสันตติวงศ์ ปี 2467 โดยวันที่ 25 มีนาคม 2478 ทรงได้รับการเฉลิมพระนามใหม่ว่า ‘สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล’

อย่างไรก็ดี ช่วงเวลาดังกล่าวในหลวงรัชกาลที่ 8 ยังคงถือเป็นผู้เยาว์ไม่บรรลุนิติภาวะ และยังทรงประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทำให้ต้องมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นเวลา 11 ปี ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ ปรีดี พนมยงค์ ก่อนในวันที่ 5 ธันวาคม 2488 จะทรงเสด็จนิวัตกลับพระนครเป็นการถาวร โดยในระหว่างนั้น ยังคงทรงศึกษาในระดับปริญญาเอก สาขานิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ท่ามกลางความหวังของราษฎรที่กำลังตกอยู่ภายใต้ความตึงเครียดจากเหตุสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เพิ่งสิ้นสุด

ขณะที่ในหลวงรัชกาลที่ 8 ทรงมีพระชนมายุล่วงเลยถึง 21 พรรษา และกำลังรอคอยพระราชพิธีบรมมราชาภิเษกอย่างเป็นทางการ อยู่ๆ ณ วันที่ 9 มิถุนายน 2489 เวลา 09.00 น ก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น เมื่อมีรายงานว่าพระองค์เสด็จสวรรคตภายในห้องบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน ด้วยพระแสงปืนอย่างมีเงื่อนงำ โดยทางคณะแพทย์ผู้ชันสูตรพระศพ 3 ใน 4 ต่างลงความเห็นว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์ ส่งผลให้ ชิต สิงหเสนี, บุศย์ ปัทมศริน และเฉลียว ปทุมรส 3 มหาดเล็กคนสำคัญ ที่เฝ้าเวรยามอยู่หน้าห้องบรรทม ณ เวลานั้น ตกเป็นจำเลย เนื่องจากบริเวณนั้นไม่มีผู้ใดอื่น

คดีการสิ้นพระชนม์ของในหลวงรัชกาลที่ 8 ศาลผู้พิเคราะห์คดียังมีการสันนิษฐานไปยัง ปรีดี พนมยงค์ ว่าเป็นผู้บงการมหาดเล็กทั้งสามให้ลอบปรงพระชนม์ ถึงแม้จะไม่มีพยานหรือหลักฐานใดๆ ที่บ่งชี้ชัดเจน แต่ก็ทำให้ปรีดีต้องตัดสินใจลี้ภัยทางการเมืองไปยังประเทศฝรั่งเศส เพราะมีการปลุกปั่นกระแสอยู่เป็นระยะ ซึ่งนักประวัติศาสตร์เห็นว่ามาจากฝีมือขั้วการเมืองฝั่งตรงข้าม ดั่งเหตุการณ์ที่โรงหนังศาลาเฉลิมกรุงที่มีผู้ตะโกนว่าปรีดีเป็นผู้ลอบสังหารในหลวงรัชกาลที่ 8

9 ปีต่อมา ถึงแม้ ชิต สิงหเสนี, บุศย์ ปัทมศริน และเฉลียว ปทุมรส จะทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ก็ไร้ผล ศาลยังคงยืนกรานคำตัดสินเนื่องจากคนที่อยู่หน้าห้องบรรทมมีแค่มหาดเล็กทั้งสาม และเป็นไปไม่ได้ที่พวกเขาจะไม่เห็นว่าใครเข้าออกห้องบรรทมเลย ท้ายที่สุดจึงตัดสินลงโทษผู้ต้องหาด้วยการประหารชีวิต โดยส่วนหนึ่งของคำแถลงการณ์ของกระทรวงมหาดไทย ระบุไว้ว่า

“ตามที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิต ชิต สิงหเสนี, บุศย์ ปัทมศริน และเฉลียว ปทุมรส จำเลยในคดีที่ถูกกล่าวหาว่าประทุษร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และจำเลยทั้งสามได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ขอพระราชทานอภัยโทษนั้น

“บัดนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฎีกาของจำเลยทั้งสามเสีย ทางราชทัณฑ์จึงได้นำตัวจำเลยทั้งสาม ไปประหารชีวิตตามคำพิพากษา ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498 เวลา 05.00 น. ณ เรือนจำกลางบางขวาง ต่อหน้าคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวาง เป็นประธานกรรมการ, ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี, นายแพทย์ เชื้อ พัฒนเจริญ และหลอม บุญอ่อน รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าแผนกควบคุมเรือนจำกลางบางขวาง เป็นกรรมการ ตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยเป็นการเสร็จไปแล้ว จึงขอแถลงมาให้ทราบทั่วกัน”

รัชกาลที่8 เหตุการณ์สําคัญ

พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

พระอัฐมรามาธิบดินทร (20 กันยายน พ.ศ. 2468 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489) เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ (ภายหลังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาลย์(ภายหลังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระชนกชนนีอีก 2 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (ภายหลังทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช)พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ขณะที่มีพระชนมายุเพียง 8 พรรษาและประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดังนั้น จึงมีการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจนกว่าพระองค์จะทรงบรรลุนิติภาวะพระองค์เสด็จนิวัติพระนครครั้งแรกภายหลังทรงราชย์เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2481 และครั้งที่สองเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ระหว่างกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพียง 4 วัน พระองค์เสด็จสวรรคตด้วยทรงต้องพระแสงปืนเมื่อวันที่ 9มิถุนายน พ.ศ. 2489 ณ ห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง รวมระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติทั้งสิ้น12 ปี

เหตุการณ์สำคัญ

รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัติพระนคร เมื่อปลายปี พ.ศ. 2477 เพื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแต่เนื่องจากพระพลานามัยของพระองค์ไม่สมบูรณ์จึงได้เลื่อนกำหนดออกไปก่อนและได้กราบบังคมทูลอัญเชิญเสด็จฯ อีกครั้งในปี พ.ศ. 2478 แต่ก็ทรงติดขัดเรื่องพระพลานามัยอีกเช่นกัน หลังจากนั้น รัฐบาลได้ส่งพลโทพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (ม.ร.ว.สิทธิ์ สุทัศน์) ไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชชนนีที่โลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัติพระนครอีกครั้งในปีพ.ศ.2479 อย่างไรก็ตามในระหว่างเตรียมการเสด็จนิวัติพระนครนั้น ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่คณะรัฐบาลใหม่จึงขอเลื่อนการรับเสด็จออกไปอย่างไม่มีกำหนดหลังจากนั้นรัฐบาลได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จนิวัติพระนครอีกครั้งในครั้งนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมด้วยสมเด็จพระราชชนนีสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2488 ซึ่งการเสด็จนิวัติประเทศในครั้งนี้ทางราชการได้จัดพระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับและเนื่องจากพระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะแล้วจึงสามารถบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่ต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอีกต่อไป

รัชกาลที่8เสียชีวิตเพราะอะไร

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตเพราะต้องพระแสงปืนเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 เวลาประมาณ 9.20 น. บนชั้นสอง พระที่นั่งบรมพิมาน พระบรมมหาราชวัง สภาพพระศพมีบาดแผลกลางพระนลาฎ (หน้าผาก) บริเวณระหว่างพระขนง (คิ้ว) ข้างพระศพมีปืนพกโคลต์ตกอยู่ชิดข้อศอก ด้ามปืนหันออกจากตัว ในช่วงแรกมีการรบกวนพระบรมศพทำให้การพิสูจน์ ...

เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 8

เสด็จสำเพ็ง เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างคนไทย และ คนจีน เมื่อ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ หว่านพันธุ์ข้าวที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตบางเขน - เป็นพระราชกรณียกิจสุดท้าย - เมื่อ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ เสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืน เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิสเซอร์แลนด์เพียง ๔ วัน

ผลงานของรัชกาลที่ 8 มีอะไรบ้าง

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ ทั้งงานพระราชพิธี งานรัฐพิธี งานด้านการศาสนาและการศึกษา เสด็จพระราชทานปริญญาบัตรที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสด็จเยี่ยมโรงพยาบาล หน่วยทหาร สถานที่สำคัญต่างๆ และทรงริเริ่มประเพณีการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในชนบท โดยเริ่มใน ...

รัชกาลที่ 8 อยู่ในสมัยอะไร

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร.